จารึกตราประทับที่พบในประเทศไทยมีทั้งที่ปรากฏตัวอักษรและเป็นรูปภาพต่างๆ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ตราประทับ (seals) คือตราที่ต้องนำไปประทับบนวัสดุอื่น จึงจะได้ภาพหรืออักษรที่เกิดจากการกดประทับในด้านกลับกัน และตรา (sealings) ซึ่งมีรูปหรืออักษรในด้านที่สามารถอ่านได้โดยไม่ต้องกดประทับโดยจารึกตราประทับที่พบส่วนใหญ่อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10-13
ชุดข้อมูลนี้ได้รวมรวมข้อมูลจารึกตราประทับได้ทั้งสิ้น 31 รายการ อาทิ
จารึกบนตราดินเผา พบที่เมืองจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ เลขทะเบียน 1612/36
จารึกบนตราดินเผา พบที่เมืองจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ เลขทะเบียน 1612/36 จากการอ่าน-แปลของ Prof. Dr. Ravindra Vasishtha และ ผศ. ดร. จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา หมายถึง “ผู้หญิงที่สามารถ (มีอำนาจ)” ส่วนของ ผศ. กรรณิการ์ วิมลเกษม และอาจารย์ ชัยณรงค์ กลิ่นน้อย หมายถึง “บอกแล้ว”
---------------------------
อ้างอิง
จารึกบนตราดินเผา พบที่เมืองจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ เลขทะเบียน 1612/36 https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/2066
อนันต์ กลิ่นโพธิ์กลับ, การศึกษาความหมายและรูปแบบของตราประทับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2547), 93-194.