อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา


อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่ 1,810 ไร่ ตั้งอยู่ภายในเกาะเมืองอยุธยา ด้วยเกาะเมืองอยุธยา ซึ่งกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ทั้งเกาะเมืองมีพื้นที่ประมาณ 4,800 ไร่ ลักษณะ ของเกาะเมืองเป็นไปตามสภาพของแม่น้ำที่กัดเซาะแผ่นดินมีรูปร่างไม่แน่นอน บางครั้งมีผู้สันนิษฐานว่า มีลักษณะคล้ายน้ำเต้า กรุงศรีอยุธยาเป็นลักษณะของเมืองน้ำ มีการออกแบบแนวคูคลองที่ทั้งใช้ประโยชน์ในการคมนาคม และเป็นการระบายน้ำในหน้า น้ำหลากด้วย ทำให้ผังเมืองอยุธยามีแม่น้ำลำคลองจำนวนมากเป็นเครือข่ายโยงใยกัน ทั้งนอกเมืองและในเมืองขนานไปกับแนวคูคลอง คือ ถนนที่เป็นทั้งถนนดินและถนน ปูอิฐ โดยมีสะพานสร้างข้ามคลองทั้งสะพานไม้และสะพานก่ออิฐมากกว่า 30 แห่ง โบราณสถาน เท่าที่สำรวจพบแล้วทั้งภายในเมืองและนอกกำแพงเมืองมีมากกว่า 425 แห่ง โบราณสถานที่สำคัญ และอยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาพื้นที่ 1,810 ไร่ ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่ใจกลางเกาะเมืองและพื้นที่ด้านทิศเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้ ของเกาะเมือง มีโบราณสถานที่สำรวจพบแล้วทั้งสิ้น 95 แห่ง อาทิ พระราชวังโบราณหรือพระราชวังหลวง วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดราชบูรณะ วิหารพระมงคลบพิตร วัดพระราม วัดญาณเสน วัดธรรมิกราช วัดวรโพธิ์ วัดวรเชษฐาราม เป็นต้น

ที่อยู่:
อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000
โทรศัพท์:
0 3524 2286
วันและเวลาทำการ:
เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00 - 18.30 น.
ค่าเข้าชม:
ชาวไทย 10 บาท บัตรรวม 40 บาท, ชาวต่างประเทศ 50 บาท บัตรรวม 220 บาท โบราณสถานที่เสียค่า้ข่าชมประกอบด้วย โบราณสถาน ประกอบด้วย 1. วัดพระศรีสรรเพชญ์ 2. วัดมหาธาตุ 3. วัดราชบูรณะ 4. วัดพระราม 5. วัดไชยวัฒนาราม 6. วัดมเหยงคณ์
เว็บไซต์:
อีเมล:
ay_hispark@hotmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2525
ของเด่น:
แหล่งมรดกโลกในชื่อ “นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา” โบราณสถานมากกว่า 425 แห่ง เช่น พระราชวังโบราณหรือพระราชวังหลวง วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดราชบูรณะ วิหารพระมงคลบพิตร วัดมหาธาตุ วัดพระราม วัดไชยวัฒนาราม วัดมเหยงคณ์
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

การขุดค้นที่อโยธยา เมื่อโบราณคดีรับใช้การเมือง

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 3/16/2546

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

พระนครศรีอยุธยาอดีตราชธานีของไทย ที่มีระยะเวลานานถึง 417 ปี มีกษัตริย์ปกครองจำนวนทั้งสิ้น 33 พระองค์ ในช่วงระยะเวลาอันยาวนานดังกล่าว บรรพชนของไทยได้สร้างสรรค์ศิลปกรรม สถาปัตยกรรมต่างๆ ไว้เป็นอนุสรณ์อย่างมากมาย จนกระทั่ง พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาถึงการล่มสลาย ทำให้เกิดราชธานีขึ้นใหม่ ที่กรุงธนบุรีและกรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ฯ ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา 200ปีเศษ แม้พระนครศรีอยุธยาจะเหลือแต่ความปรักหักพัง แต่ก็ยังแสดงถึงร่องรอยของความยิ่งใหญ่ ไว้ให้ค้นคว้าศึกษาอีกเป็นอันมาก 
 
กรุงศรีอยุธยานั้นมีภูมิสถานตั้งอยู่โดยมีแม่น้ำสำคัญ 3 สาย คือ แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำเจ้าพระยา และคูเมืองขุดเพิ่มเติม ล้อมรอบอยู่ทั้ง 4 ด้าน มีสภาพเป็นเกาะเมือง นับเป็นปราการอันสำคัญ ทำให้เกิด ความเป็นปึกแผ่นมั่นคงดำรงอยู่ เป็นรัฐที่เป็นศูนย์กลางของกลุ่มบ้านเมืองในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และใกล้เคียง นอกจากนี้ ยังเป็นรัฐที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และการเมืองในภูมิภาคนี้ ด้วยเหตุนี้ กรุงศรีอยุธยา จึงเป็นเมืองสำคัญของการติดต่อค้าขายทั้งภายในและกับภายนอกประเทศ มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง ดังปรากฏหลักฐาน ทั้งในทางเอกสารและโบราณสถาน โบราณวัตถุ จำนวนมากมายที่พบได้ในปัจจุบัน ทั้งภายในเกาะ เมืองพระนครศรีอยุธยา และภายนอกเมือง ซึ่งจากการสำรวจพบว่ามีโบราณสถานกระจัดกระจายอยู่ไม่ต่ำกว่า 200แห่ง 
 
การดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับโบราณสถานของกรุงศรีอยุธยา ได้เริ่มต้นขึ้นครั้งแรก เมื่อพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดให้พระยาโบราณราชธานินทร์ ทำการขุดแต่ง พระที่นั่งบางองค์ ในเขตพระราชวังหลวง ซึ่งขณะนั้นรกร้างมาก เนื่องจากอิฐหัก กากปูนทับถมกันอยู่กว่าร้อยปี ต่อมาสมัยรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ได้เริ่มโครงการบูรณะพระที่นั่งและวัดสำคัญต่าง ๆ ของกรุงศรีอยุธยาขึ้นมาในบางส่วน กรมศิลปากรได้รับมอบหมายให้ เข้ามาดำเนินการ ดูแลรักษาและ บูรณะปรับปรุงโบราณสถาน โดยตั้งหน่วยศิลปากรและเจ้าหน้าที่มาประจำดูแลรักษาในที่สุด พ.ศ. 2512 ได้มีโครงการ ในชื่อโครงการสำรวจขุดแต่งและบูรณะโบราณสถาน ในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา และบริเวณใกล้เคียง เข้ามาทำการสำรวจและบูรณะโบราณสถาน ซึ่งการดำเนินการได้มีความพยายาม ที่จะประสานงานร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ในอันที่จะอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาไว้ ในที่สุด พ.ศ. 2519 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างของงานชิ้นใหม่ แล้วจัดทำโครงการนำเสนอเข้าแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 ในรูปโครงการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาขึ้น และเริ่มดำเนินการบูรณะปรับปรุงโบราณสถานในเมืองพระนครศรีอยุธยา เป็นต้นมา ตั้งแต่ พ.ศ.2520 และตลอดระยะเวลานับจากนั้น จนถึงปัจจุบันโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ ได้ทำการสำรวจ ขุดค้น ขุดแต่ง และบูรณะโบราณสถานที่มีความสำคัญยิ่งของชาติแห่งนี้ 
 
มาโดยไม่หยุดยั้ง ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวทำให้ เกิดแนวทางในการที่ทำให้ได้รับรู้เรื่องราวและพัฒนาการของพระนครศรีอยุธยาในอดีต ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และปัจจุบันอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้ดำเนินการสำรวจศึกษา ค้นคว้า ตลอดจนการบูรณะ ปรับปรุงโบราณสถาน ได้สำเร็จลุล่วงไปเป็นอันมาก รวมทั้งได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ศูนย์บริการศึกษาและการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม ตลอดจนตัดถนนหนทาง เพื่อให้อุทยานประวัติศาสตร์เป็นแหล่งบริการทางการศึกษา และการท่องเที่ยวที่สำคัญของชาติ เพื่อความรู้และความภาคภูมิใจในผลงานอันยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติต่อไป ต่อมาใน พ.ศ. 2530 กรมศิลปากรได้จัดทำแผนแม่บทนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาขึ้น เพื่ออนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์แห่งนี้ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามแผนแม่บทดังกล่าว
 
นอกจากนี้ นครประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา ยังได้รับการพิจารณา ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2534
 
ซึ่งอุทยานฯแห่งนี้มีโบราณสถานที่สำคัญๆต่างๆดังนี้ พระที่นั่งสรรเพชรมหาปราสาท พระราชวังโบราณอยุธยา เพนียดคล้องช้าง วัดพนัญเชิง วัดพระราม วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดพุทไธสวรรย์ วัดภูเขาทอง วัดมหาธาตุพระนครศรีอยุธยา วัดราชบูรณะพระนครศรีอยุธยา วัดสวนหลวงสบสวรรค์  วัดสุวรรณดาราราม วัดหน้าพระเมรุ วัดโลกยสุธาราม วัดไชยวัฒนาราม วิหารพระมงคลบพิตร เป็นต้น
 
ข้อ มูลจาก
www.moohin.com/activity/history140.shtml [accessed20070219]
http://travel.lakkai.com/display.php?id=14[accessed20070219]
travel.lakkai.com/historypark/historypark_01.html [accessed20070219]
http://th.wikipedia.org[accessed20070219]
ชื่อผู้แต่ง:
-