คำศัพท์ | คำจารึก | ชนิด | ความหมาย | ภาษา | |
---|---|---|---|---|---|
3361 | ซางโค (1) | ทรางโค | น. | ชื่อโรคซางชนิดหนึ่ง เป็นซางเจ้าเรือนประจำเด็กเกิดวันพฤหัสบดี มีแม่ซาง 4 ยอด ขึ้นแข็งดังตาปลาที่โคนลิ้น ปลายลิ้น ข้างลิ้น มีบริวาร 40 ยอดขึ้นในปากกระเพาะอาหาร ทำให้มีอาการเป็นไข้ ตัวร้อน กระหายน้ำ อาเจียน มือเท้าเย็น หอบ ลงท้อง ตกโลหิต ซูบผอม เป็นต้น | ท. |
3362 | ซางข้าวเปลือก (1) | ทรางเข้าเปลือก | น. | ชื่อโรคซางชนิดหนึ่ง เป็นซางจรแทรกซางโค ซึ่งเป็นซางเจ้าเรือนประจำเด็กเกิดวันพฤหัสบดี มีแม่ซาง 5 ยอด มีบริวาร 50 ยอด แม่ซางทั้ง 5 ยอดจะขึ้นที่ขม่อม กลางหลัง นาภี รักแร้ 2 ข้าง แม่ซางทั้ง 5 มีบริวารแห่งละ 10 ยอด มีอาการครั้งแรกให้ปากร้อนและลงท้องก่อน ต่อไปมือเท้าเย็น ต่อเมื่อแม่ซางที่สันหลังและรักแร้เลื่อนไปอยู่ที่นาภี ซางบริวารขึ้นรายไปทั่วทั้งตัว สัณฐานดังเม็ดหัดหรือปาน จะมีอาการลงท้อง อาเจียน ท้องขึ้น มือกำเท้างอ ลิ้นกระด้างคางแข็ง บริโภคอาหารไม่ได้ เป็นต้น | ท. |
3363 | ซางเจ้าเรือน (3) | ทรางเจ้าเรือน | น. | ซางเจ้าเรือนหรือซางกำเนิด คือโรคซางที่เกิดกับกุมารเมื่อยังอยู่ในครรภ์มารดาตั้งแต่ตั้งครรภ์ได้ 3 เดือนจนถึงอายุได้ 5 ขวบ จึงจะพ้นระยะโทษของโรคซางเจ้าเรือนและต่อไปจะกลายเป็นโรคตาน | ท. |
3364 | ลง (5) | ลง | ก. | อาการของโรคชนิดหนึ่งคือ โรคท้องเสีย ถ่ายอุจจาระบ่อยๆ | ท. |
3365 | ราก (5) | ราก | ก. | อาเจียน | ท. |
3366 | ตกมูกตกเลือด (2) | ตกมูกตกเลือด | ก. | โรคชนิดหนึ่ง มีอาการลงท้อง มีเสมหะหรือมูกและเลือดในลำไส้ติดออกมากับอุจจาระ | ท. |
3367 | ซางจร (2) | ทรางจร | น. | ซางจรหรือซางแทรก คือโรคซางที่บังเกิดเป็นแทรกขึ้นระหว่างโรคซางเจ้าเรือน ซางจรนี้จะเป็นอยู่จนถึงอายุ 12 ปีจึงจะพ้นจากโทษของโรคซาง | ท. |
3368 | สมประดี (1) | สมประดี | น. | ความรู้สึกตัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ สติ เป็น สติสมประดี | ท. |
3369 | ฝีดาษ (1) | ฝีดาษ | น. | ชื่อโรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการไข้สูงแล้วมีผื่นขึ้นดาษตามใบหน้าและลำตัว ต่อมาผื่นจะกลายเป็นตุ่ม ตุ่มใส ตุ่มหนอง และตกสะเก็ด ตามลำดับ เมื่อหายแล้วมีแผลเป็นเป็นรอยบุ๋ม, ไข้ทรพิษ ก็เรียก, โบราณเรียก ไข้หัว | ท. |
3370 | อาโปธาตุ (1) | อาโปธาตุ | น. | ธาตุน้ำอันมีอยู่ในร่างกาย 12 อย่างคือ (1)ปิตตัง คือน้ำดี มี2ชนิดคือดีในฝักและดีนอกฝัก (2)เสมหะ มี3อย่างคือศอเสมหะ อุระเสมหะ และคูถเสมหะ (3)บุพโพ คือหนอง (4)โลหิต คือเลือด (5)เสโท คือเหงื่อ (6)เมโท คือมันข้น (7)อัสสุ คือน้ำตา (8)วะสา คือมันเหลว(น้ำเหลือง) (9)เขฬะ (เขโป) คือน้ำลาย (10)สิงฆานิกา คือน้ำมูก (11)ลสิก คือน้ำไขข้อ (12)มุตตัง คือน้ำมูตร(ปัสสาวะ) | ท. |
3371 | อีสาน (1) | อีสาร | น. | ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ | ท. |
3372 | ดาน (3) | ดาน | น. | อาการของโรคที่มีอาการเส้นเอ็นในร่างกายแข็งแน่นเป็นก้อนเป็นแผ่น เป็นต้น | ท. |
3373 | ฝีปลวก (1) | ฝีปลวก | น. | ชื่อโรคฝีชนิดหนึ่ง มีอาการเจ็บในอกถึงสันหลัง ไอแรง อาเจียนเป็นโลหิต มีหนองออกมาด้วย บริโภคอาหารไม่ได้ ทำให้ผอมซีด นอนไม่หลับ เป็นต้น | ท. |
3374 | มูตร (3) | มูด, มูต | น. | ปัสสาวะ | ป. |
3375 | ประสะ (1) | ประสะ | น. | การทำให้มีพิษลดน้อยลง หรือฤทธิ์อ่อนลง เช่น ประสะสลอด นำลูกสลอดต้มกับข้าวเปลือกและเกลือ ต้มเคี่ยวจนข้าวเปลือกแตก แล้วนำลูกสลอดไปล้างน้ำตากแดดจนแห้ง จึงนำไปใช้ทำยาได้ | ท. |
3376 | กล่ำ (1) | กล่ำ | น. |
ชื่อมาตราชั่งของโทยโบราณ 2 กล่อม เป็น 1 กลํ่า 2 กลํ่า เป็น 1 ไพ |
ท. |
3377 | สันทะคาต (1) | สันะคาด | น. | ชื่อโรคชนิดหนึ่ง อาการของโรคมี 4 ชนิดคือ (1)เอกสันทะฆาฏ เป็นกับหญิง เกิดจากโลหิตและระดูแห้งเป็นก้อน ขนาดประมาณฟองไข่ไก่ ติดอยู่ที่กระดูกสันหลัง ทำให้มีอาการเจ็บหลัง ปวดถึงบิดตัว (2)โทสันทะฆาฏ เกิดจากท้องผูกจนเป็นพรรดึก เกิดเป็นกองลมเข้าไปอยู่ในท้อง ทำให้เจ็บปวดไปทั้งตัว มีอาการเมื่อยบั้นเอว ขัดตะโพก เวียนศีรษะ สะท้าน ร้อนสะท้านหนาว เป็นต้น (3)ตรีสันทะฆาฏ เกิดเป็นเม็ดผุดขึ้นภายในบริเวณดี ตับ หรือในลำไส้ ทำให้เป็นไข้ จุก เสียด ท้องพอง มีอาการเพ้อ คลั่ง ประดุจผีเข้าสิง ถ้าเป็นนาน 7-9 วัน โลหิตจะแตกออกตามทวารทั้ง 9 (4)อาสันทะฆาฏ เกิดจากการฟกช้ำภายใน เช่น ตกจากที่สูง ถูกทุบ ถอง ตีโดยแรง เจ็บเนื้อตัว ทำให้โลหิตในร่างกายคุมกันเข้าเป็นก้อน มีอาการเจ็บร้อนในอก เสียดแทงสันหลัง ดุจเป็นเม็ดยอดขึ้นภายใน ถ้าวางยาผิด โลหิตกระจายออกแล้วแล่นเข้าสู่กระดูกสันหลังลงสู่ทวารหนักเบา เป็นต้น | ท. |
3378 | น้ำคาวปลา (2) | นำคาวปลา | น. |
นํ้าที่ขับถ่ายจากช่องคลอดภายหลังคลอดลูกแล้วประมาณ 3-4 วัน ปรกติมีกลิ่นคาวเล็กน้อย, น้ำล้างปลาที่มีเมือกและเลือดติด |
ท. |
3379 | สะตุ (2) | สะตุ | น. | วิธีการทำให้ตัวยามีฤทธิ์อ่อนลง หรือฆ่าพิษให้ลดลง หรือแปรรูปให้เป็นยาบริสุทธิ์ มีฤทธิ์มากขึ้น เช่น สะตุสารส้ม ทำให้สารส้มมีฤทธิ์แรงขึ้น หรือทำให้รสยาอ่อนลง ด้วยกรรมวิธีทำให้ร้อน หรือสุกด้วยไฟ เครื่องยาแต่ละชนิดมีวิธีการสะตุต่างกัน | ท. |
3380 | มุตกิต (1) | มุตริด | น. | ชื่อโรคชนิดหนึ่งเป็นกับหญิง อาการของโรคจะมีระดูขาว ลักษณะเหมือนน้ำปัสสาวะขุ่นข้นไหลออกมาแถบขอบปากทวาร มีเม็ดผุดขึ้นหรือแผลคัน เปื่อย แสบ และเหม็นคาว ทำให้มีอาการปวดเมื่อยบริเวณชายกระเบนเหน็บ เสียวมดลูก และมักจะเป็นลมหน้ามืด เวียนศีรษะ เบื่ออาหาร เป็นต้น | ป. |
3381 | มุตฆาต (1) | มุตฆาต | น. | ชื่อโรคชนิดหนึ่งเกี่ยวกับน้ำปัสสาวะผิดปกติหรือพิการ เมื่อปัสสาวะจะมีอาการเจ็บปวดมาก กระเบนเหน็บ ลักษณะของน้ำปัสสาวะที่เป็นโทษมี 4 ประการ เหมือนกับที่อธิบายไว้ในคำ มุตกิด | ป. |
3382 | ซางโจร (1) | ทรางโจร | น. | ชื่อโรคซางชนิดหนึ่ง เป็นซางเจ้าเรือนประจำเด็กเกิดวันเสาร์ มีแม่ซาง 9 ยอดขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีลักษณะสัณฐานต่างๆ กัน เช่น ขึ้นที่ปากและเหงือกจะมียอดสีเหลืองจัด ถ้าขึ้นที่สะดือจะมียอดแหลม ตรงกลางเป็นสีดำ ขอบโดยรอบเป็นสีเหลืองและแดง เป็นต้น มีอาการทั่วไป เป็นไข้ ตัวร้อน ลงท้องไม่หยุด อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดมวนท้องผอมเหลือง และคร้านน้ำ เป็นต้น จัดเป็นโรคซางที่มีพิษร้ายแรงมาก และอาจจะบังเกิดแทรกได้ทุกซาง | ท. |
3383 | สรรพางค์ (1) | สารพาง | น. | ทั้งตัว, ทั่วตัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ กาย เป็น สารพางค์กาย เช่น เจ็บปวดทั่วสารพางค์กาย, สรรพางค์ ก็ว่า | ท. |
3384 | ชุม (0) | ชุม | น. | ลักษณะของเม็ดพิษซึ่งเกิดเพราะโรคซาง เมื่อแตกออกจะเปื่อยแลบานออกเป็นรูเล็กๆตรงกลาง | ท. |