หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษามหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา เก็บรวบรวมหนังสือ ภาพถ่าย เอกสารเก่าที่สำคัญของโรงเรียนมหาวชิราวุธ และได้ขยายไปสู่การเก็บรวบรวมหนังสือและเอกสารเก่าเกี่ยวกับชุมชนโดยรอบ ไปจนถึงเมืองสงขลา เช่น หนังสือ เอกสาร จดหมายราชการ สัญญาสัมปทาน ใบเสร็จรับเงิน โปสการ์ด ประกาศ คู่มือการทำงาน ใบโฆษณา ภาพเก่าของบุคคล ครอบครัว องค์กร อีกยังมีฟิล์มหรือหนังเก่า แผ่นเสียง ที่เป็นเรื่องราวของสงขลาและภาคใต้ เรียกได้ว่าเป็นหลักฐานบอกเล่าวิถีชีวิตและอดีตของผู้คนในพื้นที่นี้ทั้งสิ้น ที่น่าสนใจ อาทิ หนังสือและภาพถ่ายเก่าของ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) สมัยดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราช ผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ภาพถ่ายเก่าเมืองสงขลา โปสการ์ดรูปเรือเดินทะเลชื่อ Songkla (สงขลา) ที่ระบุว่าเป็นของ บริษัท อีสต์เอเชียติก เรือนี้ต่อขึ้นปี ค.ศ.1953 นอกจากนี้ยังมีแผนที่มณฑลเขตปกครอง เช่น ภูเก็ต มณฑลปัตตานี ซึ่งในแผนที่เหล่านี้ยังมีหมุดหมายระบุที่ตั้งของ “ศาลารัฐบาลมณฑล” ที่ใช้ตัวย่อว่า ศ.ร. ในแผนที่มณฑลปัตตานียังเรียกตันหยงมัสว่า “ตันหยงมัซ” ยังมีจดหมายราชการในเรื่องการมอบสัมปทานทำเหมืองแร่ดีบุกในปัตตานี เป็นต้น
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา โรงเรียนมหาวชิราวุธ
โรงเรียนมหาวชิราวุธเป็นโรงเรียนเก่าแก่ของสงขลา ก่อตั้งโดยเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราช และ พระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) โดยได้ดำริตั้งโรงเรียนขึ้น เนื่องด้วยเมืองสงขลามีพลเมืองมากแต่ยังไม่มีโรงเรียนที่เป็นหลักเป็นฐาน โดยได้มีการเรี่ยไรเงินจากประชาชนชาวสงขลาเพื่อสร้างโรงเรียนเป็นการถาวรขึ้นบริเวณวัดนาถม (ซึ่งเป็นบริเวณโรงเรียนวิเชียรชมในปัจจุบัน) พร้อมกันนี้พระยาสุขุมนัยวินิต ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ใช้ชื่อโรงเรียนว่า "มหาวชิราวุธ" เนื่องจากอาคารเรียนยังไม่แล้วเสร็จ จึงทำการเปิดสอนครั้งแรกที่ศาลาชำระความของพระยาวิเชียรคิรี มีนักเรียน 50 คน และ ครูทองดีเป็นครูใหญ่คนแรก ดำเนินการสอนแบบโรงเรียนมหาดเล็กหลวง จึงนับได้ว่า โรงเรียนมหาวชิราวุธ ได้กำเนิดขึ้น ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2439 โรงเรียนย้ายที่ตั้งอีกหลายครั้ง จนเมื่ออาคารเรียนที่วัดนาถมสร้างเสร็จ โรงเรียนจึงได้ย้ายมาอยู่ที่ “สัณฐาคาร” บริเวณวัดนาถมตั้งแต่ปี 2457 เป็นต้นมา และได้เจริญเติบโต มีอาคารเรียนมากขึ้น นักเรียนมากขึ้นตามลำดับ มาจนถึงปัจจุบัน
ด้วยความที่โรงเรียนมีประวัติความเป็นมายาวนาน ทางโรงเรียนจึงได้ริเริ่มก่อตั้งหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษามหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ขึ้น เพื่อเก็บรวบรวมหนังสือ ภาพถ่าย เอกสารเก่าที่สำคัญของโรงเรียนมหาวชิราวุธ นอกจากนี้ยังจัดแสดง วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ของโรงเรียนและหนังสือของชุมนุมนักเรียนเก่าที่ได้ตีพิมพ์ไปแล้วและนำมาเผยแพร่
ต่อมาและได้ขยายไปสู่การเก็บรวบรวมหนังสือและเอกสารเก่าเกี่ยวกับชุมชนโดยรอบ ไปจนถึงเมืองสงขลา เช่น หนังสือ เอกสาร จดหมายราชการ สัญญาสัมปทาน ใบเสร็จรับเงิน โปสการ์ด ประกาศ คู่มือการทำงาน ใบโฆษณา ภาพเก่าของบุคคล ครอบครัว องค์กร อีกยังมีฟิล์มหรือหนังเก่า แผ่นเสียง ที่เป็นเรื่องราวของสงขลาและภาคใต้ เรียกได้ว่าเป็นหลักฐานบอกเล่าวิถีชีวิตและอดีตของผู้คนในพื้นที่นี้ทั้งสิ้น
ที่น่าสนใจ อาทิ หนังสือและภาพถ่ายเก่าของ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) สมัยดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราช ผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ภาพถ่ายเก่าเมืองสงขลาที่ได้จากร้านถ่ายรูปเก่าของสงขลา โปสการ์ดรูปเรือเดินทะเลชื่อ Songkla (สงขลา) ที่ระบุว่าเป็นของ บริษัท อีสต์เอเชียติก เรือนี้ต่อขึ้นปี ค.ศ.1953 นอกจากนี้ยังมีแผนที่มณฑลเขตปกครอง เช่น ภูเก็ต มณฑลปัตตานี ซึ่งในแผนที่เหล่านี้ยังมีหมุดหมายระบุที่ตั้งของ “ศาลารัฐบาลมณฑล” ที่ใช้ตัวย่อว่า ศ.ร. ในแผนที่มณฑลปัตตานียังเรียกตันหยงมัสว่า “ตันหยงมัซ” ยังมีจดหมายราชการในเรื่องการมอบสัมปทานทำเหมืองแร่ดีบุกในปัตตานี เป็นต้น
ภาพและเอกสารที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของจังหวัดสงขลาและโรงเรียน ที่จัดแสดงนี้ได้รับรางวัลและรับรองจากองค์การยูเนสโก้ ให้ขึ้นทะเบียนเป็นเอกสารมรดกแห่งความทรงจำของโลก ระดับท้องถิ่น จากยูเนสโก ในปี พ.ศ. 2559
ข้อมูลจาก:
รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจัดทำข้อมูลพิพิธภัณฑ์ภาคใต้ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคใต้ สนับสนุนโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) 2564.
www.mvsk.ac.th
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
วิถีชีวิตท้องถิ่นและภูมิปัญญา สงขลา
พิพิธภัณฑ์หลวงปู่ทวด วัดพะโคะ
จ. สงขลา
ศูนย์การเรียนรู้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต จะนะ
จ. สงขลา
ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอหาดใหญ่ ร.ร.หาดใหญ่วิทยาลัย
จ. สงขลา