พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดภูถ้ำพระศิลาทอง


พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดภูถ้ำพระศิลาทอง ก่อตั้งเนื่องจากการที่ชาวบ้านได้ขุดดินเพ่อทำศาลาและได้ขุดพบโบราณวัตถุและหลัฐานทางโบราณคดีต่าง ๆ ในปี 2550 ต่อมาจึงได้สร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ในปี 2551 และได้นำโบราณวัตถุต่าง ๆ มาจัดแสดงไว้ภายในอาคาร อาทิ โครงกระดูกมนุษย์ที่สวมสร้อยคอลูกปัดแก้ว ลูกปัดขนาดเล็ก และกำไลสำริด เป็นต้น นอกจากนี้ชาวบ้านยังได้ร่วมบริจาคข้าวของเครื่องใช้เก่าสมัยโบราณให้นำมาจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์อีกด้วย

ที่อยู่:
บ้านนาหนองเชือก หมู่ 3 ต.เจียด อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2551
จัดการโดย:
เนื้อหา:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ร่วมด้วยช่วยกัน การจัดการมรดกศิลปวัฒนธรรม ตำบลเจียด อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

ชื่อผู้แต่ง: สุกัญญา เบานิด และวสันต์ เทพสุริยานนท์ | ปีที่พิมพ์: 2554

ที่มา: สำนักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 31 กรกฎาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดภูถ้ำพระศิลาทอง

พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดภูถ้ำพระศิลาทอง  เป็นแหล่งโบราณคดี ในระยะก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย  อายุราว 2,000-3,000  ปี ซึ่งปรากฏหลักฐานทางโบราณวัตถุที่สำคัญ  เช่น กำไลข้อมือลายเกลี่ยวเชือก  กลองมโหระทึก  ขวานสำริดรูปรองเท้าบูท  เครื่องปั้นดินเผา  ตลอดจนการฝั่งศพในภาพชนะดินเผาทรงกลมขนาดใหญ่ ปัจจุบันได้รับการบูรณะจากชาวบ้านและสำนักศิลปากรที่ 11  อุบลราชธานี  ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลเจียด  ได้จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น  ตลอดจนเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านวัฒนธรรมของชุมชน  
 
พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัด ภูถ้ำพระศิลาทอง  ตั้งอยู่ในสำนักสงฆ์วัดภูถ้ำพระศิลาทอง  เดิมนั้นพระอาจาย์รมย์  โอภาส  มีโครงการก่อสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่   จึงได้ขอบริจาคที่ดินจากชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดภูถ้ำพระศิลาทอง  นายบัวผัน  ชิณกะธรรม  เจ้าของที่นาที่อยู่ติดด้านหน้าของวัดภูถ้ำศิลาทองได้บริจาคที่ดิน เพื่อนำมาถมยังบริเวณศาลาการเปรียญหลังใหม่  โดยเมื่อวันที่ 30  มีนาคม 2550  คณะกรรมการหมู่บ้านได้นำรถแบ็คโฮไปขุดที่นา ที่ดินที่บริจาคดังกล่าว  ปรากฏว่าพบเศษภาชนะดินเผา  และเศษกระดูกมนุษย์จำนวนมาก  ชาวบ้านได้ช่วยกันนำขึ้นมาและเก็บรักษาไว้ในวัดภูถ้ำพระศิลาทอง  และต่อมาทางวัดจึงได้สร้างอาคารขึ้นมาเพื่อจัดแสดงโบราณวัตถุเพื่อเป็นแหล่งศึกษาทางประวัติศาสตร์ของ ชุมชน
 
นางสาวสุกัญญา  เขาถนัด  นักโบราณคดีชำนาญก าร  กล่าวว่า ในปี  พ.ศ.2551  กรมศิลปากรได้มีโครงการเครือข่ายมรดกทางศิลปวัฒนธรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่เครือข่ายในการสนับสนุนดำเนินงานของกรมศิลปากร  ในโครงการร่วมด้วยช่วยกันอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งฝั่งศพระยะก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายในพื้นที่ตอนบนของจังหวัดอุบลราชธานี  และพื้นที่ตอนล่างจังหวัดมุกดาหาร   โดยโครงการได้เข้ามาเสริมสร้างความรู้ด้านการศึกษาและอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีบ้านหนองเชือก  ตำบลบ้านเจียด  โดยให้ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เข้ามาร่วมในกระบวนการศึกษา  การอนุรักษาแหล่งโบราณคดีบ้านนาเชือกและบริการจัดการแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นของตนเอง  โดยมีเจ้าหน้าที่กรมศิลปกร  นักศึกษาโปรแกรมวิชาพัฒนาชุมชน  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรมตำบลเจียดเข้ามาร่วมศึกษาประวัติความเป็นมาของชุมชน  วัฒนธรรม ประเพณีรวบรวมและจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์
 
โบราณวัตถุที่นำมาตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์ที่สำคัญได้แก่  โครงมนุษย์  โบราณวัตถุ  เช่นภาชนะเครื่องปั้นดินเผาทรงกลมขนาดใหญ่ที่ใช้ฝังศพของคนก่อนยุคประวัติศาสตร์  ลักษณะภาชนะดินเผาทรงกรมคล้ายหม้อดินขนาดใหญ่ มีฝาปิด  ข้างในภาชนะมีโครงกระดูกมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์บรรจุอยู่พร้อมกับเครื่องประดับเป็นสร้อยคอลูกปัดแก้ว  สีแดง  เขียว ส้ม  และลูกปัดขนาดเล็กสีน้ำตาลเข้มซึ่งมีความสวยงาม  นอกจากนี้มีกำไลสำริด  ขวานสำริดรูปรองเท้าบูธ  เครื่องใช้เป็นเครื่องปั้นดินเผาขนาดต่างๆ   นอกจากนี้ชาวบ้านยังได้ร่วมกันบริจาคเครื่องใช้พื้นบ้าน เพื่อมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ด้วยเช่น  เชี่ยนหมาก  เครื่องประดับที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ
 
นอกจากนี้บริเวณวัดยังมีถ้ำพระ ซึ่งชาวบ้านเจียดให้ความเคารพนับถือ  และถือเป็นดินแดนศักดิ์ที่มีประวัติเล่ากันต่อมาว่า ถ้ำพระแห่งนี้ ชาวบ้านดอนแดงได้ไปหาอาหารบริเวณร่องแสง ซึ่งเป็นร่องน้ำธรรมชาติ  โดยเดินลัดเลาะลงมาเรื่อยๆ จนบรรจบกับลำห้วยทราย ซึ่งเป็นเทือกเขาภูขามและภูรัง   เมื่อมาถึงปากร่องแสงนั้น สุนัขได้ส่งเสียงเห่าชาวบ้านจึงได้พากันไปดูเจอถ้ำชะง่อนหินบริเวณริมห้วยทราย  ในถ้ำมีพระพุทธรูปอยู่เป็นจำนวนมาก  ซึ่งชาวบ้านไม่ทราบว่ามาจากไหนและสร้างมาจากสมัยใด   ชาวบ้านได้ตั้งชื่อถ้าแห่งนี้ว่า “ถ้ำพระ” ซึ่งก่อนนั้นมีพระพุทธรูปอยู่มากมาย  แต่ต่อมาพระพุทธรูป ถูกขโมยไปจนเกือบหมด  เช่น  พระพุทธรูปแก้วหยกสีเขียว สีแดง  พระงาช้าง  พระคลัง  ที่เหลืออยู่บ้างมีเพียงเล็กน้อย  ปัจจุบันชาวบ้านเชื่อว่าถ้ำแห่งนี้มีความศักดิ์สิทธิ์  โดยเมื่อถึงฤดูฝน  ในเดือนหก หากฝนไม่ตก  ชาวบ้านจะทำพิธีสรงน้ำพระในถ้ำพระแห่งนี้  เพื่อเป็นการขอฝน  
 
ส่วนพื้นที่วัดภูถ้ำพระศิลา  เดิมเป็นพื้นที่ของพ่อใหญ่ทอก  ทีฆะ(เสียชีวิตแล้ว)  ที่ได้เข้ามาจับจองพื้นที่ทำกิน   ต่อมาบุตรชายคนโตของพ่อใหญ่ทอก  คือ ร้อยตำรวจตรียุทธฉันต์  ทีฆะ  อดีตข้าราชการตำรวจ  ที่ได้เกษียณอายุราชการ  ได้บวชอยู่ที่วัดศรีอุบลวนาราม ในสายธรรมยุคนิกาย   ต่อมาต้องการที่จะปฏิบัติธรรมจึงได้ขอที่ดินจากพ่อตนเอง  เข้ามาปฏิบัติธรรมอยู่ในชะง่อนหินตรงรูปปั้นตั้งอยู่ปัจจุบัน  และได้สร้างกุฏิขึ้น 1 หลัง  ศาลาปฏิบัติธรรม 1 หลัง และพระพุทธ บาทจำลอง   ได้แกะสลักหินให้เป็นรูปช้างนอนเสียชีวิต  รูปเต่า  อึ่งอ่างพองตัว  กระต่าย  ตัวหนอนและดอกเห็น  ซึ่งเป็นการแกะสลักรูปหินที่มีความสวยงามและเหมือนเค ยมีชีวิตจริงตั้งอยู่บริเวณลานปฎิบัติธรรม 
นอกจากนี้รอบบริเวณที่ตั้งรูปปั้นยังมีทุ่งดอกบุก ตามชื่อเรียกท้องถิ่น  เป็นดอกไม้ขนาดใหญ่มีก้านยื่นออกจากพื้นดินสูงประมาณ 1-2 ฟุต มีช่อดอกสีเหลือง ลำต้นนำไปประกอบอาหารรับประทานได้ส่วนของดอกจะเป็นสมุนไพร   จะออกดอกในช่วงเดือนธันวาคม-เดือนมกราคม  
 
ผู้สนใจสามารถเข้าศึกษา “พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดภูถ้ำพระศิลาทอง” ที่บ้านนาหนองเชือก จำบลเจียด อำเภอเขมราฐ โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2050  จากจังหวัดอุบลราชธานี  ผ่านอำเภอตระการพืชผล ไปสู่อำเภอเขมราฐ ซึ่งพิพิธภัณฑ์ฯ  จะตั้งอยู่ก่อนถึงอำเภอเขมราฐ ประมาณ 10 กิโลเมตร  เลี้ยวขวาไปสู่ตำบลเจียด และเข้าสู่บ้านนาหนองเชือก

ที่มา: http://www.khemarat.ubpoc.go.th/news/show_news_inc.php?aid=P6&NewsId=25520807131233[accessed 12/01/2010]
ชื่อผู้แต่ง:
-