พิพิธภัณฑ์ภูพาน


พิพิธภัณฑ์ภูพาน ตั้งอยู่ภายในสวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 80 พรรษา เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับจังหวัดสกลนคร ดินแดนแห่งธรรม 4 ธรรม คือ ธรรมะ อารยธรรม วัฒนธรรม และธรรมชาติ ภายในแบ่งการจัดแสดงเป็นดังนี้ 1.โหมโรง จัดแสดงวิดีทัศน์นำเสนอจังหวัด 2.มหัศจรรย์ภูพาน จัดแสดงร่องรอยทางประวัติศาสตร์ 3.ป่าบุ่ง ป่าทาม ป่าพรุอีสาน จัดแสดงธรรมชาติของจังหวัด 4.หนองหารกับการตั้งเมืองสกลนคร จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับหนองหาร 5.คนสกลนคร จัดแสดงกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัด 6.อาศิรวาทองค์ราชัน องค์ราชินี จัดแสดงเรื่องราวการเสด็จจังหวัดสกลนคร 7.เทิดพระเกียรติ จัดแสดงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง 8.ดินแดนแห่งธรรม จัดแสดงเรื่องราวของจังหวัดสกลนคร และ 9.ประติมากรรม ณ ลานกลางแจ้ง

ที่อยู่:
สวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 80 พรรษา ชุมชนหนองหารหลวง ด้านหลังโรงเรียนอนุบาลสกลนคร อ.เมืองสกลนคร จ.สกลนคร
โทรศัพท์:
042 714 853
วันและเวลาทำการ:
อังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 09.00-16.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2555
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

จับกระแสพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นควรสร้างเพื่อใคร?

ชื่อผู้แต่ง: วลัยลักษณ์ ทรงศิริ | ปีที่พิมพ์: มกราคม - มีนาคม 2556

ที่มา: จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ฉบับที่ 97

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 30 พฤษภาคม 2556

อบจ.สกลนครเตรียมเข้าดูแลพิพิธภัณฑ์ภูพาน แหล่งรวมอารยธรรมชาวสกลนคร

ชื่อผู้แต่ง: วัฒนะ แก้วก่า | ปีที่พิมพ์: 11 มกราคม 2556

ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 30 พฤษภาคม 2556


ไม่มีข้อมูล

อบจ.สกลนครเตรียมเข้าดูแลพิพิธภัณฑ์ภูพาน แหล่งรวมอารยธรรมชาวสกลนคร

สกลนคร” นครแห่งการแสวงหา ส่วนการปกครองนั้นได้ชื่อว่าเป็นเมืองพุทธศาสน์ พระธาตุ 5 แห่ง แหล่งอารยธรรม 3 พันปี เป็นเมืองแอ่งธรรมะ ที่เป็นแหล่งรวมพระอริยสงฆ์ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบหลายรูป ตามตำนานเล่าว่า เมื่อสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 เมืองหนองหารหลวงในอดีต หรือสกลนครในปัจุบันนั้น สร้างขึ้นในยุคที่ขอมเรืองอำนาจในดินแดนแห่งนี้ โดยขุนขอม ราชบุตรเจ้าเมืองอินทรปัฐนคร ผู้ซึ่งอพยพครอบครัวและบ่าวไพร่ชาวเขมรมาสร้างเมืองใหม่ที่ริมหนองหารหลวง มีเจ้าปกครองเรื่อยมา ต่อมาจึงเกิดอารยธรรมใหม่ๆ
ชื่อผู้แต่ง:
-

จับกระแสพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นควรสร้างเพื่อใคร?

ในราวต้นทศวรรษ 2530 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทยยังคงเป็นสิ่งใหม่ๆ ที่ผู้คนไม่คุ้นเคย แต่เริ่มมีการเสวนาพูดคุยกันถึงการรวบอำนาจการจัดการพิพิธภัณฑ์ของรัฐไทยที่ผูกขาดเรื่องราวประวัติศาสตร์แห่งชาติเอาไว้ที่ตนเองฝ่ายเดียว กระแสการจัดการความรู้ในอดีตของชาติเช่นนี้ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านในแวดวงคนทำงานประวัติศาสตร์และโบราณคดีจำนวนหนึ่ง ในขณะนั้นเองก็มีการกล่าวถึงวิธีการจัดแสดงและนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในต่างประเทศ ที่ไม่จำเป็นต้องมีเพียงโบราณวัตถุหรือวัตถุอื่นใดเป็นข้อกำหนดในการศึกษาที่ตายตัวและหยุดนิ่งเท่านั้น
ชื่อผู้แต่ง:
-
คำสำคัญ:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-
คำสำคัญ:
-