สวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์


สวนประวตัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เกิดขึ้นจากการที่ชาวสงขลาและผู้มีจิตศรัทธาในคุณความดีและความเสียสละของ ฯพณฯ องคมนตรีและรัฐบุรษ จึงได้ร่วมกันสร้างขึ้นโดยมีส่วนราชการสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อเป็นสวนสาธารณะพักผ่อนหย่อนใจและเป็นแหล่งเรียนรู้ ภายในประกอบด้วยบริเวณสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ 1) หอประวัติ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ บ้านพธำมะรงค์จำลองอันเป็นสถานที่เกิดและใช้ชีวิตในวัยเยาว์ ในขณะที่อยู่ร่วมกับบิดามารดาและพี่น้อรูปเหมือนพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 2) ประติมากรรม “เกิดมาต้องตอบแทนคุณแผ่นดิน” เตาเผากระเบื้องโบราณจำลอง สวนพฤษศาสตร์ 3)ป่าชายเลนและศูนย์บริการการเรียนรู้ระบบนิเวศน์ป่าชายเลน ค่ายพักแรม และอาคารท่าเรือ

ที่อยู่:
หมู่ 2 ต.พะวง อ.เมือง จ.สงขลา 90100
โทรศัพท์:
074-334685
วันและเวลาทำการ:
หอประวัติฯ เปิดวันอังคาร-อาทิตย์(ปิดวันจันทร์) เวลา 9.30-16.30 น. สวนสาธารณะ เปิดทุกวัน 6.00-20.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
bua1959@hotmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2552
เนื้อหา:

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของสวนประวัติศาสตร์พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

สวนประวตัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประกอบด้วยบริเวณที่เป็นสวนสาธารณะ และแหล่งเรียนรู้อีกหลายแห่ง ทั้งนี้ ประกอบด้วยบริเวณสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่

บริเวณที่ 1 ได้แก่ หอประวัติ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (Statesman's Hall) บ้านพธำมะรงค์จำลอง รูปเหมือนพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

บริเวณที่ 2 ประกอบด้วย ประติมากรรม “เกิดมาต้องตอบแทนคุณแผ่นดิน”เตาเผากระเบื้องโบราณจำลอง สวนพฤษศาสตร์

บริเวณที่ 3 คือ ป่าชายเลนและศูนย์บริการการเรียนรู้ระบบนิเวศน์ป่าชายเลน ค่ายพักแรม และอาคารท่าเรือ

การสำรวจพิพิธภัณฑ์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2553 (พี่ไก่) ให้การต้อนรับและสรุปบรรยายเกี่ยวกับการจัดแสดงในหอประวัติ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้จัดการฯ ได้เท้าความถึงการก่อตั้งสวนประวัติศาสตร์ เริ่มต้นจากการที่ชาวสงขลาและผู้มีจิตศรัทธาในคุณความดีและความเสียสละของ ฯพณฯ องคมนตรีและรัฐบุรษ จึงได้ร่วมกันสร้างสวนสาธารณะและอาคารเอนกประสงค์ เพื่อเป็นสถานที่ประชุมนานาชาติ ในกาลต่อมา นายบัญญัติ จันทน์เสนะ ในขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยคณะทำงานจากภาครัญ เอกชน และประชาชน ร่วมกันปรับปรุงให้สวนสาธาณะแห่งนี้ เป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งพักผ่อนหย่อนใจ ต่อมาได้มีการจัดตั้ง มูลนิธิสวนประวัติศาสตร์ พลเอเปรม ติณสูลานนท์ เข้ามาทำหน้าที่ดูแล บริหารจัดการ และบำรุงรักษา และเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2553 โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานในพิธีเปิด เนื่องในโอกาสที่พลเอกเปรม มีอายุครบ 90 ปี

หอประวัติ ประกอบด้วยบริเวณสำคัญ 3 ส่วน บริเวณโถงทางเข้า ชั้นล่าง และชั้นบน

บริเวณโถงทางเข้าประกอบด้วยประติมากรรม “เหนือเกล้ายิ่งชีวิต”สลักภาพพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ กำลังถวายบังคมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยผู้สร้างสรรค์ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพถ่ายในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2530 ณ พระที่นั่งชัยมังคลาภิเษก ท้องสนามหลวง ประติมากรรมชิ้นนี้สื่อถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษตริย์ นอกจากนี้ ยังมีผนังกระจกบันทึกคำพูดที่เป็นคติ

บริเวณชั้นล่าง ผู้จัดการอธิบายว่า การเริ่มต้นชมนิทรรศการในหอประวัติแห่งนี้จะต้องเริ่มการชมจากชั้นล่างของอาคาร ด้วยเหตุผลสองสามประการ ได้แก่ เรื่องราวในนิทรรศการแห่งนี้ลำดับตามเวลาในช่วงชีวิตของพลเอกเปรม คือตั้งแต่เกิด วันเรียน สู่การรับใช้ชาติ และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย นิทรรศการลำดับเรื่องราวจากชั้นล่างสู่ชั้นบน และเหตุผลอีกประการหนึ่ง ชั้นล่างเปรียบเหมือนรากฐานของชีวิต กว่าที่ท่านจะ “เติบโต”มาดำรงตำแหน่งสำคัญของประเทศนี้ได้ จะต้องมาจากรากฐานที่สำคัญในช่วงเริ่มต้น การเปรียบเทียบรากฐานของชีวิตและการจัดแสดง ยังเป็นกระตุ้นเตือนให้ผู้เข้าชม โดยเฉพาะเยาวชนได้ตระหนักเป็นอย่างดีว่า อนาคตของแต่ละคนจะดีได้ จะต้องมาจากการทำงาน ความตั้งใจ และพากเพียร ในวัยเยาว์
ในบริเวณชั้นล่างนี้ มีบริเวณการจัดแสดง 9 ส่วน ดังนี้

1.    ห้องเพชรของแผ่นดิน เป็นห้องชมวีดิโอที่บอกเล่าถึงประวัติของพลเอกเปรม ตั้งแต่สมัยเด็กและเดิบใหญ่เป็นบุคคลสำคัญของประเทศ นัยของห้องนี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงต้นแบบของบุคคลสำคัญ

2.    ห้องสงขลาบ้านเกิดนำเสนอประวัติของครอบครัว และการอยู่ร่วมกันระหว่างพี่น้อง ความสำคัญของครอบครัวคือเบ้าหลอมลักษณะของบุคคล นอกจากนี้ สำเนาภาพถ่ายตั้งแต่ยุคกว่าร้อยปีที่แล้ว ยังบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเมืองสงขลา และสะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เปรียบเทียบมายังการณ์ปัจจุบัน

3.    ห้องโรงเรียนมหาวชิราวุธบอกเล่าความเป็นมาของโรงเรียนวชิราวุธ ซึ่งเป็นสถานศึกษาของพลเอกเปรมฯ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 (พ.ศ. 2469) จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (พ.ศ. 2478) การนำเสนอเน้นการถ่ายทอดเรื่องราวจากความทรงจำของอดีตนักเรียนหลายคน รวมทั้งพลเอกเปรมฯ ความตอนหนึ่ง จัดแสดงประกาศนียบัตรรางวัลหมั่นเรียน ของพลเอกเปรมฯ นอกจากนี้ ภายในยังมีสื่อที่หลากหลาย ภาพเคลื่อนไหวและหุ่นจำลอง

4.    ห้องครูของผม บอกเล่าเรื่องราวของครูเคล้า คชาฉัตร ได้รับการยกย่องให้เป็นคนดีศรีมหาวิชิราวุธ เนื้อหาสำคัญภายในห้องนี้ สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ โดยมีการตัดต่อเรื่องเล่าผ่านหุ่นจำลองเปรียมครูเคล้ากับพลเอกเปรมฯ ในวัยเยาว์ และสุนทรพจน์ของพลเอกเปรมฯ ที่รำลึกถึงพระคุณของครูในงานโรงเรียน

5.    ห้องโรงเรียนสวนกุหลาบและโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า นำเสนอเรื่องราวของโรงเรียนทั้งสองแห่ง ซึ่งเชื่อมโยงกับการใช้ชีวิตในเมืองหลวงของพลเอกเปรมฯ ในสมัยเรียนในการศึกษาระดับสูง การนำเสนอในส่วนี้ เน้นการบรรยายและภาพของสถานที่ที่เกี่ยวข้องทั้งในอดีตและในปัจจุบัน

6.    ห้องนายทหารใหม่เกี่ยวข้องกับการจัดแสดงประวัติศาสตร์สงครามร่วมสมัย เช่น สงครามอินโดจีน-ฝรั่งเศส (พ.ศ.2483-2484) และสงครามมหาเอเชียบูรพา (พ.ศ.2484-2488) ซึ่งเป็นช่วงเวลาของชีวิตและการทำงานที่อยู่ในความทรงจำของพลเอกเปรมฯ จากการร่วมรบในสงครามทั้งสองครั้ง แม้ช่วงเวลาดังกล่าว พลเอกเปรมฯ เป็นนายทหารใหม่ที่เพิ่งจบจากโรงเรียนนายร้อยฯ เนื้อหาในส่วนนี้มุ่งแสดงให้เห็นความรับผิดชอบต่อหน้าที่ วินัย และความพยายามในการฝ่าฝันอันตราย

7.    ห้องทหารม้าความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในฐานะนายทหารเหล่าทหารม้า และการก้าวขึ้นเป็นผู้บังคับบัญชา วัตถุจำลองยุทโธปกรณ์เหล่าทหารม้า

8.    ห้องสู่อีสานบอกเล่าชีวประวัติในช่วง พ.ศ. 2516-2523 ในสมัยที่ประเทศไทยเผชิญหน้ากับปัญหาคอมมิวนิสต์ และพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาค 2 ในขณะนั้น ปัญหาต่างๆ ได้รับการคลี่คลายโดยใช้แนวคิด “การเมืองนำการทหาร”คือแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยการสร้างความเข้าใจและความช่วยเหลือ จุดเด่นของห้องจัดแสดงนี้คือ การใช้บรรยากาศที่บีบอัดความรู้สึกของผู้ชมในช่วงของการบอกเล่าถึงปัญหา และผนังเอนออกเมื่อปัญหาได้รับการคลี่คลาย

9.    ห้องสู่วังวนการเมืองบอกเล่าความเป็นไปของบ้านเมือง ตั้งแต่ พ.ศ. 2520-2523 และสถานการณ์ที่ทำให้พลเอกเปรม เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง และดำรงตำแหน่งสูงสุดในรัฐบาล ภายในห้องจัดแสดงนี้ นำเสนอผนังภาพหนังสือพิมพ์ และวีดิทัศน์

บริเวณชั้นบนจากนั้น เรื่องราวดำเนินต่อมายังห้องจัดแสดงชั้นบน ที่มีห้องสำคัญ 3 ส่วนหลัก ได้แก่

1.    ห้องนายกรัฐมนตรี เป็นบันทึกหน้าสำคัญเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ในช่วงเวลาที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของประเทศ การจัดแสดงเน้นการฉายภาพวีดิทัศน์ในจอขนาดเล็ก หลายตำแหน่งกระจายอยู่โดยรอบ ประกอบเนื้อหากราฟิกที่แสดงให้เห็นวิธีการแก้ปัญหาของพลเอกเปรม นอกจากนี้ ยังมีเสื้อผ้าที่เคยใช้ในสมัตยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และโต๊ะนั่งทำงานจำลอง

2.    ห้องเพื่อประชาชนเป็นพื้นที่จัดนิทรรศการหมุนเวียน เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร ข้อมูล และผลงานของมูลนิธิต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพลเอกเปรม และของสมาคมมูลนิธิ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในวันที่เราได้เยี่ยมชม เป็นการนำเสนอกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ที่ดำเนินการโดยสมาคมฯ

3.    ห้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน แสดงถึงความคิดและความรู้สึกของพลเอกเปรม เมื่อได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นรัฐบุรุษ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างๆ อันเป็นจุดสำคัญของการทำงาน “ตอบแทนคุณแผ่นดิน”บรรยากาศภายในบริเวณจัดแสดง เป็นไปด้วยความเงียบสงบ และความสง่างามของเครื่องแต่งกายและเครื่องราชฯ ของไทยและต่างประเทศ

นอกจากนี้ ในบริเวณสวนประวัติศาสตร์ฯ ยังมีการแสดงบ้านพธำมะรงค์ จำลอง อันเป็นบ้านพักผู้บัญชาการเรือนจำสงขลา ซึ่งรองอำมาตย์โทหลวงวินิจทัณฑกรรม ในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งพธำมะรงค์ เมืองสงขลา ในบ้านพักแห่งนี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับพลเอกเปรม เพราะเป็นสถานที่เกิดและใช้ชีวิตในวัยเยาว์ ในขณะที่อยู่ร่วมกับบิดามารดาและพี่น้อง และยังมีประติมากรรมกลางแจ้งจัดแสดงอยู่ทั่วบริเวณสวน รวมทั้งเตาเผากระเบื้องโบราณ เพื่อสื่อให้เห็นการประกอบอาชีพตั้งเดิมของชาวบ้านแถบเกาะยอและในบริเวณใกล้เคียง
 
ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ /เขียน
ข้อมูลจาก: การสำรวจเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2553
 
ชื่อผู้แต่ง:
-