พระราชวังรัตนรังสรรค์ (จำลอง)


พระราชวังรัตนรังสรรค์จำลอง หรือเดิมคือพระที่นั่งรัตนรังสรรค์ พลับพลาที่ประทับในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2433 โดยพระยารัตนเศรษฐี(คอซิมก๊อง) เจ้าเมืองระนองขณะนั้น เมื่อคราวเสด็จฯประพาสหัวเมืองแหลมมลายูและหัวเมืองปักษ์ใต้ฝั่งทะเลตะวันตก จากนั้นมีการบูรณะดัดแปลงและใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 รวมถึงใช้เป็นศาลากลางจังหวัดในเวลาต่อมา เมื่อพระที่นั่งทรุดโทรมทางการได้รื้อทิ้งเพื่อก่อสร้างศาลากลางหลังใหม่ และได้สร้างพระราชวังรัตนรังสรรค์จำลองขึ้นมาภายหลัง เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเสด็จประทับแรมของพระมหากษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดระนอง ความน่าสนใจของพระราชวังคือ เรื่องราวประวัติศาสตร์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ได้ทรงมาประทับและสร้างบทพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับพระราชวังรัตนรังสรรค์ รวมถึงสถาปัตยกรรมทั้งภายนอกและภายในที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของภาคใต้

ที่อยู่:
พระราชวังรัตนรังสรรค์ ถ.ลุวัง ต.เขานิเวศน์ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง 85000
โทรศัพท์:
0-7781-1422
วันและเวลาทำการ:
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 - 15.30 น.
ค่าเข้าชม:
ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท
อีเมล:
juknaja@hotmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2545
ของเด่น:
ตัวอาคารที่มีสถาปัตยกรรมทรงปั้นหยาแบบไทยประดับเชิงไม้ฉลุซ้อนกันอย่างพม่า เป็นกลุ่มเรือนไม้ขนาดใหญ่ มีทางเดินเชื่อมต่อกันโดยตลอด สร้างด้วยไม้สักและไม้กระยาเลย

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพระราชวังรัตนรังสรรค์(เทศบาลระนอง)


ประวัติพระราชวังรัตนรังสรรค์ ปีพุทธศักราช 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯประพาสหัวเมืองแหลมมลายูและหัวเมืองปักษ์ใต้ฝั่งทะเลตะวันตก ในการเสด็จครั้งนั้น ทรงโปรดฯให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ กำหนดแผนที่ทำเรือนไม้บนเขาโดยใช้เครื่องไม้จริง และพระยารัตนเศรษฐี(คอซิมก๊อง) เจ้าเมืองระนองขณะนั้น ได้สร้างพลับพลาถวายเป็นที่ประทับบนเนินเข้าใจกลางเมือง โดยเสด็จฯ ประทับแรม ณ พระที่นั่งรัตนรังสรรค์ เป็นเวลา 3 ราตรี ระหว่างวันที่ 23 – 25 เมษายน พ.ศ. 2433 พระยารัตนเศรษฐี(คอซิมก๊อง) ได้ขอพระราชทานชื่อพลับพลานี้ เพื่อสงวนไว้เป็นที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตจา จึงทรงตั้งชื่อพลับพลานี้ว่า “พระที่นั่งรัตนรังสรรค์”

เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2433 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชหัตถเลขาพระราชทานมาถึงเสนาบดีสภาซึ่งรักษาพระนคร โดยทรงพรรณาและพระราชทานพระบรมราชาธิบายว่า ด้วยเมืองระนอง และพระที่นั่งรัตนรังสรรค์ไว้โดยละเอียด พระราชนิพนธ์ความตอนหนึ่งเกี่ยวกับชื่อพลับพลาที่ประทับมีดังนี้...

“พระยาระนองขอให้ตั้งชื่อพลับพลานี้เป็นพระที่นั่ง ด้วยเขาจะรักษาไว้เป็นที่ถือน้ำพิพัฒน์สัจจา และขอให้ตั้งชื่อถนนด้วย จึงได้ให้ชื่อพระที่นั่งว่า รัตนรังสรรค์ เพื่อจะได้แปลกล้ำๆ พอมีชื่อผู้ทำเป็นที่ยินดี เขาที่เป็นที่ทำวังนี้ให้ชื่อว่า นิเวศน์คีรี”... (ดังนั้น พระที่นั่งรัตนรังสรรค์ จึงหมายถึง พระที่นั่งที่พระยารตนเศรษฐีเป็นผู้สร้าง) พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จทอดพระเนตรเหห็นพลับพลาที่ประทับ ดำรัสว่า “ทำงดงามมั่นคงสมควรจะเป็นวังยิ่งกว่าจะเป็นพลับพลา” จึงพระราชทานนามว่า “พระราชวังรัตนรังสรรค์” ให้เป็นเกียรติยศแก่เมืองระนองและสกุลของพระนารัตนเศรษฐีด้วย แต่ทรงพระราชดำริว่า ที่เมืองระนองนานๆจะเสด็จประพาสครั้งหนึ่ง วังทิ้งไว้เปล่าก็ชำรุดทรุดโทรมเสีย จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตว่า โดยปกติให้ใช้พระราชวังนั้นเป็นศาลารัฐบาลและทำพิธีการสำหรับบ้านเมือง ต่อมีการเสด็จประพาสเมื่อใดจึงให้จัดเป็นที่ประทับ

ต่อมาพระที่นั่งรัตนรังสรรค์ ได้ชำรุดทรุดโทรมลง ในสมัยพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี(คอหยู่หงี่) เป็นเจ้าเมือง (พ.ศ. 2433 – 2460) จึงร่วมกับสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ปรับปรุงและดัดแปลงพระที่นั่งรัตนรังสรรค์ใหม่ โดยสร้างเป็นรูปเรือนตึกก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ทาสีขาวหันหน้ามุขไปทางด้านทิศตะวันตกและประดับตราพระคุรฑพ่าห์ ก่อสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2444 แล้วใช้อาคารหลังนี้เป็นศาลากลางเมืองระนองเรื่อยมา พระที่นั่งรัตนรังสรรค์องค์ใหม่นี้ยังได้ใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 อีกสามครั้ง 

ในเดือนพฤษถาคม พ.ศ. 2507 สมัยที่ พ.ต.อ. บุญณรงค์ วัฒฑนายน เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ได้มีการรื้อถอนอาคารพระที่นั่งรัตนรังสรรค์ทั้งหมด แล้วสร้างเป็นศาลากลางหลังปัจจุบัน วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2507 ก่อสร้างพระที่นั่งรัตนรังสรรค์(จำลอง) ในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เมื่อพุทธศักราช 2535 ทางจังหวัดได้ค้นคว้าหลักฐานภาพถ่าย โดยขอความร่วมมือจากกรมศิลปากรให้คำแนะนำเกี่ยวกับรูปแบบความถูกต้อง แล้วจำลองพระที่นั่งพระรัตนรังสรรค์ ย่อส่วนขนาด 1:100 ตั้งแสดงไว้บริเวณชั้นล่างของศาลากลางจังหวัดระนอง เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้อนุชนรุ่นหลังได้ชื่นชมความงามพระที่นั่งที่มีความสวยงามทางสถาปัตยกรรม และเป็นตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 จังหวัดระนองมีโครงการก่อสร้างพระที่นั่งรัตนรังสรรค์จำลองขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่เดิม เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเสด็จประทับแรมของพระมหากษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดระนอง ในการก่อสร้างครั้งนี้ ได้จำลองแบบพระที่นั่งจากพระราชหัตถเลขา ที่พระราชทานมายังผู้รักษาพระนคร และพระราชนิพนธ์จดหมายเหตุทางราชการเรื่องระยะทางอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ไว้ มิได้พระราชทานไปถึงใคร โดยทรงไว้ในสมุดเล่มเล็กๆ 6 เล่ม แต่ละเล่มเป็นลายพระราชหัตถ์ เช่น แปลนพลับพลาวังเมืองระนองนี้ ได้ทรงพรรณนา และพระราชทานพระบรมราชาธิบายลักษณะพระที่นั่งรัตนรังสรรค์อย่างละเอียดถ้วนถี่ ทำให้เห็นลักษณะของพระที่นั่งยิ่งขึ้น

ในวันที่ 24 มิถุนายน 2547 คณะกรรมการบริหารพระที่นั่งรัตนรังสรรค์จำลอง จึงมีมติที่ประชุม ครั้งที่ 1/2547 ว่าให้เรียกชื่อพระที่นั่งจำลองเป็น “พระราชวังรัตนรังสรรค์(จำลอง)” ปัจจุบันพระราชวังแห่งนี้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 8.30 น. - 16.30 น. เว้นวันหยุดราชการ โดยเทศบาลเมืองระนองรับผิดชอบการบริหารจัดการพระราชวัง ภายใต้การกำกับของคณะกรรมการมูลนิธิพระราชวังรัตนรังสรรค์ ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธาน ลักษณะทั่วไปของพระที่นั่ง พระที่นั่งรัตนรังสรรค์มีลักษณะเป็นกลุ่มเรือนไม้ขนาดใหญ่ มีทางเดินเชื่อมต่อกันโดยตลอด องค์พระที่นั่งสร้างด้วยไม้สักและไม้กระยาเลย ส่วนฝาพระตำหนักใช้ไม้ระกำ หลังคาเป็นรูปแปดเหลี่ยมมุงด้วยกระเบื้องไม้ ซึ่งเป็นการนำวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของภาคใต้มาใช้ในงานสถาปัตยกรรม หอแปดเหลี่ยม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดหอแปดเหลี่ยมนี้มาก เห็นได้จากที่ทรงเสด็จมาบรรทมในคืนที่สองด้วย เป็นอาคารที่มีอากาศเย็นสบาย ดังพระราชนิพนธ์วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน เดือน 6 ขึ้น 6 ค่ำ ว่า

...เวลากลางวันอยู่ข้างร้อนจัด เพราะวันนี้ไม่มีฝน ที่แห่งใดๆ ร้อนมาก เว้นแต่ที่หลังแปดเหลี่ยม มีลมเย็นไม่ได้ขาด ...และวันศุกร์ที่ 25 เมษายน เดือน 6 ขึ้น 7 ค่ำ ว่า ...เมื่อคืนนี้ร้อนที่หลังสูงต้องลงมานอนแปดเหลี่ยม...

ภายในห้องแปดเหลี่ยม บริเวณชั้นที่สอง ปัจจุบันประดิษฐานโต๊ะทรงพระอักษรพร้อมพระเก้าอี้ทำด้วยหนังแท้ ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับที่พระที่นั่งวิมาณเมฆพระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร และพระเก้าอี้ทรงพักผ่อนแกะสลักลวดลายเป็นดอกกุหลาบ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เคยทรงใช้เป็นที่ประทับและบรรทม ปัจจุบันหอแปดเหลี่ยมนี้ มีความสูงประมาณ 17 เมตร คล้ายคลึงกับหอวิฑูรทัศนาที่พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบผสมผสาน คือหลังทรงปั้นหยาแบบไทยประดับเชิงไม้ฉลุซ้อนกันอย่างพม่า ตัวอาคารสร้างด้วยไม้ตะเคียนทอง โครงสร้างคอนกรีตสูงสามชั้น ชั้นล่างโล่ง ชั้นที่สองเป็นรูปเหลี่ยมแปดด้าน หลังคาชั้นที่สามทรงปั้นหยา มีดั้งประดับไม้ลวดลายฉลุอย่างสวยงาม บริเวณชั้นสองมีระเบียงไม้ประดับกันตก สามารถเดินชมทิวทัศน์ได้โดยรอบ พื้นเฉลียงปูกระเบื้องดินเผา มีหลังคาคลุม ช่องประตูเป็นรูปโค้งทั้งแปดด้าน จากชั้นสองถึงชั้นสาม มีบันไดเวียนภายในขึ้นไปบนชั้นสาม ซึ่งมีหน้าต่างสามารถชมทัศนียภาพบริเวณหน้าพระที่นั่ง ตัวเมืองระนองด้านทิศตะวันตกชายแดนประเทศไทยและสหภาพพม่า นอกจากนี้ยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกดินบริเวณทะเลอันดามันได้อย่างสวยงามอีกแห่งหนึ่งด้วย


ข้อมูลจาก: พระราชวังรัตนรังสรรค์ โดย คุณธนกร สุวุฒิกุล, วันที่ 26 เมษายน 2553
ชื่อผู้แต่ง:
-

เปิดบ้าน ร.5 "รัตนรังสรรค์" วังงาม สมบัติสยามประเทศ

Trend@home สัปดาห์นี้ พาไปชมที่ประทับของรัชกาลที่ 5 กันถึงที่จังหวัดระนอง 'พระราชวังรัตนรังสรรค์' ที่สรรค์สร้างขึ้นถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ว่า ณ ปัจจุบันพระราชวังแห่งนี้จะไม่ใช่ของดั้งเดิมที่สร้างขึ้น แต่ก็นับว่าเป็นผลงานการจำลองขึ้นมาให้ได้ใกล้เคียงกับของเดิมอย่างมาก แบบจำลองของพระราชวังรัตนรังสรรค์ พระราชวังรัตนรังสรรค์ ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2433 โดยพระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง ณ ระนอง) เพื่อถวายเป็นที่ประทับแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
ชื่อผู้แต่ง:
-