พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดมหาชัย


ที่อยู่:
วัดมหาชัย เลขที่205 ถ.มหาชัยดำริห์ อ.เมือง จ.มหาสารคาม 44000
โทรศัพท์:
043-925786,043-754380, 089-5740322
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2509
ของเด่น:
วัตถุโบราณ เอกสารโบราณ
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

เที่ยวพิพิธภัณฑ์ ชมสิม พักหมู่บ้านวัฒนธรรม บนเส้นทางสายอีสาน

ชื่อผู้แต่ง: ปั้นลม | ปีที่พิมพ์: สิงหาคม 2545 หน้า 63-72

ที่มา: อนุสาร อ.ส.ท.

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

การศึกษาเครื่องปั้นดินเผาแบบเขมร ในพิพิธภัณฑ์ศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดมหาชัยจังหวัดมหาสารคาม

ชื่อผู้แต่ง: มณแทน ตันบุญต่อ | ปีที่พิมพ์: 2535

ที่มา: ไทยคดีศึกษาเน้นมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม

แหล่งค้นคว้า: มหาวิทยาลัย มหาสารคาม

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์วัดมหาชัย มหาสารคาม

ชื่อผู้แต่ง: ศรัณย์ ทองปาน | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย.) 2547

ที่มา: วารสารเมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พระอริยานุวัตรกับงานด้านพิพิธภัณฑ์

ชื่อผู้แต่ง: อรรถ นันทจักร์ | ปีที่พิมพ์: 4/7/2536

ที่มา: อริยานุวัตรศึกษา, ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระอริยานุวัตร เขมจาร์,มศว.มหาสารคาม จัดพิมพ์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดมหาชัย

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจุดเริ่มมาจากการเก็บสะสมโบราณวัตถุท้องถิ่นในภาคอีสานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 โดยพระอริยานุวัตร เขมจารี เจ้าอาวาสรูปที่ 19 ของวัดมหาชัย ด้วยเห็นว่ามีชาวต่างประเทศเข้ามากว้านซื้อโบราณวัตถุในท้องถิ่น ท่านจึงได้เริ่มเก็บรวบรวมวัตถุสิ่งของและตั้งเป็นศูนย์อนุรักษ์วรรณคดีโดยร่วมมือกับวิทยาลัยครูมหาสารคาม จากนั้นได้จัดตั้งเป็นศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อปี 2509 และในปี พ.ศ. 2525 กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีมหาวิทยาลัยมหาสารคามและสถาบันราชภัฏ ให้การสนับสนุนช่วยเหลือเพื่อให้เป็นแหล่งค้นคว้าของนิสิตนักศึกษาทั้ง 2 สถาบัน
 
อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยประยุกต์ 2 ชั้น วัตถุที่จัดแสดงส่วนใหญ่ล้วนมีคุณค่า อาทิ เครื่องปั้นดินเผา ใบเสมาหินสมัยทวารวดี ประติมากรรม พระพุทธรูปไม้แกะสลัก เอกสารโบราณ ชั้นล่างจัดแสดงโบราณวัตถุประเภทตู้พระธรรมลายทอง ในตู้กระจกขนาดเล็กจัดแสดงภาชนะดินเผาทั้งที่มีอายุอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ ไหเคลือบสีน้ำตาลแบบเตาบุรีรัมย์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์ใบลานจำนวนมากที่ห่อด้วยผ้าห่อคัมภีร์ลวดลายสวยงามแปลกตา เก็บรักษาไว้อย่างดีในตู้กระจกทรงสูง ส่วนชั้นบน วัตถุจัดแสดงไว้ในตู้กระจกจำนวนหลายตู้ บางตู้จัดแสดงเปลือกหอยทะเลที่มีขนาดใหญ่มาก บางตู้จัดแสดงหินบด และภาชนะดินเผา อีกด้านหนึ่งจัดแสดงไหเคลือบสีน้ำตาลกว่า 30 ใบ  พระพุทธรูป และเทวรูปต่างๆ 
 
ข้อมูลจาก:
1. การสำรวจภาคสนาม วันที่  31 สิงหาคม 2546
2. การประชุมเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จัดโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร วันที่ 27 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2546  ณ โรงแรมตักสิลา และสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช  จังหวัดมหาสารคาม
3. แบบสอบถามข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น (พ.ศ.2546), แผ่นพับแนะนำวัดมหาชัย
ชื่อผู้แต่ง:
-