ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา


ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนาเป็นหน่วยงานภายใต้งานศิลปวัฒนธรรมและชุมชน คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำหน้าที่ในการวิจัย จัดเก็บ และเผยแพร่ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมล้านนา และศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่อง มีที่ทำการ ณ อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) ซึ่งเป็นอาคารเก่าอายุประมาณ 120 ปี ซึ่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับบริจาคจากคุณเรียงพันธุ์ ทิพยมณฑล และอาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ เป็นตัวอย่างของงานสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างลักษณะพื้นถิ่นและอิทธิพลตะวันตกอย่างลงตัว เป็นอาคารสองชั้น หลังคาทรงมะนิลา มีระเบียงโดยรอบ เป็นแบบอย่างสถาปัตยกรรมอิทธิพลตะวันตกที่สร้างในเมืองเชียงใหม่ยุคแรก ภายในจัดแสดงความรู้ด้านสถาปัตยกรรมล้านนาในยุคสมัยต่างๆ

ชื่อเรียกอื่น:
คุ้มเจ้าบุรีรัตน์(เจ้าน้อยมหาอินทร์ ณ เชียงใหม่)
ที่อยู่:
เลขที่ 117 ถนนราชดำเนิน ตำบลพระสิงค์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000
โทรศัพท์:
053-277855, 053-942803
โทรสาร:
053277855
วันและเวลาทำการ:
อังคาร-เสาร์ 09.00- 17.00 น. อาทิตย์ 13.00-20.00 น.
ค่าเข้าชม:
คนไทย: ผู้ใหญ่ 60 บาท เด็ก 10 บาท ต่างชาติ: ผู้ใหญ่ 120 บาท เด็ก 20 บาท, เยาวชนอายุต่ำกว่า 7 ปี พระภิกษุ สามเณร ผู้ที่มีความพิการ เข้าชมฟรี
เว็บไซต์:
อีเมล:
lannacenter@hotmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2544
จัดการโดย:

ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา...

โดย: ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา

วันที่: 18 สิงหาคม 2564

ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา...

โดย: ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา

วันที่: 18 สิงหาคม 2564

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

รีวิวของศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์(เจ้าน้อยมหาอินทร์ ณ เชียงใหม่)

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมล้านนา และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมมาโดยตลอด โดยมีหลักสูตรที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และการประยุกต์งานสถาปัตยกรรมล้านนา ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจและมีพื้นฐานทางด้านสถาปัตยกรรม โดยสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปปรับใช้กับการออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัยได้ อย่างเหมาะสม

จากเหตุผลดังกล่าว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จึงได้มีโครงการจัดตั้งศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวม จัดเก็บจัดแสดงและศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมล้านนา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นศูนย์กลางสำหรับการเผยแพร่ความรู้แก่นักศึกษา นักวิจัย และผู้สนใจที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาค

ปัจจุบันศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนาเป็นหน่วยงานภายใต้งานศิลปวัฒนธรรมและชุมชน คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำหน้าที่ในการวิจัย จัดเก็บ และเผยแพร่ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมล้านนา และศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่อง

มีที่ทำการ ณ อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) ซึ่งเป็นอาคารเก่าอายุประมาณ 120 ปี ซึ่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับบริจาคจากคุณเรียงพันธุ์ ทิพยมณฑล และอาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2544

อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ หรือบางท่านเรียกว่า คุ้มกลางเวียง เดิมเป็นของเจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ หลานของเจ้าหลวงคำฝั้น (เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่3) สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2432-2436 ต่อมาเจ้าน้อยชมชื่น ณ เชียงใหม่ บุตรชายเจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ ได้รับมรดกและเป็นผู้ครอบครองอาคารในระหว่างปี พ.ศ. 2437-2489

นางบัวผัน นิกรพันธ์ (ทิพยมณฑล) ได้ซื้อต่อจากเจ้าบุษบา ณ เชียงใหม่ (ภริยาเจ้าน้อยชมชื่น ณ เชียงใหม่) และเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงญาติคนปัจจุบันคือคุณเรียงพันธุ์ ทิพยมณฑล (บุตรีนางบัวผันและเป็นน้าสาว ของอาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร)

วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2544 ตระกูลกิติบุตรและทิพยมณฑล ได้มอบอาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ ให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ใช้เป็นที่ทำการของศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา ภายใต้การดูแล และดำเนินงานของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์

เป็นตัวอย่างของงานสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างลักษณะพื้นถิ่นและอิทธิพลตะวันตกอย่างลงตัว เป็นอาคารสองชั้น หลังคาทรงมะนิลา มีระเบียงโดยรอบ เป็นแบบอย่างสถาปัตยกรรมอิทธิพลตะวันตกที่สร้างในเมืองเชียงใหม่ยุคแรก อีกทั้งยังแสดงออกถึงอิทธิพลของการก่ออิฐ การแปรรูปไม้

เทคนิคการเข้าไม้ที่เข้ามาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจและสังคมของเมืองเชียงใหม่ช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ตัวอาคารเป็นเรือนครึ่งปูนครึ่งไม้สองชั้น บันไดอยู่ด้านนอก ชั้นล่างก่ออิฐหนาเป็นรูปโค้ง (Arch) ฉาบปูนเป็นระเบียงโดยรอบ ชั้นบนเป็นพื้นไม้สักมีระเบียงโดยรอบ หลังคาจั่วและหลังคาปั้นหยามุงด้วยกระเบื้องดินขอคลุมระเบียงโดยรอบ

ปัจจุบันตัวอาคารยังอยู่ในสภาพดี แสดงถึงวิทยาการการก่อสร้างที่แข็งแรงคงทนในอดีต อย่างไรก็ตามทางคณะฯ เห็นว่าต้องมีการซ่อมแซมเพื่อให้อาคารมีความคงทนถาวรและพร้อมที่จะใช้งานต่อไป โดยในขณะนี้คณะฯ ได้เริ่มจัดทำแผนการอนุรักษ์แบบการสงวนรักษา (Preservation)

แผนงานการบูรณะ

1.       งานซ่อมแซมตัวอาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ เป็นการบูรณะซ่อมแซมและคืนสภาพอาคารให้คงรูปแบบดั้งเดิมในลักษณะของการสงวนรักษา (Preservation) พร้อมทั้งปรับปรุงตัวอาคารให้พร้อมใช้งานในลักษณะของอาคารจัดแสดงและจัดเก็บ

2.       งานระบบทางวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมถึงระบบวิศวกรรมไฟฟ้าและแสงสว่าง ประปา สุขาภิบาลทั้งตัวอาคารและโดยรอบ

3.       งานปรับปรุงภูมิทัศน์ ครอบคลุมถึงงานตกแต่งจัดสวนภายในบริเวณ งานซ่อมแซมรั้วเดิมและปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบให้สามารถรองรับกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นภายนอกอาคารในอนาคต

4.       งานปรับปรุงและซ่อมแซมอาคารโดยรอบ (โรงครัว) ดำเนินการปรับปรุงและซ่อมแซมอาคาร โรงครัวที่อยู่ด้านหลัง เพื่อสามารถใช้ประโยชน์ควบคู่กับอาคารหลังใหญ่

การรับบริจาคเพื่อสมทบทุนในการบูรณะอาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ การบูรณะอาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ เพื่อใช้เป็นที่ทำการศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา ต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อดำเนินการ

อย่างไรก็ตามจำนวนเงินดังกล่าวยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ คณะฯ จึงเชิญชวนบุคคลทั่วไปหรือหน่วยงานที่เห็นความสำคัญในงานสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของประเทศ ได้ร่วมกันบริจาคเงินทุนสนับสนุนการบูรณะซ่อมแซมอาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ โดยสามารถบริจาคได้โดยตรง ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือโอนเงินเข้าบัญชี “บัญชีศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์” เลขที่บัญชี 521-1-65985-6 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาสุเทพ หรือติดต่อบริจาคโดยตรงที่ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา

ข้อมูลจาก: http://www.lanna-arch.net/[accessed 28092010]

ชื่อผู้แต่ง:
-