พิพิธภัณฑ์ผ้าทอล้านนาเชียงแสน ก่อตั้งขึ้นโดยพระครูไพศาลพัฒนาภิรัต เจ้าอาวาสวัดพระธาตุผาเงา และคณะศรัทธา ที่เล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์และฟื้นฟูผ้าทอ ท่านได้เริ่มส่งเสริมการทอผ้าลายพื้นเมืองเชียงแสนให้คงไว้เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปพื้นบ้าน และส่งเสริมและฟื้นฟูการทอผ้าถือเป็นการสร้างอาชีพและรายได้แก่ชาวบ้าน พร้อมๆกันนั้นก็ร่วมกันจัดตั้ง "พิพิธภัณฑ์ผ้าทอล้านนา เชียงแสน" ขึ้นเมื่อปี 2539 อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นเรือนไม้สองชั้นใต้ถุนโล่ง ชั้นบนจัดแสดง ผ้าทอลวดลายแบบต่าง ๆ ใต้ถุนอาคารเป็นโรงทอผ้า ต่อมาในปี 2557 ได้มีการบูรณะและเพิ่มเติมพื้นที่ใช้สอยของอาคารและการจัดแสดง และล่าสุดได้ปรับปรุงการจัดอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2561 ภายใต้ความร่วมมือกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นล้านนา ที่ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การหาชน) มีโกมล พานิชพันธ์ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการปรับปรุงนิทรรศการ ภายในนำเสนอเกี่ยวกับการตระเตรียมเส้นใย การทอผ้า โดยจัดแสดงอุปกรณ์ต่าง ๆ ในแต่ละขั้นตอน นำเสนอลวดลายผ้าเชียงแสนที่แตกต่างกัน ผืนผ้าและการนุ่ง รวมถึงนำเสนอผ้าที่เป็นของชาวบ้านกับผ้าสำคัญในทางศาสนา และผืนผ้าทอขนาดยาวที่เป็นผ้าที่ช่างไท-ยวนในแต่ละถิ่นร่วมทอกันไว้เป็นผืนยาว
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
พิพิธภัณฑ์ผ้าไท-ยวน
เนื้อหาเรียบเรียงในข้อเขียนนี้มาจากการสำรวจ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2562 ในครั้งนั้นเป็นการพบอาจารย์โกมล พานิชพันธ์ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการจัดแสดงนิทรรศการที่ปรับปรุงล่าสุดในช่วงปลายปี พ.ศ.2561 และการเข้าพบพระพุทธิญาณมุนี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุผาเงา เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2562 ในการสัมภาษณ์ประวัติความเป็นมาของการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ โดยมีพี่ทิพวรรณ โตแตง ซึ่งเป็นนักกิจกรรมที่ขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมในอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย อำนวยความสะดวกในการนัดหมายและให้ข้อมูลเพิ่มเติม
ต้นทางการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ผ้าไท-ยวน
พระครูไพศาลรัตนาภิรัต หรือพระพุทธิญาณมุนี เจ้าคณะอำเภอเชียงแสนในปัจจุบัน (ต่อไปใช้คำว่า ท่านเจ้าคุณฯ) ศึกษาประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสน ร่วมกับกลุ่มชาวบ้าน เมื่อราว พ.ศ.2529 และเรียนรู้ถึงผ้าทอเชียงแสนซึ่งสูญหายไปจากพื้นที่ แต่ทราบว่าผ้าทอเชียงแสนคงทอกันอยู่จังหวัดราชบุรี จึงนำสมาชิกกลุ่มแม่บ้านสบคำไปศึกษาลายผ้า และฝึกทอผ้าที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ และตระเวนดูงานทอผ้าในหลายแหล่งด้วยกัน เช่น อำเภอหนองบัวและอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน และบ้านยาง อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี จึงได้เชิญช่างทอผ้าจากที่นั่นมาสอนและสร้างลายเชียงแสนให้เป็นเอกลักษณ์ จนกลายเป็น ผ้าทอล้านนาเชียงแสน
ท่านเจ้าคุณฯ เล่าพัฒนาการในระยะต่อ เมื่อราว พ.ศ.2539-2540 มีการนำกิจกรรมและโครงการผ้าทอเข้าไปยังโรงเรียนในพื้นที่ ซึ่งทำกันได้อยู่เพียงระยะหนึ่ง เมื่องบประมาณจำกัด โครงการผ้าทอในสถานศึกษาจึงหยุดไปโดยปริยาย แต่รูปแบบของการฟื้นฟูและการสืบทอดงานผ้าทอเชียงแสนคงดำเนินการในวัด และพัฒนาต่อมาเป็นพิพิธภัณฑ์ผ้าทอล้านนาเชียงแสน พร้อม ๆ กับการฟื้นฟูการจัดงานจุลกฐิน ที่จัดมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน อนึ่งเอกสารที่ระลึกในวันเปิดพิพิธภัณฑ์กล่าวว่า
ทางวัดพระธาตุผาเงา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยการนำของพระครูไพศาลพัฒนาภิรัต และคณะศรัทธาทั้งหลายเล็งเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ จึงจัดให้มีการส่งเสริมการทอผ้าลายพื้นเมืองเชียงแสนเพื่อการอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้าน ...ที่สำคัญคือการสืบทอดให้เยาวชนได้เห็นความสำคัญและความงอกงามอันเป็นเอกลักษณ์เชียงแสนที่สืบทอดกันมา
จึงเห็นได้ว่าทั้งงานผ้าทอและงานพิพิธภัณฑ์ดำเนินไปด้วยวัตถุประสงค์ของการอนุรักษ์ผ้าทอโบราณ รวมทั้งการส่งเสริมรายได้ให้คนในพื้นที่ และการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว
ในระยะแรกของพิพิธภัณฑ์นั้น มีการนำเสนอแง่มุมต่าง ๆ ในวิถีชีวิตของชาวไท-ยวน เช่น การทำมาหากิน ชีวิตในครัวเรือน การทอผ้า ในระยะต่อมา ดร.อุดม สมพร ร่วมกับท่านเจ้าคุณ และสมาชิกในชุมชนเปลี่ยนแปลงการจัดแสดงที่เน้นเรื่องผ้าทอไท-ยวนเป็นสำคัญ เมื่อราว พ.ศ.2557-2558 โดยได้รับงบประมาณจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำหรับสร้างอาคารเพิ่มเติม โดยพัฒนาทางเดินเชื่อมต่อจากชั้นบนของอาคารพิพิธภัณฑ์หลังแรก เพื่อจัดแดสงผ้าทอไท-ยวนที่จัดทำขึ้นในวาระสำคัญของการฟื้นฟูวัฒนธรรมไท-ยวนทั่วประเทศ โดยให้ช่างทอผ้าไท-ยวนในแต่ละพื้นที่ทอผ้าด้วยลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง และระบุการเรียกชื่อ ช่างทอ และจังหวัดของผู้ทอ ผ้าทั้งหมดกลายเป็นผ้าทอไท-ยวนผืนยาวที่บันทึกความพยายามฟื้นฟูอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ไท-ยวนในถิ่นฐานต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย
ความเปลี่ยนแปลงในการจัดแสดง
ความเปลี่ยนแปลงในการจัดแสดงเป็นส่วนหนึ่งการทำงานของคนทำงานวัฒนธรรมในเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นล้านนา ที่ได้รับความร่วมมือกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) เมื่อ พ.ศ.2561 ภายใต้โครงการพัฒนาความรู้เพื่อจัดงานมหกรรมเมืองพิพิธภัณฑ์เชียงแสน : ปาเจียงแสนปิ๊กบ้าน พ.ศ. 2562 อาจารย์โกมล พาณิชย์พันธ์เป็นเรี่ยวแรงหลัก ร่วมกับสมาชิกในเครือข่าย ในการคัดเลือกสถานที่สำหรับกิจกรรม “คลินิกพิพิธภัณฑ์” หรือการฟื้นฟูพิพิธภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วในเชียงแสน ให้กลับมาบอกเล่าเรื่องราวของท้องถิ่น ในที่สุด พิพิธภัณฑ์ผ้าไท-ยวน วัดพระธาตุผาเงา ได้รับคัดเลือกให้เป็นสถานที่ในการดำเนินกิจกรรม
เดิมภายในพิพิธภัณฑ์ มีการจัดวางเรื่องราวเกี่ยวกับผ้าไท-ยวน แต่เน้นผ้าไท-ยวน ราชบุรีเป็นสำคัญ เราเห็นว่าน่าจะขยายเรื่องราวเกี่ยวกับผ้าไท-ยวนจากแหล่งอื่น ๆ นอกจากนี้ ต้องการพัฒนาการเดินเรื่องให้ smooth มากขึ้น ผนังภายในนิทรรศการไม่เปิดถึงกันหมด จึงมีการทะลุผนังให้เส้นทางเดินชมเดินถึงกันได้หมด และปรับเปลี่ยนบันไดทางขึ้น ให้มีส่วนโถงต้อนรับเมื่อผู้ชมเดินขึ้นมายังชั้นบน เพื่อเป็นบริเวณ ให้พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระเทพฯ สง่างามมากขึ้น
อาจารย์โกมลถ่ายทอดความตั้งใจในการพัฒนาให้พิพิธภัณฑ์ผ้าไท-ยวนนี้ฉายภาพลักษณ์ความเป็นไท-ยวนที่พัฒนาต่อยอดจากนิทรรศการเดิม เส้นทางของการเดินเรื่องภายในนิทรรศการเริ่มต้นจากการนำเสนอเกี่ยวกับการตระเตรียมเส้นใย การทอผ้า โดยการนำเสนออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จัดเรียงในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่การปลูกฝ้ายและเก็บฝ้าย การอีดฝ้ายที่เป็นการคัดแยกเมล็ดออกจากปุยฝ้าย ปั่นด้ายและย้อมด้ายจากเปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้ หรือผลไม้ ตากให้แห้งและนวดกับแป้งข้าวเจ้าเพื่อเป็นด้ายยืน ส่วนเส้นฝ้ายที่เป็นกระสวยพุ่งจะนำมากวักฝ้าย ในช่วงสำคัญ คือการตำหูกหรือทอให้เป็นผืนและตัดเย็บเป็นเครื่องแต่งกายตามต้องการ
ถัดมานั้นเป็นการนำเสนอลวดลายผ้าเชียงแสนที่แตกต่างกัน อาจารย์โกมลแยกแยะให้เห็นความแตกต่างตามแหล่งที่มาของการทอผ้า “ส่วนใหญ่เป็นเทคนิคการจก เราจะเรียกผ้าเชียงแสนตามแหล่งของการผลิตสำหรับแยกแยะให้เห็นความแตกต่างในเทคนิคการทอผ้า เช่น ผ้าเชียงแสนแบบแม่แจ่ม ผ้าเชียงแสนแบบเมืองลอง ผ้าไทโยนกราชบุรีที่มีการเติมเทคนิคและลวดลาย ตัวผ้าถุงมีสองตะเข็บเพราะได้รับอิทธิพลจากลาว” นอกจากการอวดลวดลายของผ้าผืนแล้ว ยังใช้หุ่นในการนำเสนอการนุ่งผ้าที่แตกต่างกัน ทั้งการนุ่งผ้า การห่มผ้า เสื้อผ้าที่ตัดเป็นชุด ชั้นติดผนังอีกส่วนหนึ่งนำเสนอผ้าที่มีการแปรรูปเป็นย่าม หมอน
ทั้งหมดนี้มีเพียงการจัดทำป้ายให้ชื่อเรียกของลวดลายผ้า โดยอาจารย์โกมลกล่าวว่า ตามประสบการณ์ของการทำพิพิธภัณฑ์มาอย่างยาวนาน ผู้ชมที่เป็นคนไทยไม่ต้องการอ่านตัวหนังสือมากนัก การเล่าเรื่องดูจะมีประสิทธิภาพมากกว่า จึงวางแผนในการพัฒนาให้กลุ่มแม่บ้านที่ต้องมาทอผ้าใต้ถุนพิพิธภัณฑ์สามารถทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวของผ้าทอในพิพิธภัณฑ์ได้ด้วย
ถัดจากห้องแสดงหลัก นำมาสู่ทางเดินเชื่อมซึ่งมีห้องจัดแสดงผ้าที่เกี่ยวข้องกับศาสนาที่แยกไว้อย่างเป็นกิจจะลักษณะ เพื่อสะท้อนให้เห็นความผูกพันของผ้าทอ พุทธศาสนา กับคนไท-ยวน จุดของการนำเสนอนี้พัฒนาขึ้น เพื่อให้การจัดแสดงระหว่างผ้าของชาวบ้านกับผ้าสำคัญในทางศาสนาแยกไว้อย่างเป็นสัดเป็นส่วน ห้องดังกล่าวเป็นห้องกระจกที่ทำขึ้นใหม่ โดยผู้ชมสามารถเห็นหุ่นและรูปแบบของการนุ่งผ้า ทางเดินจากห้องนี้ เชื่อมโยงไปยังอาคารที่สร้างขึ้นหลังสุด
อาคารดังกล่าวนี้เป็นอาคารสองชั้น โดยมีทางเข้าจากทางเชื่อมจากอาคารแสดงหลักและประตูลงด้านหน้าอาคารได้อีกทางหนึ่ง โดยรอบเป็นหน้าต่างมีการกั้นห้องไว้เป็นสองห้อง โดยส่วนที่จัดแสดงผ้าทอไท-ยวนจากกิจกรรมการฟื้นฟูวัฒนธรรมนำเสนออยู่ที่ห้องด้านหลังของอาคาร อาจารย์โกมลกล่าวว่าการจัดแสดงในส่วนนี้อาศัยการปรับเปลี่ยนวิธีการนำเสนอผ้าที่ช่างไท-ยวนในแต่ละถิ่นร่วมทอกันไว้เป็นผืนยาว โดยการทำผนังขึ้นให้เกิดช่องว่างจากหน้าต่าง ทำให้ผู้ดูแลสามารถทำความสะอาดได้ และไม่เป็นแหล่งสะสมสิ่งสกปรกหรือหนู รวมถึงการทำให้อากาศไหลเวียนได้โดยตลอด
ลวดลายของผ้าได้รับการปักชื่อเรียกและนามของช่างทอ เช่น “ลายโคมหลวง ทอโดยแม่ประนอม ขาวแปง อำนวยการโดยโกมล พานิชพันธ์ (21 มีนาคม 2556)” เป็นข้อความที่ปรากฏอยู่ใกล้กับลายผ้าเพื่อบันทึกช่างทอและผู้ร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรม นอกจากนี้ ยังมีลายเชียงแสนดอกแก้ว ลายขากำโป้ง ลายเชียงแสนดอกเซีย ลายเชียงแสนหงส์น้อย ลายเชียงแสนน้อย เป็นต้น
นอกเหนือจากพิพิธภัณฑ์ผ้าไท-ยวนแล้ว ภายในวัดพระธาตุผาเงา ยังมีแหล่งเรียนรู้อีกหลายแห่ง เช่น พระธาตุผาเงา หอวัฒนธรรมนิทัศน์ที่จัดแสดงโบราณวัตถุที่ค้นพบในเมืองเก่าเชียงแสน และส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับความผูกพันของคนเชียงแสนกับแม่น้ำโขง.
รีวิวของพิพิธภัณฑ์ผ้าทอล้านนาเชียงแสน
ด้วยความตระหนักถึงความสูญเสียวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวล้านนา การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการแต่งกายไปเป็นสากลนิยม รวมไปถึงการนำเอาเครื่องแต่งกายของชนกลุ่มต่าง ๆ มาแต่งปนเปกัน โดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสม หรือบางทีก็อ้างว่าเป็นการแต่งกายแบบล้านนาโบราณ สถาบันอุดมศึกษา 19 แห่งในภาคเหนือ จึงได้จัดสัมมนาเรื่องเครื่องแต่งกายพื้นเมืองภาคเหนือขึ้น เพื่อให้บุคคลโดยทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ผ้าและเครื่องแต่งกายพื้นเมืองสามารถนำไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม และบอกกล่าวถึงสิ่งที่ไม่ควรทำในการแต่งกายแบบล้านนา เป็นต้นว่า ใช้ผ้าโพกศีรษะ (หากไม่ใช่ชุดแบบไทยลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่) เสียบดอกไม้ไหวสุมเต็มศีรษะ ใช้ผ้าพาดบ่าลากหางยาวหรือพาดแล้วใช้เข็มขัดรัดทับ (ผ้าพาดบ่าเป็นผ้าสำหรับสุภาพบุรุษเท่านั้น) ซิ่นลายทางตั้งเป็นผ้าซิ่นแบ
บลาวไม่ใช่แบบล้านนาไม่ควรนำมาต่อกับซิ่นตีนจกไทยวน การใช้ผ้าผาดที่ประยุกต์มาจากผ้าซิ่นและผ้าถุง
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
วิถีชีวิตท้องถิ่นและภูมิปัญญา ผ้าและสิ่งทอ ผ้าทอ การแต่งกาย ไทยวน ล้านนา การทอผ้า อุปกรณ์ทอผ้า เชียงแสน คนยวน วัดพระธาตุผาเงา
ศูนย์วัฒนธรรมนิทัศน์และพิพิธภัณฑ์เมืองเชียงราย 750 ปี
จ. เชียงราย
หอวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษกจังหวัดเชียงราย
จ. เชียงราย
พิพิธภัณฑ์โฮงหลวงแสงแก้ว
จ. เชียงราย