พิพิธภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราช


ที่อยู่:
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000
โทรศัพท์:
075-358261
วันและเวลาทำการ:
อังคาร-ศุกร์ 8.30 – 16.30 น., เสาร์-อาทิตย์ 9.00-17.00
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
อีเมล:
nakhonmuseum@hotmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2546
ของเด่น:
เรื่องราวเกี่ยวกับนครศรีธรรมราช

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล

เมืองนครฯ น่าเที่ยว

ชื่อผู้แต่ง: ยุวดี มณีกุล | ปีที่พิมพ์: 9/2/2548

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์เมืองนครฯ แหล่งเรียนรู้รากเหง้าท้องถิ่น

ชื่อผู้แต่ง: สุทธาสินี จิตรกรรมไทย | ปีที่พิมพ์: 16-01-2549 (หน้า34)

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

รู้จักตัวตน "ลิกอร์" ผ่านพิพิธภัณฑ์เมืองนคร

ชื่อผู้แต่ง: เมธี ดวงประเสริฐ | ปีที่พิมพ์: 27-12-2548(หน้า 2)

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

นครศรีฯ ทันสมัยในพิพิธภัณฑ์

ชื่อผู้แต่ง: ตามตะวัน | ปีที่พิมพ์: 22 ตุลาคม 2552

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ดูลิงค์ต้นฉบับ


ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์เมืองนครฯ

พิพิธภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่บริเวณทุ่งท่าลาด อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราช

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ในสวนสาธารณะสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) ซึ่งเป็นส่วนสาธารณะขนาดใหญ่อยู่นอกตัวเมืองนครศรีธรรมราชออกไปทางทิศตะวันออกเล็กน้อย ภายในสวนสาธารณะแห่งนี้มีทั้งส่วนที่เป็นสวนออกกำลังกาย สระน้ำ สวนสัตว์และสวนนก สวนสาธารณะแห่งนี้เปิดในปี พ.ศ.2527 ในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เจริญพระชนมพรรษาครบ 84 ปี
 

ประวัติพิพิธภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราช

แนวคิดในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์เริ่มขึ้นใน พ.ศ.2534 เมื่อทางกองทัพภาคที่ 4 โดยพลโทกิตติ รัตนฉายา ได้จัดสร้างอาคารวีระไทยขึ้นในสวนสมเด็จ เพื่อเป็นที่ระลึกในวาระครบรอบ 50 ปี วีรกรรมของทหารที่ต่อสู้กับการยกพลขึ้นบกของกองทัพญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484  ความคิดแรกเริ่มนั้นต้องการปรับปรุงอาคารแห่งนี้เป็นศูนย์ศรีวิชัย แต่มีข้อติดขัดหลายประการ ในปี พ.ศ.2544 ทางกองทัพจึงมอบอาคารให้เทศบาลดูแล ในสมัยของนายกเทศมนตรีนายสมนึก เกตุชาติ ทางเทศบาลจึงได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อรวบรวมข้อมูลในการจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราช  โดยเป็นหมายในระยะที่ 1 คือ การจัดแสดงเรื่องราวทางด้านประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ในหมู่ประชาชนและเยาวชนทั่วไป การจัดแสดงในระยะที่ 1 นี้เปิดให้เข้าชมในวันที่ 12 สิงหาคม 2546 โดยใช้งบประมาณในการปรับปรุงทั้งสิ้นสี่ล้านกว่าบาท (ประหยัด เกษม, 2552: 20)
 
ในปี พ.ศ.2547ทางเทศบาลได้มีนโยบายที่จะขยายส่วนจัดแสดงออกไปอีกอาคารหนึ่งคืออาคารเทิดไท้ราชินี เพื่อเฉลิมฉลองในวาระที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระชนมพรรษาครบ 72 พรรษา อาคารหลังใหม่นี้ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 35 ล้านบาท นอกจากนี้แล้วทางพิพิธภัณฑ์ยังมีการปรับปรุงเนื้อหาเพื่อให้ทันกับสถานการณ์ใหม่ๆ อาทิ กระแสความนิยมจตุคามรามเทพ การสมโภชพระบฏนานาชาติ และประเพณีแห่นางดาน เป็นต้น และการเพิ่มสื่อมัลติมีเดียเพื่อให้ผู้เข้าชมมีความเพลิดเพลินมากขึ้น คือใน พ.ศ.2550 และ พ.ศ.2553 ตามลำดับ (ประหยัด เกษม, 2552: 21-23) เมื่อมีการขยายส่วนจัดแสดงเพิ่มขึ้นนี้กลุ่มผู้ชมเป้าหมายของพิพิธภัณฑ์ก็เริ่มขยายตามไปด้วย กล่าวคือผู้จัดหวังไว้ว่านิทรรศการที่นี่จะใช้รับรองนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่เพิ่งเคยมาจังหวัดนครศรีธรรมราชครั้งแรก เพื่อเป็นการแนะนำและให้ข้อมูลเบื้องต้นให้ผู้ชมได้ตัดสินใจว่าต้องการเที่ยวชมอะไรบ้าง ดังนั้น เนื้อหาในห้องจัดแสดงจึงมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และดูเหมือนว่าจุดประสงค์ในข้อนี้จะประสบความสำเร็จในระดับที่น่าพอใจ เพราะผู้ประกอบการโรงแรมและรถเช่าให้การสนับสนุน และแนะนำนักท่องเที่ยว
 

การจัดแสดงและการบริหารจัดการ

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ประกอบด้วยหมู่อาคารจำนวน 4 หลัง ด้วยกัน คือ วีระไทย เทิดไท้ราชินี รวมใจภักดิ์ และนานัครรส แต่อาคารที่มีการจัดแสดงนิทรรศการมีเพียง 2 อาคาร คือวีระไทย และเทิดไท้ราชินี รูปแบบการนำเสนอของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ไม่ได้เน้นที่วัตถุจัดแสดง ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้สื่อหลากหลายรูปแบบในการเล่าเรื่อง อาทิ บอร์ดแสดงเนื้อหา โมเดลจำลอง ภาพถ่าย แผนที่โบราณ หุ่นจำลอง และบรรยากาศจำลอง เป็นต้น
 
อาคารวีระไทย อาคารแห่งนี้เป็นนิทรรศการแรกของพิพิธภัณฑ์เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการเกริ่นนำด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และภูมิศาสตร์ของเมืองนครศรีธรรมราช เนื้อหาชั้นล่าง แสดงเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดี ประกอบด้วย

1) ตู้ทรายแสดงภูมิประเทศนครศรีธรรมราช ในส่วนเดียวกันนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับปูชนียบุคคลของเมืองนครฯ ซึ่งมีทั้งปฐมกษัตริย์ของเมืองนครฯ โบราณ เจ้าเมือง พระภิกษุ พระเสื้อเมือง และโต๊ะครู (มุสลิม)
2) ส่วนจัดแสดงสมัยก่อนประวัติศาสตร์
3) การตั้งถิ่นฐานสมัยแรกเริ่มที่เริ่มมีการรับอิทธิพลจากต่างชาติ (ตะวันตก) การเป็นเมืองท่าโบราณบนคาบสมุทรมลายู
4) เมืองนครฯ ตั้งแต่สมัยสุโขทัย – รัตนโกสินทร์
5) ประเพณี และสถานที่สำคัญในเมืองนครศรีธรรมราช  
6) การดำเนินงานของเทศบาลนครศรีธรรมราช
 
ชั้นบนของอาคารวีระไทย เป็นนิทรรศการที่เกี่ยวกับศาสนาต่างๆ ในเมืองนครฯ ประกอบด้วย ศาสนาพุทธ พราหมณ์ และอิสลาม ทั้งประวัติการเข้ามาของแต่ละศาสนา และสถานที่สำคัญทางศาสนา นอกจากนี้ยังมีส่วนนิทรรศการหมุนเวียนเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินมาเมืองนครฯ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 16ครั้ง (นับตั้งแต่ขึ้นครองราชย์ถึงปัจจุบัน)
 
อาคารเทิดไท้ราชินี เป็นอาคาร 2 ชั้น ที่สร้างขึ้นภายหลัง เนื้อหาที่จัดแสดงในอาคารนี้เป็นการขยายความเนื้อหามาจากนิทรรศการด้านประวัติศาสตร์ความเป็นมาในอาคารวีระไทย โดยจะมีการใช้สื่อมัลติมีเดียและการจำลองบรรยากาศให้ผู้เข้าชมรู้สึกตื่นตาและเพลิดเพลินในการเข้าชม ชั้นล่าง แบ่งออกเป็น

1) ส่วนแรกที่พบคือโถงชมวีดีทัศน์ที่ม้านั่งเป็นการจำลองท้องเรือเดินสมุทร ทำให้ผู้เข้าชมจะรู้สึกประหนึ่งกำลังล่องเรือขณะรับชมวีดีทัศน์ (เก้าอี้ที่เป็นเรือเดินสมุทรจำลองนี้สามารถโยกได้) เนื้อหาของวีดีทัศน์คือเมืองท่าค้าขายทางทะเลในยุคพุทธศตวรรษที่ 18-19 เมื่อออกจากส่วนวีดีทัศน์นี้แล้วจะเข้าไปสู่ส่วนต่อไปคือ
2) ส่วนจำลองบรรยากาศของเมืองท่าโบราณที่ประกอบไปด้วยส่วนจำลองท่าเรือ มีเรือพายที่อยู่ในพื้นที่ลำน้ำจำลอง คลังสินค้าจำลอง (มีหุ่นจำลองของพ่อค้ากำลังต่อรองราคาอยู่ด้านหน้า) และแผนที่เดินเรือสมัยโบราณ
3) ศาสนาในเมืองนครฯ ประกอบด้วยศาสนาพุทธ พราหมณ์ อิสลาม และคริสต์ (ส่วนขยายเพิ่มเติมจากอาคารวีระไทย)
4) มรดกทางวัฒนธรรมของนครฯ ซึ่งมีทั้งศิลปหัตถกรรม การละเล่น (โนราห์) และงานช่างท้องถิ่น (เครื่องถมเงิน ถมทอง)
 
ชั้นที่สอง ทางขึ้นเป็นทางลาดที่เอื้อให้กับผู้พิการสามารถเข็นรถขึ้นไปได้ (แต่ค่อนข้างชันจึงควรใช้ความระมัดระวังอย่างมาก)

1) ส่วนแรกที่เห็นคือนิทรรศการเกี่ยวกับนครแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ จัดแสดงเครื่องรางของขลัง (พระเครื่อง จตุคามรามเทพ พิธีกรรมในการปลุกเสกมวลสาร ฯลฯ  นอกจากนี้ยังตั้งแสดงนางดาน ทั้ง 3 แผ่น ซึ่งตามปกติจะเก็บรักษาไว้ที่นี่ แต่ช่วงสงกรานต์ซึ่งมีพิธีแห่นางดานจะอัญเชิญออกไปประกอบพิธีที่หอพระอิศวรกลางเมืองนครศรีธรรมราช นางดานทั้ง 3แผ่น คือ พระอาทิตย์และพระจันทร์ พระแม่คงคา และพระแม่ธรณี  
2) ตู้เทิดพระเกียรติราชินี
3) นิทรรศการหมุนเวียนเรื่องการสมโภชพระบฏนานาชาติ
4) เหตุการณ์สำคัญของเมืองนคร คือเรื่องวาตภัยที่แหลมตะลุมพุกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2525 ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนที่อาศัยในบริเวณดังกล่าวไปกว่า 1,000 คน และบ้านเรือนในหมู่บ้านแหลมตะลุมพุกเสียหายทั้งหมด และอีกเหตุการณ์คือการยกพลขึ้นบกของทหารญี่ปุ่นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชในสงครามมหาเอเชียบูรพา เมื่อ พ.ศ.2484
5) นครศรีธรรมราชกับต่างชาติ แสดงหุ่นจำลองของชาวต่างชาติที่เข้ามาติดต่อสัมพันธ์กับเมืองนคร คือ อินเดียและลังกา ตะวันตก ญี่ปุ่น จีน อาหรับและเปอร์เซีย
6) นครเมืองการศึกษา จัดแสดงเรื่องการจัดการศึกษาในเมืองนครฯ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่มุ่งเป้าเพื่อก้าวสู่สากล
 
คณะทำงานที่จัดเตรียมและสังเคราะห์เนื้อหาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วยนักวิชาการจากหลายภาคส่วนทั้งราชการ มหาวิทยาลัย ชุมชนท้องถิ่น ประกอบด้วย อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช  นักวิชาการจากกรมศิลปากร นักวิชาการท้องถิ่น ชมรมรักษ์บ้านเกิด และผู้ประสานงานและกำหนดเนื้อหาหลักเป็นทีมงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏซึ่งทำงานในท้องถิ่นมาอย่างต่อเนื่อง
 
การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์เป็นสิทธิของเทศบาลทั้งหมด และกองแผนงานวิชาการเป็นผู้กำกับดูแลในส่วนของพิพิธภัณฑ์ทั้งที่ทุ่งท่าลาด และศูนย์การเรียนรู้ที่อยู่บริเวณศาลากลาง เงินงบประมาณทั้งหมดมาจากเทศบาลและมีแนวโน้มว่าจะมีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อให้มีการปรับปรุง ต่อขยายเนื้อหาในอนาคตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายของเทศบาลที่ต้องการมีส่วนในการสนับสนุนการเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวทั่วไป และพัฒนาเป็นระบบการบริการสาธารณะต้นแบบให้กับจังหวัดอื่นๆ ได้เข้ามาดูงาน (และเริ่มมีการติดต่อขอเข้าดูงานการบริหารจัดการมาบ้างแล้วจากจังหวัดชุมพร พังงา ฯลฯ)
   
การเดินทาง

การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวจากกรุงเทพสู่จังหวัดนครศรีธรรมราช เข้าสู่ถนนราชดำเนินซึ่งเป็นถนนสายหลักผ่านกลางเมืองนครศรีธรรมราช มุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ (หรือทางที่ไปค่ายทหาร) ก่อนถึงสนามกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช จะเห็นป้ายบอกทางเลี้ยวซ้ายไปสวนสาธารณะสมเด็จพระศรีนครินทร์ (ทุ่งท่าลาด) เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 800 เมตร จะเห็นสระน้ำและป้ายของสวนสาธารณะอยู่ทางขวามือ เมื่อเลี้ยวเข้าไปประมาณ 200 เมตร จะพบอาคารพิพิธภัณฑ์อยู่ทางด้านซ้ายมือ มีป้ายอยู่ด้านหน้าชัดเจน

 
อ้างอิง
สัมภาษณ์ คุณสมพุทธ ธุระเจน และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประหยัด เกษม ทีมงานด้านการจัดทำข้อมูลภายในพิพิธภัณฑ์
ประหยัด เกษม, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (บรรณาธิการ). พิพิธภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช:โรงพิมพ์อักษรการพิมพ์, 2552.
 
พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ / เขียน
สำรวจภาคสนาม วันที่ 4 พฤษภาคม 2556
 
ชื่อผู้แต่ง:
พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

พิพิธภัณฑ์เมืองนครฯ

พิพิธภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ภายในสวนสาธารณะสมเด็จพระศรีนครินทร์84 (ทุ่งท่าลาด) ต.นาเคียน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ในปี 2546 เทศบาลเมืองนคร นครศรีธรรมราช ได้ปรับปรุงอาคารวีรไทย ซึ่งตั้งอยู่ภายในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 ทุ่งท่าลาด จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เมือง เทศบาลนครนครศรีธรรมราชมีความคิดที่จะมีสถานที่ที่เป็นแหล่ง เรียนรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมของเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อให้ เยาวชนและ ประชาชนทั่วไป ได้เรียนรู้ศึกษา นายสมนึก เกตุชาติ นายกเทศมนตรีจึงได้ปรึกษา นักวิชาการ และผู้รักบ้านเกิดหลายท่านร่วมคิดร่วมทำและในที่สุดได้มีโครงการจัดทำพิพิธภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราชขึ้น ในระยะแรก ได้ปรับปรุง อาคารวีรไทยในสวนสมเด็จพระศรี นครินทร์๘๔ (ทุ่งท่าลาด) เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์และได้ขยาย โครงการก่อสร้างเพิ่มเติมเป็นระยะจนได้อาคาร และเนื้อหาสาระพร้อมให้บริการการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของจังหวัดนครศรีธรรมราชด้วยสื่อทันสมัยทั้งวีดีทัศน์ คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ หุ่นจำลอง นิทรรศการถาวร และนิทรรศการหมุนเวียนเพื่อบริการ การเรียนรู้ตลอดชีพและสร้างจิตสำนึกและ ความภาคภูมิใจในบ้านเมืองแก่เยาวชนและ ประชาชนทั่วไป เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่ เวลา 09.00-17.00น. เว้นวันจันทร์ 
 
พิพิธภัณฑ์เมือง โครงการระยะที่ 1 เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้ปรับปรุงอาคารวีรไทย ในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 ซึ่งสร้างเป็นที่ระลึกครบ 50 ปี แห่งวีรกรรมของทหารหาญที่ต่อสู้กับญี่ปุ่นที่ยกพลขึ้นบกที่นครศรีธรรมราช เมื่อ วันที่ 8 ธันวาคม 2484 กองทัพภาคที่ 4 โดย พลโทกิตติ รัตนฉายา แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นประธานจัดสร้างและมอบให้เทศบาลดูแลและใช้ประโยชน์ นายสมนึก เกตุชาติ นายกเทศมนตรี ตลอดถึงนักวิชาการและผู้รักบ้านเกิดหลายท่าน ได้มีความคิดที่ ต้องการจะมีสถานที่ ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของเมืองนครศรีธรรมราช จึงได้ปรับปรุงอาคารวีรไทยเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์เมือง เพื่อรวบรวม เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ชุมชน โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้ศึกษาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชาวเมืองนครศรีธรรมราช ที่มีความเป็นมายาวนาน มีหลักฐานแสดงถึงความรุ่งเรืองในครั้งอดีต จัดเป็นนิทรรศการสื่อผสม เปิดให้เข้าชมเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2546
 
    พิพิธภัณฑ์เมือง โครงการระยะที่ 2 จากความสำเร็จในการจัดสร้าง พิพิธภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราชในระยะแรกที่กล่าวได้ว่าสามารถสร้างขุมทรัพย์ ทางปัญญาอย่างตรงตามวัตถุประสงค์แล้ว เทศบาลนครนครศรีธรรมราชจึงได้ ดำเนินการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ระยะที่ 2 โดยออกแบบก่อสร้างอาคารเพิ่มเติม ให้ครบสมบูรณ์ตามโครงการ ประกอบด้วย อาคารจำหน่ายสินค้าที่ระลึก อาคาร อำนวยการ และอาคารพร้อมจัดแสดงนิทรรศการถาวร ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 35 ล้านบาทแล้วเสร็จในปี 2549เทศบาลนครนครศรีธรรมราชจัดสร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติและร่วมเฉลิมฉลองใน วโรกาสมหามงคล สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เจริญพระชนมพรรษา ครบ 72 พรรษา (12 สิงหาคม 2547) เปิดให้เข้าชม ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ.2549
 
    พิพิธภัณฑ์เมืองโครงการระยะที่ 3 หลังจากที่เปิดให้บริการแก่ประชาชน ทั่วไป ได้ระยะหนึ่งปรากฏว่ามีเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ประชาชน และองค์กร หน่วยงานต่างๆรวมทั้งชาวต่างประเทศ ได้ให้ความสนใจมาเยี่ยมชมมากมาย ด้วยเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใช้สื่อทันสมัยอธิบายไม่ใช่แหล่งสะสมของเก่า จึงได้รับ ความสนใจอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเนื้อหาจัดนิทรรศการในโครงการระยะที่ 2 ยังไม่ครบสมบูรณ์ เทศบาลนครนครศรีธรรมราชจึงได้ดำเนินการเพิ่มเติม นิทรรศการในเนื้อหาที่ขาดไป คือ ชาวต่างชาติกับนครศรีธรรมราช ชาวต่างชาติ ผู้ร่วมสร้างเมืองนครศรีธรรมราช และพระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวฯ รัชกาล ที่ 9 และเชื้อพระวงศ์ ที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการสร้างเพิ่มเติมแล้ว บริษัทซิตี้นีออน ดิสเพลส์แอนด์คอนสตรัคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้รับเหมาจัด ทำได้เริ่มงานแล้วการจัดนิทรรศการในระยะที่ 3 จะจัดเป็นหุ่นลอยตัวชาวต่างชาติ ผู้ร่วมสร้างเมืองนครศรีธรรมราช ผสมสื่อแบบ Animation 3D และ Magic Screen งานจะแล้วเสร็จตามสัญญาในเดือนพฤษภาคม 2550 ใช้งบประมาณ 2 ล้านบาท
 
    พิพิธภัณฑ์เมืองโครงการระยะที่ 4 ดำเนินการจัดทำในปี พ.ศ. 2551 เป็นการจำลองศิลาจารึกที่เกี่ยวข้องกับนครศรีธรรมราช จำนวน 7 ชุด คือศิลาจารึก วัดพระมหาธาตุมหาวิหาร ซึ่งอยู่จำนวน 3 หลัก คือ ศิลาจารึกหลักที่ 29 วัดพระมหาธาตุวร มหาวิหาร ศิลาจารึกวิหารโพธิ์ลังกา วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ศิลาจารึกวัก เสมาเมือง ศิลาจารึกวัดมเหยงณ์ ศิลาจารึกหลักที่ 24 วัดเวียง และศิลาจารึกหุบเขา ช่องคอย งานแล้วเสร็จในวันที่ 11 กันยายน 2551 ใช้งบประมาณ 650,000 บาท โดยจัดเป็นนิทรรศการกลางแจ้ง หน้าอาคารวีรไทย
 
    พิพิธภัณฑ์ เมืองนครศรีธรรมราชได้เปิดให้บริการเยี่ยมชมมาตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2546 จากการจัดนิทรรศการถาวรในอาคารวีรไทย ปัจจุบัน ได้ขยายไปยังอาคารเทิดไท้ราชินีทั้งสองอาคารได้จัดเนื้อหาสาระเกี่ยวกับ เมือง นครศรีธรรมราช ไว้เกือบทุกด้าน การเดินชมนิทรรศการ จะทำให้ท่านเพลิดเพลิน ไปกับเนื้อหาสาระ และวิธีการนำเสนอด้วยสื่อทันสมัยที่หลากหลาย เพื่อให้การ ชมได้ประโยชน์เก็บสาระ ได้ครบถ้วนผู้เยี่ยมชมควรจะได้จัดเวลาส่วนตัว เพื่อการเยี่ยมชมไว้ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง
 
    ก่อนที่จะเข้าไปในอาคารวีรไทย ด้านซ้ายมือหน้าอาคารวีรไทยจะมีมุม นาฬิกาแดด จัดทำเป็นกำแพงคอนกรีตพื้นสีขาว ด้านหน้ากำแพงทำเป็นลานกลมมี ท่อนเหล็กสี่เหลี่ยมวางในตำแหน่งเฉียงขึ้นเหนือแท่นวงกลมด้านทิศเหนือ ทำมุม สูงประมาณ 45 องศา จากจุดที่วางแท่นเหล็กด้านทิศเหนือจะมีเส้นเหมือน เป็นรัศมีออกไปมีหมายเลขกำกับในแต่ละช่องจากซ้ายไปขวาตามลำดับ เลขเหล่านี้ คือหมายเลขบอกเวลาเมื่อเงาเหล็กมาทาบลงบนพื้นวงกลมตรงรัศมีตัวเลขใดหมายว่าแสดงเวลานั้น นับเป็นเครื่องมือดูเวลาของโลกที่น่าสนใจอยากเชิญชวนให้เยี่ยมชมเป็นอันดับแรก
ถัดไปจะเป็นศิลาจารึกนครศรีธรรมราชซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 7 หลัก คือศิลาจารึกวัดพระมหาธาตุมหาวิหาร ซึ่งอยู่จำนวน 3 หลัก คือ ศิลาจารึกหลักที่ 29 วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ศิลาจารึกวิหารโพธิ์ลังกา ศิลาจารึกหลักที่ 28 วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ศิลาจารึกวัดเสมาเมือง ศิลาจารึกวัดมเหยงณ์ ศิลาจารึกหลักที่ 24 วัดเวียง และศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย ได้จำลองเพื่อศึกษาเรียนรู้ เมื่อชมศิลาจารึกทั้ง 7 หลักแล้ว จึงเข้าไปชมนิทรรศการที่อาคารวีรไทยต่อไป

อาคารวีรไทยจัดแสดงแบ่งเป็น 2 ชั้นเมื่อผ่านประตูเข้าไปจะ มีโต๊ะทราย แสดงภูมิประเทศเมืองนครศรีธรรมราช ถัดไปเป็นจอกลมสำหรับชมวีดิทัศน์ ประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ด้านขวาและด้านซ้ายจะมีภาพปูชนียบุคคล ผู้ร่วมสร้างบ้าน แปงเมือง ทั้งกษัตริย์ นักปกครอง พระภิกษุ ผู้นำทางศาสนา เป็นต้น เพื่อระลึกถึงบุญคุณ ที่มานะพยายามทำความรุ่งเรืองให้แก่บ้านเมืองนี้ ชั้นล่างจัดแสดงประวัติศาสตร์ นครศรีธรรมราชตามหลักฐานที่ค้นพบในที่ต่างๆ ตั้งแต่สมัยยุคหิน แสดงแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ใน จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยแผนที่และรูป graphic โบราณวัตถุ นอกจากนั้นจัดเป็นบอร์ดแสดงประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราช ตั้งแต่การตั้งถิ่นฐาน ร่องรอย ของชุมชนเมืองโบราณ ชื่อเมืองนคร ในอดีตสถานีการค้าแห่งคาบสมุทรมลายู จนกระทั่งถึงนครศรีธรรมราชสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
 
ชั้นบนของ อาคารวีรไทยเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับศาสนาโดยเน้นวัด พระมหาธาตุวรมหาวิหารแนะนำ สถานที่สำคัญภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ประเพณีสำคัญคู่วัดพระมหาธาตุ ตำนานการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์และนำเสนอองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมพระบรมธาตุ ด้วยสื่อ MagicVision เพียงกดปุ่มด้านหน้า ภาพและเสียงก็จะปรากฏบรรยาย ให้ความรู้ได้น่าสนใจอย่างยิ่งอีกด้านหนึ่งจะมีนิทรรศการศาสนาอื่นในเมืองนครมี ศาสนาอิสลามและศาสนาพราหมณ์ ให้เห็นถึงความหลากหลายที่หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว
 
ออกจากอาคารวีรไทยจะไปยังอาคาร เทิดไท้ราชินี ซึ่งเป็นอาคาร 2 ชั้น โถงทางเข้าชั้นล่างจัดจำลองเหมือนผู้ชมนั่งอยู่ภายในเรือสมุทรโบราณและกำลัง นำผู้ชมล่องเรือย้อน อดีตผ่านเมืองท่าต่างๆไปยังเมืองตามพรลิงค์เมืองท่าค้าขาย ทางทะเลที่สำคัญของคาบสมุทรไทยช่วงพุทธ ศตวรรษที่ 18-19 การนำเสนอใช้สื่อผสม Animation และวีดีทัศน์เพื่อสร้างความตื่นตา ตื่นใจ ให้ความเพลิดเพลินในการชม เรือจะ โยกโคลงเหมือนโดนคลื่นเป็นจุดที่ผู้ชมชอบ มากจุดหนึ่งออกจากเรือเดินสมุทรเข้าไปยังท่าเรือรับส่งสินค้าซึ่งจำลองท่า เรือ เมืองนครศรีธรรมราชในอดีตจัดแสดงหุ่นลอยตัวแสดงการติดต่อซื้อขายทั้งสินค้า เครื่องเทศของเมืองตามพรลิงค์และสินค้าเข้าโดยสื่อMagic visionแสดงสมมุติให้ เป็นนักเดินเรือชาวจีนโบราณออกมาเล่าสิ่งที่เขาพบเห็นในเมืองนคร โดยอ้างอิงหลักฐานบันทึกของหวังต้าหยวนและเจาจูกัวนักเดินทางชาวจีน ภาพและเสียงจะปรากฏเมื่อกดปุ่ม
 
ผ่านท่าเรือติดต่อซื้อขายเข้าเขตนครศรีธรรมราชศูนย์กลางทางศาสนา จัดแสดงด้วยสื่อวีดิทัศน์จอกลมอยู่ในบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ บรรยายถึงความเชื่อดั้งเดิม จนกระทั่งมีศาสนาต่างๆ เข้ามาทั้งพราหมณ์ พุทธ อิสลาม คริสต์ เน้นประเด็น ที่แม้ต่างศาสนาแต่อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขร่มเย็น ถัดจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ไป มีการ จัดแสดงพัฒนาการเมืองนครศรีธรรมราชกับเงินนโมหลักฐานที่ยืนยันความ เข้มแข็งทางเศรษฐกิจของนครศรีธรรมราชในอดีต การจัดแสดงบริเวณภูมิศาสตร์ กับวิถีชีวิต การแสดงมรดกวัฒนธรรม การแสดงพื้นบ้าน มีมโนราห์ หนังตะลุง ลิเกป่า เพลงบอก เป็นต้น นอกจากจะจัดเป็นนิทรรศการภาพแล้วยังมีวีดิทัศน์ ประกอบในแต่ละเรื่อง ซึ่งผู้ชมสามารถ กดปุ่มและชมได้ทันทีอีกด้วย
 
ที่ชั้นสองของอาคารเทิดไทราชินีจัดแสดงเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมือง คือเหตุการณ์ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่นครสรีธรรมราช 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 และเหตุการณ์วาตภัยแหลมตะลุมพุก เมื่อ พ.ศ.2505 ณ จุดนี้นำเสนอโดยจัดที่นั่งชมให้ผู้ชมได้ระลึกเหตุการณ์ภัยธรรมชาติครั้งรุนแรงที่สร้างความสูญเสียแก่เมืองนครศรีธรรมราชเป็นอย่างมาก โดยนำเสนอด้วยวีดิทัศน์จอยักษ์ประกอบหุ่นจำลองแสดงภูมิประเทศแหลมตะลุมพุก ก่อนเกิดวาตภัยและพลิกเป็นสภาพความหายนะโดยใช้เทคนิคสายลม ละอองฝนและฟ้าแลบ เสริมบรรยากาศตามบทบรรยายทำให้ผู้ชมได้สัมผัสเกิดจินตนาการ ตามรับรู้เรื่องราวได้อย่างชัดเจน จบด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยและทรงปัดเป่าความทุกข์ยากของราษฎรชาวแหลมตะลุมพุก และเหตุการณ์แห่งการก่อกำเนิดมูลนิธิราชประชานุเคราะห์
 
พื้นที่อีกส่วนหนึ่งของชั้นสอง ซึ่งปัจจุบันใช้แสดงเชิดชูเกียรติบุคคลสำคัญของเมืองนครศรีธรรมราชกำลังได้รับการปรับปรุงเพิ่มเติมในโครงการระยะที่ ๓ เพิ่มเติมเนื้อหาชาวต่างชาติผู้ร่วมสร้างเมืองนครศรีธรรมราช โดยจะจัดเป็นหุ่นลอยตัวขนาดเท่าคนจริงประกอบสื่อผสม Diorama และ Software animation และปรับปรุงห้องบุคคลสำคัญจัดแสดง ภาพระบรมฉายาลักษ์ และวีดิทัศน์พระมหากรุณาธิคุณปกเกล้าฯ ชาวนครศรีธรรมราช กรณียกิจของพระบรมราชวงศ์ด้วย ทางด้านผนังโค้งท้ายห้องจัดแสดงเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา (12 สิงหาคม 2547 )
ก่อนที่จะกลับด้วยความประทับใจขอเชิญฝากบันทึกการเยี่ยมชมในสมุดบันทึกผู้มา เยี่ยมชมไว้เป็นอนุสรรณ์ที่เคาน์เตอร์ต้อนรับในอาคารรวมใจภักดิ์ พิพิธภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราชจัดแสดงแบบเล่าเรื่องราวด้วยสื่อทันสมัยช่วยให้ผู้ชมเดิมชมได้อย่างเพลิดเพลินตลอดเวลาเป็นสถานที่ที่ควรแก่การศึกษาหาความรู้ และพักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างยิ่ง
 
    พิพิธภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราช ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยดีเด่น ประจำปี 2551 Thailand Tourism Awards 2008 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2551 พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมในวันอังคาร-วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์) 9.00-17.00 น.
 
ข้อมูลจาก: http://www.nakhonmuseum.com/ [accessed 20081113]
อ่านบทความ "นครศรีฯ ทันสมัยในพิพิธภัณฑ์" ในกรุงเทพธุรกิจ วันที่ 22 ตุลาคม 2552
ชื่อผู้แต่ง:
ปณิตา สระวาสี

พิพิธภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราช

บ่ายวันแดดจัด หลังนมัสการพระบรมธาตุนครฯ และชิมขนมจีนรสเด็ด หมายใจหลบร้อนไว้ที่ “พิพิธภัณฑ์เมือง” กลางสวนสาธารณะทุ่งท่าลาด ที่ เปิดให้พิสูจน์ “สื่อทันสมัย” มาตั้งแต่กลางปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ที่นี่มีอาคาร ๔ หลังเชื่อมต่อกันล้อมลานกว้าง แม้จะตั้งชื่อให้คล้องจองกันว่า “เทิดไท้ราชินี วีระไทย รวมใจภักดิ์ นานัครส” แต่เส้นทางการเดินชมเริ่มจากโถงต้อนรับในอาคารรวมใจภักดิ์ รับแผ่นพับที่นี่แล้วเดินตามเข็มนาฬิกาเข้าสู่การจัดแสดงที่อาคารวีระไทย

ดูรายละเอียด      ดูรีวิวทั้งหมดของวารสารเมืองโบราณ +

ชื่อผู้แต่ง:
-

นครศรีฯ ทันสมัยในพิพิธภัณฑ์

อดีตเมืองชั้นเอกในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีอย่าง "นครศรีธรรมราช" มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนาน รวมถึงวัฒนธรรมประเพณีที่น่าสนใจมากมาย หลายคนจึงไม่สามารถไปเยือนเมืองนครแห่งนี้เพียงวันเดียว แล้วทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งได้ แต่ถ้าใครถูกจำกัดด้วยเวลา และอยากศึกษาข้อมูลของเมืองนครแบบคร่าวๆ พอดีๆ แนะนำให้แวะไปที่ พิพิธภัณฑ์เมืองนครศรีธรรมราช

ดูรายละเอียด      ดูรีวิวทั้งหมดของกรุงเทพธุรกิจ +

ชื่อผู้แต่ง:
-