บ้านวงศ์บุรี


ชื่อเรียกอื่น:
คุ้มวงศ์บุรี
ที่อยู่:
เลขที่ 50 ถ.คำลือ ต.ในเวียง อ.เมือง จ.แพร่ 54000
โทรศัพท์:
0-5462-0153, 0-5451-1189
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 08.30-17.00 น.
ค่าเข้าชม:
ท่านละ 50 บาท
ปีที่ก่อตั้ง:
2540
ของเด่น:
สถาปัตยกรรมอาคาร, ตั๋วรูปพรรณช้างโค, เอกสารซื้อขายทาส
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ใจทะนง วงศ์บุรี

ชื่อผู้แต่ง: ธีรภาพ โลหิตกุล | ปีที่พิมพ์: 2548

ที่มา: ไร้กาลเวลา 1+5 พิพิธภัณฑ์น่าชม. นนทบุรี: กองทุนห้องสมุดศาลาจำปีรัตน์ วัดชลประทานรังสฤษฎ์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

คุ้มวงศ์บุรี เสน่ห์สีชมพูคู่เมืองแพร่

ชื่อผู้แต่ง: ปิ่น บุตรี | ปีที่พิมพ์: 22 ก.ค. 2551;22-07-2008

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

“รอยไหม” ในแพร่

ชื่อผู้แต่ง: ปิ่น บุตรี | ปีที่พิมพ์: 2 ธ.ค. 2554;02-12-2011

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 15 กรกฎาคม 2558


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของบ้านวงศ์บุรี

บ้านวงศ์บุรีเป็นบ้านของเจ้านายเมืองแพร่ในอดีต สร้างประมาณปี พ.ศ. 2440 โดยพ่อเจ้าพรหม(หลวงพงษ์พิบูลย์) และแม่เจ้าสุนันตา วงศ์บุรี ธิดาเจ้าบุรี(พระยาบุรีรัตน์) มีอาชีพทำสัมปทานป่าไม้ บ้านวงศ์บุรีเป็นบ้านไม้ขนาดใหญ่ 2 ชั้น รูปทรงไทยผสมยุโรป มีลวดลายไม้แกะสลักเป็นส่วนประกอบทั่วไปของบ้าน ลวดลายส่วนใหญ่เป็นลายเครือเถาที่เรียกว่า ทรงขนมปังขิง จากคำบอกเล่าบ้านหลังนี้สร้างโดยช่างชาวจีนจากมณฑลกวางตุ้ง โดยมีช่างชาวไทยเป็นผู้ช่วย ใช้เวลาก่อสร้างนาน 3 ปี บ้านหลังนี้เชื่อมต่อกับบ้านอีกหลังหนึ่งซึ่งอยู่ด้านหลังคาดว่าสร้างขึ้นในสมัยของแม่เจ้าบัวถา มหายศปัญญา ภรรยาคนแรกของเจ้าพิริยเทพวงศ์(เจ้าหลวงเมืองแพร่องค์สุดท้าย)และเป็นพี่สาวของพระยาบุรีรัตน์ ทั้งหมดสร้างอยู่บนพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร มีห้องต่าง ๆ ประมาณ 20 ห้อง  
 
ก่อนจะเปิดบ้านให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม มีผู้สนใจที่ผ่านไปมาขอเยี่ยมชมอยู่เสมอ รวมทั้งนิตยสาร บริษัทถ่ายภาพยนตร์ มักขอใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำอยู่เนือง ๆ แต่ที่ทำให้บ้านวงศ์บุรีเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือการที่อนุสาร อสท. ได้นำภาพบ้านวงศ์บุรีขึ้นปกในฉบับเดือนพฤศจิกายน 2535 หลังจากนั้นก็มีผู้ติดต่อเข้าเยี่ยมชมอยู่ตลอด ในเดือนตุลาคม 2540 ท่านเจ้าของบ้านจึงตกลงใจเปิดบ้านวงศ์บุรีให้เข้าชมได้อย่างเป็นทางการ
 
ภายในจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ในอดีตของบรรพบุรุษท่านเจ้าของบ้าน อาทิ เตียงนอน ตู้ โต๊ะเครื่องแป้ง เครื่องเงินต่าง ๆ ถ้วยชาม คนโท กำปั่นเหล็ก แหย่งช้าง อาวุธโบราณ พระพุทธรูปบูชาสมัยเชียงแสนและสุโขทัย เอกสารสำคัญหาดูยาก เช่น สัญญาบัตรที่ได้รับโปรดเกล้าฯจากรัชกาลที่ 5 เอกสารซื้อขายทาสอายุกว่า 100 ปี จำนวน 49 ฉบับ เอกสารการของสัมปทานป่าไม้ ตั๋วรูปพรรณช้างโค ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีภาพถ่ายของเจ้าของบ้านในอดีตจนถึงปัจจุบัน 
บริเวณด้านข้างของบ้าน แสดงการทำเครื่องเงินแบบโบราณโดยช่างท้องถิ่นของจังหวัดแพร่ โดยมีเครื่องเงินและสินค้าหัตถกรรมภาคเหนือจำหน่ายด้วย
 
บ้านวงศ์บุรีได้รับรางวัลบ้านอนุรักษ์ดีเด่นประจำปี 2536 จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
 
ข้อมูลจาก:
1. แผ่นพับประชาสัมพันธ์ "คุ้มวงศ์บุรี" จังหวัดแพร่
2. การสำรวจภาคสนาม วันที่ 20 เมษายน 2547
ชื่อผู้แต่ง:
-

คุ้มวงศ์บุรี เสน่ห์สีชมพูคู่เมืองแพร่

ใครและใครหลายคนว่าไว้ คนกำลังมีรักมักจะมองโลกเป็นสีชมพูสดใส แต่รักในที่นี่ย่อมเป็นประเภท รักอันหวานแหวว สดใส ซาบซ่าน ส่วนถ้าเป็นรักประเภท รักร้าว รักคุด รักกุด รักกร่อน รักหลอน รักขม รักเรือล่ม หรือรักไม่สมประประกอบอื่นๆ โลกคงไม่เป็นสีชมพูด้วยประการทั้งปวง แต่ใครจะเห็นโลกเป็นสีอะไร? เทา ดำ คล้ำ หรือช้ำเลือดช้ำหนอง เรื่องนี้ย่อมขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ของแต่ละคน สำหรับผมสภาพการณ์ในทริปนี้ ดู ดู๊ ดู ดู ดู ไป ในแทบทุกฝีก้าวล้วนเต็มไปด้วยสีชมพูดูสดใส แต่ประทานโทษ งานนี้ไม่ใช่เป็นสีชมพูของคนเพิ่งมีรักแรกรุ่น และผมก็ไม่ได้พลัดหลงเข้าไปในกองเชียร์ของฝั่งจุฬาในงานฟุตบอลประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์(ฝั่งจุฬา) หากแต่เป็นโลกสีชมพู(น้อยๆ)ใน“คุ้มวงศ์บุรี” บ้านเก่าแก่หลังงามคู่เมืองแพร่
ชื่อผู้แต่ง:
-

“รอยไหม” ในแพร่

เมื่อมีโอกาสขึ้นไปเยือนเมืองแพร่ในช่วงหลังละครจบหมาดๆ ผมจึงขออินเทรนด์ไปตามรอยละครรอยไหมกับเขาบ้าง โดยเริ่มกันที่บ้านวงศ์บุรีหรือคุ้มวงศ์บุรี บ้านวงศ์บุรี(ถ.คำลือ) เป็นบ้านหลังงามเก่าแก่คู่เมืองแป้ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในระดับไฮไลท์ของจังหวัด ในละครเรื่องรอยไหมบ้านหลังนี้ใช้เป็นฉากเรือนประทับหลังงามของ “เจ้านางมณีริน” บ้านวงศ์บุรีสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2440 ตามดำริของ“แม่เจ้าบัวถา” ชายาองค์แรกในเจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของเมืองแพร่
ชื่อผู้แต่ง:
-