ศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์


ที่อยู่:
ตั้งอยู่ในโบราณสถานพระราชวังจันทน์ ถนนวังจันทน์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
วันและเวลาทำการ:
ทุกวัน เวลา 9.00 - 16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2545
ของเด่น:
ประวัติพระราชวังจันทน์, หุ่นจำลองพระราชวังจันทน์และศาสนสถานในบริเวณพระราชวัง, อาคารเรือนไม้ก่อสร้างสมัยรัชกาลที่ 5
ไม่มีข้อมูล

โดย:

วันที่: 02 กันยายน 2558

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

ศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์


“...ตัวพิพิธภัณฑ์สร้างขึ้นในเงื่อนไขว่า หากไม่มีหน่วยงานราชการออกเลย
อยากให้มีสถานที่อธิบายความสำคัญของพระราชวังจันทร์ หลังจากแผนฯ เสร็จ
จนถึงพ.ศ. 2553 มีการเวนคืนที่ดินมาโดยตลอด
เอาข้อมูลมาใช้ปรับโดยตลอด จนสร้างอาคารหลังนี้เสร็จแล้ว [พ.ศ. 2556]
 
ข้างในสร้างเสร็จหมดแล้ว เห็นประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม วัดต่างๆ
เจดีย์ลักษณะที่ควรเป็น การให้เห็นเรือนยอด มีสามสี่อาคาร
แล้วเข้าสู่พระราชวังเกิดจากการสันนิษฐาน ยุคพระนารายณ์
จัดแสดงของค้นพบบางชิ้น จากนั้น สดุดีพระนเรศวร
แล้วเป็นนิทรรศการชั่วคราว มีห้องกิจกรรม ห้องประชุม”

 
ศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ จัดสร้างโดยกองทัพภาคที่ 3กรมศิลปากร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และมูลนิธิเย็นศิระเพราะพระบริบาล  ตามโครงการอนุรักษ์และพัฒนาพระราชวังจันทน์ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 เพื่อเป็นสถานที่เรียนรู้ ศึกษาทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ของจังหวัดพิษณุโลก ลักษณะเป็นอาคารกลุ่มชั้นเดียวเชื่อมต่อกัน สถาปัตยกรรมแบบไทยประยุกต์หลังคาทรงปั้นหยาผสมจั่ว

ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล ผู้อำนวยการสถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร หนึ่งในผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพี้นที่พระราชวังจันทน์ อันเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งนี้ โดยให้รายละเอียดเพิ่มเติมถึงความเป็นมาของการพัฒนาอาณาบริเวณและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ

“ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 มีการศึกษาและพัฒนาแผนแม่บท เพื่อการย้ายทั้งสถานที่ราชการ สถานศึกษา เช่น ‘โรงเรียนชาย’(โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม) และชุมชน โดยมีข้อกำหนดต่างๆ เช่น การพัฒนาป้ายในการอธิบายและให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่อย่างไร แผนการย้ายคนในสระสองห้องอย่างไร ผู้คนที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่จะได้รับเงินชดเชยอย่างไร

...ในขั้นที่สอง คือเล็งเห็นว่ามีอาคารสองหลัง สมัยรัชกาลที่ 5  อยู่ในกรมป่าไม้ แล้วข้างหลังไทยประยุกต์ที่เชื่อมโยงพระราชวังจันทร์และพื้นที่โดยรอบ เรียกว่าเป็นความพยายามในการอธิบายเมืองเก่าพิษณุโลก 60 ไร่ และศาสนสถานโดยรอบ เช่น วัดศรีสุคต วัดวิหารทอง แต่ในเวลานั้นยังอยู่ในที่ที่มีหน่วยราชการตั้งอยู่ในพื้นที่”

กระทั่งมีการปรับภูมิทัศน์และสร้างอาคารแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2556 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว มหาวิทยาลัยพิษณุโลกดำเนินงานทางเนื้อหาประวัติศาสตร์ขนานไปกับการก่อสร้างต่างๆ เริ่มจากโครงการ “พระราชวังจันทน์ : สถานภาพ องค์ความรู้ รูปลักษณ์สัณฐาน” วันที่ 29-30 พฤษภาคม 2556 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร และพระราชวังจันทน์ จังหวัดพิษณุโลก

คณะทำงานระดมผู้เชี่ยวชาญ ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี เช่น นายพีรพน พิสณุพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 6สุโขทัย (ตำแหน่งในขณะนั้น), ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สันติ  เล็กสุขุม นักประวัติศาสตร์ศิลปะ ผู้สร้างรูปแบบสันนิษฐานซึ่งจัดวางอยู่ ณ พระราชวังจันทน์, นางนาตยา กรณีกิจ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ 6สุโขทัย เป็นต้น โดยมีนักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ บุคลากรจากภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไปร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความคิดเห็นอย่างเข้มข้น ตลอดจนการลงพื้นที่ปฏิบัติการ ณ พระราชวังจันทน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นคณะแรกที่ได้ศึกษาศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ซึ่งสร้างเสร็จแล้ว แต่ยังไม่เปิดให้บริการ นับเป็นโครงการสำคัญกระตุ้นให้เกิดการการบริหารจัดการและบูรณะ พัฒนาพระราชวังจันทน์ (ข้อมูลจาก http://www.nuks.nu.ac.th/)

ผศ. ดร. วศิน กล่าวถึงเป้าหมายสำคัญของการจัดงานนี้ว่า “เป็นการศึกษาความเป็นมาของพระราชวังจันทน์ บทบาทของพระราชวังจันทน์ในฐานะราชสำนักของเมืองพิษณุโลกในมิติทางด้านประวัติศาสตร์ ศึกษาประวัติความเป็นมาของการขุดค้นทางโบราณคดีว่าเจออย่างไร มีการขุดค้นกี่ขั้นตอน และข้อค้นพบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการศึกษาแนวทางการพัฒนาพระราชวังจันทน์ในมิติของการเป็นพิพิธภัณฑ์

การจัดศูนย์การเรียนรู้ ตลอดจนการผลักดันพระราชวังจันทน์เป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร โดยมีการผนวกพิษณุโลกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนามรดกโลกในประเทศไทย และที่สำคัญเป็นการศึกษารูปลักษณ์สัณฐานว่า ลักษณะของผลพวงจากการขุดค้นพบทางโบราณคดี พระราชวังจันทน์มีรูปลักษณ์สัณฐานเป็นอย่างไร”

มหาวิทยาลัยนเรศวรร่วมกับกองทัพภาคที่ 3จัดเวทีเสวนาวิชาการ “รูปแบบสัณฐานพระที่นั่งในพระราชวังจันทน์ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและทิศทางการพัฒนาพระราชวังจันทน์ จังหวัดพิษณุโลก” เมื่อวันที่ 16มีนาคม 2558 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อสกัดองค์ความรู้ในเชิงรูปลักษณ์สัณฐานพระที่นั่งในพระราชวังจันทน์ และทิศทางการพัฒนาพระราชวังจันทน์

เวทีเสวนาประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี สถาปัตยกรรม ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ไทย, ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ราชบัณฑิต และรองศาสตราจารย์ ดร.มังกร ทองสุขดี นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ที่ร่วมนำเสนอองค์ความรู้ ความคิดเห็นในมุมมองต่าง ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาพระราชวังจันทน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเสนอรูปแบบสัณฐานพระที่นั่งในพระราชวังจันทน์ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในรูปแบบสองมิติและสามมิติ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล ผู้อำนวยการสถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร อันนำมาสู่การจัดสร้างพระที่นั่งจำลองในปัจจุบัน (ข้อมูลจาก http://www.nuks.nu.ac.th/)

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดศูนย์ประวัติศาสตร์ฯ และพระราชวังจันทน์ซึ่งมีพื้นที่ 128 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวา ที่ได้รับการบูรณะอย่างเป็นทางการ ภายในศูนย์ประวัติศาสตร์มีรายละเอียดการจัดแสดงต่างๆ ประกอบด้วย 

ส่วนที่ 1 เป็นส่วนต้อนรับ ให้บริการข้อมูลแก่ผู้เข้าชม มีการจัดทำแอพพิเคชั่น "chan palace" เพื่ออำนวยความสะดวกการเข้าถึงข้อมูลผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่

ส่วนที่ 2 "พิษณุโลก: เมืองประวัติศาสตร์สำคัญที่ตั้งอยู่บนสองฝั่งแม่น้ำน่าน" จัดแสดงภาพรวมทั้งด้านทางภูมิศาสตร์ ลักษณะทางกายภาพและข้อมูลพื้นฐานของจังหวัด

ส่วนที่ 3"บันทึกประวัติศาสตร์ 9ศตวรรษ เมืองพิษณุโลก" จัดแสดงเรื่องราวตั้งแต่กำเนิดเมืองสองแคว จนถึงปัจจุบันเป็นศูนย์กลางภาคเหนือตอนล่าง  ปกติเราจะรู้จักพิษณุโลกในอีกสองชื่อว่า สองแคว กับ อกแตก ด้วยมีแม่น้ำสองสายไหลผ่านคือแม่น้ำน่านและแม่น้ำแควน้อย โดยแม่น้ำน่านไหลผ่านกลางเมืองพิษณุโลก

ส่วนที่ 4 "ศิลปกรรมและงานช่างหลวงพิษณุโลก" มีแผนผังพระราชวังจันทน์และวัดสำคัญโดยรอบ ตลอดจนวัดสำคัญในพิษณุโลก เช่น วัดอรัญญิก ซึ่งตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองพิษณุโลก สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1(พระยาลิไท) แห่งกรุงสุโขทัย ในคราวเสด็จฯ มาครองราชสมบัติที่เมืองพิษณุโลก ระหว่างพ.ศ. 1904–1921 วัดอรัญญิกแห่งนี้เป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของสุโขทัยและอยุธยาที่มีต่อเมืองพิษณุโลก

ส่วนที่ 5 “จากเจ้าฟ้าพระองค์น้อยแห่งวังจันทน์สู่พระมหาวีรบุรุษของชาติไทย” จัดแสดงพระราชประวัติและวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้รู้จักพระนามของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจากหลักฐานต่างๆ

ส่วนที่ 6 นิทรรศการหมุนเวียน จัดแสดงเรื่องราว เหตุการณ์ การบูรณะ พัฒนาพระราชวังจันทน์ เช่น พระราชวังจันทน์เดิมเป็นที่ตั้งของโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม, การถ่ายโอนพระราชวังจันทน์จากกรมศิลปากรให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก และการดำเนินการพัฒนาพระราชวังจันทน์ในปี 2558ด้วยงบประมาณ 50ล้านบาท ประกอบด้วยการจัดแสดงแสง เสียง เทิดพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และการอบรมมัคคุเทศก์น้อยแนะนำพระราชวังจันทน์ เป็นต้น

ข้อมูลจาก http://www.nuks.nu.ac.th/mscsv2/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=405

สำหรับการบริหารจัดการในอนาคต ผศ. ดร. วศินให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า “ในตอนนี้ตัวอาคาร ‘เดินไปแล้ว’ ส่วนการบริหารในอาคารจะเป็นอย่างไรเป็นเรื่องที่ อบจ. ต้องคิด ในอนาคต อบจ. ต้องเป็นผู้สร้างเครือข่ายแหล่งพิพิธภัณฑ์ มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันด้วยระบบสารสนเทศ QR code ทำได้หมดแล้ว มีการใส่รูปและข้อความเพิ่มได้ ศูนย์ท่องเที่ยวเทศบาลจะต้องเป็นตัวหลักอย่างหนึ่งในการจัดการ เช่น การนำชมให้กับกลุ่มโรงเรียน

...การเชื่อมโยงกับองค์กรที่ต้องเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว การบริหารจัดการต้องวิจัยก่อน แล้วผลักดันเป็นแผนแม่บท แล้วนำไปสู่กับปฏิบัติการ หลังจากนี้คือการจัดงาน เดิมๆ จังหวัดจัดงานแสงสีเสียง แต่ทำอย่างไรให้ยั่งยืน อาจจะคิดเรื่อง Night at Museum มีตลาดกลางคืน ขายของด้วยชุดไทย เคยลองทำในงานเทศกาลอาหารแล้ว วิถีพิษณุโลก ต้องทำให้เชื่อมั่นว่า แต่งกายไม่เค้อเขิน แล้วมีลูกค้าแน่ อยู่ในส่วนที่ต้องต่อยอด อาคารคืออาคาร เจ้าหน้าที่คนเดียวก็ได้ แต่กิจกรรมที่จะทำกับโรงเรียน เป็นกลไกกับ อบจ. กำลังดำเนินการ”
 
ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ / เขียน
สำรวจข้อมูลภาคสนาม เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2558

ชื่อผู้แต่ง:
-