โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: ยุวดี มณีกุล | ปีที่พิมพ์: 07-04-2547 หน้า 2
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 10-05-2544 หน้า 1,2
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 18 พฤษภาคม 2552
ที่มา: ผู้จัดการรายวัน
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: พระครูจารุเขมากร | ปีที่พิมพ์: มปพ.;มปพ.
ที่มา: มปท.
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 16 กรกฎาคม 2557
ชื่อผู้แต่ง: ปิ่น บุตรี | ปีที่พิมพ์: 30 ก.ค. 2558;30-07-2015
ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 21 มีนาคม 2559
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
พิพิธภัณฑ์โบราณสถานเมืองเพนียด วัดทองทั่ว
หากกล่าวถึงเมืองเพนียด เมืองโบราณในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ชื่อนี้ไม่เป็นที่รู้จักในสาธารณชน ด้วยเหตุนี้พระครูจารุเขมากร เจ้าอาวาสวัดทองทั่ว ผู้สนใจใฝ่รู้ ท่านได้ค้นคว้าตำรับตำราด้วยตนเอง ประกอบกับการรวบรวมโบราณวัตถุที่ชาวบ้านค้นพบในขณะเตรียมพื้นที่ทำนาและทำสวนผลไม้ จากนั้นจึงก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ของชุมชนขณะให้สัมภาษณ์ พระครูจารุเขมากร มีท่าทางผ่อนคลายสงบเย็น ท่านปรุงหมากเคี้ยวไปด้วย ชื่อของวัดทองทั่วนั้นมีตำนานมาจากพระนางกาไวที่ได้นำเอาแก้วแหวนเงินทอง ออกมาโปรยให้เก็บในขณะหลบหนีข้าศึก ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวัดทองทั่ว ก่อนนั้นยังมีที่มาว่าวัดทองทั่วเป็นวัดที่ย้ายมาจากวัดเพนียด อยู่ห่างจากตรงนี้ไปประมาณ 500 เมตร(วัดเพนียดเดิมตอนนี้เป็นวัดร้าง) เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยา ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธสุวรรณมงคลศากยมุนีศรีสรรญเพชร (หลวงพ่อทอง) เป็นพระประธาน
โบราณสถานเมืองเพนียด ได้ขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากรเมื่อปี พ.ศ.2478 ลักษณะเป็นกำแพงก่อด้วยศิลาแลง กว้าง 16 เมตร ยาว 26 เมตร สูง 3 เมตร สันนิษฐานว่า เดิมเป็นที่เมืองจันทบุรียุคแรกมีอายุไม่น้อยกว่า 1000 ปี
การเปิดพิพิธภัณฑ์เริ่มเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ.2550 การจัดแสดงอยู่ในพื้นที่กว้างขวาง เป็นอาคารแยกที่มีทางเดินเชื่อมกับศาลาการเปรียญโอ่โถงสวยงาม ด้านหน้าศาลาการเปรียญมีเจดีย์เก่าแก่รูปทรงลังกา อายุประมาณ 200 ปี การจัดแสดงแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนจัดแสดงโบราณวัตถุเมืองเพนียด กับอีกส่วนหนึ่งเป็นโบราณวัตถุของวัด สำหรับผู้ที่ต้องการมาศึกษาหาความรู้ ที่นี่เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีเนื้อหาเข้มข้น โบราณวัตถุชิ้นเด่นมีป้ายบอกเด่นชัด ที่ผนังและแทรกระหว่างส่วนจัดแสดงวัตถุโบราณมีบอร์ดขนาดใหญ่ เริ่มอธิบายตั้งแต่พัฒนาการทางประวัติศาสตร์จันทบุรี แผนที่สังเขปเมืองเพนียด ที่ตั้งอาณาเขตเมืองเพนียด ตำนานพระนางกาไว ภาพถ่ายสถานที่ตั้งโบราณสถานปัจจุบัน ได้แก่โบราณสถานด้านทิศตะวันตกภายในที่ดินเอกชน โบราณสถานวัดสมภาร(ร้าง) กำแพงเมืองโบราณ
วัตถุโบราณชิ้นสำคัญที่ค้นพบภายในเมืองเพนียดคือ ทับหลังศิลปะแบบถาลาบริวัติ(พ.ศ.1150) ค้นพบทั้งหมด 3 ชิ้น อยู่ที่วัดทองทั่ว พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร และวัดเขาพลอยแหวน จังหวัดจันทบุรี ทับหลังศิลปะแบบไพรกเมง(พ.ศ.1175-1240) มีการค้นพบเศียรพระหริหระ ซึ่งเป็นการรวมกันของพระศิวะและพระวิษณุแบบพนมดา(พ.ศ.1018-1150) อยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ 4 ปราจีนบุรี พบศิลาจารึกอักษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤต และเขมร ทำจากหินทรายสีแดง ข้อความอ่านไม่ค่อยได้ใจความ แต่มีความเหมือนกับจารึกอีก 11 หลักที่พบที่เมืองพระตะบอง เสียมเรียบ จำปาศักดิ์ ตะโบงฆมุม บาพนม บันทายมาศ และมาสัก ชิ้นอื่นๆมี เทวรูปพระนารายณ์ 4 กร ทำจากโลหะสำริด ศิลปะแบบนครวัด อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 และมีชิ้นส่วนเทวรูปอีกเป็นจำนวนมาก แท่นภาพรูปเคารพหินทราย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-18
จากหลักฐานดังกล่าว ทำให้สันนิษฐานว่าเมืองเพนียดอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-18 มีวัฒนธรรมแบบเขมรช่วงก่อนเมืองพระนคร
ส่วนโบราณวัตถุของวัด มีอยู่จำนวนไม่น้อย ได้แก่ ธรรมมาสน์ เป็นของเก่าสร้างเมื่อ พ.ศ.2467 ขุนนราพิทักกรมเป็นช่าง ลวดลายแกะสลักงดงาม ตู้พระไตรปิฎกลายทอง ฝีมือช่างชั้นครูสมัยกรุงธนบุรี อายุกว่า 200 ปี เป็นตู้ลายรดน้ำลายทอง บานประตูเป็นรูปเทวดา ด้านข้างเป็นลายกนกเปลวเพลิง เล่าเรื่องรามเกียรติ์และสัตว์ป่าหิมพานต์ หีบคัมภีร์ขนาดใหญ่ แกะสลักลายกนกใบเถาวัลย์เป็นรูปสัตว์ต่างๆ มีลายเทพนม ฝีมือช่างสมัยอยุธยา อายุราว 300 ปี หีบพระรามและหีบพระมาลัย สำหรับใส่หนังสือพระมาลัย เวลามีงานศพนิยมไปตั้งตอนพระสงฆ์สวดอภิธรรม ฝีมือช่างสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ของท่านพระครู ได้ทำร่วมกับคนในชุมชน มีการจัดตั้งกลุ่มเรียกว่า “กลุ่มอนุรักษ์ฟื้นฟูโบราณสถานเมืองเพนียด”การจัดแสดงออกแบบเอง อันไหนทำได้ก็ทำเองหมด ด้วยการพิจารณาว่า แม้แต่คนในท้องถิ่นเองก็ยังไม่ทราบเรื่องราวโบราณสถานเมืองเพนียด การมีพิพิธภัณฑ์คู่ไปกับการอนุรักษ์ จะทำให้คนในหมู่บ้านได้ศึกษาเรียนรู้ไปด้วย
การดำเนินงานช่วงแรกได้รับงบประมาณสนับสนุนจากเทศบาลเมืองจังหวัดจันทบุรี จำนวนสามแสนบาท ปัจจุบันทางกลุ่มมีสมาชิกประมาณ 60 คน มีทั้งครูและนักเรียน มีการแบ่งงานกันไปสำรวจข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แล้วมีการมาประชุมร่วมกัน จากการถามคนเฒ่าคนแก่ว่าเมืองเพนียดเป็นอย่างไร คนรุ่น 80-90 ปี บอกได้เพียงว่าเกิดมาก็เห็นเป็นแบบนี้ เป็นป่ารก แต่สภาพสมบูรณ์กว่านี้ อย่างบารายที่เป็นสระน้ำแฝด ปัจจุบันโดยทำลายไปจากการปรับพื้นที่ทำสวนผลไม้ สมัยก่อนมีการขุดเจอเทวรูป ใครมาขอชาวบ้านก็ให้ไป พระครูท่านให้ความเห็นว่า น่าจะมาจากการที่วัตถุโบราณเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่ชาวบ้านนับถือ เทวรูปเป็นของพราหมณ์ฮินดู และยังมีแท่นโยนีอีกเป็นจำนวนมากที่มีการขนมาถมตลิ่งข้างคลอง
เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น คุณช่อหรือคุณประเสริฐศรี วรรณประภา ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ ได้พาไปเดินชมสถานที่จริง ไม่ไกลจากที่ตั้งวัดเป็นโบราณสถานที่มองเห็นกำแพงก่ออิฐที่มีหญ้าและต้นไม้คลุมประปราย ใกล้กันเป็นบ้านที่อยู่อาศัยกับสวนมังคุด ลองกอง เมื่อเดินลึกเข้าไปพบว่ามีสวนผลไม้ที่ปกคลุมส่วนของโบราณสถาน สังเกตได้จากเศษของหินที่สร้างเป็นเม็ดๆอยู่ตามพื้น บางส่วนชัดเจนเห็นแนวหินซ้อนกันในสภาพปรักหักพัง ส่วนพื้นที่ทำนามีต้นข้าวเป็นผืนสีเขียว คุณช่อชี้บอกว่า บริเวณนั้นเคยมีการค้นพบเทวรูปที่ถูกดินกลบไว้
ด้วยความตั้งใจในการศึกษาเรียนรู้ของพระครูจารุเขมากร ได้ส่งผลครอบคลุมไปถึงชุมชน มาถึงวันนี้ได้มีคนมองเห็นและให้ความสำคัญ ล่าสุดได้รับการสนับสนุนการทำวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย(สกว.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์และแหล่งโบราณคดีเมืองเพนียด
----------------------------------------------------
สาวิตรี ตลับแป้น / ผู้เขียน
สำรวจภาคสนาม วันที่ 7 มิถุนายน 2556
----------------------------------------------------
การเดินทาง: วัดทองทั่ว จังหวัดจันทบุรีอยู่ริมถนนสุขุมวิท ห่างจากตัวเมืองราว 4 กิโลเมตร เส้นทางอำเภอเมือง – ท่าใหม่ – คุ้งวิมาน
-----------------------------------------------
อ้างอิง:
ข้อมูลการสัมภาษณ์ วันที่ 7 มิถุนายน 2556
แผ่นพับโบราณสถานเมืองเพนียด จากตำนานสู่ลานประวัติศาสตร์
แผ่นพับวัดทองทั่ว พระพุทธสุวรรณมงคล ศากยมุนีศรีสรรเพ็ชญ์(หลวงพ่อทอง)
วัดทองทั่วเป็นวัดเก่าแก่ของจันทบุรี.(2555). ค้นเมื่อ 16 กันยายน 2556 ,
จากhttp://tamlmonline.blogspot.com/2012/10/blog-post_31.html
เอกสารวัดทองทั่ว แหล่งเรียนรู้โบราณสถาน : เมืองเพนียด
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
เมืองจันท์อันซีน...“วัดทองทั่ว” เที่ยวให้ทั่วแล้วจะทึ่ง
พูดถึงจันทบุรี ถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่เมื่อผม“ไปจันท์”แล้วเป็นต้อง“ปันใจ”ให้อยู่เสมอ เพราะเมืองจันท์นอกจากจะเป็นเมืองผลไม้เลื่องชื่อ ยังมีมีสถานที่ท่องเที่ยวอันหลากหลายให้เลือกเที่ยวกัน ทั้งธรรมชาติ น้ำตก หาดทรายชายทะเล ประวัติศาสตร์ วิถีชุมชน สถาปัตยกรรมงามๆ รวมไปถึงวัดวาอารามอันทรงเสน่ห์ให้เที่ยวชมกันจำนวนหนึ่ง"วัดทองทั่ว"แหล่งเรียนรู้โบราณสถาน "เมืองเพนียด"
จันทบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมายาวนานนับพันปี ตั้งแต่ก่อนที่เราจะรู้จักกันในนามเมืองจันทบูร อดีตหัวเมืองชายทะเลตะวันออกสมัยอยุธยาที่พระเจ้าตากสินมหาราชรวบรวมไพร่พลกอบกู้เอกราชคืนแก่ปวงชนชาวไทย สันนิษฐานว่าจันทบุรีเคยเป็น"เมืองเพนียด"มาก่อน เมืองเพนียด มีชื่อปรากฏในพงศาวดารแต่แรกสร้างกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า เมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ 12 คือปลายสมัยฟูนันได้ค้นพบเมืองโบราณเก่าแก่ที่ได้รับวัฒนธรรมมาจากอินเดียมากกว่า 1,000 ปีแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
พระพุทธรูป โบราณสถาน วัดทองทั่ว เมืองเพนียด ทับหลัง เทวรูป ธรรมาสน์ ใบลาน
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา
จ. จันทบุรี
ศูนย์บูรณะหอไตรวัดตะกาดเง้า
จ. จันทบุรี
ศูนย์วัฒนธรรมชอง โรงเรียนคลองพลูวิทยา
จ. จันทบุรี