พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตำบลตะโล๊ะหะลอ


พิพิธภัณฑ์ตะโล๊ะหะลอ ตั้งอยู่ในตำบลตะโล๊ะหะลอ จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นชุมชนที่ทำกริชรามันมาตั้งแต่อดีตหลายชั่วอายุคนจวบจนปัจจุบัน โดย “กริชรามัน” มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานเมื่อ 200-300 ปีก่อน เล่ากันว่าเจ้าเมืองรามันประสงค์จะให้มีกริชเป็นอาวุธคู่บ้านคู่เมือง จึงได้เชิญช่างทำกริชจากอินโดนีเซียมาทำกริชที่เมืองรามัน และสืบทอดภูมิปัญญามาจนปัจจุบัน กริชที่เมืองรามันนิยมทำเป็นหัวนกพังกะมากกว่าชนิดอื่น นอกจากนี้ยังทำเป็นหัวรูปไก่ หัวงูจงอาง และรูปคน ส่วนใหญ่สลักด้วยไม้หรือกระดูกปลา กลุ่มที่สืบทอดการทำกริชนำโดยนายตีพะลี อะตะบู ประธานกลุ่มกริชรามัน และเป็นครูภูมิปัญญาพื้นบ้านคนสำคัญที่เป็นผู้สืบสานและชำนาญการเรื่องการทำกริช และนายตีพะลียังเป็นผู้รริเริ่มก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ โดยพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านของนายตีพะลี จัดแสดงกริชโบราณ และผลิตภัณฑ์ที่จำลองขึ้นมาใหม่ และโบราณวัตถุอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมคนมุสลิมในยะลา และยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องราวของกริชให้กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้สืบทอดรักษามรดกนี้ไว้

ที่อยู่:
ท่าเสด็จ หมู่ 5 ต.ตะโล๊ะหะลอ อ.รามัน จ.ยะลา 95140
โทรศัพท์:
086-2993413
วันและเวลาทำการ:
โปรดติดต่อล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2545
ของเด่น:
กริชรามัน
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ตามรอยภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดยะลาสู่แนวคิดวิทยาศาสตร์

ชื่อผู้แต่ง: สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ | ปีที่พิมพ์: 2555

ที่มา: ปทุมธานี: สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

แหล่งค้นคว้า: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

โดย: ศมส.

วันที่: 01 พฤศจิกายน 2555

ดูลิงค์ต้นฉบับ


พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตำบลตะโล๊ะหะลอ

พิพิธภัณฑ์ตะโล๊ะหะลอ ตั้งอยู่ในตำบลตะโล๊ะหะลอ จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นชุมชนที่ทำกริชรามันมาตั้งแต่อดีตหลายชั่วอายุคนจวบจนปัจจุบัน โดย “กริชรามัน” มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานเมื่อ 200-300 ปีก่อน เล่ากันว่าเจ้าเมืองรามันประสงค์จะให้มีกริชเป็นอาวุธคู่บ้านคู่เมือง จึงได้เชิญช่างทำกริชจากอินโดนีเซียมาทำกริชที่เมืองรามัน และสืบทอดภูมิปัญญามาจนปัจจุบัน

กริชที่เมืองรามันนิยมทำเป็นหัวนกพังกะมากกว่าชนิดอื่น นอกจากนี้ยังทำเป็นหัวรูปไก่ หัวงูจงอาง และรูปคน ส่วนใหญ่สลักด้วยไม้หรือกระดูกปลา กลุ่มที่สืบทอดการทำกริชนำโดยนายตีพะลี อะตะบู ประธานกลุ่มกริชรามัน และเป็นครูภูมิปัญญาพื้นบ้านคนสำคัญที่เป็นผู้สืบสานและชำนาญการเรื่องการทำกริช

ในปี พ.ศ. 2536   การทำกริชรามันห์เป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วไป ทำให้การสั่งซื้อกริชมากขึ้น และหลากหลายรูปแบบ   ดังนั้น จึงจัดให้มีตัวอย่างกริช และมีการสะสมกริชหลากหลายรูปแบบ เมื่อมีการสะสมกริชมากขึ้น จึงมีแนวคิดที่จะจัดตั้ง เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านขึ้น ในปี พ.ศ.2545   โดยมีหน่วยงานรัฐ มาสนับสนุน จัดระบบให้ดีขึ้น   จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี และจากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

นายตีพะลียังเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ โดยพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านของนายตีพะลี จัดแสดงกริชโบราณ และผลิตภัณฑ์ที่จำลองขึ้นมาใหม่ และโบราณวัตถุอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมคนมุสลิมในยะลา และยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องราวของกริชให้กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้สืบทอดรักษามรดกนี้ไว้

ข้อมูลจาก: รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจัดทำข้อมูลพิพิธภัณฑ์ภาคใต้ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคใต้ สนับสนุนโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) 2564.


ชื่อผู้แต่ง:
ปณิตา สระวาสี

ข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง