พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก


สืบเนื่องมาจากนโยบายของกรมศิลปากรในการจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ทางด้านชาติพันธุ์วิทยา เพื่อขยายสาขาของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินอกเหนือไปจากด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ ที่สามารถรองรับการขยายตัวของกรุงเทพมหานครออกไปยังพื้นที่แถบชานเมือง และกรมศิลปากรรับสนองพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการจัดหาพื้นที่สำหรับเป็นสถานที่จัดเก็บโบราณวัตถุศิลปวัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยก่อสร้างอาคารจำนวน 2 หลังในพื้นที่โครงการ สำหรับเป็นที่รองรับโบราณวัตถุศิลปวัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตลอดจนจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอื่นๆ ที่มีพื้นที่ในการจัดเก็บไม่เพียงพอ เป็นลักษณะของคลังเปิด หรือ คลังเพื่อการศึกษา (visible storage) ซึ่งในขณะเดียวกันนั้นได้มีการจัดทำแผนแม่บทพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาติพันธุ์วิทยาควบคู่กันไป โดยอาคาร ๒ หลังที่เป็นอาคารคลังมาแต่เดิมนั้น จะปรับปรุงให้เป็นอาคารจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษกเป็นลำดับต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการนำเสนอเรื่องราวของกลุ่มชนทุกเผ่าพันธุ์ในไทย เป็นทั้งแหล่งเรียนรู้และศูนย์ข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ที่อยู่:
62 ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์:
0-2902-7568
วันและเวลาทำการ:
เปิดบริการวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-15.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าธรรมเนียมเข้าชม
อีเมล:
nm_khanchanapisek@finearts.go.th
ปีที่ก่อตั้ง:
2539

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก

เมื่อปีพุทธศักราช 2517 กรมศิลปากรตระหนักในแนวทางการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พุทธศักราช 2506 ที่มุ่งเน้นกระจายความเจริญออกสู่ชานเมืองและภูมิภาค กรมศิลปากรจึงวางแผนพัฒนา จึงขอใช้ที่ดินในพื้นที่คลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เนื้อที่ 345 ไร่จากกรมธนารักษ์ สำหรับจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งใหม่ในส่วนกลาง จัดแสดงเนื้อหาเฉพาะด้านชาติพันธุ์วิทยาของประเทศ เพื่อตอบสนองการศึกษาด้านมานุษยวิทยา สังคม-วิทยา ศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนากิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของไทยให้สมบูรณ์ครบถ้วนทุกสาขาวิชา โดยกรมศิลปากรมีเป้าหมายให้พิพิธภัณฑ์แห่งใหม่นี้เป็นทั้งแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่ให้ความเพลิดเพลิน มีความสวยงามอลังการของอาคารพิพิธภัณฑ์ และภูมิทัศน์ที่ไม่ถูกบดบังด้วยสิ่งก่อสร้างหรืออาคารใด ๆ โดยรอบ
 
การดำเนินงานในพื้นที่เริ่มต้นเมื่อปี 2529 ได้มีการจัดการกำหนดขอบเขต จัดสรรพื้นที่ใหม่ให้แก่กลุ่มประชาชนที่เช่าพื้นที่อยู่เดิม ขณะที่ภัณฑารักษ์ในส่วนกลางของกรมศิลปากรได้เริ่มสำรวจ รวบรวมศิลปวัตถุ วัตถุทางชาติพันธุ์ ในปี 2537 อันเป็นปีมหามงคล ปีแห่งพระราชพิธีกาญจนาภิเษกในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี กรมศิลปากรได้นำโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติด้านชาติพันธุ์วิทยานี้เข้าร่วมเป็นโครงการเฉลิมฉลองโดยประกาศจัดตั้งเป็นหน่วยงานราชการแห่งใหม่ พร้อมจัดสรรตำแหน่งบุคลากรเข้าปฏิบัติงานประจำและขอพระราชทานนามแห่งพระราชพิธีมงคลนี้มาเป็นนามของพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่นี้ว่า"พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก"
 
ในระยะแรกของการก่อสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ได้เริ่มที่งานเร่งด่วนของกรมศิลปากรตามพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี คือ สร้างอาคารคลังกลาง รองรับหน่วยงานอนุรักษ์ที่ย้ายออกจากกรุงเทพมหานคร แล้วดำเนินการเคลื่อนย้ายโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ วัตถุทางชาติพันธุ์จากคลังกลางเดิมเข้ามาจัดเก็บ ดำเนินการจัดวางให้เป็นระบบหมวดหมู่ตามหลักสากล ออกแบบตกแต่งภายในให้เป็นคลังกึ่งจัดแสดง (Visible Storage) เพื่อเตรียมการให้บริการเป็นคลังเปิด กระทั่งปี 2545 ภารกิจการบริหารงานคลังกลางจึงได้ถูกถ่ายโอนแก่สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สำนักงานกลางที่ดูแลพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของประเทศ เพื่อพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก จะได้มุ่งดำเนินงานหลัก ตามวัตถุประสงค์แรกเริ่มคือ จัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติด้านชาติพันธุ์วิทยา บนพื้นที่ 75ไร่ โดยมีเป้าหมายเปิดห้องจัดแสดงส่วนแรกให้เข้าชมได้ในปีพุทธศักราช 2558
 
ข้อมูลจาก: http://www.kanjanaphisek-museum.go.th/eng_p01_1.html
ชื่อผู้แต่ง:
-