พิพิธภัณฑ์เรือนไทยบ้านมาบสามเกลียว


ที่อยู่:
บ้านมาบสามเกลียว หมู่ที่ 7 ต.ดอนหัวฬอ อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000
โทรศัพท์:
อบต.ดอนหัวฬ่อ 0-3844-0112-7 ต่อ 711,712
วันและเวลาทำการ:
กรุณาติดต่อล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2544
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

"พิพิธภัณฑ์เรือนไทย" เพชรแห่งดอนหัวฬ่อ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 07-01-2550

ที่มา: ข่าวสด

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์เรือนไทยบ้านมาบสามเกลียว

ในอดีตบ้านมาบสามเกลียวเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่อยู่ห่างไกล การคมนาคมไม่สะดวก ชาวบ้านจะนำผลผลิต อย่างข้าวเปลือกไปขายต้องใช้ควายเทียมเกวียนลากข้ามมาบไป ใช้หนังควาย ๒ เส้น เกี่ยวควายเทียมเกวียนก็ขาดไปไม่รอด ต้อวใช้หนังควาย ๓ เส้น จึงจะผ่านไปได้จึงเรียกว่า “บ้านมาบสามเกลียว” จนทุกวันนี้

วิถีชีวิตชาวบ้านในอดีต มีอาชีพทำนาเป็นหลัก เลี้ยงสัตว์ ในปัจจุบันหันไปทำงานรับจ้างในนิคมอุตสาหกรรมกันเสียส่วนใหญ่ ขายที่นาให้นิคมอุตสาหกรรมไปเกือบหมด เพราะปลูกนาไม่ได้ผล ฝนตกน้ำท่วม เพราะที่ของนิคมฯ ได้ถมที่หมดแล้ว ข้าวจะเน่าเพราะน้ำเสียจากนิคมอุตสาหกรรม ดังนั้นเมื่อไม่อยากขายที่นาก็จำเป็นต้องขายที่ไป

คุณจงกล อินทกูล หัวหน้าฝ่ายบริหารการศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลดอนหัวฬ่อ รับผิดชอบด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ลุงเพทาย อินทจามรรักษ์ อดีตผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๗ ปัจจุบันมีตำแหน่งนักการภารโรง เป็นผู้ให้ข้อมูล และพานำชมพิพิธภัณฑเรือนไทย

คุณจงกล ยังได้ให้ข้อมูลเบื้องต้นของประชาชนในตำบลดอนหัวฬ่ออีกว่า หมู่ ๗ ซึ่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์เรือนไทยแห่งนี้มีประชากร ๗ พันกว่าคน แต่ประชากรอยู่จริงๆ ๕ หมื่นถึง๖ หมื่นคน เป็นประชากรแฝงส่วนใหญ่ ที่มาทำงานรับจ้อางในนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งสร้างปัญหาให้กับชุมชน อย่างการลักเล็กขโมยน้อย คุณจงกลยังได้กบอกอีกว่า ชาวบ้านในตำบลดอนหัวฬ่อ โดยเฉพาะที่หมู่ ๗ เป็นหมู่ที่ยากจนที่สุด เพราะเป็นเมืองปิด ตั้งแต่ที่มีถนนสายมอเตอร์เวย์ตัดผ่าน 

การก่อตั้ง พิพิธภัณฑ์เรือนไทย จากแต่เดิมมีไม้เก่าเหลือใช้ของวัดดอนดำรงธรรม ซึ่งอยู่ในเขตตำบลดอนหัวฬ่อเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านเห็นควรว่าน่าจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ผู้นำท้องถิ่นเห็นว่าข้าวของเครื่องใช้ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านตำบลดินหัวฬ่อยังมีอยู่พอประมาณ อีกทั้งช่างไม้ที่มีฝีมือพอมีอยู่ในพื้นที่ ทำให้เกิดความคิดที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ เพื่อเก็บสิ่งของโบราณไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชมเพื่อทำการศึกษาต่อไป

ประชาชนตำบลดอนหัวฬ่อ ได้ร่วมสร้าง พิพิธภัณฑ์เรือนไทย โดยไม่ได้ใช้งบประมาณของทางราชการแต่อย่างใด แล้วเสร็จเมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๔๔ มีการเก็บรักษาของใช้โบราณที่ได้รับบริจาคจากประชาชนทั่วไป พิพิธภัณฑ์เรือนไทย มีลักษณะเป็นเรือนไทย ๒ ชั้น ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าโรงเรียนบ้านมาบสามเกลียว

การจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์เรือนไทยนั้น มีการลงทะเบียนคุมวัตถุเท่านั้น แต่ยังไม่มีการลงรหัสให้กับวัตถุแต่อย่างใด จะมีแต่รายอะเอียดเพียงชื่อผู้ที่บริจาควัตถุชิ้นนั้นๆ มา การจัดแสดงวัตถุมีอยู่ ๒ ส่วนด้วยกัน คือบริเวณบนบ้าน แบ่งเป็นด้านในบ้าน และนอกบ้าน อีกส่วนคือ ชั้นล่างของเรือนไทย 

ส่วนด้านบนเรือนไทยมีการจัดวางตู้แสดงวัตถุอยู่ ๔ ตู้ด้วยกัน ด้านนอกจัดแสดงตะเกียงเจ้าพายุโบราณ ไหน้ำปลา ไหกระเทียม เต้าปูนแดง และเครื่องโม่หินในสมับก่อน ส่วนด้านในบ้านมีตู้จัดแสดงอีก ๒ ตู้ แบ่งเป็นส่วนของไหโบราณ กระบุงโกยข้าว ถังข้าวสาร ตะกร้าสานจากอำเภอพนัสนิคม กระโถน เตารีดถ่านโบราณ กระดึงกระบือ หีบใส่ของ ที่ปั่นนุ่น กระดึงทอเสื่อ เป็นต้น

ส่วนด้านล่าง จัดแสดงวิถีชีวิตการทำนา มีวัตถุเกี่ยวกับการทำนา อย่าง คันไถ คราด อีธ่อง ถังฟาดข้าว เซี้ยม และบันไดสำหรับตีข้าว เป็นต้น

นอกจากนี้ด้านล่างของเรือนไทยแบ่งเป็นห้องสมุดประชาชน แบ่งเป็นส่วนการประชุมของหมู่บ้าน เป็นที่นั่งรอเพื่อรับบุตรหลานของผู้ปกครอง โรงเรียนมาบสามเกลียว

คุณจงกล ได้บอกกับเราอีกว่า ทางองค์การบริหารส่วนตำบลดอนหัวฬ่อ ได้ทำการซ่อมแซมใหม่ให้กับเรือนไทยหลังนี้ เมื่อ ปีพ.ศ.๒๕๕๑ เนื่องด้วยมีปัญหาเรื่องปลวกกัดกินเนื้อไม้ จึงได้ทำการนำวางน้ำยากำจัดปลวก และเดินไฟใหม่ให้กับพิพิธภัณฑ์เรือนไทย และยังมีงบประมาณในการจัดการให้กับพิพิธภัณฑ์นี้ แต่มีปัญหาคือ ไม่มีคนเข้าใจงาน จึงต้องการพี่เลี้ยงมาช่วยดูแลในเรื่องนี้อย่างยิ่ง 

คุณลุงเพทาย และคุณจงกลได้ทิ้งท้ายไว้ว่า อยากที่จะรักษาเรือนไทยหลังนี้ให้ดีที่สุด เพราะช่วงบ่ายๆ ของทุกวันจะเป็นที่นั่งรวมกลุ่มพูดคุย นอนเล่นของชาวบ้านในแถบนี้ และในทุกๆ ปีจะมีการทำบุญใหญ่ของหมู่บ้านในวันสงกรานต์ วันปีใหม่ไทย เป็นการรวมหมู่ ญาติมิตร ที่ห่างบ้านไปได้กลับมารวมตัวกันที่เรือนไทยแห่งนี้ พิพิธภัณฑ์เรือนไทยบ้านมาบสามเกลียว นอกจากจะเป็นที่เรียนรู้วัฒนธรรมชุมชนแล้ว ยังถือว่าเป็นจุดศูนย์รวมใจของชาวบ้านอย่างแท้จริง

เรื่อง/ภาพ : ณัฐพัชร์ ทองคำ

สำรวจภาคสนาม : 8 เมษายน 2552

ข้อมูลเพิ่มเติม www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?[accessed20070226]

ชื่อผู้แต่ง:
-