พิพิธภัณฑ์เมืองพังงา


พิพิธภัณฑ์เมืองพังงา ใช้อาคารศาลากลางจังหวัดพังงาหลังเดิมเป็นที่จัดแสดง ตัวอาคารดังกล่าวสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 7 ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบโคโลเนียล เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนชั้นเดียว ทาด้วยสีเหลือง และประดับตราครุฑไว้หน้าอาคาร ภายในแบ่งเป็นห้องจัดแสดงนิทรรศการจำนวน 6 ห้อง ว่าด้วยเรื่องเมืองพังงา ตั้งแต่สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยว พัฒนการทางประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง การค้า กลุ่มชาติพันธุ์ ศาสนา ความเชื่อ การประกอบอาชีพ อาหาร ประเพณี การละเล่น และมรดกทางสถาปัตยกรรม นอกจากนี้ยังมีห้องจัดแสดงนิทรรศการชั่วคราวอีก 1 ห้อง

ที่อยู่:
ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ตำบลท้ายช้าง อำเภอเมือง จังหวัดพังงา 82000
โทรศัพท์:
076-460785, 076-481596
โทรสาร:
076-460786
วันและเวลาทำการ:
จันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00 - 16.00 น. ปิดวันเสาร์อาทิตย์ และวันหยุดราชการ
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
phangngaculture@m-culture.go.th
ปีที่ก่อตั้ง:
2556
ของเด่น:
อาคารศาลากลางหลังเก่าสมัยรัชกาลที่ ๗,นิทรรศการเกี่ยวกับพังงา ทั้งประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง กลุ่มชาติพันธุ์ ความเชื่อ ฯลฯ
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์เมืองพังงา

พิพิธภัณฑ์เมืองพังงา ใช้อาคารศาลากลางจังหวัดพังงาหลังเดิมเป็นที่จัดแสดง ตัวอาคารดังกล่าวสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2473 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบโคโลเนียล เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนชั้นเดียว ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากรให้เป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อ พ.ศ. 2530 พิพิธภัณฑ์เมืองพังงาเปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการเมื่อกลางปี พ.ศ. 2556

ภายในแบ่งเป็นห้องจัดแสดงนิทรรศการจำนวน 6 ห้อง ว่าด้วยเรื่องเมืองพังงา ตั้งแต่สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยว พัฒนการทางประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง การค้า กลุ่มชาติพันธุ์ ศาสนา ความเชื่อ การประกอบอาชีพ อาหาร ประเพณี การละเล่น และมรดกทางสถาปัตยกรรม นอกจากนี้ยังมีห้องจัดแสดงนิทรรศการชั่วคราวอีก 1 ห้อง

ห้องจัดแสดงที่ 1 รู้เรื่องเมืองพังงา
ให้ความรู้พื้นฐานด้านกายภาพ และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ในจังหวัดพังงา แบ่งเป็นการจัดแสดงออกเป็นสองส่วนย่อย ส่วนแรกได้แก่ “รู้เรื่องเมืองพังงา” นำเสนอเรื่องที่ตั้ง อาณาเขต ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ดิน แร่ธาตุ และรอยเลื่อนคลอมะรุ่ยส่วนที่สอง “มรดกทางธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยว” นำเสนอเรื่องทรัพยกรป่าไม้ เขาหินปูน พืชพรรณ และโลกใต้ทะเล แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ในแต่ละอำเภอ เช่น เขาตะปู หมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน

ห้องจัดแสดงที่ 2 พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
ให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี และพัฒนาการการตั้งถิ่นฐานของผู้คนในเมืองพังงา โดยแบ่งการจัดแสดงออกเป็นสองส่วนย่อย ส่วนแรกคือ “พังงายุคก่อนประวัติศาสตร์” เรื่องราวการค้นพบแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์อายุหลายพันปี ที่กระจ่ายอยู่บริเวณชายฝั่งและเกาะแก่งต่างๆ ในอ่าวพังงา มีหุ่นจำลองการเขียนภาพสีบนเพิงผาของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์  ส่วนที่สองคือ “พังงายุคประวัติศาสตร์” เรื่องราวความเป็นเมืองท่าหรือสถานีการค้านานาชาติอายุนับพันปี แสดงบนเส้นทางสายไหมทางทะเลของโลกยุคโบราณ แสดงแบบจำลองเมืองโบราณทุ่งตึก ซึ่งเป็นสถานีการค้าโบราณที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งบนชายฝั่งอันดามัน และมีห้องฉายวีดิทัศน์เรื่อง “ย้อนรอยประวัติศาสตร์เมืองพังงา”

ห้องจัดแสดงที่ 3 การเมืองการปกครองและการค้า
แบ่งการจัดแสดงออกเป็นสองส่วนย่อย ส่วนแรกคือ “การเมืองการปกครอง” บอกเล่าเรื่องราวพัฒนาการของเมืองสำคัญ 3 เมืองในพังงา ได้แก่ เมืองพังงา เมืองตะกั่วป่า และเมืองตะกั่วทุ่ง ส่วนที่สองคือ “การค้า” เรื่องราวของความตลาดการค้านานาชาติที่เจริญรุ่งเรืองในอดีต สินค้าสำคัญได้แก่ ของป่า เครื่องเทศ ลูกปัดแก้ว-หินสี และแร่ดีบุก จัดสแดงพระราชศัสตราประจำเมืองพังงาที่จำลองขึ้นจากองค์จริง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระราชทานแก่เจ้าเมืองพังงา เป็นพระแสดงราชศัสตราองค์สุดท้ายในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ห้องจัดแสดงที่ 4 คนพังงา
เรื่องราวของผู้คนในจังหวัดพังงา ที่ประกอบด้วยคนกลุ่มหลัก 4 กลุ่ม คือ ชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิม ชาวไทยเชื้อสายขีน(บาบ๋า ย่าหยา) และชาวเล ภาษาและตำนานพื้นบ้าน รวมไปถึงศาสนาและความเชื่อของผู้คนกลุ่มต่างๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีจุดเด่นอยู่ที่การจัดแสดงเครื่องแต่งกายของชนกลุ่มต่างๆ ทั้งชาย-หญิง

ห้องจัดแสดงที่ 5 มรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
นำเสนออาทิ การประกอบอาชีพเช่น ประมง เกษตรกรรม เหมืองแร่ ประเพณีเทศกาลสำคัญ ศิลปะการแสดง การละเล่นที่สำคัญ เช่น หนังตะลุง โนรา ลิเกป่า และอาหารพื้นเมือง โดยมีการจำลองสำรับอาหารคาวหวานและขนมในงานบุญให้ชม

ห้องจัดแสดงที่ 6 เอกลักษณ์สถาปัตยกรรม
นำเสนอมรดกทางสถาปัตยกรรมอันเก่าแก่และทรงคุณค่าของจังหวัดพังงา ที่แสดงถึงพัฒนาการของบ้านเมืองในแต่ละช่วงเวลา และแสดงภูมิปัญญาท้องถิ่นในการก่อสร้างบ้านเรือนของชาวพังงา อาคารเหล่านี้มีทั้งที่เป็นโบราณสถาน ได้แก่ ศาลากลางจังหวัดพังงา(หลังเก่า) จวนผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ที่ว่าการอำเภอตะกั่วป่า(หลังเก่า) วัดเสนานุชรังสรรค์ ส่วนที่เป็นชุมชนเก่าแก่ได้แก่ เมืองตะกั่วป่าเก่า และส่วนที่เป็นบ้านเรือนแบบดั้งเดิมของชาวบ้าน

ข้อมูลจาก: แผ่นพับประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์เมืองพังงา
ชื่อผู้แต่ง:
-