พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนังตะลุง สุชาติ ทรัพย์สิน


ที่อยู่:
บ้านเลขที่ 6 ถนนศรีธรรมโศก ซอย 3 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000
โทรศัพท์:
0-7534-6394
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 7.00-17.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
อีเมล:
WATEE2510@gmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2528
ของเด่น:
ตัวตลกต่างๆ,หนังตะลุงสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง,หนังตะลุงจากประเทศต่างๆ
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

บ้านหนังตะลุง"สุชาติ ทรัพย์สิน" อนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านคู่เมืองใต้

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 1/25/2546

ที่มา: ข่าวสด

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

การท่องเที่ยวกับการพัฒนาหัตถกรรมการทำรูปหนังตะลุง

ชื่อผู้แต่ง: วาที ทรัพย์สิน | ปีที่พิมพ์: 2537

ที่มา: วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

หนังตะลุง

ชื่อผู้แต่ง: สุชาติ ทรัพย์สิน | ปีที่พิมพ์: -

ที่มา: นครศรีธรรมราช: พิพิธภัณฑ์หนังตะลุงสุชาติ ทรัพย์สิน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

จากหนังตะลุงสู่รากเหง้าวิถีชีวิตชาวใต้

ชื่อผู้แต่ง: เยาวนิศ เต็งไตรัตน์ | ปีที่พิมพ์: 20-08-2551

ที่มา: เดลินิวส์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เปิดบ้านศิลปิน​แห่งชาติ สุชาติ ทรัพย์สิน พิพิธภัณฑ์หนังตะลุง​แห่ง​แรกของ​ไทย

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 8 สิงหาคม 2554

ที่มา: ไทยโพสต์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

การท่องเที่ยวกับการพัฒนาหัตถกรรมการทำรูปหนังตะลุง

ชื่อผู้แต่ง: วาที ทรัพย์สิน | ปีที่พิมพ์: 2537

ที่มา:

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 24 พฤษภาคม 2555

ประวัติตัวตลกหนังตะลุงในท้องถิ่นใต้

ชื่อผู้แต่ง: วาที ทรัพย์สิน | ปีที่พิมพ์: 2551;2008

ที่มา: รายงานทุนสนับสนุนการวิจัยสำหรับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โครงการเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นครั้งที่ 1/2551

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 08 พฤศจิกายน 2556


พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนังตะลุง สุชาติ ทรัพย์สิน

สุชาติ ทรัพย์สิน เป็นนายหนังตะลุงที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในภาคใต้ นอกเหนือจากการเล่นหนังตะลุงแล้วหนังสุชาติยังเป็นช่างแกะตัวหนังด้วย การเป็นช่างแกะหนังเป็นจุดเริ่มของการสะสมตัวหนังตะลุงของหนังสุชาติ เพราะความจำเป็นในการสะสมตัวหนังเพื่อให้ง่ายต่อการออกแบบรูปภาพหนังตะลุง ไม่มีเจตนาจะสะสมเพื่อก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แต่อย่างใด แรงบันดาลใจในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ เมื่อได้มีโอกาสถวายการแสดงหนังตะลุงต่อหน้าพระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระองค์ท่านทรงตรัสกับนายหนังสุชาติว่าขอบใจมากที่รักษาศิลปะการแสดงแขนงนี้ไว้ จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังกล่าวจึงกลายเป็นแรงบันดาลใจให้นายหนังสุชาติเปิดบ้านของตัวเองเป็นพิพิธภัณฑ์ โดยมุ่งหวังที่จะไม่ให้ศิลปะการแสดงหนังตะลุงสูญหายไป        

พิพิธภัณฑ์และบ้านของนายหนังสุชาติอยู่ในบริเวณรั้วเดียวกัน เมื่อเดินเข้ามาภายในบริเวณพิพิธภัณฑ์จะพบกับอาคารชั้นเดียวหลังเล็ก ๆ ที่แสดงกรรมวิธีการแกะหนังตะลุง และเป็นที่ขายสินค้าที่ระลึกเกี่ยวกับหนังตะลุง เช่น เสื้อยืด ตัวหนังตะลุง พร้อมกับกล่องรับบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนกิจการพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ข้างหน้า อาคารจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์มีสองหลัง หลังแรกเป็นอาคารไม้สองชั้นใต้ถุนโล่ง ชั้นบนจัดแสดงตัวหนังตะลุง โดยจุดเด่นคือ ตัวหนังตะลุงเก่าที่หาดูได้ยากอายุกว่า ๒๐๐ ปี เป็นรูปเกี่ยวกับรามเกียรติ์ นอกจากนี้ยังมีหนังตะลุงจากประเทศต่าง ๆ เช่น จีน อินเดียอินโดนีเซีย มาเลเซีย และตุรกี เป็นต้น 
             
นอกเหนือไปจากตัวหนังตะลุงแล้วนายหนังสุชาติยังชอบสะสมเครื่องเหล็ก มีดพร้า โดยวิธีการหาของของนายหนังสุชาติมีลักษณะพิเศษไม่เหมือนใครคือ เมื่อไปแสดงหนังตะลุงที่ไหน ก่อนแสดงหนังเวลาสามทุ่มหนังสุชาติจะตั้งวงเหล้าแล้วสนทนากับเจ้าของงานเพื่อเกิดความคุ้นเคยและหาข้อมูลว่าที่นั่นหรือในชุมชนนั้นมีของเก่าอะไรที่น่าสนใจบ้าง ถ้ามีของเป็นที่ถูกใจหนังสุชาติก็จะขอซื้อทันที อาคารหลังที่สองที่เป็นอาคารไม้สองชั้นใต้ถุนโล่ง จึงจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำมากิน เครื่องจักสาน มีดพร้าต่าง ๆ อาคารจัดแสดงทั้งสองหลังไม่มีคำบรรยายประกอบแต่อย่างใดซึ่งทางพิพิธภัณฑ์ให้เหตุผลว่าตั้งใจที่จะไม่ทำคำบรรยายประกอบเพราะต้องการให้ผู้เข้าชมเข้ามาพูดคุยและซักถาม ซึ่งนายหนังสุชาติ ภรรยา และลูก ๆ สามารถให้ความรู้และตอบข้อซักถามของผู้ชมได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ภายในบริเวณพิพิธภัณฑ์ยังมีโรงหนังตะลุง เพื่อแสดงการเชิดหนังตะลุงให้กับผู้มาพิพิธภัณฑ์ได้ชมอีกด้วย เสน่ห์ของหนังตะลุงคือลีลาการเชิดและเล่าเรื่องที่นำเหตุการณ์ร่วมสมัยเข้ามาสอดแทรกและมีมุขตลกเป็นระยะ ฝีปากอันเฉียบคมของนายหนังสุชาติทำให้ได้รับฉายาว่าฉลามดำมาแล้ว
             
การบริหารงานของพิพิธภัณฑ์เป็นแบบครอบครัว โดยมีอาจารย์วาที ลูกชายของนายหนังสุชาติ เป็นผู้ประสานงานและจัดการดูแลเป็นหลัก อาจารย์วาทีทำงานอยู่ในแวดวงวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน สามารถเชื่อมโยงความรู้ที่มีมาจัดการกับพิพิธภัณฑ์ของตัวเองได้ จึงมักไม่ค่อยมีปัญหามากนักในด้านการบริหารจัดการและประชาสัมพันธ์ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ค่อนข้างได้รับความสนใจจากชาวต่างประเทศเข้ามาชมเสมอ และทางพิพิธภัณฑ์มีแผ่นพับประชาสัมพันธ์ภาษาอังกฤษเพื่อเสริมความเข้าใจต่อผู้ชมชาวต่างประเทศด้วย 
 

ข้อมูลจาก:
1. แผ่นพับประชาสัมพันธ์บ้านหนังตะลุงสุชาติ  ทรัพย์สิน (ภาษาอังกฤษ)
2. การสำรวจภาคสนาม วันที่ 19 มกราคม 2547
3. การประชุมเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น (ภาคใต้) จัดโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร วันที่ 7 - 8 กุมภาพันธ์ 2547  ณ  โรงแรมแกรนด์ปาร์ค  จังหวัดนครศรีธรรมราช.

 
ชื่อผู้แต่ง:
-