พิพิธภัณฑ์เรือนอำมาตย์โทพระยาพิบูลย์พิทยาพรรค


พิพิธภัณฑ์เรือนอำมาตย์โทพระยาพิบูลย์พิทยาพรรค ตั้งอยู่ภายในสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ทางสถาบันฯได้รับมอบเรือนอำมาตย์โทพระยาพิบูลย์พิทยาพรรค จากนั้นได้รื้อย้ายมาสร้างไว้ ณ สถาบันฯ อำมาตย์โทพระยาพิบูลพิทยาพรรค (ทอง คุปตาสา) เป็นชาวจังหวัดสิงห์บุรี ท่านได้รับคำสั่งเมื่อปีพ.ศ. 2451 ให้ย้ายจากตำแหน่งครูโรงเรียนสวนกุหลาบมาเป็นว่าที่ธรรมการมณฑลปัตตานี เมื่อ พ.ศ. 2453 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2473 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งธรรมการมณฑลนครศรีธรรมราช ภายในบ้านมีการตกแต่งแบบเรียบๆ จัดแสดงเกียรติบัตร เหรียญตรา และเครื่องหมายสำหรับเครื่องแบบโอกาสต่างๆ ของพระยาพิบูลพิทยาพรรค มีตู้และชั้นหนังสือเป็นหลัก เนื่องจากเจ้าของบ้านเป็นผู้รักในการอ่านหนังสือ และการประพันธ์คำกลอนสักวา

ที่อยู่:
สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000
โทรศัพท์:
0-7333-1250
โทรสาร:
0-7333-1250
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์-ศุกร์ เว้นวันหยุดราชการ 9.00-11.30 และ 13.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
culture.pn@g.psu.ac.th
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา

ชื่อผู้แต่ง: สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา

แหล่งค้นคว้า: สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา

โดย: ศมส.

วันที่: 26 กรกฎาคม 2564

ดูลิงค์ต้นฉบับ


ไม่มีข้อมูล

เรือนอำมาตย์โทพระยาพิบูลย์พิทยาพรรค

เรือนอำมาตย์ในพระยาพิบูลพิทยาพรรค เป็นเรือนไม้หลังใหญ่ที่สะท้อนให้เห็นความสามารถของเจ้าของบ้านและช่าง ในการผสมผสานวัฒนธรรมไทยและตะวันตกได้อย่างกลมกลืนกัน ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นผู้ดูแลหลังจากที่ได้รื้อบ้านมาประกอบใหม่  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างสถาบันวัฒนธรรมฯ และพิพิธภัณฑพระเทพญาณโมลี โดยด้านหน้ของบ้านหันออกสู่ถนน แต่เนื่องจากเป็นถนนด้านหลังของมหาวิทยาลัย ด้านหลังของตัวบ้านเดิมซึ่งมีระเบียง และได้รับการต่อเติมบันได 2 ด้าน จึงมองดูเหมือนกับเป็นหน้าหน้าของบ้าน เมื่อมองจากภายในมหาวิทยาลัย

ผู้สร้างบ้านหลังนี้คือ อำมาตย์โท พระยาพิบูลพิทยาพรรค (ทอง คุปตาสา) ชาวจังหวัดสิงห์บุรี ท่านได้รับคำสั่งเมื่อปี พ.ศ. 2451 ให้ย้ายจากตำแหน่งครูโรงเรียนสวนกุหลาบมาเป็นว่าที่ธรรมการมณฑลปัตตานี เมื่อ พ.ศ. 2453 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2473 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งธรรมการมณฑลนครศรีธรรมราชอีกด้วย

บ้านโบราณหลังนี้มีหลังคารวมทั้งลวดลายแกะสลักตกแต่งตามลักษณะบ้านแบบยุโรปที่เริ่มสร้างในประเทศไทยตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีหน้าต่างแคบยาวตีไม้เป็นเกล็ดตายตัว แต่มีหน้าจั่วเพิ่มมาด้านหน้าตัวบ้านทาสีฟ้าอ่อนตัดขอบด้วยสีฟ้าเข้ม  ที่น่าสังเกตคือ ไม่มีการติดกุญแจที่ประตู มีเฉพาะกลอนภายในเป็นบางห้อง ผู้ที่เคยพักอาศัยในบ้านหลังนี้กล่าวว่า ไม่เคยปรากฎว่ามีขโมยขึ้นบ้าน ทั้งๆ ที่บริเวณบ้านกว้าง ไม่มีรั้วบ้าน และติดถนนทั้งสองด้าน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าพระยาพิบูลพิทยาพรรคเป็นคนดีมาก มีความเด็ดขาด เป็นที่เคารพยำเกรงของบุคคลทั่วไปและชาวบ้านมุสลิมที่อยู่รอบๆ

ภายในบ้านมีการตกแต่งแบบเรียบๆ ส่วนใหญ่จะเป็นเกียรติบัตร เหรียญตรา และเครื่องหมายสำหรับเครื่องแบบโอกาสต่างๆ ของพระยาพิบูลพิทยาพรรค มีตู้และชั้นหนังสือเป็นหลัก เนื่องจากเจ้าของบ้านเป็นผู้รักในการอ่านหนังสือ และการประพันธ์คำกลอนสักวา

ข้อมูลจาก: เอกสารประชาสัมพันธ์สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา

https://issuu.com/nanthawatchobngam/docs/master_book

ชื่อผู้แต่ง:
สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา

รีวิวของพิพิธภัณฑ์เรือนอำมาตย์โทพระยาพิบูลย์พิทยาพรรค

พิพิธภัณฑ์เรือนอำมาตย์โทพระยาพิบูลย์พิทยาพรรค ตั้งอยู่ภายในสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ทางสถาบันฯได้รับมอบเรือนอำมาตย์โทพระยาพิบูลย์พิทยาพรรค จากนั้นได้รื้อย้ายมาสร้างไว้ ณ สถาบันฯ อำมาตย์โทพระยาพิบูลย์พิทยาพรรคเป็นธรรมการมณฑลปัตตานี เรือนหลังนี้สร้างขึ้นราวปี พ.ศ.2476 โดยช่างชาวจีน รูปแบบสถาปัตยกรรมผสมผสานกันระหว่างไทยและตะวันตก

ข้อมูลจาก: การประชุมเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น (ภาคใต้) จัดโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร วันที่ 7 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ณ โรงแรมแกรนด์ปาร์ค จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อผู้แต่ง:
-

รีวิวของพิพิธภัณฑ์เรือนอำมาตย์โทพระยาพิบูลย์พิทยาพรรค

เรือนขนมปังขิงหรือบ้านโบราณ เป็นของอำมาตย์โทพระยาพิบูลพิทยาพรรค (ทอง คุปตาสา) ธรรมการมณฑลปัตตานี ส่วนหนึ่งจัดตั้งเป็นที่ทำการสถาบันกัลยาณิวัฒนาเพื่อการศึกษา ภาษา และวัฒนธรรมสัมพันธ์ ส่วนอื่น ๆ ใช้จัดนิทรรศการชีวิตความเป็นอยู่ของชนชั้นร่วมสมัยของพระยาพิบูลพิทยาพรรค เป็นอาคารหนึ่งในโครงการพิพิธภัณฑ์เปิดกาญจนภิเษก บ้านอำมาตย์โทพระยาพิบูลพิทยาพรรค เป็นเรือนไม้ที่เรียกว่า โคโลเนียนสไตล์ หรือเรือนขนมปังขิง เช่นเดียวกับพระที่นั่งวิมานเมฆ เป็นเรือนไม้ที่สะท้อนให้เห็นความสามารถของเจ้าของบ้านและช่าง ในการผสมผสานวัฒนธรรมไทยและตะวันตกได้อย่างกลมกลืน
ชื่อผู้แต่ง:
-