พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษา (เหมืองแม่เมาะ)


เหมืองแม่เมาะเป็นเหมืองถ่านหินลิกไนต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตามประวัติเหมืองแห่งนี้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษา ก่อตั้งโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือกฟผ. เป็นรัฐวิสาหกิจด้านกิจการพลังงาน โดยมีหน้าที่ผลิต จัดหา และส่งไฟฟ้าไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย พิพิธภัณฑ์สร้างอยู่บนเนินเขาภายในบริเวณสวนพฤกษชาติของเหมืองแม่เมาะ ภายในแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ส่วนแรกบริเวณโถงทางเข้า ต้อนรับผู้เข้าชมด้วยวิดีทัศน์แนะนำความเป็นมา ส่วนที่ 2 จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับธรณีวิทยาทั้งหมด ห้องแรกเป็นห้องถ่านน้อยที่จะเริ่มเตรียมความรู้เบื้องต้นให้แก่ผู้ชมเกี่ยวกับธรณีวิทยา การกำเนิดโลก วิวัฒนาการของโลก ส่วนที่ 3 จัดแสดงเรื่องเหมืองและโรงไฟฟ้าแม่เมาะ มีวิดีทัศน์สาธิตกระบวนการทำเหมืองถ่านหินลิกไนต์ แบบจำลองการทำเหมืองเปิดถ่านลิกไนต์ มีภาพ real time "ของจริง" แสดงการทำงานภายในเหมืองแม่เมาะ

ที่อยู่:
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 52220
โทรศัพท์:
054-254930-5
วันและเวลาทำการ:
อังคาร-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ รอบการเข้าชม 9.00, 10.30, 13.00 และ 14.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2548
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

โบราณคดีเหมืองแม่เมาะ

ชื่อผู้แต่ง: วิวรรณ แสงจันทร์ | ปีที่พิมพ์: 22: 4 (ต.ค.-ธ.ค.2539); 135-137.

ที่มา: เมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษาแห่งเดียวในโลกที่ปากเหมืองแม่เมาะ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 12-04-2551

ที่มา: ไทยรัฐ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

'เหมืองความรู้'ลิกไนต์ 'พิพิธภัณฑ์ถ่านหิน' บทบาทใหม่แม่เมาะ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 16-06-2550

ที่มา: เดลินิวส์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เปิดพิพิธภัณฑ์ถ่านหิน "แม่เมาะ" เพื่อการเรียนรู้สู่เยาวชน

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 13-07-2549(หน้า 23)

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษา

เหมืองแม่เมาะเป็นเหมืองถ่านหินลิกไนต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตามประวัติเหมืองแห่งนี้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 หลังจากที่ทรงมีพระบรมราชโองการลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2470 ถึงเจ้าพระยาพลเทพ ให้สงวนแหล่งถ่านหินในประเทศให้ทางราชการเป็นผู้ดำเนินการ แทนที่จะให้สัมปทานแก่เอกชน ประวัติศาสตร์ในช่วงเวลาดังกล่าวถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นวัตถุประสงค์หลักในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษา(เหมืองแม่เมาะ)  เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีสายพระเนตรยาวไกลให้สงวนแหล่งถ่านหินลิกไนต์แม่เมาะ ไว้ใช้ในราชการ ยังประโยชน์ต่อประเทศชาติจนถึงปัจจุบัน 
 
พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษา(เหมืองแม่เมาะ) เป็นอาคารชั้นเดียวรูปทรงทันสมัย สร้างอยู่บนเนินเขาภายในบริเวณสวนพฤกษชาติ ของเหมืองแม่เมาะ ภายในแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ส่วนแรกบริเวณโถงทางเข้า ต้อนรับผู้เข้าชมด้วย วิดีทัศน์ความยาว 2 นาที แนะนำ "ถ่านน้อย" เด็กชายตัวป้อม สีผิวคมเข้มดำสนิทไปทั้งตัว ที่จะพาเราเข้าสู่เรื่องราวภายในพิพิธภัณฑ์นี้ต่อไป จากนั้นประตูห้องเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 7 เปิดรอให้ผู้เข้าชม เข้าร่วมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับประวัติศาสตร์การก่อตั้งของเหมืองแม่เมาะ  ชมวิดีทัศน์พระผู้เป็นที่รักและรัฐธรรมนูญไทย ความยาวประมาณ 5 นาที ผนังรอบด้านแสดงพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี และที่ดูเหมือนจะเป็น "ไฮไลต์" ของห้องนี้คือ ผนังกระจกใสที่เบื้องหน้ามองเห็นโรงไฟฟ้าและเหมืองถ่านหินที่มีทิวเขาสลับซับซ้อนเป็นฉากหลัง พร้อมผนังส่วนหนึ่งที่แสดงพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงเจ้าพระยาพลเทพ เรื่องให้สงวนแหล่งถ่านหินให้ราชการดำเนินการเอง 
 
 ส่วนที่ 2 จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับธรณีวิทยาทั้งหมด ห้องแรกเป็นห้องถ่านน้อยที่จะเริ่มเตรียมความรู้เบื้องต้นให้แก่ผู้ชมเกี่ยวกับธรณีวิทยา การกำเนิดโลก วิวัฒนาการของโลกจากบรมยุค สู่มหายุค ยุค และสมัย ตามลำดับ และวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิต โดยฉายภาพยนต์ 3 มิติ ความยาวประมาณ 12 นาที บรรยากาศภายในห้องเหมือนกับเราอยู่ในโลกยุคโบราณ มีเสียงภูเขาไฟระเบิด ธารลาวาที่ไหลมาจากปล่องภูเขาไฟ ความสนุกสนานในโลกบรมยุคของบรรดาผู้ชมถูกดึงกลับสู่โลกแห่งความจริงเมื่อไฟในโรงสว่างขึ้น และผู้นำชมบอกว่าเชิญชมห้องถัดไปครับ!
 
หลังจากชมภาพยนตร์แล้ว ห้องถัดไปจัดแสดงสภาพนิเวศน์ ซากดึกดำบรรพ์ พืช  และสัตว์ ที่อาศัยอยู่ในมหายุคต่าง ๆ ที่เราได้ดูไปแล้วในภาพยนตร์ อาทิ มหายุคพาลีโอโซอิก มหายุคไทรโลโบท์ ที่เริ่มตั้งแต่ 570 ล้านปี สิ้นสุดเมื่อ 245 ล้านปีที่ผ่านมา จากนั้นมาเป็นมหายุคมีโซโซอิก มหายุคของไดโนเสาร์ และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ผู้ไม่มีความรู้ด้านธรณีวิทยาอาจจะมึนงงได้เล็กน้อย แต่ก็จะตื่นตาตื่นใจไปกับบรรยากาศที่เหมือนหลุดเข้าไปอยู่อีกโลก ห้องถัดไปจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับลำดับชั้นหินและถ่านแอ่งแม่เมาะ โครงสร้างธรณีวิทยาแอ่งแม่เมาะ มีตัวอย่างถ่านหินคุณภาพต่าง ๆ ให้ชม พร้อมวิดีทัศน์ให้ความรู้เกี่ยวกับชั้นหิน
ส่วนที่ 3 จัดแสดงเรื่องเหมืองและโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เหมืองแม่เมาะปัจจุบันอยู่ภายใต้การดำเนินการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ในห้องจัดแสดงมีวิดีทัศน์สาธิตกระบวนการทำเหมืองถ่านหินลิกไนต์ แบบจำลองการทำเหมืองเปิดถ่านลิกไนต์ มีภาพ real time "ของจริง" แสดงการทำงานภายในเหมืองแม่เมาะด้วย ข่าวด้านลบต่าง ๆ เกี่ยวกับมลภาวะจากเหมืองแม่เมาะที่ส่งผลกระทบกับชาวบ้านในชุมชนรอบเหมือง ทำให้ส่วนหนึ่งของการจัดแสดงพยายามพูดถึงการควบคุมมลพิษจากโรงไฟฟ้า สภาพแวดล้อมที่ไม่ได้เป็นพิษเป็นภัยอีกต่อไป มีวัวจำลองตัวน้อยกำลังเล็มหญ้าด้วยหน้าตามีความสุข คุณภาพชีวิตชุมชนที่ดีบริเวณแม่เมาะนำเสนอผ่านวิดีทัศน์ที่มีคำสัมภาษณ์จากชาวบ้าน(ที่ถูกเลือกแล้ว?) 
ร้านของของที่ระลึกบริเวณมุมด้านหน้า จัดไว้สำหรับผู้ที่ชื่นชอบที่การจับจ่ายและการเก็บของไว้ "ระลึก" ถึงประสบการณ์ที่ได้รับ แต่การชมพิพิธภัณฑ์นี้ยังไม่จบแค่ในตัวอาคาร บริเวณด้านหลังอาคารภายนอกมีสะพานไม้ทอดยาวไปสู่จุดชมวิว บริเวณปลายสุดใกล้ตาเบื้องล่าง จัดแสดงรถขุดแร่ พานลำเลียง และเครื่องจักรขนาดใหญ่ต่าง ๆ ไว้ท่ามกลางสนามหญ้าเขียวขจี ส่วนเหมืองแม่เมาะขนาดยักษ์ที่โอบล้อมด้วยทิวไม้และหุบเขา มองเห็นอยู่เบี้องล่างไกลตาออกไป
 
รอบการเข้าชมมี 4 รอบต่อวันพร้อมผู้นำชม รอบที่ 1 เวลา 9.00 น. รอบที่ 2 เวลา 10.30 น. หยุดพักเที่ยง รอบที่ 3 เวลา 13.00 น. และรอบที่ 4 เวลา 14.30 น.
 
ข้อมูลจาก:
การสำรวจภาคสนามวันที่ 14 กันยายน 2549
แผ่นพับประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษา(เหมืองแม่เมาะ)
 http://maemohmine.egat.co.th/aboutus/index.html[access 20061212]
ชื่อผู้แต่ง:
-