พิพิธภัณฑ์บัว


พิพิธภัณฑ์บัว ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ดำเนินการจัดตั้งในปี พ.ศ.2543 เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และได้เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ในปี พ.ศ. 2546 เพื่อดำเนินการสำรวจเก็บรวบรวมพันธุ์บัว ปลูกรักษา ศึกษาการใช้ประโยชน์ และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุ์บัว ถือเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์บัว เพื่อการเรียนรู้ ศึกษา วิจัย การใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ จากบัว และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิญอนุรักษ์ ซึ่งปัจจุบันมีการบูรณาการมาใช้กับการเรียนการสอนในหลายคณะวิชาของมหาวิทยาลัย และมีการจัดกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานเอกชน และส่วนราชการต่าง ๆ ของจังหวัดปทุมธานี แรกเริ่มได้รวบรวมพันธ์บัวเพียง 40 สายพันธุ์ ปัจจุบันมีพันธุ์บัวมากกว่า 100 สายพันธุ์ มีทั้งบัวหลวง บัวผัน บัวสาย บัวฝรั่ง บัววิกตอเรีย และบัวพันธุ์ไทยหายาก

ที่อยู่:
บริเวณประตู 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี 39 หมู่ 1 ถนนรังสิต-นครนายก ต.คลองหก อ.ธัญบุรี ปทุมธานี 12110
โทรศัพท์:
0-2549-3043, 089-692- 9808
วันและเวลาทำการ:
เปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00 - 15.00 น. นัดหมายล่วงหน้าเพื่อจะได้จัดหาวิทยากรนำชม ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ ถ้านัดหมายมาเป็นหมู่คณะจะเปิดให้ชมเป็นกรณีพิเศษ
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2543
ของเด่น:
บัวสายพันธ์ุต่างๆ
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์บัว

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 30 ฉบับที่ 360 (สิงหาคม 2549)

ที่มา: บ้านและสวน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ป้ายนี้สถานีบัว

ชื่อผู้แต่ง: ปริยา เหล่าวิวัฒน์ | ปีที่พิมพ์: 14-05-2551

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์บัว

ชื่อผู้แต่ง: นพพล ชูกลิ่น | ปีที่พิมพ์: 21 ก.ย. 2556;21-09-2013

ที่มา: โพสต์ทูเดย์

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 23 กันยายน 2556


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์บัว

“บัว” เป็นสัญลักษณ์แห่งความงามของไม้น้ำไทยในวงศ์  Nymphaeaceae มีความโดดเด่นด้วยดอกและใบที่เบ่งบานชูช่ออยู่เหนือน้ำเปรียบประดุจดังหญิงสาว ซึ่งมีที่มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษ จากคำว่า "Nymph” แปลว่า "เทพธิดาที่อยู่ในน้ำ" (A Beautiful Young Woman)ลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นของบัว บางสายพันธุ์อยู่ที่สีของดอก บางพันธุ์ให้ดอกสีน้ำเงิน บางพันธุ์ให้ดอกสีเหลือง บางพันธุ์ให้ดอกสีชมพู  หรือบางพันธุ์สีสันของดอกจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามระยะเวลาการบานของดอก บางสายพันธุ์ให้มีกลิ่นหอม  ซึ่งลักษณะเด่นเหล่านี้ทำให้บัวได้ชื่อว่าเป็น "ราชินีแห่งไม้น้ำ" 
 
พิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตั้งอยู่บนเนื้อที่ราว 20 ไร่ ในการดูแลของสำนักงานโครงการภูมิทัศน์ และสำนักงานกิจการพิเศษ ดำเนินการจัดตั้งในปี พ.ศ.2543 เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และได้เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ในปี พ.ศ. 2546 เพื่อดำเนินการสำรวจเก็บรวบรวมพันธุ์บัว ปลูกรักษา ศึกษาการใช้ประโยชน์ และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุ์บัว โดยเริ่มดำเนินการรวบรวมพันธ์บัวเพียง 40 สายพันธุ์  ปัจจุบันมีพันธุ์บัวมากกว่า 100 สายพันธุ์  มีทั้งบัวหลวง บัวผัน บัวสาย บัวฝรั่ง บัววิกตอเรีย และบัวพันธุ์ไทยหายาก 
 
พิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์  เพื่อการเรียนรู้ ศึกษา วิจัย การใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ จากบัว และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิญอนุรักษ์ซึ่งปัจจุบันมีการบูรณาการมาใช้กับการ เรียนการสอนในหลายคณะวิชาของมหาวิทยาลัย และมีการจัดกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานเอกชน  และส่วนราชการต่าง ๆ ของจังหวัดปทุมธานี  เช่น โครงการพารู้พาเที่ยวเกี่ยวกับเมืองปทุม   โครงการนักพฤกษาศาสตร์จิ๋ว   โครงการอบรมทำผลิตภัณฑ์จากบัวหลวง โครงการปลูกบัวหลวงของจังหวัดปทุมธานี และโครงการท่องโลกการเรียนรู้กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  มหาวิทยาลัยฯ มีเป้าหมายที่จะปลูกบัวในคูน้ำ สระน้ำ ทุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัยฯ เพื่อความสวยงาม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยได้จัดทำแปลงรวบรวมพันธุ์บัวหลวง บัวสาย และบัวผัน เพื่อการศึกษาวิจัยและใช้ประโยชน์
 
สายพันธุ์บัวที่ทางพิพิธภัณฑ์ได้วิจัยและพัฒนา อาทิ บัวที่ชื่อว่า "มังคลอุบล" บัวที่ได้รับรางวัล Best New Hardy Waterlily 2004 ในการประกวดบัวโลกครั้งที่ 19 ที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งนักวิจัยจากสถาบันราชมงคลฯ ดร.ณ นพชัย ชาญศิลป์ ปัจจุบันเป็นรองประธานชมรมคนรักบัวแห่งประเทศไทย และเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เป็นผู้นำเข้าประกวด
 
บัวพันธุ์ใหม่ ที่พบในพิพิธภัณฑ์บัว ชื่อว่า “ธัญกาฬ” ที่มาของชื่อคือ "ธัญ" มาจากชื่อ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี "กาฬ" ความหมายคือ แดง ดำ (ดอกสีแดงเหลือบม่วง หลังใบมีจุดประสีดำ) เป็นบัวที่มีลักษณะดอกและใบ สีแดงเหลือบม่วงดำ เป็นบัวที่บานในช่วงเวลากลางคืน หรือในที่มืด หลังใบมีจุดประสีดำ ค้นพบโดยผศ.ภูรินทร์ อัครกุลธร 
 
และอีกหนึ่งสายพันธุ์ ชื่อว่า “รินลอุบล” ค้นพบโดยผศ.ภูรินทร์ อัครกุลธรเช่นกัน เป็นบัวลูกผสมเปิดที่เกิดขึ้นภายในพิพิธภัณฑ์บัว ลักษณะใบอ่อนเป็นรูปไข่ หน้าใบสีเขียว มีแถบสีน้ำตาล หลังใบสีเขียว มีกระสีน้ำตาลแดงเข้มทั่วไป ใบแก่มีสีเช่นเดียวกับใบอ่อน ดอกตูมโคนดอกโคนกว้างปลายเรียวมีจุดกระปลายเข็มสีน้ำตาล ดอกบานสีกลีบดอกปลายกลีบมีสีชมพู โคนกลีบสีชมพูอมเหลือง ลักษณะกลีบดอกโคนกว้างปลายกลีบเรียวแหลม กลีบเลี้ยงด้านในสีชมพูอมขาว ด้านนอกกลีบเลี้ยงมีสีเขียว กลิ่นหอมเล็กน้อย การให้ดอกทยอยออกตามกัน ดอกดก บาน 3 วัน 
 
พิพิธภัณฑ์บัวเปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00-15.00 น. ควรนัดหมายล่วงหน้าเพื่อจะได้จัดหาวิทยากรนำชม
 
ข้อมูลจาก: http://lotus.rmutt.ac.th/ [accessed 20081113]
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์บัว

พิพิธภัณฑ์บัวก่อตั้งจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งเสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่เหล่าบัณฑิต ทรงเห็นว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีอยู่ในเขต จ.ปทุมธานี ซึ่งมีดอกบัวและรวงข้าวเป็นสัญลักษณ์ จึงพระราชทานแนวพระราชดำริของพระองค์ลงมาว่าเราน่าจะทำ “พิพิธภัณฑ์บัว”
ชื่อผู้แต่ง:
-