พิพิธภัณฑ์มด


ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศษสตร์ เมื่อปี พ.ศ.2544 การจัดแสดงเป็น 4 ส่วน คือ มหัศจรรย์แห่งมด สายใยสัมพันธ์แห่งมด คุณค่าอนันต์แห่งมด และชีวิตอัศจรรย์แห่งมด โดยเนื้อหาบอกเล่าตั้งแต่เรื่องต้นกำเนิดของมด ร่างกายของมด ความแตกต่างของมดกับแมลงทั่วไป อาหารของมด ความสัมพันธ์ระหว่างมดกับมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันมานาน มดกับสิ่งแวดล้อม มดกับพืชที่พึ่งพาอาศัยกัน และมดกับสัตว์อื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีการนำมดสายพันธุ์ต่าง ๆ มาให้ศึกษาและส่องดูอย่างใกล้ชิดด้วย “แว่นขยายมด”

ที่อยู่:
ตึกวินิจวนันดร ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์:
0-2579 0176 ต่อ 510
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์-ศุกร์ 9.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
ffordew@ku.ac.th
ปีที่ก่อตั้ง:
2544
ของเด่น:
มหัศจรรย์แห่งมด สุดยอดสายพันธุ์ของมด
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์มดไม่มีวันตาย

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 2/1/2546

ที่มา: ผู้จัดการ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

มดสัตว์โลกจอมขยัน

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 6/3/2544

ที่มา: ข่าวสด

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ท่องไปในแดนมหัศจรรย์ที่ "พิพิธภัณฑ์มด"

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 04-07-2550(หน้า38)

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เที่ยว "พิพิธภัณฑ์มด" ได้อะไรมากกว่าเรื่องมดๆ

ชื่อผู้แต่ง: พ่อชิมบุน | ปีที่พิมพ์: 31 มกราคม 2554

ที่มา: มติชนออนไลน์

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

คน-บ้า-มด

ชื่อผู้แต่ง: กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล | ปีที่พิมพ์: 10 ก.ค. 2550;10-07-2007

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 28 ตุลาคม 2557

ตำรา (มด) ตัวน้อย ตัวนิด... ปลูกจิตสำนึกมหาศาล

ชื่อผู้แต่ง: สุกัญญา แสงงาม | ปีที่พิมพ์: 31 ม.ค. 2554;31-01-2011

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 พฤศจิกายน 2557

มารู้จักเหล่าสมุนตัวน้อยของ แอนท์-แมน ที่ “พิพิธภัณฑ์มด”

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 24 ก.ค. 2558;24-07-2015

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 18 เมษายน 2559


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์มด

มดมีกี่ตา?

คำถามนี้ ผู้อ่านบางคนคงสงสัยว่าถามทำไม เด็กอนุบาลก็ตอบได้ว่ามดมีสองตา แต่คุณรู้หรือไม่ว่า มดที่มีสามตาก็มีด้วย ตาของมดแบ่งเป็นตาเดี่ยวและตารวม ตาเดี่ยวโดยทั่วไปมีสามตา อยู่ตรงกลางเหนือตารวม พบในมดราชินีและมดตัวผู้

มดมีหนวดไว้ทำไม?

บางคนคงตอบได้ว่า มีไว้เพื่อสื่อสารกับมดตัวอื่น เพราะเคยเห็นมันเอาหนวดแตะกัน แต่คุณทราบหรือไม่ว่าหนวดของมดยังใช้รับความรู้สึกรวมถึงสภาพอากาศได้ด้วย

คำถามสุดท้าย..หลายคนคงเคยถูกมดกัด มดต่อยได้หรือไม่?

ถ้าตอบได้ แต่ไม่แน่ใจว่าถูก คำตอบมีอยู่ในบทความนี้ หรือถ้าจะให้ได้ความรู้มากขึ้น เชิญไปเที่ยวที่พิพิธภัณฑ์มด คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถานที่นี้มีเรื่องราวน่ารู้มากมายหลายแง่มุมเกี่ยวกับสัตว์ร่วมโลกตัวจิ๋วที่เราคุ้นเคย แต่ไม่ค่อยจะให้ความสนใจชนิดนี้ 

พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ที่ตึกวินิจวนันดร เดินตามรูปมดที่ติดเรียงแถวอยู่บนบันไดขึ้นมาที่ชั้น 2 ตรงข้ามกับสภาพของตัวตึกภายในห้องจัดแสดงตกแต่งด้วยสีเขียว ชมพู ฟ้า แดง สีสันที่สดใสน่าจะโดนใจเด็กๆ ที่มาเยี่ยมชม ตรงกลางห้องมีมดจำลองขนาดใหญ่ และมีต้นไม้ที่จำลองรังมดไว้ ด้านข้างมีกล่องใสบรรจุรังมดและมดที่มีชีวิตจริงไว้เพื่อให้สังเกตดูพฤติกรรมของมด

การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้แบ่งสี่เรื่องหลัก เรื่องแรกได้แก่มหัศจรรย์แห่งมด กล่าวถึงรูปร่างและวิวัฒนาการของมด สังคมมดและการสื่อสาร อาหาร และการแพร่กระจาย ฯลฯ หัวข้อที่สองกล่าวถึงพฤติกรรมของมดและความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น ระบบนิเวศ พืช สัตว์อื่นๆ รวมถึงมนุษย์ เรื่องที่สามอธิบายถึงคุณค่าของมดที่เป็นทั้งแหล่งอาหาร แหล่งรายได้ ในขณะเดียวกันก็กล่าวถึงปัญหาที่เกิดจากมดด้วย เรื่องที่สี่มาจากแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ที่น่าสนใจ เพราะกล่าวถึงการใช้ชีวิตของมดในมุมที่เปรียบเทียบกับคน เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนนำคุณสมบัติดีๆของมดมาเป็นตัวอย่าง

เรื่องเด่นที่จัดแสดงคือ สุดยอดสายพันธุ์ของมด นำเสนอเรื่องราวของมดสายพันธุ์ต่างๆ ที่น่าสนใจจากทั่วโลกพร้อมกับตัวอย่างจริง เช่น มดสกุล Myrmecia มีกรามค่อนข้างยาวและมีฟันจำนวนมาก สามารถรุมทำร้ายคนถึงตายได้ โชคดีที่พบในทวีปออสเตรเลียเท่านั้น มดชนิด Paraponera clavata เป็นมดที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกาใต้ มีพิษรุนแรงที่สุด มีเหล็กไนยาวมากอยู่ที่ปลายท้อง ส่วนมดที่มีพฤติกรรมน่าทึ่งที่สุดชนิดหนึ่งคือ มดตู้เย็น(Honey pot) เพราะมีส่วนท้องกลมป่องเอาไว้เก็บอาหารประเภทน้ำหวานไว้ มดเหล่านี้จะเกาะอยู่กับผนังของรังเพื่อให้มดตัวอื่นๆมานำไปกินและเลี้ยงตัวอ่อนเมื่อถึงช่วงเวลาที่อาหารขาดแคลน ชนพื้นเมืองของทวีปออสเตรเลียนำมาเป็นอาหารในช่วงหน้าแล้ง เป็นต้น

สำหรับมดในประเทศไทยมีประมาณ 800-1,000 ชนิด ที่เป็นที่สุดในแต่ละด้านก็มีให้ดู เช่น มดไม้ยักษ์ คือมดตัวใหญ่ที่สุด ตัวเล็กที่สุดคือมดละเอียดฝอย เล็กสมชื่อขนาดที่ว่าถ้าไม่ใช้แว่นขยายส่องดูจะนึกว่าเป็นฝุ่นผงที่เปื้อนอยู่ มดที่ต่อยปวดที่สุดคือมดตะนอย โดยใช้เหล็กไนที่ปลายท้อง

มดเป็นแมลงสังคม ในรังหนึ่งแบ่งเป็นสามวรรณะคือ มดราชินี มักจะมีขนาดใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่ออกไข่ ในรังหนึ่งมีตัวเดียวเป็นส่วนใหญ่ อายุอาจมากกว่า 10 ปี มดวรรณะสืบพันธุ์มีทั้งมดเพศผู้และเพศเมีย มดตัวผู้อายุสั้นราว 1-2 สัปดาห์ ส่วนมดตัวเมียมีหน้าที่หารังใหม่เพื่อวางไข่และเป็นราชินีต่อไป สุดท้ายคือมดงานซึ่งมีมากที่สุด มีหน้าที่ หาอาหาร ดูแลไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และราชินี มีอายุราว 4-6 เดือน

อาหารของมดมีทั้งพืชและสัตว์ แล้วแต่ชนิดของมด ส่วนใหญ่จะกินซากสัตว์ บางชนิดก็กินน้ำหวาน มดบางชนิดมีวิธีหาอาหารที่น่าประหลาดใจว่า มันคิดได้อย่างไร ยกตัวอย่างมดแดงบางครั้งจะอยู่ร่วมกับเพลี้ยและคอยปกป้องดูแลไม่ไห้ถูกสัตว์อื่นมาจับไปกิน ผลประโยชน์ที่ได้รับตอบแทนคือของเหลวที่เพลี้ยถ่ายออกมาให้เป็นอาหาร มดจะใช้หนวดเคาะปลายส่วนท้องให้เพลี้ยขับของเหลวออกมา ปัญหามีอยู่ว่าเพลี้ยได้อาหารจากการดูดน้ำเลี้ยงจากต้นไม้ ทำให้ต้นไม้ซึ่งบางครั้งเป็นไม้ผลที่เกษตรกรปลูกไว้แคระแกร็น แต่มนุษย์ก็มีวิธีแก้เผ็ด คือนำมดแดงและไข่มาทำอาหาร

ความจริงมดแดงนำมาปรุงเป็นอาหารได้ทุกช่วงชีวิตตั้งแต่ไข่ หนอน จนเป็นตัวเต็มวัย แถมยังใช้เป็นยาได้อีกด้วย คุณศศิธร หาสิน ผู้นำชมเล่าว่า จากการพูดคุยชาวบ้าน ถ้าเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ให้นำมดแดงมาขยี้ แล้วสูดดมจะช่วยบรรเทาอาการลงได้ หรือถ้าต้องการจะกำจัดไฝ นำมดแดงมากัดตรงไฝ กรดที่มดปล่อยออกมาจะทำให้ไฝเปื่อยและหลุดออก แต่สำหรับผู้มีอาการแพ้ไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้ ควรปรึกษาแพทย์จะดีกว่า

เมนูของว่างยอดนิยมของภาคเหนือและอีสานอย่างหนึ่งคือ แมลงมัน(เรียกกันว่าแมงมัน) ซึ่งเป็นมดชนิดหนึ่งมีทั้งมดงานตัวเล็กที่สุด มดตัวผู้ตัวโตกว่าและมดตัวเมียตัวใหญ่ที่สุด สองอย่างหลังมีปีกเพราะมีหน้าที่บินออกไปสืบพันธุ์ แมลงมันทำรังอยู่ใต้ดิน ชาวบ้านจะไปดักจับกันตอนค่ำซึ่งเป็นเวลาที่มันจะออกจากรู

คุณศศิธรให้สัมภาษณ์ว่าเนื่องจากผู้เข้าชมส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลขึ้นไป ทางพิพิธภัณฑ์จึงมีแนวคิดที่จะใช้พฤติกรรมที่ดีๆ ของมดมาช่วยสอนเด็กๆ เช่น มดเป็นสัตว์ที่ขยันขันแข็ง อดทน และเสียสละ พอตื่นขึ้นมาช่วยกันทำงาน หาอาหาร ดูแลไข่ และทำความสะอาดรัง นอกจากนั้นมดยังทำความสะอาดตัวเองด้วย โดยการใช้ขาคู่หน้าปัดหัวและหนวด เด็กจะสนใจมากเพราะเห็นตัวอย่างจริงจากรังมดจริง มดที่ตายแล้วจะถูกขนออกมาทิ้งข้างนอกรัง ถ้าถูกรบกวนจะออกมาช่วยกันปกป้องรังโดยการสำรวจว่ามีอะไรผิดปกติรอบๆรัง มดที่มีหน้าที่ปกป้องรังบางครั้งจะสู้เพื่อปกป้องมดราชินีและตัวอ่อนที่อยู่ภายในรัง 

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้พิสูจน์ให้เห็นว่า พิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่โตหรือใช้เงินลงทุนสูงในการออกแบบตกแต่ง ถ้ามีแนวคิดดี สามารถนำไปทำให้เป็นจริง ประกอบกับมีผู้นำชมที่มีความกระตือรือร้น มีใจที่จะถ่ายทอดความรู้ รู้จักนำประเด็นที่น่าสนใจมาเล่า ก็จะทำให้ผู้เยี่ยมชมรู้สึกเพลิดเพลินและได้ความรู้ไปด้วย 

พิพิธภัณฑ์มดที่เล่ามาข้างต้นเป็นส่วนที่ให้ประชาชนทั่วไปได้เข้ามามีส่วนร่วมศึกษาเรียนรู้ สำหรับนักวิจัยแล้วมีสถานที่จัดแสดงอีกแห่งหนึ่งอยู่ที่ห้องปฏิบัติการทางกีฏวิทยาป่าไม้ ตึกวนศาสตร์ 60 ปี ซึ่งมีตัวอย่างมดจัดเก็บไว้ในรูปแบบมาตรฐานของนักอนุกรมวิธานมด มดทุกตัวจะมีการบันทึกข้อมูลต่างๆ มีตัวอย่างมดแห้งมากกว่า 20,000 ตัว(พ.ศ.2544) จำแนกได้ไม่ต่ำกว่า 700 ชนิด 90 สกุล 9 วงศ์ย่อย และตัวอย่างมดเปียก(ดองในแอลกอฮอล์)กว่า10,000 ตัว

เรื่อง/ภาพ เกสรา จาติกวนิช 

สำรวจ : 7 มีนาคม 2551

ชื่อผู้แต่ง:
-

มารู้จักเหล่าสมุนตัวน้อยของ แอนท์-แมน ที่ “พิพิธภัณฑ์มด”

หลังจากฉันได้ดูภาพยนตร์เรื่อง “มนุษย์มดมหากาฬ” หรือที่หลายๆ คนรู้จักกันในชื่อ “แอนท์-แมน” (Ant-Man) ฉันก็รู้สึกทึ่งในเหล่า “มด” ตัวน้อยๆ ที่มีฤทธิ์มากไม่สมกับขนาดตัวเลย และด้วยความอยากรู้อยากเห็น ฉันจึงได้ตัดสินใจเดินทางมาที่ “พิพิธภัณฑ์มด” เพื่อมาศึกษาและมาทำความรู้จักกับมด แมลงขนาดเล็กที่มีความมหัศจรรย์มากมาย
ชื่อผู้แต่ง:
-

ตำรา (มด) ตัวน้อย ตัวนิด... ปลูกจิตสำนึกมหาศาล

เอ่ยถึงพิพิธภัณฑ์...เรามักจะจินตนาการถึงวัตถุโบราณ ข้าวของเครื่องใช้ในอดีตตั้งวางเรียงราย โดยมีผู้บรรยายหรือศึกษาจากป้าย ถ้าทันสมัยขึ้นมาหน่อยก็อาจจะเป็นการถ่ายทอดผ่านสื่อดิจิตอล แต่สำหรับ “พิพิธภัณฑ์มด” แล้ว รศ.ดร.เดชา วิวัฒน์วิทยา อาจารย์จากภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ในฐานะผู้ดำเนินการจัดทำพิพิธภัณฑ์มดแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งจัดว่าเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องมดทั้งในประเทศและต่างประเทศกว่า 800 ชนิดซึ่งถือว่าสมบูรณ์ที่สุด
ชื่อผู้แต่ง:
-

คน-บ้า-มด

ห้วงระยะเวลาประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา หลายคนคงได้ชม ได้ฟัง และได้อ่านเรื่องราวของ ‘พิพิธภัณฑ์มด’ กันพอสมควร เป็นพิพิธภัณฑ์มดที่ผู้ก่อตั้งการันตีว่าเป็นแห่งแรกของโลก!ในชีวิตปกติประจำวันของเราๆ ท่านๆ ตั้งแต่เด็กจนโตคงมีมดเคราะห์ร้ายจำนวนมากถูกฆาตกรรมทั้งด้วยความตั้งใจและไม่ตั้งใจด้วยน้ำมือและน้ำเท้าของเรา คงเพราะมันเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและบ่อยครั้งก็สร้างความรำคาญนั่นเองจึงทำให้มันเล็ดลอดออกไปจากความใส่ใจของเรา
ชื่อผู้แต่ง:
-

ท่องไปในแดนมหัศจรรย์ที่ "พิพิธภัณฑ์มด"

...มดตัวน้อยตัวนิด มดตัวน้อยตัวนิด มดมีฤทธิ์น่าดู ยู้ฮู...ฉันอดที่จะพึมพำเพลงที่คุ้นเคยปากมาตั้งแต่เล็กแต่น้อยในระหว่างที่กำลังเดินเข้าสู่ "พิพิธภัณฑ์มด" ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ไม่ได้ หลังจากที่ร้องเพลงวนไปวนมาหลายต่อหลายรอบ สุดท้ายฉันก็มาถึงยัง พิพิธภัณฑ์มด ณ ตึกวินิจวนันดร ในคณะวนศาสตร์ จนได้ ซึ่งเมื่อเข้าไปข้างในนั้นฉันถึงกับอ้าปากค้างร้องเพลงต่อไม่ออกเลยทีเดียว เพราะเบื้องหน้าตึกเล็กๆ 2 ชั้นที่เห็นอยู่นี้มีมด...ตัวน้อยตัวนิด สารพัดชนิดในจำนวนไม่น้อยไม่นิดจัดแสดงอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆมีพื้นที่ประมาณ 80 ตารางเมตร
ชื่อผู้แต่ง:
-

เที่ยว "พิพิธภัณฑ์มด" ได้อะไรมากกว่าเรื่องมดๆ

หากโยนคำถามใส่กลุ่มคนที่เดินมาว่า "ใครบ้างที่เคยโดนมดกัด?" ส่วนใหญ่ก็ต้องตอบว่า เคยโดนมาแล้วทั้งนั้น แต่จะโดนมากโดนน้อย ทุกคนก็รู้ถึงอาการเจ็บแบบแสบๆคันๆ อย่างดี จนบางครั้งก็มีการเปรียบเปรยสำหรับพวกที่กลัวเข็มฉีดยาว่า "เจ็บเหมือนมดกัด"
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-