พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


ที่อยู่:
ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150
โทรศัพท์:
0-4375-4380
วันและเวลาทำการ:
จันทร์-ศุกร์ เวลา 08:30-16:30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
msuisanmuseum@gmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2542
ของเด่น:
กลุ่มเรือนอีสาน
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ชื่อผู้แต่ง: ขวัญใจ นาไชย | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (พ.ย. 2548)

ที่มา: คนตะวันออก

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เล่าเรื่องวิถีชีวิตผู้คนผ่าน 2 พิพิธภัณฑ์ ณ มหาสารคาม

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 15 มิ.ย. 2557;15-06-2014

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 16 มิถุนายน 2557


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2542 โดยมีความมุ่งหมายเพื่อสื่อสารถึงอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่มีจุดเริ่มต้นและพัฒนาการอย่างมีความหมายและความสำคัญควบคู่มากับพัฒนาการของสังคม ตั้งแต่ยุคที่เป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม (พ.ศ.2511) จนถึงมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม (พ.ศ.2517) และเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (พ.ศ.2537) รวมทั้งเป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนาองค์ความรู้ด้านพิพิธภัณฑ์เพื่อส่งเสริมให้สังคมได้รับผลประโยชน์จากกิจการพิพิธภัณฑ์ ทั้งในด้านการปลูกจิตสำนึกแห่งคุณค่าและความสำคัญของท้องถิ่น การจัดการพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม

นอกจากนี้ โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามยังทำหน้าที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และบริการวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์ตลอดจนเป็นสถานที่สำหรับการพักผ่อนและจัดกิจกรรมสำหรับคณาจารย์ นิสิต และบุคคลทั่วไป

โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามตั้งในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยตั้งอยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกของอาคารบรมราชกุมารี(สำนักอธิการบดี) ภายในพื้นที่โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้แบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็น 8 ส่วนดังนี้
           
1. เรือนอีสานประยุกต์หลังใหญ่  ประกอบด้วย  สำนักงาน  ห้องประชุมใหญ่  
ห้องประชุมย่อย  ห้องรับรอง  คลังพิพิธภัณฑ์  หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย
มหาสารคาม  และนิทรรศการพัฒนาการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  
           
2. เรือนอีสานประยุกต์หลังเล็ก ประกอบด้วยนิทรรศการพัฒนาการมหาวิทยาลัยมหาสารคามและพื้นที่สำหรับจัดนิทรรศการหมุนเวียน
           
3. เรือนโข่ง  ปัจจุบันเป็นที่ตั้งชมรมนาฏศิลป์และดนตรีพื้นเมืองมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
           
4. เรือเกย ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโครงการอนุรักษ์ใบลานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
           
5. เล้าข้าว  ตูบต่อเล้า จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในวิถีชีวิตชาวลุ่มแม่น้ำชี
           
6. เรือนผู้ไท จัดแสดงนิทรรศการภูมิปัญญาชาวลุ่มแม่น้ำชี
           
7. ลานกิจกรรม  เป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมกลางแจ้ง
           
8. สถานีศึกษาสัตว์

ในส่วนของนิทรรศการประกอบด้วย เรื่องเล่าของเรา เล่าเรื่องมหาวิทยาลัย แสดงพัฒนาการของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ยุคเริ่มต้นที่เป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม(พ.ศ.2511) จนถึงยุคมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม (พ.ศ.2517) และในยุคมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (พ.ศ.2537) โดยผ่านคำบอกเล่าของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็น ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร นิสิต ตลอดจนศิษย์เก่าของทางมหาวิทยาลัย ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของมหาวิทยาลัยที่เกิดขึ้น ดำรงอยู่ และเปลี่ยนแปลงอย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของสังคม ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศและระดับนานาชาติ ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของมหาวิทยาลัยที่เกิดขึ้น ดำรงอยู่ และเปลี่ยนแปลงอย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของสังคม ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ  ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ  ตลอดจนความหมายและความสัมพันธ์ กับชีวิตของผู้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร นิสิต และบุคคลอื่นๆ 

นิทรรศการภูมิปัญญาชาวลุ่มแม่น้ำชี แสดงองค์ความรู้หรือภูมิปัญญาของชาวลุ่มแม่น้ำชีอันแสดงให้เห็นถึงความเฉลียวฉลาดในการสร้างสมดุลระหว่างวิถีชีวิตกับสภาพแวดล้อมในด้านข้าว นา ป่า เกลือ รวมทั้ง การนำเสนอรูปแบบหรือแนวทางการพัฒนาองค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น 

สำหรับเรือนอีสานหลังต่างๆนั้น ใช้เป็นที่จัดแสดงเรื่องราวต่างๆแตกต่างกันไป ประกอบด้วย เรือนประยุกต์หลังใหญ่ เป็นรูปแบบเรือนที่มีการประยุกต์ทั้งด้านโครงสร้างและวัสดุแต่ยังคงรักษารูปแบบและภาพลักษณ์ของเรือนอีสานแบบดั้งเดิม การใช้พื้นที่ภายในประกอบด้วย ห้องประชุม คลังและห้องปฏิบัติการคลินิกพิพิธภัณฑ์  คลังเอกสาร จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และสำนักงาน โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เรือนประยุกต์หลังเล็ก เป็นเรือนประยุกต์ขนาดเล็ก ชั้นบนเป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการ “เรื่องเล่าของเรา เล่าเรื่องมหาวิทยาลัย: Our story Our University" ชั้นล่างเป็นพื้นที่สำหรับจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน 

เรือนโข่ง เป็นเรือนหลังเล็กที่มีโครงสร้างเฉพาะ แต่สร้างติดกับชานของเรือนใหญ่ (เรือนนอน)ไว้เมื่อต้องการแยกเรือนก็สามารถรื้อถอนไปสร้างเป็นเรือน หลังใหม่ได้โดยไม่กระทบต่อโครงสร้างของเรือนใหญ่ เรือนโข่งเป็นที่จัดแสดงนิทรรศการ "ดนตรีอีสาน" และเป็นที่ตั้งของชมรมนาฏศิลป์ และดนตรีพื้นเมือง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
 
เรือนเกย เป็นรูปแบบเรือนในวิถีชีวิตของชาวอีสานที่มี การต่อเกย (ชาน) ออกมาจากเรือนใหญ่ (เรือนนอน) เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งเป็นเรือนไฟ (ครัว) สถานที่พักผ่อน รับประทานอาหาร ต้อนรับแขก  และประกอบพิธีหรือกิจกรรมในวิถีชีวิตของชาวอีสาน  ด้านล่างของเรือน ใช้เป็นสถานที่เก็บวัสดุหรือเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำเนินชีวิต บางครั้งอาจใช้เป็นคอกสัตว์เลี้ยง  เช่น  ไก่ วัว ควาย เรือนเกยเป็นที่จัดแสดงนิทรรศการ "เอกสารใบลาน"ของโครงการอนุรักษ์ใบลานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรือนตูบต่อเล้า (ยุ้งข้าว) เล้าข้าว (ยุ้งข้าว) เป็นสถานที่เก็บข้าวเปลือก และผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเป็นที่เก็บเครื่องมือเครื่องใช้ในวิถีชีวิตและคอกสัตว์เลี้ยง  
       
ตูบต่อเล้า เป็นเรือนชั่วคราวที่ยื่นออกมาจาก เล้าข้าวเป็นที่อยู่อาศัยของครอบครัวใหม่ที่แยกเรือนออกจากเรือนของพ่อแม่แต่ยังไม่มีกำลังที่จะสร้างเรือนใหม่หรือถ้าไม่มีผู้อาศัยก็ใช้เป็นสถานที่เก็บวัสดุหรือเครื่องมือเครื่องใช้ในวิถีชีวิต 

เรือนผู้ไทย เป็นรูปแบบเรือนของ "ชาวผู้ไท" ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะคล้ายคลึงกับเรือนโข่ง ต่างกันที่"ขื่อและคาน" ของเรือนหลังเล็กจะฝากยึดติดกับโครงสร้างของเรือนใหญ่  เรือนผู้ไท เป็นที่จัดแสดงนิทรรศการ "ภูมิปัญญาชาวลุ่มน้ำชี"
 

ข้อมูลจาก: http://www.museum.msu.ac.th/ [accessed 20081107]
ชื่อผู้แต่ง:
-

เล่าเรื่องวิถีชีวิตผู้คนผ่าน 2 พิพิธภัณฑ์ ณ มหาสารคาม

การเดินทางออกไปท่องเที่ยวในแต่ละครั้ง ไม่เพียงแต่จะได้พักผ่อน และซึมซับบรรยากาศแต่ละสถานที่เท่านั้น แต่การท่องเที่ยวในเชิงศิลปะ วัฒนธรรม เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของแต่ละสถานที่นั้น ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กัน “มหาสารคาม” เมืองที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมืองแห่งนี้นอกจากจะมีความโดดเด่นในเรื่องของเอกลักษณ์ วัฒนธรรมแล้ว เมืองนี้ยังมีการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ไว้ภายในเมือง เพื่อให้นักท่องเที่ยว นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้เข้ามาเรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมาของเมืองอีกด้วย
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-