พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมโกตาบารู (บ้านดาโต๊ะมูลียอ) ก่อตั้งโดยนายต่วนอับดุลเลา ดาโอ๊ะมารียอ อดีตสมาชิกวุฒิสภา และนางซัมซีเยาะห์ ดาโอ๊ะมารียอ เปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวนวัตวิถีทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นแห่งใหม่ในพื้นที่งโกตาบารู - รามันห์ เมืองเก่าทางประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมโกตาบารูอาศัยพื้นที่ภายในบ้านดาโอ๊ะมูลียอ จัดแสดงมุมเรียนรู้วิถีชีวิต และวัตถุโบราณต่างๆ แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ได้แก่ เรือนต่วนจรือนิห์ หลวงศรีราชาบดินทร์ เป็นเรือนรับรองและแนะนำพิพิธภัณฑ์ ศาลาลงซัน เป็นมุมเรียนรู้ครัวจำลองแบบวิถีดั่งเดิม ศาลาซูงาโต๊ะนิ เป็นมุมจัดแสดงวัตถุพื้นบ้านในท้องถิ่น เรือนโกตารามัย เป็นมุมเรียนรู้ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นของเมืองโกตาบารู และสวนรัตนภักดี เป็นมุมเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์ของเมืองเก่าโกตาบารู ซึ่งทั้ง 5 มุมเรียนรู้นี้จัดแสดงโบราณวัตถุ ภาพถ่ายเก่า เอกสารเก่า ภาพวาด และของจำลอง โดยพิพิธภัณฑ์มุ่งเน้นที่จะให้เยาวชนในท้องถิ่นเห็นถึงความสำคัญถึงประวัติศาสตร์ และร่วมกันอนุรักษ์สิ่งที่ดีงามในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดอง นำความสันติสุขเกิดขึ้นในพื้นที่
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมโกตาบารู
พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมโกตาบารู (บ้านดาโต๊ะมูลียอ) ก่อตั้งโดยนายต่วนอับดุลเลา ดาโอ๊ะมารียอ อดีตสมาชิกวุฒิสภา และนางซัมซีเยาะห์ ดาโอ๊ะมารียอ เปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวนวัตวิถีทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นแห่งใหม่ในพื้นที่งโกตาบารู - รามันห์ เมืองเก่าทางประวัติศาสตร์
พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมโกตาบารูอาศัยพื้นที่ภายในบ้านดาโอ๊ะมูลียอ จัดแสดงมุมเรียนรู้วิถีชีวิต และวัตถุโบราณต่างๆ แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ได้แก่ เรือนต่วนจรือนิห์ หลวงศรีราชาบดินทร์ เป็นเรือนรับรองและแนะนำพิพิธภัณฑ์ ศาลาลงซัน เป็นมุมเรียนรู้ครัวจำลองแบบวิถีดั่งเดิม ศาลาซูงาโต๊ะนิ เป็นมุมจัดแสดงวัตถุพื้นบ้านในท้องถิ่น เรือนโกตารามัย เป็นมุมเรียนรู้ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นของเมืองโกตาบารู และสวนรัตนภักดี เป็นมุมเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์ของเมืองเก่าโกตาบารู ซึ่งทั้ง 5 มุมเรียนรู้นี้จัดแสดงโบราณวัตถุ ภาพถ่ายเก่า เอกสารเก่า ภาพวาด และของจำลอง โดยพิพิธภัณฑ์มุ่งเน้นที่จะให้เยาวชนในท้องถิ่นเห็นถึงความสำคัญถึงประวัติศาสตร์ และร่วมกันอนุรักษ์สิ่งที่ดีงามในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความสามัคคีปรองดอง นำความสันติสุขเกิดขึ้นในพื้นที่
วัตถุจัดแสดงที่น่าสนใจ อาทิ เรือพายเก่าแก่ขนาดเล็กของชาวบ้านเมืองรามันห์ในอดีตที่อยู่ตามลุ่มน้ำสายบุรี จุดเด่นอยู่ที่ส่วนปลายเรือ มีปีกไม้สามเหลี่ยมแกะสลักลายดอกมลายูลังกาสุกะ ครกตำข้าวโบราณที่ทำจากส่วนลำต้นของไม้เนื้อแข็งขนาดใหญ่ นำมาถากด้วยขวานและเกลาเป็นรูปทรงกลม ขุดเป็นหลุมด้านบน เวลาตำจะใช้ไม้ยาวตำ
แหวนประดับอัญมณีโกตาบารู เนื่องจากโกตาบารูเป็นแหล่งผลิตแหวนประดับอัญมณีที่มีชื่อเสียงของเมืองรามันห์ มีช่างฝีมือดีในท้องถิ่น และเป็นสินค้าส่งออกสำคัญในท้องถิ่น
กีตาบยาวี หรือตำราที่ใช้สอนในปอเนาะต่างๆ เป็นตำราที่พิมพ์ด้วยกระดาษสีเหลือง สถานที่พิมพ์ช่วงแรกที่ปาตานียังไม่มีโรงพิมพ์คือ จะพิมพ์ที่เมกกะ หรือในประเทศมุสลิมอื่นๆ
ภาชนะทองเหลือง ซึ่งเป็นที่นิยมของมลายูท้องถิ่นใต้ ส่วนใหญ่ได้มาจากรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย ผู้ผลิตรายใหญ่ในภูมิภาคนี้ บางส่วนได้มาจากปัตตานี และจังหวัดในภาคกลาง ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ และนิยมให้เป็นของกำนัลในโอกาสสำคัญ เช่น มอบให้เจ้าสาวในวันแต่งงาน ให้ผู้หลักผู้ใหญ่เป็นต้น
ตะลุ่มทองเหลืองโบราณ เป็นภาชนะทรงกลมคล้ายพานแต่ไม่มีเชิง ปากสอบงุ้มเข้า มีฝาปิดคล้ายฝาชีแกะลวดลายเล็กๆ โดยรอบ ในอดีตใช้ในครัวเรือนของชนชั้นสูง และเป็นหนึ่งในเครื่องยศของขุนนางโบราณ สำหรับคนทั่วไปจะใช้ใส่ของกำนัลหรืออาหารในโอกาสพิเศษ เช่น ต้อนรับแขกสำคัญ หรือในพิธีแต่งงาน
พัดโบกคู่บ่าวสาว ที่ใช้ในพิธีแต่งงานแบบท้องถิ่น คือ พิธีคู่บ่าวสาวนั่งบัลลังก์ที่ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ด้านหน้าเรียงพานขันหมาก มีเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาวถือพัดคอยโบกช้าๆ เสมือนหนึ่งคู่บ่าวสาวเป็นพระราชาราชินี พัดโบกที่จัดแสดงนี้เป็นพัดโบกโบราณ ใช้งานแต่งงานคู่บ่าวสาวหลายคู่ในอดีตของโกตาบารู
นอกจากนี้ยังมีภาพถ่ายเก่าของโกตาบารู เช่น ภาพถ่ายวิถีชีวิตท้องถิ่นของผู้หญิงโกตาบารู ภาพงานบริจาคหาทุนสร้างมัสยิดดารุสสลาม ภาพชุมชนบ้านโฆะ โกตาบารู เป็นต้น
ข้อมูลจาก:
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจัดทำข้อมูลพิพิธภัณฑ์ภาคใต้ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคใต้ สนับสนุนโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) 2564.
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
มุสลิม รามันห์
ศูนย์แสดงศิลปวัฒนธรรมอาเซียน เบตง
จ. ยะลา
พิพิธภัณฑ์ซาไก ร.ร.ธารโตวัฑฒนวิทย์
จ. ยะลา
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
จ. ยะลา