นางลินจง โกยะวาทิน หรือ ป้าลินจง ในวัย 75 ปี เจ้าของห้องภาพนครศิลป์ ในตัวเมืองสตูล ที่ปัจจุบันถูกจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ห้องถ่ายภาพรูปของพ่อ ป้าลินจงพาเดินชมภาพถ่ายฝีมือคุณพ่อที่มีอายุนับ 100 ปี เป็นภาพถ่ายโดยใช้แสงอาทิตย์ สมัยยังไม่มีไฟฟ้าใช้ สมัยนั้นช่างภาพจะใช้ฟิล์ม 120 จะให้ภาพขาวดำที่ดูเหมือนธรรมชาติมาก มีทั้งภาพคุณพ่อเอง และภาพบุคคลที่มาถ่ายไว้ พร้อมโชว์กล้องที่เก็บสะสมไว้ อีกด้านหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ เป็นภาพที่ใช้กล้องไม้ ใช้ไฟโคม 2 ดวง เป็นฟิล์มกระจก ภาพที่ได้ก็เป็นผลงานของพี่ชาย และของป้าลินจงเอง อายุราวๆ 60 ปี
ป้าลินจงเล่าให้ฟังพร้อมกับขยับตัวกล้องไม้ที่ขาดอะไหล่บางตัว ก็สามารถใช้ได้เหมือนปกติ มาสาธิตการถ่ายให้ดู ประกอบกับภาพที่ติดไว้ข้างฝา ภาพมุมนี้จะมีภาพสีติดแซมอยู่บ้าง ป้าลินจงบอกว่า ภาพสีจะเข้ามาเมื่อประมาณ ปี 2516
พิพิธภัณฑ์ภาพถ่ายห้องภาพนครศิลป์ เกิดจากความตั้งใจของ ป้าลินจง วัย 75 ปี ที่คิดเพียงจะเก็บภาพในอดีตเมื่อ 100 ปีก่อน จัดให้เป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นหาเท่านั้น ไม่ได้คิดเผยแพร่แต่เมื่อมีการรับรู้จากสื่อ พิพิธภัณฑ์ฯแห่งนี้จึงเป็นเสมือนห้องสมุดที่เล่าเรื่องราวในอดีตได้อย่างแจ่มชัด ภาพถ่ายในอดีตที่ป้าลินจงไม่เคยนับ อาจเพราะมีเยอะมาก ถูกจัดไว้เป็นโซน โซนภาพในหลวง และโซนผลงานที่ถ่ายกับแสงอาทิตย์ โซนที่ถ่ายกับไฟโคม ภาพบุคคลต่างๆ นอกจากนั้นยังมี ห้องถ่ายปัจจุบัน
สำหรับโซนภาพในหลวง ก็เป็นภาพถ่ายครั้งในหลวงเสด็จมาจังหวัดสตูลทั้ง 4 ครั้ง ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 4 ที่ป้าลินจง มีโอกาสได้ถ่าย รู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก ครั้งในหลวงทรงเสด็จมายกช่อฟ้าที่วัดดุลยาราม ปลัดจังหวัดในสมัยนั้น บอกต้องถ่ายให้ติดทุกคนนะ เพราะรับปากกับทุกคนแล้วว่าจะมีภาพถ่ายให้ ป้าลินจง เล่าด้วยรอยยิ้มความปลาบปลื้ม
ป้าลินจงเล่าว่า ภาพถ่ายจากกล้องฟิล์ม บอกเล่าเรื่องราวในอดีตได้ดี เพราะความเป็นธรรมชาติ นั่นคือเสน่ห์ของภาพถ่ายจากกล้องฟิล์ม ผิวหน้า ผิวหนังจะดูเป็นธรรมชาติมาก ต่างจากภาพจากกล้องดิจิทัลที่ดูเนียนไปหมด ป้าลินจงบอกถึงเสน่ห์ของกล้องฟิล์ม ภาพในหลวง ก็เป็นภาพถ่ายครั้งในหลวงเสด็จมาจังหวัดสตูล
ภายในพิพิธภัณฑ์จะมีห้องถ่ายภาพแสงธรรมชาติ ที่มีหน้าต่างเปิดให้แสงเข้าได้ ในอดีตสมัยที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้จะใช้แสงธรรมชาติข้างหน้าต่าง และนำชมห้องที่ใช้ในการทำงานทาง photo ใช้สำหรับ การล้างฟิล์ม และอัดขยายภาพห้องมืดใช้ป้องกันแสงเข้าไป
นอกจากภาพถ่ายจำนวนมากที่ติดไว้บนฝาผนังแล้ว วัตถุในพิพิธภัณฑ์ที่โดดเด่นอาทิ กล้องถ่ายรูปไม้ เป็นกล้องขนาดใหญ่ใช้ถ่ายในสตูดิโอ ทำจากไม้ เข้ามาเมื่อปี 2516 ประกอบด้วยเลนส์ ชัดเตอร์เปิด - ปิด ก่อนที่จะใส่ฟิลม์เข้าไป เราต้องปิดชัดเตอร์ก่อน ปิดม่านชัดเตอร์ พอจะถ่ายก็กดชัดเตอร์ การล้างรูป 1 ครั้ง จะได้ 6 แผ่น เวลาอัดจะมีการเทส 3 กอง ถ้าหากล้างฟิลม์ให้พอดี เวลาอัดจะง่ายมาก
นอกจากนี้มีกล้องฟิล์มรุ่นเก่า อาทิ กล้อง Rolleicord VB จุดเริ่มต้นของคนถ่ายฟิล์ม 120 เป็นกล้องที่ส่งต่อรุ่นสู่รุ่นจากรุ่นพ่อ ช่างภาพคนแรก รุ่นที่สองเป็นพี่ชาย และรุ่นที่สามป้าลินจงเอง ฝีมือคุณพ่อที่มีอายุนับ 100 ปี เป็นภาพถ่ายโดยใช้แสงอาทิตย์ สมัยยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ช่างภาพจะใช้ฟิล์ม 120 จะให้ภาพขาวดำที่ดูเหมือนธรรมชาติมาก
จ. สตูล
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
พิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ห้องถ่ายภาพรูปของพ่อ
นางลินจง โกยะวาทิน หรือ ป้าลินจง ในวัย 75 ปี เจ้าของห้องภาพนครศิลป์ ในตัวเมืองสตูล ที่ปัจจุบันถูกจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ห้องถ่ายภาพรูปของพ่อ ป้าลินจงพาเดินชมภาพถ่ายฝีมือคุณพ่อที่มีอายุนับ 100 ปี เป็นภาพถ่ายโดยใช้แสงอาทิตย์ สมัยยังไม่มีไฟฟ้าใช้ สมัยนั้นช่างภาพจะใช้ฟิล์ม 120 จะให้ภาพขาวดำที่ดูเหมือนธรรมชาติมาก มีทั้งภาพคุณพ่อเอง และภาพบุคคลที่มาถ่ายไว้ พร้อมโชว์กล้องที่เก็บสะสมไว้ อีกด้านหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ เป็นภาพที่ใช้กล้องไม้ ใช้ไฟโคม 2 ดวง เป็นฟิล์มกระจก ภาพที่ได้ก็เป็นผลงานของพี่ชาย และของป้าลินจงเอง อายุราวๆ 60 ปี
ป้าลินจงเล่าให้ฟังพร้อมกับขยับตัวกล้องไม้ที่ขาดอะไหล่บางตัว ก็สามารถใช้ได้เหมือนปกติ มาสาธิตการถ่ายให้ดู ประกอบกับภาพที่ติดไว้ข้างฝา ภาพมุมนี้จะมีภาพสีติดแซมอยู่บ้าง ป้าลินจงบอกว่า ภาพสีจะเข้ามาเมื่อประมาณ ปี 2516
พิพิธภัณฑ์ภาพถ่ายห้องภาพนครศิลป์ เกิดจากความตั้งใจของ ป้าลินจง วัย 75 ปี ที่คิดเพียงจะเก็บภาพในอดีตเมื่อ 100 ปีก่อน จัดให้เป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการค้นหาเท่านั้น ไม่ได้คิดเผยแพร่แต่เมื่อมีการรับรู้จากสื่อ พิพิธภัณฑ์ฯแห่งนี้จึงเป็นเสมือนห้องสมุดที่เล่าเรื่องราวในอดีตได้อย่างแจ่มชัด ภาพถ่ายในอดีตที่ป้าลินจงไม่เคยนับ อาจเพราะมีเยอะมาก ถูกจัดไว้เป็นโซน โซนภาพในหลวง และโซนผลงานที่ถ่ายกับแสงอาทิตย์ โซนที่ถ่ายกับไฟโคม ภาพบุคคลต่างๆ นอกจากนั้นยังมี ห้องถ่ายปัจจุบัน
สำหรับโซนภาพในหลวง ก็เป็นภาพถ่ายครั้งในหลวงเสด็จมาจังหวัดสตูลทั้ง 4 ครั้ง ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 4 ที่ป้าลินจง มีโอกาสได้ถ่าย รู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก ครั้งในหลวงทรงเสด็จมายกช่อฟ้าที่วัดดุลยาราม ปลัดจังหวัดในสมัยนั้น บอกต้องถ่ายให้ติดทุกคนนะ เพราะรับปากกับทุกคนแล้วว่าจะมีภาพถ่ายให้ ป้าลินจง เล่าด้วยรอยยิ้มความปลาบปลื้ม
ป้าลินจงเล่าว่า ภาพถ่ายจากกล้องฟิล์ม บอกเล่าเรื่องราวในอดีตได้ดี เพราะความเป็นธรรมชาติ นั่นคือเสน่ห์ของภาพถ่ายจากกล้องฟิล์ม ผิวหน้า ผิวหนังจะดูเป็นธรรมชาติมาก ต่างจากภาพจากกล้องดิจิทัลที่ดูเนียนไปหมด ป้าลินจงบอกถึงเสน่ห์ของกล้องฟิล์ม ภาพในหลวง ก็เป็นภาพถ่ายครั้งในหลวงเสด็จมาจังหวัดสตูล
ภายในพิพิธภัณฑ์จะมีห้องถ่ายภาพแสงธรรมชาติ ที่มีหน้าต่างเปิดให้แสงเข้าได้ ในอดีตสมัยที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้จะใช้แสงธรรมชาติข้างหน้าต่าง และนำชมห้องที่ใช้ในการทำงานทาง photo ใช้สำหรับ การล้างฟิล์ม และอัดขยายภาพห้องมืดใช้ป้องกันแสงเข้าไป
นอกจากภาพถ่ายจำนวนมากที่ติดไว้บนฝาผนังแล้ว วัตถุในพิพิธภัณฑ์ที่โดดเด่นอาทิ กล้องถ่ายรูปไม้ เป็นกล้องขนาดใหญ่ใช้ถ่ายในสตูดิโอ ทำจากไม้ เข้ามาเมื่อปี 2516 ประกอบด้วยเลนส์ ชัดเตอร์เปิด - ปิด ก่อนที่จะใส่ฟิลม์เข้าไป เราต้องปิดชัดเตอร์ก่อน ปิดม่านชัดเตอร์ พอจะถ่ายก็กดชัดเตอร์ การล้างรูป 1 ครั้ง จะได้ 6 แผ่น เวลาอัดจะมีการเทส 3 กอง ถ้าหากล้างฟิลม์ให้พอดี เวลาอัดจะง่ายมาก
นอกจากนี้มีกล้องฟิล์มรุ่นเก่า อาทิ กล้อง Rolleicord VB จุดเริ่มต้นของคนถ่ายฟิล์ม 120 เป็นกล้องที่ส่งต่อรุ่นสู่รุ่นจากรุ่นพ่อ ช่างภาพคนแรก รุ่นที่สองเป็นพี่ชาย และรุ่นที่สามป้าลินจงเอง ฝีมือคุณพ่อที่มีอายุนับ 100 ปี เป็นภาพถ่ายโดยใช้แสงอาทิตย์ สมัยยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ช่างภาพจะใช้ฟิล์ม 120 จะให้ภาพขาวดำที่ดูเหมือนธรรมชาติมาก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
รัชกาลที่ 9 การถ่ายภาพ ช่างภาพ ภาพถ่าย ภาพถ่ายเก่า
พิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตมุสลิม
จ. สตูล
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา โรงเรียนกำแพงวิทยา
จ. สตูล
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล
จ. สตูล