พิพิธภัณฑ์วัดสะแล่ง


ที่อยู่:
19/1 หมู่ 4 บ้านนาหลวง ต.ห้วยอ้อ อ.ลอง จ.แพร่ 54150
โทรศัพท์:
054-581406, 087-1780285 พระครูสีรสังวราภิรัต (เจ้าอาวาส)
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน เวลา 09.00-17.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
komol_pp@yahoo.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2543
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

คติธรรมคำกลอน

ชื่อผู้แต่ง: พระครูวิจิตรนวการโกศล | ปีที่พิมพ์: 2550

ที่มา:

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เล่าให้ฟัง ๒

ชื่อผู้แต่ง: พระครูวิจิตรนวการโกศล | ปีที่พิมพ์: พิมพ์ครั้งที่ ๓ 2550

ที่มา:

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เล่าให้ฟัง ๔

ชื่อผู้แต่ง: พระครูวิจิตรนวการโกศล | ปีที่พิมพ์: พิมพ์ครั้งที่ ๒ 2549

ที่มา:

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เล่าให้ฟัง ๕

ชื่อผู้แต่ง: พระครูวิจิตรนวการโกศล | ปีที่พิมพ์: พิมพ์ครั้งที่ ๕ 2549

ที่มา:

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

วัดสะแล่ง

ชื่อผู้แต่ง: โครงการผ้าทอพื้นเมือง มหาวิทยาลัยศิลปากร | ปีที่พิมพ์: มปป.

ที่มา:

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์วัดสะแล่ง

วัดสะแล่งเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในอำเภอลอง จังหวัดแพร่ สันนิษฐานว่าสร้างตั้งแต่สมัยทวารวดี ต่อมากลายเป็นวัดร้างหลายยุคหลายสมัย ครั้งหลังสุดกลายเป็นวัดร้างเกือบ 300 ปี ก่อนที่พระครูวิจิตรนวการโกศล หรือ พระครูบาสมจิต และพระครูสีลสังวราภิรัต ได้เข้ามาบูรณปฏิสังขรณ์วัดใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2506 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2527 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้วัดสะแล่งกลายเป็นวัดมีพระสงฆ์ สองปีต่อมาจึงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา 
สะแล่ง เป็นชื่อของดอกไม้ป่าชนิดหนึ่ง เป็นไม้ยืนต้นดอกสีขาวนวล ลักษณะของดอกคล้ายดอกปีบหรือกาสะลองในภาษาเหนือ สาเหตุที่วัดสะแล่งใช้ชื่อดอกไม้เป็นชื่อวัดนั้น มีตำนานเล่าว่า สมัยก่อนพุทธกาลเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาถึงดอนสะแล่ง หรือ สะแล่ง แก้วดอนมูล หรือดอนสะแล่งหลวง เจ้าเมืองและชาวบ้านต่างพากันมาถวายภัตตาหาร ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้าเสวยภัตตาหารเสร็จ มเหสีเจ้าเมืองจึงได้นำดอกสะแล่งถวายพระพุทธเจ้าเพื่อเป็นพุทธบูชา และทรงตรัสเป็นพุทธทำนายว่าในอนาคตสถานที่แห่งนี้จะเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุและจะเจริญรุ่งเรืองต่อไปข้างหน้า ปัจจุบันต้นสะแล่งค่อนข้างหาดูยาก ทางวัดได้อนุรักษ์และนำมาปลูกไว้บริเวณหลังพระอุโบสถ

ก่อนที่จะเข้าชมพิพิธภัณฑ์ ท่านสามารถเดินชมสิ่งก่อสร้างและสถานที่สำคัญภายในวัด ซึ่งทางวัดอนุรักษ์ไว้และจัดภูมิทัศน์ไว้อย่างงดงาม ทั้งเขตพุทธวาสเก่าที่ประกอบไปด้วย พระธาตุขะอูบคำ ที่ก่อสร้างราวปีพ.ศ. 1100-1200 พระอุโบสถหลังเก่า ศิลปะล้านนา ซุ้มสิงห์จามเทวี ซุ้มพระสามพี่น้อง และลานไม้กลายเป็นหิน  ส่วนเขตพุทธาวาสใหม่ อาทิ พระเจดีย์ธาตุ ที่สร้างครอบฐานเดิม พระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะตระกูลช่างสุโขทัย ศาลาการเปรียญ ที่ภายในใช้จัดแสดงวัตถุโบราณ และของสำคัญของวัด
 
ข้าวของที่จัดแสดงภายในศาลาการเปรียญมีหลากหลายตามแบบพิพิธภัณฑ์วัด หากแต่มีการจัดหมวดหมู่และบางชิ้นมีป้ายคำอธิบายพร้อม ของส่วนใหญ่เป็นของเนื่องในพระพุทธศาสนา อาทิ พระพุทธรูปโบราณ ปั๊บสา รอยพระพุทธบาทสัมฤทธิ์ วิหารจำลอง บาตรหิน ผ้าพระบท สัตตภัณฑ์ เครื่องรางของขลัง ผ้ายันต์  ชิ้นส่วนพระพุทธรูป เทวรูป นอกจากนี้ยังของใช้ อาทิ เครื่องเขิน มีดดาบ ถ้วยชามสังคโลก ของที่อยู่ในอาคารหลังนี้ส่วนใหญ่เป็นของเก่าแก่ ทางวัดจึงห้ามมิให้ถ่ายภาพเพื่อความปลอดภัย
 
สำหรับพิพิธภัณฑ์ของวัดนั้นนอกเหนือจากที่ศาลาการเปรียญแล้ว ทางวัดยังได้สร้างอาคารจัดแสดงขึ้นอีกหลังหนึ่งเป็นอาคาร 4 ชั้น  เนื่องจากข้าวของต่างๆ  ที่ทางวัดและเจ้าอาวาสเก็บสะสมไว้มีมากมาย ของที่จัดแสดงอยู่ภายในก็หลายหลากมาก อาทิ พระพุทธรูป ปั๊บสา ไม้จำหลัก มีดดาบ สัตตภัณฑ์ วิหารน้อย ผ้ายันต์ ตาลปัตร ขันแก้วทั้งสาม เครื่องเขิน พิมพ์ดีด เครื่องฉายหนัง เครื่องเล่นแผ่นเสียง 
 
พระครูวิจิตรนวการโกศล ท่านเจ้าอาวาส เป็นทั้งพระนักอนุรักษ์และนักพัฒนา ท่านเป็นผู้ที่สนใจและสะสมข้าวของเก่า ๆ ของท้องถิ่นเอาไว้จำนวนมาก จนในที่สุดจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ภายในวัดถึง 2 หลัง โดยมีรองเจ้าอาวาสเป็นผู้ช่วยคนสำคัญ ผู้ชมอาจจะต้องใช้เวลาเป็นวันๆ  จึงจะชมได้หมด 
 
ข้อมูลจาก: สำรวจภาคสนามวันที่ 18 ธันวาคม 2550
ชื่อผู้แต่ง:
-