โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 12 กรกฎาคม 2564
โดย:
วันที่: 12 กรกฎาคม 2564
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 9/4/2546
ที่มา: มติชนรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 2536
ที่มา: ระยอง: วัดบ้านดอน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: กฤช เหลือลมัย | ปีที่พิมพ์: 30, 3 (ก.ค-ก.ย 2547) : หน้า 138-141
ที่มา: วารสารเมืองโบราณ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: พนิดา สงวนเสรีวานิช | ปีที่พิมพ์: 9/4/2546
ที่มา: มติชนรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: สภาวัฒนาธรรมจังหวัดระยอง | ปีที่พิมพ์: 2548
ที่มา: สภาวัฒนธรรมจังหวัดระยอง
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดระยอง | ปีที่พิมพ์: 254-?
ที่มา: ระยอง: หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดระยอง
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: อำนาจ มณีแสง | ปีที่พิมพ์: 2546
ที่มา: โครงการถ่ายทองภาษาถิ่นและเพลงพื้นบ้านจ.ระยอง
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: อำนาจ มณีแสง | ปีที่พิมพ์: -
ที่มา: -
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: อำนาจ มณีแสง | ปีที่พิมพ์: -
ที่มา: -
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: อำนาจ มณีแสง | ปีที่พิมพ์: 2542
ที่มา: อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพนางเพิ่มพูน มณีแสง
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: สภาวัฒนธรรมจังหวัดระยอง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระยอง | ปีที่พิมพ์: 2548
ที่มา: วีซีดี 1 แผ่น: สภาวัฒนธรรมจังหวัดระยอง
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: สภาวัฒนธรรมจังหวัดระยอง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระยอง | ปีที่พิมพ์: 2549
ที่มา: วีซีดี 1 แผ่น: สภาวัฒนธรรมจังหวัดระยอง
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: สภาวัฒนธรรมจังหวัดระยอง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระยอง | ปีที่พิมพ์: 2550
ที่มา: วีซีดี 1 แผ่น: สภาวัฒนธรรมจังหวัดระยอง
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร | ปีที่พิมพ์: 2548
ที่มา: วีซีดี 7 แผ่น: โครงการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ(บก.) | ปีที่พิมพ์: 2549
ที่มา: กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: อำนาจ มณีแสง | ปีที่พิมพ์: มิถุนายน 2549
ที่มา: เอกสารอัดสำเนา
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: นวลพรรณ บุญธรรม | ปีที่พิมพ์: 2551
ที่มา: กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดบ้านดอน
จากการบอกเล่าของพระครูปัญญาวฒุิกร (หลวงพ่อฟู)อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านดอน ตลอดจนทายาทของเจ้าของหนังใหญ่ ได้ความว่าหนังใหญ่ชุดนี้ มีอายุกว่า 200 ปี เป็นฝีมือช่างเก่าแก่แต่จะเป็นฝีมือของช่างสมัยใดไม่ได้ทราบรายละเอียด ศาสตราจารย์คุณหญิงเต็มศิริ บุณยสิงห์ เมื่อครั้งเข้ามาเยี่ยมชมเข้าใจว่าเป็นฝีมือของช่างหลวงสมัยกรุงศรีอยุธยา หนังใหญ่ชุดนี้รับงานแสดงมีชื่อเสียงอยู่ทางภาคใต้ พระยาศรีสมุทรโภคชัยโชคชิตสงคราม (เกด ยมจินดา) เจ้าเมืองระยอง ได้ทราบกิตติศัพย์ของหนังใหญ่ชุดนี้ ซึ่งกําลังแสดงอยู่ที่จังหวัดพัทลุง จึงได้ติดต่อซื้อมาทั้งชุด ประมาณ 200 ตัว และได้จ้างครูหรือนายโรงนี้มาเป็นครูฝึกถ่ายทอดให้กับคนในปกครองของท่าน
เล่ากันว่าในการนําหนังใหญ่มาได้นํามาทางเรือแล่นข้ามอ่าวไทยฝ่าคลื่นใหญ่ลมแรง หนังมนุษย์ซึ่งซ้อนกันอยู่ข้างบนบางตัวหล่นลงทะเล ต้องตามเก็บตัวสําคัญ เช่นนางสีดา ช่วยกันอยู่นานก็ไม่พบ สุดท้ายจึงพบติดอยู่ที่หางเสือเรือสําเภา ระยะหลังนําแสดงที่วัดจันทอุดม (วัดเก๋ง) ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลระยอง หลังจากนั้นประมาณ พ.ศ. 2430 เศษ วัดบ้านดอนได้สร้างขึ้น ผู้แสดงประจําโรงหนังนี้ซึ่งได้รับถ่ายทอดมาจากครูประดิษฐ์ เป็นคนชาวบ้านชากใหญ่ใกล้วัดบ้านดอน ปี่พาทย์ก็เป็นคนชาวทุ่งโพธิ์ไม่ห่างไกลง่ายกับการนัดฝึกซ้อม จึงนําหนังใหญ่มาถวายวัดบ้านดอน ผู้รับมอบเป็นครูหนัง คือนายเรือง นางแจ่ม รื่นเริง ได้ฝึกลูกหลานและชาวบ้านเล่น สืบต่อกันมา ผู้พากย์ประกอบด้วย นายสวม เป็นธรรม นายชํ่า ช่างทอง ขุนวรณ์ อาภรณ์รัตน์ ศีกษาเขียว โสภณ
เมื่อนายเรือง รื่นเริง ชรามากก็ได้มอบให้ นายสี รื่นเริง ผ้เูชิดร่วมโรงซึ่งเป็นบุตรรับมอบเป็นครูหนังใหญ่ต่อมา และเมื่อนายสีเข้าวัยชรามากก็ได้มอบให้ นายเฉลิม มณีแสง เป็นครูหนังพากย์ร่วมกับนายเจิม ขอบอรัญ ต่อมานายเฉลิม มณีแสง ถึงแก่กรรม นายถ่อย หวานฤดี ได้รับมอบเป็นครูหนัง เมื่อนายถ่อยถึงแก่กรรม ผู้รับมอบเป็นครูคือนายวัลลภ แสงอรุณ จนถึงปัจจุบัน
หนังใหญ่ถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์และเป็นมหรสพโบราณ ครูแรงดังนั้นเวลาเก็บไว้ในที่สูง เมื่อหนังใหญ่หมดความนิยม จึงนำไปเก็บโดยสร้างเป็นเรือนไม้เสา 4 ต้น หลังคามุงด้วยสังกะสี โดยขาดการ เหลี่ยวแล ตัวหนังจึงผุพังลดจํานวนลงไป พร้อม ๆ กับคนเชิดรุ่นเก่าก็เสียชีวิต
ในปี พ.ศ. 2523 หมู่บ้านชากใหญ่ หมู่ที่ 1 ตําบลเชิงเนิน อําเภอเมืองระยอง ได้เป็นตัวแทนในการประกวดหมู่บ้านดีเด่น จึงได้นำหนังใหญ่วัดบ้านดอนออกมาแสดงต้อนรับคณะกรรมการ นับเป็นจุดเริ่มต้นในการฟื้นฟูหนังใหญ่วัดบ้านดอน โดยมีนายอํานาจ มณีแสง ศิลปินจังหวัดระยองและชาวบ้านเห็นความสําคัญ ได้ร่วมกันอนรุักษ์ ฟื้นฟูแูละสืบทอด และออกแสดงในงานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี งานสงกรานต์ และเผยแพร่รายการโทรทัศน์ช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2524
ในปี 2538ได้จัดตั้งคณะกรรมการอนุรักษ์หนังใหญ่วัดบ้านดอน จัดโครงการฝึกเยาวชนเชิดหนังใหญ่ สร้างหนังใหญ่ชุดใหม่ และนำแสดงเผยแพร่จนถึงปัจจุบัน พระครูปัญญาวุฒิกรอดีตเจ้าอาวาสและชาวบ้านเห็นว่าหนังเก่าอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมจึงร่วมกันปรับปรุงศาลาธรรมสังเวชเป็นอาคารเก็บตัวหนัง โดยใช้งบประมาณจากเงินทอดกฐินของบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีคัลไทย จํากัด และเงินบริจาคของชาวบ้าน เปิดใช้เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2534 และได้ทำการปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ ปี 2560 ได้รับงบประมาณจากกองทุนไฟฟ้าสร้างพิพิธภัณฑ์หลังใหญ่ และได้ทำการปรับปรุงภายใน นำตัวหนังเก่ามาไว้ในพิพิธภัณฑ์หลังใหม่ เปิดทำการเมื่อ ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน
รีวิวของพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดบ้านดอน
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ศิลปะและการแสดง การแสดงทางวัฒนธรรม หนังใหญ่ มหรสพ นวดแผนโบราณ
พิพิธภัณฑ์บ้านครูกัง
จ. ระยอง
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดเขากระโดน
จ. ระยอง
พิพิธภัณฑ์วัดตาขัน
จ. ระยอง