พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี จัดแสดงเรื่องราว ในลักษณะพิพิธภัณสถานแห่งชาติประจำเมือง นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ การพาณิชย์นาวีในอดีตจนถึงปัจจุบัน นำเสนอวิธีการปฏิบัติงานโบราณคดีใต้น้ำ การเก็บรักษาโบราณวัตถุภายในพิพิธภัณฑ์ แสดงเรือจำลองชนิดต่างๆ ทั้งที่ใช้ในแม่น้ำลำคลองและในทะเล ของดีเมืองจันทบุรี และบุคคลสำคัญ แสดงพระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ที่อยู่:
80 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี จันทบุรี ตำบลบางกะจะ อำเภอเมืองฯ จังหวัดจันทบุรี 2200
โทรศัพท์:
0-3939-1431-33
วันและเวลาทำการ:
เปิดบริการวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
คนไทย 20 บาท ต่างชาติ 100 บาท นักเรียน นักศึกษา ในเครื่องแบบ และพระภิกษุสามเณร ไม่เสียค่าเข้าชม
อีเมล:
panitnavi@yahoo.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2537
ของเด่น:
อินทรย์วัตถุที่พบจากแหล่งโบราณคดีใต้น้ำ
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์โบราณคดีใต้น้ำ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 22,4(ก.พ.44) หน้า133-134

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

Maritime museum

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 14-06-2550

ที่มา: Bangkok Post

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ย้อนรอยสำเภาจีนที่หัวเมืองตะวันออก

ชื่อผู้แต่ง: วิชัย ทาเปรียว | ปีที่พิมพ์: 24-03-2548 หน้า 29

ที่มา: ข่าวสด

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

“พิพิธภัณฑ์ฯพาณิชย์นาวี” ของดีเมืองจันท์ หนึ่งเดียวในไทย

ชื่อผู้แต่ง: ปิ่น บุตรี | ปีที่พิมพ์: 13 กรกฎาคม 2554

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เสน่ห์จันท์ “พิพิธภัณฑ์ฯพาณิชย์นาวี”

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 29 มิ.ย. 2553;29-06-2010

ที่มา: ผู้จัดการ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 23 มกราคม 2557


ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดสำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม มีภารกิจหลักในการเก็บรักษาโบราณวัตถุ ซึ่งได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีใต้น้ำ และจัดแสดงเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ การพาณิชย์นาวีไทย งานโบราณคดีใต้น้ำและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแก่ประชาชน เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่สืบไป

ประวัติความเป็นมา

กรมศิลปากรได้เริ่มทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัยงานด้านโบราณคดีใต้น้ำ และสำรวจเส้นทางการค้าทางทะเลในสมัยโบราณ อันเป็นหลักฐานแสดงความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจการพาณิชย์นาวีของชาติไทย มาตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2517 จากการดำเนินการสำรวจ ขุดค้น พบว่าตามเส้นทางการค้าทะเลโบราณมีเรือบรรทุกสินค้าอับปางอยู่ใต้ทะเลเป็นจำนวนไม่น้อย และในบางแหล่งได้ดำเนินการเก็บกู้โบราณวัตถุที่มี คุณค่าขึ้นมาเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการศึกษา ค้นคว้าด้านประวัติศาสตร์ด้วย ซึ่งผลจากการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องทำให้โบราณวัตถุที่ถูกนำขึ้นมาจากใต้ทะเลมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ กอปรกับในปี พ.ศ. 2535 กองทัพเรือได้ตรวจและยึดโบราณวัตถุจำนวนนับหมื่นชิ้นได้จากนักล่า สมบัติชาวต่างชาติที่เข้ามาลักลอบงม หาสมบัติใต้ทะเลในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทย โบราณวัตถุ ดังกล่าวได้ถูกนำมาเก็บรักษาไว้ที่สำนักงานโบราณคดีใต้น้ำ ค่ายเนินวง อำเภอเมือง จันทบุรี

หน้าที่และความรับผิดชอบ

1. ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ และวิจัยเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากหลักฐานที่เป็นโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และวัตถุทางชาติพันธุ์ ผนวกกับการสืบค้นจากเอกสารและตำนาน หรือแหล่งข้อมูลอื่น ๆ และพัฒนาเป็นข้อมูลวิชาการสำหรับเป็นเอกสารอ้างอิงระดับชาติและนานาชาติต่อไป

2. ดำเนินการสำรวจ และรวบรวมทรัพย์สินทางวัฒนธรรม ของชาติที่เป็นโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุทั้งแบบประเพณี ร่วมสมัย และสมัยใหม่ รวมถึงวัตถุ ทางชาติพันธุ์ ทั้งที่เป็นทรัพย์แผ่นดิน และที่เป็นหลักฐานแสดงถึงเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบมาเก็บรักษา ควบคุม ดูแล รักษา สมบัติทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 เพื่ออนุรักษ์ไว้เป็นมรดกของชาติสืบไป

3. ประสาน สนับสนุนในการสงวนรักษาทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของชาติ ตามหลักการอนุรักษ์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และวัตถุทางชาติพันธุ์ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ กับ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

4. เผยแพร่และบริการความรู้ที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้าวิจัยต่อสาธารณชนด้วยการจัดแสดง และด้วยสื่อ และนวัตกรรมรูปแบบต่างๆ

5. ตรวจพิสูจน์ กำหนดอายุสมัย โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และวัตถุทางชาติพันธุ์ ที่อยู่ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ

6. สำรวจเก็บข้อมูล ประสานส่วนกลางเพื่อดำเนินการขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่อยู่ในความครอบครองของวัดและเอกชน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

7. ดำเนินการกำกับ ควบคุม สถานประกอบการค้า การนำเข้า และการส่งออกสิ่งเทียมโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุฯ กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

8. วางแผนและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่รับผิดชอบให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามมาตรฐาน

9. ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ประจำท้องถิ่น

10. ดำเนินงานเกี่ยวกับเครือข่ายเพื่อการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โดยปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือสนับสนุนการให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์ มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

11. ปฏิบัติงานหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย

ภายในมีการจัดแสดงต่าง ๆ ดังนี้

1.ห้องสินค้าและวิถีชีวิตชาวเรือ จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติการพาณิชย์นาวีของไทยในสมัยโบราณตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เรื่อยมาจนปัจจุบันเส้นทางการเดินเรือเมืองท่าโบราณสินค้าประเภทต่างๆ โดยจำลองเรือสำเภาขนาดเท่าจริงไว้ภายในเพื่อแสดงให้เห็นถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนบนเรือขณะเดินทางในทะเลตลอดจนสินค้าประเภทต่างๆที่นำไปค้าขาย นอกจากนี้ยังจัดแสดงของมีค่าซึ่งพบจากแหล่งเรือจมบริเวณอ่าวไทย ได้แก่ จี้ทองคำฝังพลอยแดงและกำไลทองคำประดับอัญมณี

2.ห้องแนะนำปฏิบัติการโบราณคดีใต้น้ำ จัดแสดงเกี่ยวกับเทคนิคการทำงานโบราณคดีใต้น้ำโดยการจำลองสภาพแหล่งโบราณคดีใต้น้ำวิธีการทำงานตลอดจนเครื่องมือต่างๆที่ใช้ในการปฏิบัติงานจริง

3.ห้องคลังเก็บโบราณวัตถุ เป็นลักษณะพิเศษที่ออกแบบให้ผนังด้านหนึ่งเป็นกระจกใสทำให้ผู้เข้าชมสามารถมองเห็นโบราณวัตถุที่จัดเก็บไว้ภายในคลังโบราณวัตถุได้

4.ห้องเรือและชีวิตชาวเรือ จัดแสดงเรือจำลองประเภทต่างๆ ที่ใช้ในประเทศไทยทั้งเรือชนิดที่ใช้ในแม่น้ำลำคลองและชนิดที่ใช้ในทะเล เรือพระราชพิธี และเรือรบ เป็นต้น

5.ห้องของดีเมืองจันท์ คือส่วนของพิพิธภัณฑ์เมืองจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของจังหวัดจันทบุรีตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์สมัยประวัติศาสตร์การก่อตั้งเมืองเหตุการณ์สำคัญและเรื่องราวของชาวชองชนพื้นเมืองดั้งเดิมของจังหวัดจันทบุรีนอกจากนี้ยังได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติรวมทั้งสินค้าและอาหารพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของจังหวัดจันทบุรีไว้ด้วย

6.ห้องบุคคลสำคัญ จัดแสดงพระราชประวัติพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชรวมทั้งเส้นทางเดินทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อครั้งตีฝ่าวงล้อมข้าศึกออกมาตั้งทัพเพื่อรวบรวมไพร่พลและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จังหวัดจันทบุรีก่อนยกทัพกลับไปกอบกู้อิสรภาพคืนจากข้าศึกเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2

ชื่อผู้แต่ง:
คงกมล รัฐปัตย์

“พิพิธภัณฑ์ฯพาณิชย์นาวี” ของดีเมืองจันท์ หนึ่งเดียวในไทย

บ่อยครั้งที่ผมไปจันท์แล้วก็มักจะปันใจให้กับเสน่ห์อันดึงดูดของจังหวัดนี้ที่น่ายลไปด้วย ทะเลสงบๆ ธรรมชาติ ป่าเขาน้ำตก สวนผลไม้ วิถีวัฒนธรรม และอาหารการกิน ซึ่งอาหารเมืองจันท์นั้นได้ชื่อว่ามีเอกลักษณ์ไม่เป็นสองรองจังหวัดไหนๆ นอกจากนี้จังหวัดจันทบุรียังมีของดีอย่าง “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี” ที่เป็นสถานที่เก็บรักษาโบราณวัตถุใต้ท้องทะเลจำนวนมากนับหมื่นๆชิ้นแห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองไทย นับเป็นหนึ่งในแหล่งจัดแสดงของดีในระดับทวีปที่ถือว่าไม่ธรรมดาเอาเสีย
ชื่อผู้แต่ง:
-

เสน่ห์จันท์ “พิพิธภัณฑ์ฯพาณิชย์นาวี”

จันทบุรี จังหวัดนี้มีของดีทางการท่องเที่ยวหลายอย่าง หนึ่งในนั้นก็คือ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี” ที่สร้างขึ้นเพื่อการศึกษาวัฒนธรรมของคนที่เกี่ยวข้องกับน้ำ โดยมุ่งเน้นในเรื่องความเป็นมาของการคมนาคมทางน้ำ การติดต่อค้าขายและความสัมพันธ์ระหว่างเมืองท่าต่างๆ นับจากอดีตเชื่อมโยงมาถึงปัจจุบัน รวมถึงเป็นสถานที่ศึกษาเรื่องราวของท้องถิ่นในหลากหลายมิติ พิพิธภัณฑ์ฯพาณิชย์นาวี ตั้งอยู่ที่ ค่ายเนินวง ต.บางกะจะ อ.เมือง ค่ายโบราณที่สร้างขึ้นรับศึกญวน(เวียดนาม)ในสมัย ร.3 พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2537
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัทฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี

นับเป็นเวลากว่า 20 ปีมาแล้วที่ได้มีการดำเนินการศึกษา ค้นคว้าวิจัยทางโบราณคดีใต้น้ำที่ได้เริ่มขึ้นเมื่อปี 2517 ในการดำเนินงานสำรวจขุดค้นใต้น้ำในแหล่งโบราณคดีแต่ละแห่ง ทำให้มีจำนวนโบราณวัตถุเพิ่มมากขึ้น การเตรียมการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการทำงานโบราณคดีใต้น้ำและการพาณิชย์นาวีของไทย จึงเป็นงานสำคัญที่จะต้องดำเนินการเป็นลำดับต่อมา ประกอบกับการจับกุมชาวต่างชาติที่เข้ามาทำการลักลอบงมโบราณวัตถุใต้ทะเลบริเวณอ่าวไทย
ชื่อผู้แต่ง:
-