พระจุฑาธุชราชฐาน เป็นพระราชวังบนเกาะแห่งเดียวในประเทศไทย สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเริ่มสร้างอาคารที่พักต่างๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2432 และใช้เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์ พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน เกาะสีชัง ก่อตั้งโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกรมศิลปากร เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงโบราณสถานของเกาะสีชัง ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่สมภพครบ 150 ปี ภายในเรือนโบราณจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเกาะสีชัง และพระจุฑาธุชราชฐานพระราชวังเก่าในสมัยรัชกาลที่ 5 อาคารต่างๆ ที่คงเหลืออยู่จำนวน 5 หลัง ประกอบด้วยเรือนไม้ริมทะเล ตึกผ่องศรี ตึกอภิรมย์ ตึกวัฒนา และพระอุโบสถวัดอัษฎางคนิมิตร มีสระ บ่อ ธาร พุ น้ำตก จำนวน 27 แห่ง บันได จำนวน 21 แห่ง สวน ถ้ำ และทางเดิน ซึ่งล้วนแต่มีชื่อพระราชทานทั้งสิ้น
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 14 กรกฎาคม 2564
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 1/15/2547
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: จิราภรณ์ | ปีที่พิมพ์: 12/4/2547
ที่มา: เดลินิวส์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | ปีที่พิมพ์: 2548
ที่มา: พระเกี้ยว 2548. สำนักงานสารนิเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ลดาวัลย์ ค้ำจุน | ปีที่พิมพ์: 1/15/2547
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 2547
ที่มา: กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จัดพิมพ์เนื่องในวาระที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป้นองค์ประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน เกาะสีชัง 12 มกราคม 2547 ณ เกาะสีชัง ชลบุรี)
แหล่งค้นคว้า: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน
พระจุฑาธุชราชฐาน เป็นพระราชวังบนเกาะแห่งเดียวในประเทศไทย สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์พระราชทานชื่อวังตามพระนามสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก ที่ประสูติ ณ เกาะสีชัง โดยในปี พ.ศ. 2432 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตึกวัฒนา ตึกผ่องศรี ตึกอภิรมย์ พระราชทานให้เป็นที่สำหรับผู้ป่วยรักษาตัว ในปี พ.ศ. 2434 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดบ่อน้ำ พระราชทานชื่อว่า บ่ออัษฎางค์ นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง สะพานอัษฎางค์ ศาลเจ้า หรือศาลศรีชโลธรเทพอัษฎางประภาคาร นอกจากนี้โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนภายในเกาะ ตลอดจนสร้างสถานที่ต่างๆ อีกหลายแห่ง ในปี พ.ศ. 2435 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชฐานให้มั่นคงยิ่งขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับใจฤดูร้อน ได้แก่ พระที่นั่ง 4 องค์ พระตำหนัก 14 พระตำหนัก บ่อ 14 บ่อ สระ 3 สระ ธาร 2 ธาร บันได 21 บันได เป็นต้น โดยพระราชทานชื่อสถานที่เหล่านี้ให้คล้องจองกันต่อมาพระองค์มิได้เสด็จแปรพระราชฐานมาที่เกาะสีชังอีก ด้วยเหตุแห่งความไม่ปลอดภัย เนื่องจากเกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส รศ. 112 ซึ่งมีกองทหารบุกขึ้นเกาะสีชังและปิดอ่าวไทย การก่อสร้างพระที่นั่งและตำหนักต่าง ๆ จึงยุติลง ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อถอนสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ บางส่วนไปสร้างในที่อื่น พื้นที่พระราชวังฯ จึงได้ถูกดูแลรักษาและใช้ในกิจการของบ้านเมืองสืบมา ทั้ง เป็นสถานที่ฝึกหัดดัดสันดานเด็ก กิจการตรวจคนเข้าเมือง ที่ขนเสบียงให้แก่ฝ่ายญี่ปุ่นของกระทรวงคมนาคม โรงเรียนประชาบาล ที่ว่าการกิ่งอำเภอสีชัง ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ที่ทำการย่อยของกรมการข้าว
ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับมอบสิทธิการใช้ที่ดินจากกรมธนารักษ์ โดยใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งประมาณ 5 ไร่ จัดตั้งสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล และศูนย์ฝึกนิสิต พร้อมทั้งดูแลโบราณสถาน และโบราณวัตถุในเขตที่ดินดังกล่าวให้อยู่ในสภาพที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน ปัจจุบันพื้นที่ในส่วนสถานีวิจัย อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ และพื้นที่ในส่วนพระราชฐานประมาณ 219 ไร่ อยู่ในความดูแลของศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งจุฬาฯ โดยพื้นที่ส่วนนี้ได้มีการดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมร่วมกับกรมศิลปากรมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มีการซ่อมแซมอาคารต่าง ๆ ที่หลงเหลืออยู่จำนวน 5 หลัง ประกอบด้วย เรือนไม้ริมทะเล ตึกผ่องศรี ตึกอภิรมย์ ตึกวัฒนา พระอุโบสถวัดอัษฎางคนิมิตร และสระ บ่อ ธาร พุ น้ำตก บันได สวน ถ้ำ และทางเดิน
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2545 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเริ่มคืนชีวิตชีวาให้พระราชวังกลับมาสมบูรณ์งดงามอีกครั้ง โดยได้ทำการปรับปรุงพระราชฐานแห่งนี้ เพื่อจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน และสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ โดยในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2547 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน และพิพิธภัณฑ์ชลทัศนสถาน(อยู่ภายใต้การดูแลของสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ) อย่างเป็นทางการ พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน ได้นำเรือนอภิรมย์ เรือนผ่องศรี และเรือนวัฒนา มาใช้เป็นส่วนจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเกาะสีชัง โดยเรือนอภิรมย์ซึ่งเป็นตึกยาว จัดแสดงเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนเรือนผ่องศรี ซึ่งเป็นตึกกลม จัดแสดงพระราชประวัติและประวัติบุคคลผู้มีบทบาทสำคัญต่อเกาะสีชังในอดีต ส่วนเรือนวัฒนา จัดแสดงนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญบนเกาะสีชังในสมัยรัชกาลที่ 5
ข้อมูลจาก:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พระเกี้ยว 2548. สำนักงานสารนิเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.
จิราภรณ์. "พิพิธภัณฑ์จุฑาธุช-ชลทัศนสถาน." เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 4 ธันวาคม 2547, 31.
ลดาวัลย์ ค้ำชู. "วัฒนธรรม: พระจุฑาธุชราชฐาน ณ สีชัง ถิ่นสุขกายสุขด้วย ถิ่นดี." กรุงเทพธุรกิจ. ฉบับวันที่ 15 มกราคม 2547.
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ประวัติศาสตร์และโบราณคดี รัชกาลที่ 5 บุคคลสำคัญ เรือนอภิรมย์ เรือนผ่องศรี เรือนวัฒนา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก
พิพิธภัณฑ์อธึก สวัสดีมงคล
จ. ชลบุรี
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลมหาวิทยาลัยบูรพา
จ. ชลบุรี
อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ
จ. ชลบุรี