พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดบ้านโนน


ที่อยู่:
วัดบ้านโนน ตำบลขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
โทรศัพท์:
08-5744-4826 เจ้าอาวาส, 08-1055-3910 คุณสมพร จันทเขต, 08-1834-3701 พ.ต.ท.บุญจันทร์ ลุนดาพ
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 08.00-17.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2551
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

มหาสารคามเปิดพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแหล่งเรียนรู้ชุมชน

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 13 กรกฎาคม 2554

ที่มา: ผู้จัดการ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดบ้านโนน

อาคารศูนย์พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดบ้านโนน ตั้งอยู่ที่วัดบ้านโนน ตำบลขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2551 โดยใช้วัสดุจากการรื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างในวัดบ้านโนน และเงินที่ได้รับการบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาภายในตำบลหมู่บ้าน จำนวน 242,923 บาท โดยในเดือนกรกฎาคม 2554 นายทองทวี พิมเสน ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ได้เป็นประธานเปิดศูนย์พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดบ้านโนนอย่างเป็นทางการ และได้มอบใบอนุโมทนาบัตรและเกียรติบัตรแก่ผู้สนับสนุน และผู้ร่วมบริจาคเงินสมทบการก่อสร้างอาคารศูนย์พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน รวมเป็นเงินจำนวน 242,923 บาท พร้อมมอบตำราโหราศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งรวบรวมและเรียบเรียงโดย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ให้กับ พ.ต.ท.บุญจันทร์ ลุนดาพร ไวยาวัจกรวัดบ้านโนน เพื่อนำไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดบ้านโนน

โบราณวัตถุที่สำคัญของพิพิภัณฑ์วัดบ้านโนน คือ พระพุทธรูปแก่นจันทร์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่สร้างด้วยไม้แก่นจันทร์ และไม่ปรากฏหลักฐานว่าก่อสร้างเมื่อใด รูปเหมือนของอดีตเจ้าอาวาสวัดโนน 3 รูป คือ หลวงปู่ยาคูชาดา พระครูวิจักษ์โคจรคุณ และพระครูนันทสารวิจิตร ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนในหมู่บ้านและตำบลขามป้อม พระเก่ากรุต่างๆ เงินเหรียญกษาปณ์และธนบัตรเก่า นอกจากนี้ในวันเปิดพิพิธภัณฑ์ ยังมีการสาธิตการสาวไหม การถักทอผ้าไหม ซึ่งเป็นอาชีพของประชาชนในหมู่บ้าน ทั้งนี้ พิพิธภัณฑ์วัดบ้านโนนตั้งเป้าหมายไว้ว่า เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมศิลปวัตถุ สิ่งของเครื่องใช้ตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน และแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียนของนิสิต นักศึกษา นักเรียน เด็กเยาวชน และประชาชนทั่วไป สร้างความเข้มแข็งของสังคม ให้รากฐานทางวัฒนธรรมดำเนินไปอย่างมีระบบแบบแผน นำไปสู่การพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน


ข้อมูลจาก: ผู้จัดการ วันที่ 13 กรกฎาคม 2554
ชื่อผู้แต่ง:
-