บ้านเสานัก


ที่อยู่:
ต.เวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง 52000
โทรศัพท์:
0-5422-7653, 0-5422-4636
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 10.00-17.00 น.
ค่าเข้าชม:
คนไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2535
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ภาคภูมิ งามสง่า...บ้านเสานัก

ชื่อผู้แต่ง: เอื้อมพันธุ์และปวิตร สุวรรณเกต | ปีที่พิมพ์: 07/01/2548 หน้า 8-9

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ@teste

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ชมดอกสารภี 146 ปีและบ้านโบราณ “เสานัก”

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 20 พ.ค. 2554;20-05-2011

ที่มา: คมชัดลึก

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 02 กันยายน 2556


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของบ้านเสานัก

บ้านเสานัก เป็นชื่อภาษาเมืองหมายถึงบ้านที่มีเสาจำนวนมาก บ้านเสานักเป็นบ้านที่มีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นมากหลังหนึ่งในจังหวัดลำปาง ก่อสร้างในปีพ.ศ.2428 โดยหม่องจันโอง จันทรวิโรจน์ ชาวพม่าที่มาตั้งรกรากในลำปางในห้วงที่ลำปางเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมทำไม้สักที่เฟื่องฟูมากในภาคเหนือ สถาปัตยกรรมของบ้านผสมผสานทั้งแบบพม่าและพื้นเมืองล้านนา โดยแบบระเบียงบ้านได้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมแบบพม่า ในขณะที่หลังคาและโครงสร้างโดยทั่วไปเป็นแบบล้านนา บ้านเสานักมีเรือนนอนสองหลังเชื่อมต่อกันด้วยหลังคา โดยส่วนพักอาศัยทอดยาวตลอดด้านหน้าของตัวบ้าน ชื่อบ้านเสานักตั้งโดยม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ เนื่องจากมีเสาไม้สักถึง 116 ต้น เนื้อที่ของบ้านตกราว 3 ไร่ ประกอบด้วยเรือนใหญ่ ซึ่งเป็นเรือนหมู่ โรงรถ และยุ้งข้าว มีบ่อน้ำหน้าบ้าน 2 บ่อ หลังบ้าน 1 บ่อ ไม้ยืนต้นอายุมากกว่าตัวบ้านคือ ต้นสารภีหลวง ซึ่งยืนตระหง่านอยู่ตรงทางเข้า

ในปี 2507 เมื่อบ้านตกอยู่ในครอบครองของคุณหญิงวลัย ลีลานุช หลานตาของผู้สร้าง โครงสร้างบ้านเริ่มเสื่อมลงไปตามกาลเวลา จึงมีการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านครั้งใหญ่ภายใต้การควบคุมของคุณทวีศักดิ์ จันทรวิโรจน์ น้องชายของคุณหญิงวลัย ซึ่งเป็นสถาปนิกที่มีชื่อเสียง การซ่อมแซมใช้เวลากว่า 10 ปี พื้นดินถูกยกขึ้นจากเดิมเพื่อป้องกันน้ำท่วม เสาบางต้นมีการโบกปูนทับแล้วใช้ไม้อัดประกบ เพราะไม้สักแม้จะทนทานแต่ย่อมผุพังตามกาลเวลา พื้นไม้ของชานบ้านเปลี่ยนเป็นปูกระเบื้องแทน และมีการปิดร่องไม้สักด้วยสังกะสี ปี 2530 คุณหญิงวลัย ตัดสินใจรื้อยุ้งฉางเก่าในบริเวณบ้านแล้วนำยุ้งฉางใหม่ที่อายุใกล้เคียงกับของเดิมมาแทนที่ ซึ่งยุ้งฉางใหม่มีเสากว่า 24 ต้น เพื่อความสมบูรณ์ของการสร้างยุ้งฉาง ได้มีการประกอบพิธีกรรมพื้นบ้านฮ้องขวัญกู่ข้าวเพื่อเชิญให้ขวัญซึ่งอาจจะหนีหายไประหว่างการก่อสร้างกลับคืนมา หลังจากนั้นในปี 2535 คุณหญิงวลัย ก็ถึงแก่อนิจกรรม บ้านเสานักจึงไม่มีผู้อยู่อาศัยอีก ทายาทคนต่อมาคือ คุณฌาดา ชิวารักษ์ (ภรรยาของลูกชายคนเดียวของคุณหญิงวลัย- ร.ต.อ.วันจักร ไวยวุฒิ) เป็นผู้ดูแลบ้านคนปัจจุบัน และเปิดบ้านเสานักให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและรับจัดสัมมนา งานเลี้ยงแบบพื้นเมือง ภายในบ้านเสานักจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้โบราณ เช่น แหย่งช้าง(ที่นั่งบนหลังช้าง)ของเจ้าหลวงลำปาง หีบโบราณ เครื่องอัดกลีบผ้าม่วง กำปั่นเหล็ก เครื่องเขิน เครื่องเงิน แอ๊บหรือหมากเงินศิลปะล้านนา ศิลปะเขมร ซองพลู จัดไว้ในตู้โชว์ มีหนังสือบรรยายประกอบการชม ที่ผนังติดภาพเจ้าดารารัศมี และภาพของเจ้าของบ้านรุ่นแรก

ข้อมูลจาก:
1. Ping Amranand and William Warren. Heritage Homes of Thailand. Bangkok: The Siam Society, 1996,pp118-121.
2. เอื้อมพันธุ์ , ปวัตร สุวรรณเกต. "ภาคภูมิ งามสง่า บ้านเสานัก." กรุงเทพธุรกิจ. วันที่ 7 มกราคม 2548, 8-9.
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชมดอกสารภี 146 ปีและบ้านโบราณ “เสานัก”

ท่ามะโอ ลำปาง - ณ ลานหญ้าบ้านนัก เริ่มปลายหนาวเข้าแล้ง ตั้งแต่เดือนมีนาคม มีงานฉลองให้ชื่นชม “หอมดอกสารภี” ต้นไม้โบราณ อายุ 146 ปี ในบ้านเสานัก ลำปาง ภายในบ้านเสาไม้สัก มรดกตกทอดมาจากคุณย่า ถึงรุ่นที่ 5 ดอกสารภี ที่มีกลิ่นหอมและหาดูได้ยาก ไม้หอมและไม้มงคลนี้ จะผลิดอกบาน อยู่บ้านเสานัก ได้รับการอนุรักษ์ให้เป็นบ้านกึ่งพิพิธภัณฑ์ของเมืองลำปาง มีเสาทั้งหมด 116 ต้น เลยได้ชื่อว่าบ้านเสานัก ลำปาง หมายถึงบ้านที่มีไม้สักจำนวนมาก “นัก” หมายถึง มาก
ชื่อผู้แต่ง:
-