การกลับมาเยี่ยมชมศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทย บ้านโพน สร้างความแปลกตาและแปลกใจให้กับผู้เขียนไม่น้อย เมื่อเทียบกับประสบการณ์ของการมา ณ สถานที่นี้เป็นครั้งแรก เมื่อราว 12 ปีก่อน ปัจจุบันปรากฏอาคารคอนกรีตตั้งอยู่ด้านหน้าศูนย์ แต่แสดงเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมในท้องถิ่น ด้วยเป็นอาคารชั้นเดียวแต่ยกพื้นสูงกว่าฟื้นดิน 2 หลัง มีจั่วหน้าอาคารและมีชาวทำหน้าที่เชื่อมอาคารทั้งสอง ส่วนอาคารด้านข้างที่เคยเป็นสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ทอผ้า กลับกลายเป็นโรงทอผ้าที่ปิดตัวเงียบในวันที่ผู้เขียนมาเยือนในครั้งนี้
ลึกเข้าไปด้านในอาคารเรือนผู้ไทยจำลอง จำนวน 4 หลัง ไม่มีให้เห็นอีกแล้ว หากแต่เป็นพื้นที่โล่ง แต่มีสิ่งก่อสร้างเป็นเสาสี่ต้นสูงจากพื้นมีแกนเหล็กยื่นออกมาในแต่ละด้านตั้งอยู่กลางสนามหญ้าทดแทน นอกจากนี้ ยังมีอาคารสร้างใหม่ที่มีชื่อเรียกอาคารดังกล่าวว่า “หอวัฒนธรรมผู้ไทย”
การเยี่ยมเมื่อครั้งก่อนนั้น ผู้เขียนไม่มีโอกาสสนทนากับผู้ใดเกี่ยวกับเรือนผู้ไทยที่เคยตั้งเด่นเป็นเอกลักษณ์ภายในศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทยแห่งนี้ แต่ในการสำรวจครั้งนี้ ผู้เขียนนัดพบกับแม่หนูวรรณ ทะนะจันทร์ ซึ่งเป็นประธานสหกรณ์ศูนย์ศิลปาชีพทอผ้าไหมแพรวา และแม่นงลักษณ์ ศรีบุญจันทร์ สมาชิกของสหกรณ์ แม่หนูวรรณเท้าความถึงที่มาที่ไปของการจัดตั้งสหกรณ์ผ้าทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของงานหัตถกรรมที่ได้รับการยกระดับจากงานทอผ้าพื้นบ้านสู่ศูนย์ศิลปาชีพ
เราอยู่ในตำแหน่งเป็นสหกรณ์ในพระราชดำริ ศูนย์ศิลปาชีพทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพน กาฬสินธุ์ จำกัด อาคารนี้ ตรงนี้เป็นที่ดินสาธารณะของหมู่บ้าน กลุ่มของเราได้ทำเป็นสถานที่จำหน่ายและฐานเรียนรู้ต่าง ๆ มีหน่วยงานและงบประมาณ แม้กระทั่งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯ ก็มาลงตรงนี้ แต่ว่าไม่ได้ดูแลแบบที่อื่น เราดูแลกันเองแต่อยู่ในโครงการของพระองค์ท่าน
...ครั้งแรกรวมกันเมื่อปี 2521 ตอนพระองค์ท่านเสด็จมาที่อำเภอคำม่วง พ.ศ.2520 ชาวบ้านเราได้เข้าเฝ้า พระองค์ท่านได้เห็นความสำคัญ การแต่งกาย ผ้าไหมแพรวา เลยสนพระทัย ท่านก็ถามประวัติความเป็นมาของเรา ชาวบ้านผู้เฒ่าเล่าประวัติความเป็นมาให้พระองค์ท่านฟัง พระองค์ท่านกลับไปแล้ว ให้ราชเลขาฯ นำเส้นไหมอุปกรณ์มาให้ชาวบ้าน แล้วก็ได้จัดตั้งกลุ่ม พ.ศ. 2521 โดยเริ่มแรกนั้นเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านโพน
...ต่อมาหน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัด เข้ามาดูแลเรา ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาชุมชน อุตสาหกรรม พาณิชย์ วัฒนธรรม เกษตร เข้ามาหมด แล้ว พ.ศ.2525 ท่านเสด็จฯ ติดตามโครงการ พวกเราทำทอผ้าเข้าไปส่งเข้าโครงการของพระองค์ท่าน ต่อมา เราก็มาทำงานแบบกลุ่มอยู่แล้ว แล้วก็มีการจัดตั้งสหกรณ์กลุ่มผ้าไหมแพรวา [พ.ศ.2551] ใน 4 อำเภอ คือผ้าไหมแพรวา ขึ้นเครื่องหมายการค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ทอได้เฉพาะสี่อำเภอ ได้แก่ คำม่วง สมเด็จ สามชัย สหัสขันธ์
คำอธิบายของแม่หนูวรรณโดยสังเขปทำให้เห็นภาพของการรวมตัวของสมาชิกในชุมชน ที่เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์จนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นผ้าไหมที่ทั้งเอกลักษณ์ คุณภาพ และกลายเป็นหนึ่งในเส้นทางการเดินทางมาท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ซึ่งในระยะต่อมาเมื่อราว พ.ศ.2545 ได้งบประมาณสนับสนุนจากทางจังหวัด ทางกลุ่มได้มีโอกาสเดินทางไปดูงานพิพิธภัณฑ์บ้านอีสานใกล้กับพระธาตุนาดูน ซึ่งอยู่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เห็นพ้องกันว่า การจัดสร้างเรือนผู้ไทยโดยอาศัยเรือนผู้ไทยต้นแบบจากพิพิธภัณฑ์บ้านอีสานน่าจะมีส่วนในการส่งเสริมภาพลักษณ์ทางวัฒนธรรม และกลายเป็นศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทยให้ผู้มาเยือนได้เข้ามาเรียนรู้
แม่หนูวรรณกล่าวถึงระยะเวลาหลายปีตั้งแต่มีการสร้างเรือนผู้ไทยนั้น ได้มีโอกาสต้อนรับผู้คนจำนวนมากที่สนใจงานหัตถกรรมรวมถึงความสนใจใครรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมผู้ไทย มีโอกาสสาธิตการสาวไหม การแสดงประเพณี การสาธิตการทำครัว อย่างไรก็ตาม ด้วยการก่อสร้างเรือนผู้ไทยทั้ง 4 หลังมีความไม่มั่นคง จึงทำให้ทางกลุ่มใช้งานได้เพียง 4-5 ปี ก่อนที่จะต้องรื้อเรือนผู้ไทยทั้ง 4 หลังออกไป แต่ในช่วงระยะนั้น เกิดการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่แม่ ๆ มีโอกาสเข้าไปถ่ายทอดความรู้ทางวัฒนธรรม เช่น เอกลักษณ์ของเครื่องแต่งกายที่ผ้าถุงของหญิงชาวผู้ไทยจะเน้นสีดำแดง มีเสื้อดำแถบสีแดง ห่มสไบเฉียง รวมถึงการถ่ายทอดภาษาพูดให้กับลูกหลาน
จนเมื่อ พ.ศ. 2551 ได้ของบประมาณสนับสนุนทางรัฐในการจัดสร้างอาคารถาวรด้านหน้าศูนย์ เพราะกลุ่มได้มีการจดแจ้งเป็นสหกรณ์ และมีสถานที่สำหรับเป็นสำนักงานและเป็นหน้าร้านสำหรับขายผลิตภัณฑ์ของชุมชน อาคารชั้นเดียวที่เป็นศาลาเปิดโล่งที่ผู้เขียนเคยเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ จึงได้รับการปรับเป็นโรงเตรียมเส้นไหมและโรงทอผ้าแทน ในระยหลังจากที่อาคารสหกรณ์แล้วเสร็จไม่ใน นายอำเภอคำม่วงในสมัยนั้น “นายเลิศบุศย์ กองทอง” ของบประมาณจากทางจังหวัดในการก่อสร้าง “หอวัฒนธรรมผู้ไทย” โดยกำหนดให้หอวัฒนธรรมมีส่วนการจัดแสดงวัฒนธรรมผู้ไทยที่ชั้นล่าง เพื่อแสดงให้เห็นกระบวนการทอผ้าไหมแพรวาและวิถีชีวิต ส่วนชั้นบน เป็นหอประชุมขนาดใหญ่คล้ายกับโรงละคร สำหรับการแสดงและการสาธิตทางวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม ด้วยความผันผวนของผู้รับผิดชอบโครงการ จึงทำให้ได้เพียงอาคารหอวัฒนธรรมผู้ไทยที่มีหน้าที่เป็นหอประชุม 2 ชั้น ในส่วนชั้นล่างเป็นพื้นที่โล่งหนึ่งส่วน ห้องสำนักงาน และห้องสำหรับการเตรียมการแสดงอีกส่วนหนึ่ง ส่วนพื้นที่ชั้นบน ได้ก่อสร้างเป็นหอประชุมขนาดใหญ่ได้ตามโครงการที่ตั้งไว้
แม่หนูวรรณให้ข้อมูลว่า การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้น เพราะการท่องเที่ยวนั้นขยายตัวเกิดเป็นย่ายการค้าที่ตั้งอยู่บริเวณสามแยกไม่ไกลจากศูนย์ศิลปวัฒนธรรมผู้ไทยผ้าไหมแพรวา เฉลิมพระเกียรติฯ จึงส่งผลให้บุคคลภายนอกเข้ามายังศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทยแห่งนี้ลดลง แต่ชุมชนยังมีโอกาสในการจัดการต้อนรับและโฮมสเตย์ให้กับนักท่องเที่ยวอยู่เนือง ๆ เช่น การจัดพาแลงบริเวณชั้นหนึ่งของหอวัฒนธรรมผู้ไทย หรือการแสดงในโรงละครชั้นบนเป็นครั้งคราว ความกระตือรือร้นในการพัฒนาให้ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทยกลับมามีชีวิตชีวา คงเห็นได้จากโครงการที่ของบประมาณสร้างเรือนผู้ไทยใหม่ เป็นเรือนผู้ไทยจำนวน 2 หลัง ที่กำหนดไว้แล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2562 โดยเชื่อมโยงกับโครงการท่องเที่ยวในระดับชุมชนหรือโฮมสเตย์ที่ในตอนนี้มี 24 ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ เรือนผู้ไทย 2 หลังที่จะสร้างใหม่น่าจะเป็นศูนย์กลางในการตอนรับและถ่ายทอดเรื่องราวผ่านการแสดงและการสาธิตการทอผ้า ก่อนที่จะกระจายนักท่องเที่ยวไปยังบ้านเรือนต่าง ๆ ที่เปิดประตูต้อนรับผู้มาเยือนและพักค้างคืน
ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทย บ้านโพนจะกลับมามีสีสันดังเช่นที่ผู้เขียนได้มีโอกาสสัมผัสมเมื่อกว่าสิบปีที่แล้วได้หรือไม่นั้นคงเป็นเรื่องที่ต้องติดตาม แต่กระบวนการก่อตัว พัฒนาการ และความเปลี่ยนแปลงของกลุ่มสหกรณ์ศิลปาชีพทอผ้าไหมแพรวาสะท้อนให้เห็นความร่วมมือของรัฐกับชุมชน แม้นับวันจะสถานที่หลายแห่งมากขึ้นในบ้านโพนที่บอกเล่าเรื่องราวทางวัฒนธรรมและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าไหมแพรวา แต่นั่นคือโอกาสที่ความรู้ทางงานช่างจะยังคงได้รับการสืบทอด เพราะเด็ก ๆ รุ่นใหม่คงเรียนรู้จากคนรุ่นแม่ ๆ เมื่อผลิตภัณฑ์สร้างรายได้และมีศูนย์วัฒนธรรมที่เพิ่มคุณค่าผ่านเรื่องเล่าด้วยแล้ว วัฒนธรรมผู้ไทยคงได้รับการสืบสานและวิวัฒน์พร้อมกับความเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน
อ้างอิง
"ผ้าไหมแพรวา ราชินีแห่งไหม ภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้ไทกาฬสินธุ์,” วันที่ 11 ธันวาคม 2560, จาก http://region1.prd.go .th/ewt_news.php?nid=25827, เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2561.
“สหกรณ์ศูนย์ศิลปาชีพทอผ้าไหมแพรวา” จาก https://www.youtube .com/watch?v=qMsvrLybks0, เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2561.
นงลักษณ์ ศรีบุญจันทร์, “ความเป็นมาและเนื้อการจัดแสดง ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทย, ” สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2561 ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทย, ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์.
หนูวรรณ ทะนะจันทร์, “ความเป็นมาและเนื้อการจัดแสดง ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทย,” สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2561 ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทย, ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์.
จ. กาฬสินธุ์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทย บ้านโพน
การกลับมาเยี่ยมชมศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทย บ้านโพน สร้างความแปลกตาและแปลกใจให้กับผู้เขียนไม่น้อย เมื่อเทียบกับประสบการณ์ของการมา ณ สถานที่นี้เป็นครั้งแรก เมื่อราว 12 ปีก่อน ปัจจุบันปรากฏอาคารคอนกรีตตั้งอยู่ด้านหน้าศูนย์ แต่แสดงเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมในท้องถิ่น ด้วยเป็นอาคารชั้นเดียวแต่ยกพื้นสูงกว่าฟื้นดิน 2 หลัง มีจั่วหน้าอาคารและมีชาวทำหน้าที่เชื่อมอาคารทั้งสอง ส่วนอาคารด้านข้างที่เคยเป็นสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ทอผ้า กลับกลายเป็นโรงทอผ้าที่ปิดตัวเงียบในวันที่ผู้เขียนมาเยือนในครั้งนี้
ลึกเข้าไปด้านในอาคารเรือนผู้ไทยจำลอง จำนวน 4 หลัง ไม่มีให้เห็นอีกแล้ว หากแต่เป็นพื้นที่โล่ง แต่มีสิ่งก่อสร้างเป็นเสาสี่ต้นสูงจากพื้นมีแกนเหล็กยื่นออกมาในแต่ละด้านตั้งอยู่กลางสนามหญ้าทดแทน นอกจากนี้ ยังมีอาคารสร้างใหม่ที่มีชื่อเรียกอาคารดังกล่าวว่า “หอวัฒนธรรมผู้ไทย”
การเยี่ยมเมื่อครั้งก่อนนั้น ผู้เขียนไม่มีโอกาสสนทนากับผู้ใดเกี่ยวกับเรือนผู้ไทยที่เคยตั้งเด่นเป็นเอกลักษณ์ภายในศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทยแห่งนี้ แต่ในการสำรวจครั้งนี้ ผู้เขียนนัดพบกับแม่หนูวรรณ ทะนะจันทร์ ซึ่งเป็นประธานสหกรณ์ศูนย์ศิลปาชีพทอผ้าไหมแพรวา และแม่นงลักษณ์ ศรีบุญจันทร์ สมาชิกของสหกรณ์ แม่หนูวรรณเท้าความถึงที่มาที่ไปของการจัดตั้งสหกรณ์ผ้าทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของงานหัตถกรรมที่ได้รับการยกระดับจากงานทอผ้าพื้นบ้านสู่ศูนย์ศิลปาชีพ
เราอยู่ในตำแหน่งเป็นสหกรณ์ในพระราชดำริ ศูนย์ศิลปาชีพทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพน กาฬสินธุ์ จำกัด อาคารนี้ ตรงนี้เป็นที่ดินสาธารณะของหมู่บ้าน กลุ่มของเราได้ทำเป็นสถานที่จำหน่ายและฐานเรียนรู้ต่าง ๆ มีหน่วยงานและงบประมาณ แม้กระทั่งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯ ก็มาลงตรงนี้ แต่ว่าไม่ได้ดูแลแบบที่อื่น เราดูแลกันเองแต่อยู่ในโครงการของพระองค์ท่าน
...ครั้งแรกรวมกันเมื่อปี 2521 ตอนพระองค์ท่านเสด็จมาที่อำเภอคำม่วง พ.ศ.2520 ชาวบ้านเราได้เข้าเฝ้า พระองค์ท่านได้เห็นความสำคัญ การแต่งกาย ผ้าไหมแพรวา เลยสนพระทัย ท่านก็ถามประวัติความเป็นมาของเรา ชาวบ้านผู้เฒ่าเล่าประวัติความเป็นมาให้พระองค์ท่านฟัง พระองค์ท่านกลับไปแล้ว ให้ราชเลขาฯ นำเส้นไหมอุปกรณ์มาให้ชาวบ้าน แล้วก็ได้จัดตั้งกลุ่ม พ.ศ. 2521 โดยเริ่มแรกนั้นเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านโพน
...ต่อมาหน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัด เข้ามาดูแลเรา ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาชุมชน อุตสาหกรรม พาณิชย์ วัฒนธรรม เกษตร เข้ามาหมด แล้ว พ.ศ.2525 ท่านเสด็จฯ ติดตามโครงการ พวกเราทำทอผ้าเข้าไปส่งเข้าโครงการของพระองค์ท่าน ต่อมา เราก็มาทำงานแบบกลุ่มอยู่แล้ว แล้วก็มีการจัดตั้งสหกรณ์กลุ่มผ้าไหมแพรวา [พ.ศ.2551] ใน 4 อำเภอ คือผ้าไหมแพรวา ขึ้นเครื่องหมายการค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ทอได้เฉพาะสี่อำเภอ ได้แก่ คำม่วง สมเด็จ สามชัย สหัสขันธ์
คำอธิบายของแม่หนูวรรณโดยสังเขปทำให้เห็นภาพของการรวมตัวของสมาชิกในชุมชน ที่เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์จนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นผ้าไหมที่ทั้งเอกลักษณ์ คุณภาพ และกลายเป็นหนึ่งในเส้นทางการเดินทางมาท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ซึ่งในระยะต่อมาเมื่อราว พ.ศ.2545 ได้งบประมาณสนับสนุนจากทางจังหวัด ทางกลุ่มได้มีโอกาสเดินทางไปดูงานพิพิธภัณฑ์บ้านอีสานใกล้กับพระธาตุนาดูน ซึ่งอยู่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เห็นพ้องกันว่า การจัดสร้างเรือนผู้ไทยโดยอาศัยเรือนผู้ไทยต้นแบบจากพิพิธภัณฑ์บ้านอีสานน่าจะมีส่วนในการส่งเสริมภาพลักษณ์ทางวัฒนธรรม และกลายเป็นศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทยให้ผู้มาเยือนได้เข้ามาเรียนรู้
แม่หนูวรรณกล่าวถึงระยะเวลาหลายปีตั้งแต่มีการสร้างเรือนผู้ไทยนั้น ได้มีโอกาสต้อนรับผู้คนจำนวนมากที่สนใจงานหัตถกรรมรวมถึงความสนใจใครรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมผู้ไทย มีโอกาสสาธิตการสาวไหม การแสดงประเพณี การสาธิตการทำครัว อย่างไรก็ตาม ด้วยการก่อสร้างเรือนผู้ไทยทั้ง 4 หลังมีความไม่มั่นคง จึงทำให้ทางกลุ่มใช้งานได้เพียง 4-5 ปี ก่อนที่จะต้องรื้อเรือนผู้ไทยทั้ง 4 หลังออกไป แต่ในช่วงระยะนั้น เกิดการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่แม่ ๆ มีโอกาสเข้าไปถ่ายทอดความรู้ทางวัฒนธรรม เช่น เอกลักษณ์ของเครื่องแต่งกายที่ผ้าถุงของหญิงชาวผู้ไทยจะเน้นสีดำแดง มีเสื้อดำแถบสีแดง ห่มสไบเฉียง รวมถึงการถ่ายทอดภาษาพูดให้กับลูกหลาน
จนเมื่อ พ.ศ. 2551 ได้ของบประมาณสนับสนุนทางรัฐในการจัดสร้างอาคารถาวรด้านหน้าศูนย์ เพราะกลุ่มได้มีการจดแจ้งเป็นสหกรณ์ และมีสถานที่สำหรับเป็นสำนักงานและเป็นหน้าร้านสำหรับขายผลิตภัณฑ์ของชุมชน อาคารชั้นเดียวที่เป็นศาลาเปิดโล่งที่ผู้เขียนเคยเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ จึงได้รับการปรับเป็นโรงเตรียมเส้นไหมและโรงทอผ้าแทน ในระยหลังจากที่อาคารสหกรณ์แล้วเสร็จไม่ใน นายอำเภอคำม่วงในสมัยนั้น “นายเลิศบุศย์ กองทอง” ของบประมาณจากทางจังหวัดในการก่อสร้าง “หอวัฒนธรรมผู้ไทย” โดยกำหนดให้หอวัฒนธรรมมีส่วนการจัดแสดงวัฒนธรรมผู้ไทยที่ชั้นล่าง เพื่อแสดงให้เห็นกระบวนการทอผ้าไหมแพรวาและวิถีชีวิต ส่วนชั้นบน เป็นหอประชุมขนาดใหญ่คล้ายกับโรงละคร สำหรับการแสดงและการสาธิตทางวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม ด้วยความผันผวนของผู้รับผิดชอบโครงการ จึงทำให้ได้เพียงอาคารหอวัฒนธรรมผู้ไทยที่มีหน้าที่เป็นหอประชุม 2 ชั้น ในส่วนชั้นล่างเป็นพื้นที่โล่งหนึ่งส่วน ห้องสำนักงาน และห้องสำหรับการเตรียมการแสดงอีกส่วนหนึ่ง ส่วนพื้นที่ชั้นบน ได้ก่อสร้างเป็นหอประชุมขนาดใหญ่ได้ตามโครงการที่ตั้งไว้
แม่หนูวรรณให้ข้อมูลว่า การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้น เพราะการท่องเที่ยวนั้นขยายตัวเกิดเป็นย่ายการค้าที่ตั้งอยู่บริเวณสามแยกไม่ไกลจากศูนย์ศิลปวัฒนธรรมผู้ไทยผ้าไหมแพรวา เฉลิมพระเกียรติฯ จึงส่งผลให้บุคคลภายนอกเข้ามายังศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทยแห่งนี้ลดลง แต่ชุมชนยังมีโอกาสในการจัดการต้อนรับและโฮมสเตย์ให้กับนักท่องเที่ยวอยู่เนือง ๆ เช่น การจัดพาแลงบริเวณชั้นหนึ่งของหอวัฒนธรรมผู้ไทย หรือการแสดงในโรงละครชั้นบนเป็นครั้งคราว ความกระตือรือร้นในการพัฒนาให้ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทยกลับมามีชีวิตชีวา คงเห็นได้จากโครงการที่ของบประมาณสร้างเรือนผู้ไทยใหม่ เป็นเรือนผู้ไทยจำนวน 2 หลัง ที่กำหนดไว้แล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2562 โดยเชื่อมโยงกับโครงการท่องเที่ยวในระดับชุมชนหรือโฮมสเตย์ที่ในตอนนี้มี 24 ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ เรือนผู้ไทย 2 หลังที่จะสร้างใหม่น่าจะเป็นศูนย์กลางในการตอนรับและถ่ายทอดเรื่องราวผ่านการแสดงและการสาธิตการทอผ้า ก่อนที่จะกระจายนักท่องเที่ยวไปยังบ้านเรือนต่าง ๆ ที่เปิดประตูต้อนรับผู้มาเยือนและพักค้างคืน
ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทย บ้านโพนจะกลับมามีสีสันดังเช่นที่ผู้เขียนได้มีโอกาสสัมผัสมเมื่อกว่าสิบปีที่แล้วได้หรือไม่นั้นคงเป็นเรื่องที่ต้องติดตาม แต่กระบวนการก่อตัว พัฒนาการ และความเปลี่ยนแปลงของกลุ่มสหกรณ์ศิลปาชีพทอผ้าไหมแพรวาสะท้อนให้เห็นความร่วมมือของรัฐกับชุมชน แม้นับวันจะสถานที่หลายแห่งมากขึ้นในบ้านโพนที่บอกเล่าเรื่องราวทางวัฒนธรรมและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าไหมแพรวา แต่นั่นคือโอกาสที่ความรู้ทางงานช่างจะยังคงได้รับการสืบทอด เพราะเด็ก ๆ รุ่นใหม่คงเรียนรู้จากคนรุ่นแม่ ๆ เมื่อผลิตภัณฑ์สร้างรายได้และมีศูนย์วัฒนธรรมที่เพิ่มคุณค่าผ่านเรื่องเล่าด้วยแล้ว วัฒนธรรมผู้ไทยคงได้รับการสืบสานและวิวัฒน์พร้อมกับความเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน
อ้างอิง
"ผ้าไหมแพรวา ราชินีแห่งไหม ภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้ไทกาฬสินธุ์,” วันที่ 11 ธันวาคม 2560, จาก http://region1.prd.go .th/ewt_news.php?nid=25827, เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2561.
“สหกรณ์ศูนย์ศิลปาชีพทอผ้าไหมแพรวา” จาก https://www.youtube .com/watch?v=qMsvrLybks0, เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2561.
นงลักษณ์ ศรีบุญจันทร์, “ความเป็นมาและเนื้อการจัดแสดง ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทย, ” สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2561 ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทย, ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์.
หนูวรรณ ทะนะจันทร์, “ความเป็นมาและเนื้อการจัดแสดง ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทย,” สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2561 ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทย, ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์.
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ผ้า ภูไท ผู้ไท ผ้าแพรวา
ศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน หมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไทยโคกโก่งโฮมสเตย์
จ. กาฬสินธุ์
พิพิธภัณฑ์วัดกลางภูแล่นช้าง
จ. กาฬสินธุ์
พิพิธภัณฑ์ศพ วัดป่ามัชฌิมวาส
จ. กาฬสินธุ์