๏ สิทธิการิยะ ลักษณะป่วงหิวนั้น กระทำให้ลงให้รากให้ตัวเย็นเป็นเหน็บ แล้วให้เหื่อตกเช็ดไม่ขาดมือ ให้สวิงสวายในใจดังบุคคลมาควักเอาหัวใจไปก็เหมือนกัน ถ้าแก้มิต้อง 3 วันมรณะ ฯ |
จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 47 (ยาแก้ป่วงหิว)
|
1/3 |
กรุงเทพมหานคร |
นิสา เชยกลิ่น |
ฯ แก้รากเสลด |
จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 45 (แผนปลิงคว่ำ ตอนที่ 2)
|
ภาพวาด |
กรุงเทพมหานคร |
นิสา เชยกลิ่น |
ลมชื่อลมอริต จรประจำซางช้างวันศุกร์ในอาการซางช้างนั้น เขม่ามักขึ้นในเรือนไฟนั้นหนาขึ้นหลายชั้น ขึ้นมาแต่ลำคอถึงลิ้น แล้วดาดไปทั้งปากให้ไอแห้ง ให้ลง ให้ราก กระหายน้ำ กินข้าว กินนมมิได้ดังนี้ ถ้าจะแก้เอาใบชุมเห็ดเทศ ใบสวาด ใบผักขวง ใบกะเพรา ละอองพระกฤษ เสมอภาคบดด้วยน้ำมูลม้าสดทำแท่งไว้ละลายสุรากินกินแก้ซางช้างหาย |
จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 32 (ยาแก้โรคซางช้าง)
|
1/6 |
กรุงเทพมหานคร |
นิสา เชยกลิ่น |
๏ สิทธิการิยะ ลักษณะป่วงลมนั้น กระทำให้หาวให้ท้องขึ้น แต่ว่าไม่ลงไม่ราก ถ้าวางยามิต้อง ผิตกวัณโรคจึงคง ถ้าลงไปแล้วอย่าวางยา ปิดจะตายเสีย ถ้าปิดเข้าจะกระทำให้แดก ถึงจะเห็นส่วนสักเท่าใดก็ไม่ได้จะกินยาก็มิฟังแล้วให้รากแต่เช้าถึงเที่ยงตาย ฯ| |
จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 25 (ยาแก้ป่วงลม)
|
1/6 |
กรุงเทพมหานคร |
นิสา เชยกลิ่น |
ในอาการซางโคนั้น มักให้พรึงขึ้นทั้งตัวดั่งเป็นผด ทำให้ตัวร้อนให้บิดตัว ครั้นจมลงไปก็ให้ทำท้องทั้งลงทั้งราก ให้กระหายน้ำ ตกมูกตกเลือดดังนี้ |
จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 15 (ยาแก้โรคซางโค)
|
1/6 |
กรุงเทพมหานคร |
นิสา เชยกลิ่น |