พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ เพื่อพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง


จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำริให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง เพื่อฟื้นฟูสภาพพื้นที่และพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้ดีขึ้น กองทัพบกเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับสนองพระราชดำริเข้าไปดำเนินงานในโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ฃอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประกอบกับใน ปี 2539 เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติเป็นปีที่ 50 กองทัพบกจึงจัดทำโครงการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เพื่อพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังขึ้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มีกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบอาคาร พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการแบ่งเป็น 6 ส่วน ส่วนที่ 1 ย้อนอดีตลุ่มน้ำปากพนัง/อดีตกาลอันรุ่งโรจน์เมืองปากพนัง ส่วนที่ 2 สภาพปัญหาต่างๆ ในพื้นที่โครงการ ส่วนที่ 3 สาเหตุของปัญหา นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาต่างที่เกิดขึ้นในบริเวณลุ่มน้ำปากพนัง ได้แก่ การขาดแคลนน้ำจืด และการรุกตัวของน้ำเค็ม ส่วนที่ 4 พระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อพื้นที่โครงการ ส่วนที่ 5 แผนการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ส่วนที่ 6 ผลสำเร็จหลังโครงการเสร็จสิ้น และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่สำคัญในภาคใต้

ที่อยู่:
โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง หมู่ 5 ต.หูล่อง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช 80140
โทรศัพท์:
075-416-127
โทรสาร:
075-416-128
วันและเวลาทำการ:
วันราชการ 8.30 - 16.30 น. (สามารถเข้าชมเป็นหมู่คณะในวันหยุดได้)
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2539
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ เพื่อพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง

จากการที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำริให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าไปดำเนินการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง  เพื่อฟื้นฟูสภาพพื้นที่และพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้ดีขึ้น  กองทัพบกเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับสนองพระราชดำริ  เข้าไปดำเนินงานในโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประกอบกับในปี 2539 เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติเป็นปีที่ 50 กองทัพบกจึงได้ร่วมกับพี่น้องประชาชนจัดทำโครงการก่อสร้าง “ อาคารพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉลองสิริราชสมบัติครบ  50 ปี เพื่อพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง “  ขึ้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อถวายเป็นราชสักการะ เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช 2539  โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ในวโรกาสที่ทรงครองราชย์ครบ  50 ปี  ในวันที่  9  มิถุนายน  2539 เพื่อใช้เป็นสถานที่ทรงงาน  ในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินไปบริเวณที่ก่อสร้างประตูระบายน้ำปากพนัง และเพื่อเป็นอนุสรณ์  และเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์  แสดงถึงวิวัฒนาการของพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง  ความเป็นมาของโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง

กองทัพบกได้จัดให้มีกิจกรรมเพื่อร่วมบริจาคสมทบทุน การก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติฯ  หลายรายการ เช่น  การรับบริจาคในการจัดรายการพิเศษเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  5  ธันวาคม  2536  ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง  5  ได้ยอดบริจาคจำนวน  7,650,000  บาท  หัวหน้าค่ายมายเกียรติบ้านช่อง  และคณะนักเรียนเตรียมทหารรุ่น  7  ร่วมบริจาครายละ  100,000  บาท  จัดสร้างเหรียญสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต  พรหมรังสี ) กับสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง และรูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต  พรหมรังสี )   ร่วมกับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)  มีรายได้กว่า  13  ล้านบาท  การรับบริจาคในการจัดรายการพิเศษเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  5  ธันวาคม  2537  ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5  และสถานีวิทยุโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7  สถานีละ  5  ล้านบาท  รวมเป็นเงิน  10  ล้านบาท  บริษัท  ไทยออยล์ จำกัด  ร่วมบริจาคจำนวน  100,000  บาท

การจัดคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติฯ “คอนเสิร์ตทีนเอจเฟสติวัล” วันที่  11  กุมภาพันธ์  2538  ณ  สนามกีฬากองทัพบก  เงินรายได้กว่า  2 ล้านบาท และการจัดงานกาลาดินเนอร์การกุศล “ร่วมใจเฉลิมพระเกียรติทรงครองราชย์ปีที่ 50”  ณ  ห้องบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์  ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซ่า  ลาดพร้าว  วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2538  โดยเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคสมทบทุนสร้างอาคารฯ  ซึ่งได้รับรายได้ประมาณ  11.8 ล้านบาท  รวมมีรายได้จากการจัดกิจกรรมทั้งสิ้นประมาณ 45 ล้านบาท  นอกจากนั้นยังได้รับการสนับสนุนงบประมาณ  ในการถมที่ดินบริเวณพื้นที่ก่อสร้างจากคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) เป็นจำนวนเงิน 8,917,000 บาท

กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบอาคาร โดยเน้นลักษณะสถาปัตยกรรมประยุกต์ของท้องถิ่นภาคใต้หลังคาทรงปั้นหยา  โดยคำจึงถึงการจัดสถานที่ให้เป็นที่ทรงงาน และทรงพักผ่อนพระอิริยาบถส่วนพระองค์ในขณะเสด็จทรงงานในพื้นที่
การแบ่งส่วนภายในอาคาร แบ่งเป็น  6  ส่วนคือ ห้องทรงงาน ห้องส่วนพระองค์ ห้องจัดแสดงนิทรรศการถาวร ห้องประชุมอเนกประสงค์ พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการเคลื่อนที่ พื้นที่ทำงานของเจ้าหน้าที่ประจำอาคาร และจัดกิจกรรมอื่น ๆ
การตกแต่งภายในห้องทรงงาน ห้องส่วนพระองค์  และการจัดแสดงนิทรรศการในอาคารพิพิธภัณฑ์ฯ นั้น  กรมกิจการพลเรือนทหารบกในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการก่อสร้างฯ  ได้ประสานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาปรับแบบการตกแต่งภายใน และการจัดแสดงนิทรรศการให้มีความเหมาะสม และอยู่ในวงเงินงบประมาณที่คณะอนุกรรมการจัดหาเงินสามารถให้การสนับสนุนได้  ซึ่งผู้บัญชาการทหารบก/ประธานกรรมการอำนวยการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ฯ  ได้อนุมัติให้กองทัพภาคที่ 4/คณะอนุกรรมการาฝ่ายก่อสร้างฯ  จ่างเหมาบริษัท สยามแลนด์มาร์ค จำกัด  เป็นผู้ดำเนินการในวงเงินงบประมาณ  14,873,130 บาท  ซึ่ง บริษัทฯ ได้ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ และส่งมอบให้คณะกรรมการเมื่อวันที่  29  พฤษภาคม  2541 

ห้องทรงงาน จัดให้มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวก และเครื่องมือต่าง ๆ ที่จำเป็นอย่างครบครัน โดยเน้นความเรียบง่าย ประหยัด และสมพระเกียรติ  เพื่อให้เป็นที่ทรงงานในขณะเสด็จฯ  ทรงงานในพื้นที่ มีอุปกรณ์ต่าง ๆ  อาทิ  โต๊ะประชุมพร้อมเก้าอี้  เครื่องฉาย Video/Data  Single  Lens  เครื่องเล่น  Video  Tape  จอภาพควบคุมด้วยมอเตอร์  เครื่องรับโทรทัศน์  เครื่องขยายเสียง  เครื่องเล่นเทป  ลำโพง  ไมโครโฟน  ฯลฯ

ห้องส่วนพระองค์ เป็นห้องพักผ่อนพระอิริยาบถส่วนพระองค์  ประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ  ประดับด้วยภาพวาดฝาผนังแสดงศิลปวัฒนธรรม  ประเพณีของจังหวัดนครศรีธรรมราช

การจัดแสดงนิทรรศการถาวร จัดให้มีการนำเสนอเนื้อหาอย่างเป็นลำดับและต่อเนื่อง  เพื่อให้ง่ายแก่การติดตามและทำความเข้าใจ  รูปแบบการนำเสนอมีทั้งการฟัง  อ่าน  และชม  ผ่านสื่อมัลติมีเดียต่างๆ  โดยเนื้อหาที่จัดแสดงจะเป็นข้อมูลโดยย่อ  สำหรับข้อมูลอย่างละเอียดนั้นจะบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์  ซึ่งผู้เข้าชมสามารถเลือกดูข้อมูลได้จากจอภาพระบบ  TOUCH  SCREEN

พื้นที่การจัดแสดง แบ่งออกเป็น  6  ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1  ย้อนอดีตลุ่มน้ำปากพนัง/อดีตกาลอันรุ่งโรจน์ เมืองปากพนัง มีความสำคัญยิ่งเมืองหนึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ศูนย์รวมของสินค้าสำคัญ “ข้าว” คุณภาพเยี่ยม  ที่ปลูกได้ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำปากพนัง  ความเจริญของเมืองปากพนังในครั้งนั้น  เลื่องลือรู้จักกันทั่วไปทั้งในประเทศตลอดจนถึงเมืองท่าการค้าในต่างประเทศถึงกับผลิตเหรีญกษาปร์ขึ้นใช้เอง จัดแสดงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของลุ่มน้ำปากพนัง โดยใช้สื่อนำเสนอเป็นบทบรรยาย  คัดความจากพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนิน  ตรวจมณฑลนครศรีธรรมราชครั้งที่ 1 พุทธศักราช 2448, ภาพจำลองบรรยากาศท่าเรือเมืองปากพนัง  มีเรือกำปั่นลำใหญ่

ส่วนที่ 2  สภาพปัญหาต่างๆ  ในพื้นที่โครงการ ส่วนที่ 2 กล่าวถึงเนื้อหาการปรับยุทธศาสตร์การเมือง  การปกครองของประเทศ, ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ การขยายตัวของเมือง  การเปลี่ยนเส้นทางคมนาคมจากทางน้ำไปสู่การคมนาคมทางบก  การอพยพของผู้คนขึ้นไปหักร้างถางพงในเขตเขาหลวง  ซึ่งเป็นการทำลายแหล่งต้นน้ำลำธาร, การเริ่มต้น  และการขยายตัวของการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ โดยใช้สื่อนำเสนอเป็นภาพขยาย มีบทบรรยาย  และดนตรีประกอบ
           
 ส่วนที่ 3  สาเหตุของปัญหา นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาต่างที่เกิดขึ้นในบริเวณลุ่มน้ำปากพนัง ได้แก่ การขาดแคลนน้ำจืด  และการรุกตัวของน้ำเค็ม กล่าวถึง ปัญหาทางด้านกายภาพของเมืองปากพนัง  ปัญหาชายฝั่งทะเล ดินเปรี้ยว  ดินเค็ม การระบายน้ำเสียออกจากนากุ้ง  ปัญหานากุ้ง  นาข้าว ปัญหาอุทกภัย ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสังคม และคุณภาพชีวิตของชาวปากพนัง โดยใช้สื่อนำเสนอเป็นแผนภูมิพื้นที่โครงการ วิดิทัศน์ที่นำเสนออย่างสัมพันธ์กับเสียงและแสงที่ส่องลงบนแผนภูมิที่โครงการ

ส่วนที่ 4  พระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อพื้นที่โครงการ กล่าวถึง ความห่วงใยในทุกข์สุขของพสกนิกรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยได้เสด็จพระราชดำเนินมาพื้นที่หลายต่อหลายครั้ง  ทรงกำหนดแผนการดำเนินงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเนื่องจากพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง  ครอบคลุมอาณาบริเวณหลายจังหวัด  การจะแก้ไขปัญหาที่จุดหนึ่งจุดใดจะไม่ได้ผลเท่าที่ควรจึ้งต้องดำเนินการไปพร้อมๆ กัน โดยใช้สื่อนำเสนอเป็นภาพและ พระสุรเสียงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั่งที่เป็นพระราชปรารภเกี่ยวกับ โครงการและพระราชดำริที่ได้พระราชทานแก่ข้าราชการที่เกี่ยวข้องในหลายวาระ  รวม  9  ครั้ง
             
ส่วนที่ 5  แผนการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเข้าพระทัยดีถึงสภาพภูมิประเทศ  ข้อได้เปรียบหรือข้อจำกัดต่างๆ ทำให้ทรงเข้าถึงปัญหาอย่างถ่องแท้ ได้พระราชทานพระราชดำริถึงวิธีแก้ปัญหา ที่ต้องดำเนินไปอย่างสัมพันธ์กันในทุกๆ  ด้าน ทรงมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐที่มีความเชี่ยวชาญในงานด้านต่างๆ เข้ารับผิดชอบดำเนินการ กล่าวถึง ความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ แนวทางการดำเนินงานด้านการชลประทาน  การเกษตร  ป่าไม้  พัฒนาระบบริหารและการจัดการ คณะกรรมการดำเนินงาน ระยะเวลาดำเนินงานโครงการ

ส่วนที่ 6  ผลสำเร็จหลังโครงการเสร็จสิ้น และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่สำคัญในภาคใต้ ในพื้นที่ภาคใต้หลายต่อหลายแห่งเกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร  โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  มีส่วนสำคัญยิ่งที่ช่วยบรรเทาปัดเป่าทุกข์ร้อนเหล่านั้น  บางโครงการเพิ่งจะเริ่มต้น บางโครงการอยู่ในขั้นเตรียมการ แต่ก็มีอีกหลายโครงการที่ประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนนี้ใช้สื่อนำเสนอ เป็นภาพขยายและคำบรรยาย
นอกจากนี้ภายในอาคารยังประกอบด้วย ห้องประชุมอเนกประสงค์ พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการเคลื่อนที่ เป็นห้องโถงกว้าง  สำหรับใช้ในการจัดแสดงนิทรรศการเคลื่อนที่ในห้วงวันสำคัญ  หรือ เทศกาลต่างๆ  ของส่วนราชการ  ภาคเอกชน  และประชาชนในพื้นที่ และพื้นที่ทำงานของเจ้าหน้าที่ประจำอาคารฯ  และจัดกิจกรรมอื่นๆ


เรียบเรียงจาก: http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppk/museum/pitpit.htm [accessed 2009-01-05]
ชื่อผู้แต่ง:
-