ศูนย์ข้อมูลเมืองโบราณซับจำปาและป่าจำปีสิรินธร


เมืองโบราณซับจำปา เป็นเมืองโบราณยุคทวารวดี ที่แม้จะไม่พบโบราณสถานที่สมบูรณ์ แต่จากร่องรอยคูน้ำคันดิน และหลักฐานโบราณวัตถุที่พบทั่วไปในแถบ อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี ถือว่าเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่อีกแห่งของยุคทวารวดี  และสิ่งที่อยู่คู่กับเมืองโบราณแห่งนี้ก็คือป่าจำปีสิรินธร จำปีสายพันธุ์ใหม่ของโลกที่พบเฉพาะในพื้นที่นี้เท่านั้น ด้วยความน่าภาคภูมิใจทั้งประวัติศาสตร์ของชุมชนและต้นไม้อันมีคุณค่า หน่วยงานภาครัฐ และประชาชนในพื้นที่จึงช่วยกันจัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลเมืองโบราณซับจำปาและป่าจำปีสิรินธร ขึ้นที่โรงเรียนท่าหลวงวิทยาคม โรงเรียนได้แบ่งห้องสมุดส่วนหนึ่งให้กลายเป็นพิพิธภัณพ์ขนาดเล็ก นำเสนอแบบจำลองเมืองโบราณ เศษภาชนะดินเผาที่ขุดค้นพบ ภาพถ่ายเศียรพระพุทธรูปหินทรายสลักหลักฐานชิ้นสำคัญที่ปัจจุบันอยู่ในการดูแลของกรมศิลปากร ขวานหินขัด ลูกปัดที่ทำจากเปลือกหอย ลูกปัดสี และกำไลสำริด   เครื่องมือเหล็ก เช่นหอก ขวานรูปนก และรูปทรงต่างๆ แวดินเผา ส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับที่มาของต้นจำปีสิรินธร และส่วนจัดแสดงเรื่องวิถีชีวิตของชาว อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี ที่ส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม

ที่อยู่:
โรงเรียนท่าหลวงวิทยาคม ม.7 ต.ซับจำปา อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี 15230
โทรศัพท์:
036-461922, 036-461922
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวันในเวลาราชการ เสาร์-อาทิตย์ ควรติดต่อล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
จัดการโดย:
เนื้อหา:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

เมืองซับจำปา

ชื่อผู้แต่ง: ภูธร ภูมะธน | ปีที่พิมพ์: -

ที่มา: สระบุรี : ชมรมอนุรักษ์โบราณวัตถุสถานและสิ่งแวดล้อม จังหวัดลพบุรี

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของศูนย์ข้อมูลเมืองโบราณซับจำปาและป่าจำปีสิรินธร

เมืองโบราณซับจำปา เป็นเมืองโบราณยุคทวารวดี ที่แม้จะไม่พบโบราณสถานที่สมบูรณ์ แต่จากร่องรอยคูน้ำคันดิน และหลักฐานโบราณวัตถุที่พบทั่วไปในแถบ อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี ถือว่าเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่อีกแห่งของยุคทวารวดี  และสิ่งที่อยู่คู่กับเมืองโบราณแห่งนี้ก็คือป่าจำปีสิรินธร จำปีสายพันธุ์ใหม่ของโลกที่พบเฉพาะในพื้นที่นี้เท่านั้น ด้วยความน่าภาคภูมิใจทั้งประวัติศาสตร์ของชุมชนและต้นไม้อันมีคุณค่า หน่วยงานภาครัฐ และประชาชนในพื้นที่จึงช่วยกันจัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลเมืองโบราณซับจำปาและป่าจำปีสิรินธร ขึ้นที่โรงเรียนท่าหลวงวิทยาคม 
 
ศูนย์ข้อมูลเมืองโบราณซับจำปาและป่าจำปีสิรินธร ดูแลโดย “ชมรมอนุรักษ์เมืองโบราณซับจำปาและป่าจำปีสิรินธร” ซึ่งมีคุณเนตรนรินทร์ คำเรืองบุญ นายกอบต.ซับจำปา เป็นประธานชมรมฯ ร่วมกับโรงเรียนท่าหลวงวิทยาคม เสียสละพื้นที่ส่วนหนึ่งในโรงเรียนทำเป็นศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับเมืองโบราณซับจำปา ส่วนแรกที่น่าสนใจคือ การจำลองผังเมืองโบราณบริเวณสนามหญ้าหน้าห้องสมุด ทำให้ผู้เข้าชมสามารถเห็นสภาพคูน้ำคันดินและจุดที่พบซากโบราณสถานบริเวณกลางเมือง และส่วนที่เป็นป่าจำปีสิรินธร โดยมีต้นแบบมาจากภาพถ่ายทางอากาศ กล่าวกันว่าที่เมืองแห่งนี้ชื่อซับจำปาเพราะในสมัยโบราณชาวบ้านเข้าใจว่าต้นจำปีสิรินธรที่ขึ้นอยู่ใกล้บริเวณเมืองเก่านั้น คือต้นจำปา และบริเวณรอบๆ นั้นก็เป็นแหล่งน้ำซับที่มีต้นสายมาจากป่าดงพญาเย็นทำให้มีน้ำจากใต้ดินไหลออกมาตลอดปี จึงเรียกบ้านเมืองบริเวณนี้ว่าซับจำปา เมืองโบราณแห่งนี้ไม่ได้อยู่ใกล้แม่น้ำ แต่ก็สามารถสร้างอาณาจักรให้ยิ่งใหญ่ขึ้นได้จากจากพึ่งพาแหล่งน้ำซับนี้
 
ส่วนที่เป็นพิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลนั้น ทางโรงเรียนได้แบ่งห้องสมุดส่วนหนึ่งให้กลายเป็นพิพิธภัณพ์ขนาดเล็ก แต่ออกแบบตกแต่งให้มีความน่าสนใจในพื้นที่จำกัด เดินเข้าไปส่วนแรก จะเห็นรูปสลักกวางหมอบและรูปสลักพระพุทธเจ้าบนแผ่นหินจำลองซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของทวารวดี มีการนำพระพุทธรูปศิลปะทวารวดีขนาดเล็ก และอิฐมาวางโชว์เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานของคำว่าทวารวดี  ถัดไปเป็นเสาหิน สันนิษฐานว่าเป็นเสาหินวางธรรมจักรในยุคนั้น และมีภาพถ่ายทางอากาศของเมืองโบราณซับจำปา ที่บอกถึงจุดสำคัญๆ ของเมืองไว้อย่างเช่น แนวคูเมือง กำแพงเมือง เนินโบราณสถานในเมือง ลำธารที่ไหลผ่านตัวเมืองฯ โบราณวัตถุที่พบมากที่สุดและเป็นหลักฐานถึงความรุ่งเรืองของอาณาจักรนี้ คือ เศษภาชนะดินเผาที่พบอยู่ทั่วไปในบริเวณ อ.ท่าหลวง  เมื่อชาวบ้านจะขุดดินปลูกพืชไร่บริเวณใด ไถหน้าดินขึ้นมาก็จะพบกับเศษภาชนะดินเผารูปทรงต่างๆ มากมาย จนถึงทุกวันซึ่งทางศูนย์ข้อมูลฯ ได้นำเศษภาชนะที่พบมาจัดแสดงไว้ด้วย
 
ถัดมาเป็นภาพถ่ายเศียรพระพุทธรูปหินทรายสลักที่สวยงาม เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญของการเผยแผ่พุทธศาสนาเข้ามายังดินแดนแถบนี้ แต่ปัจจุบันโบราณวัตถุชิ้นงามไม่ได้อยุ่ในชุมชนแล้ว เพราะกรมศิลปากรนำไปจัดแสดงไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ อ.เมือง จ.ลพบุรี นอกจากเศษเครื่องปั้นดินเผาแล้ว สิ่งที่มักจะพบด้วยก็คือขวานหินขัด ลูกปัดที่ทำจากเปลือกหอย ลูกปัดสี และกำไลสำริด  นอกจากนี้สิ่งที่บอกถึงพัฒนาการของบ้านเมืองที่สำคัญก็คือ เครื่องมือเหล็ก เช่นหอก ขวานรูปนก และรูปทรงต่างๆ อีกมากมาย ที่ได้นำมาจำลองใส่กับด้ามไม้ ให้เห็นว่าคนในสมัยโบราณใช้งานเครื่องมือเหล่านี้อย่างไร
 
ถัดมาเป็นภาพถ่ายของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จมาเยี่ยมชมการขุดค้นเมืองโบราณซับจำปาเมื่อ พ.ศ. 2529 สร้างความปลื้มปิติแก่คณะขุดค้นและชาวบ้านเป็นอย่างมาก และเป็นจุดกระตุ้นให้ชาวบ้านรักและหวงแหนเมืองโบราณแห่งนี้  อีกส่วนหนึ่งมีแผนที่การติดต่อค้าขายทางเรือในยุคทวารวดี มีเส้นทางจากประเทศไทย โยงใยไปยังดินแดนอาณาจักรโบราณต่างๆ ทั่วโลก ทำให้ทราบเหตุผลว่าเหตุใดจึงอาจพบโบราณวัตถุที่นำเข้ามาจากต่างแดน ในส่วนนี้ได้มีการทำเรือจำลองเล็กๆ ด้วย ส่วนต่อไปคือแผนที่อาณาจักรโบราณยุคทวาราวดีในประเทศไทย ซึ่งติดต่อค้าขายกันด้วยทางเรือเช่นกัน ใกล้เคียงกันเป็นตู้จัดแสดงแวดินเผา การที่ค้นพบแวดินเผาแสดงว่าผู้คนในยุคนั้นรู้จักการปั่นด้ายและทอผ้ากันแล้ว ชวนจินตนาการไปถึงเครื่องแต่งกายยุคโบราณว่าจะเป็นเช่นไร ในส่วนนี้ใกล้เคียงกันมีตู้จัดแสดงลูกปัดที่สวยงามยุคทวารวดี และการนำขวานหินขัดมาจำลองใส่ด้ามให้เหมือนการใช้งานในสมัยโบราณ เศษภาชนะชิ้นสำคัญเช่น ตะเกียงดินเผาที่เลียนแบบจากตะเกียงโรมัน ตุ๊กตาดินเผา ที่มักจะพบตามเมืองโบราณยุคทวารวดี
 
เมื่อพ้นจากส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับอาณาจักรโบราณแล้ว ส่วนถัดมาได้จัดแสดงเกี่ยวกับต้นจำปีสิรินธรไว้ ในสมัยก่อนตามความเข้าใจของชาวบ้านเรียกตามๆ กันมาว่าต้นจำปา และเป็นที่มาของชื่อชุมชนซับจำปา แต่เมื่อ ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ผอ. โครงการอนุรักษ์และพัฒนาพันธุกรรมพืชในวงศ์ไม้จำปา ได้นำตัวอย่างไปวิเคราะห์ทำให้ทราบว่าเป็นต้นจำปีสายพันธุ์ใหม่ของโลกพบที่นี่แห่งเดียวเท่านั้น จึงได้ขอพระราชทานนามตั้งชื่อใหม่ว่า จำปีสิรินธร มีลักษณะเฉพาะคือขึ้นอยู่ในพรุน้ำจืด  รากของต้นจะไม่ลงลึกในดิน แต่จะขยายตัวเป็นพูพอนอยู่บนดินที่ชุ่มชื้นไปด้วยน้ำซับเท่านั้น ความสูงเฉลี่ยประมาณ 20 – 30 เมตร หากใครที่ต้องการเห็นใกล้ๆ และดมกลิ่นหอมของดอกจริงต้องปีนขึ้นไปชม แต่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้นำมาดองไว้ในโหลให้ผู้ที่เข้าชมได้เห็นใกล้ๆ ด้วย นอกจากนี้ยังนำเนื้อไม้ของต้นจำปีที่ล้มแล้วมาให้สัมผัสและศึกษากันอย่างใกล้ชิด
 
ในส่วนต่อมาจัดแสดงเรื่องวิถีชีวิตของชาว อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี เริ่มจากเครื่องชั่งน้ำหนักของสินค้าเกษตรพืชไร่ต่างๆ เนี่องจากชาว อ.ท่าหลวงส่วนใหญ่ทำอาชีพทางการเกษตรปลูกพืชไร่หมุนเวียนตลอดทั้งปี เช่นถั่ว ข้าวฟ่าง พริก อ้อย ดอกทานตะวัน หรือการเลี้ยงวัว ทำปศุสัตว์ขนาดใหญ่  รวมถึงการปลูกข้าวทำนา ซึ่งในส่วนนี้ก็มีเครื่องสีฝัดสมัยก่อนมาตั้งแสดงด้วย เมื่อเดินออกจากส่วนจัดแสดง ด้านหลังบอร์ดนิทรรศการยังมีป้ายให้ความรู้เรื่องการทำลูกปัดแบบโบราณด้วย เรียกได้ว่าเป็นการจัดการพื้นที่เล็กๆ ได้อย่างคุ้มค่า อีกด้านของห้องเป็นห้องสมุดของโรงเรียนท่าหลวงวิทยาคม ภายในบริเวณโรงเรียนยังมีอาคารพิพิธภัณฑ์อีกหลังซึ่งรับผิดชอบโดย อบต.ซับจำปา แต่ยังไม่เปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการ
 
เมื่อได้รับข้อมูลเบื้องต้นแล้วหากใครต้องการจะไปท่องเที่ยวที่ป่าจำปีสิรินธร หรือบริเวณเมืองโบราณซับจำปา ก็สามารถติดต่อชมรมอนุรักษ์เมืองโบราณซับจำปาและป่าจำปีสิรินธร ทางชมรมจะจัดเจ้าหน้าที่และรถนำชมไปจนถึงเมืองโบราณ พร้อมกับมีผู้นำชม ซึ่งในอนาคตทาง อบต. จะทำพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมสมบูรณ์ของข้อมูลขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกับเมืองโบราณ ในส่วนของศูนย์ข้อมูลและพิพิธภัณฑ์ในโรงเรียนท่าหลวงวิทยาคมนั้น สามารถเข้าไปชมได้ทุกวันทางโรงเรียนจะจัดมัคคุเทศก์น้อยไว้คอยอธิบายและนำชม แต่หากเป็นวันหยุดหรือปิดเทอมควรติดต่อไปล่วงหน้าก่อนเข้าชม
 
สำรวจวันที่ 17 กรกฎาคม 2553
ชื่อผู้แต่ง:
-