โลโก้ของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรLogo
logo
  • รายชื่อพิพิธภัณฑ์
    • รายชื่อพิพิธภัณฑ์
    • List view
    • Map view
  • Online Exhibits
    • Online Exhibits
    • มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคใต้
    • มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง
    • มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคเหนือ
  • Research & learning
    • Research & learning
    • พิพิธภัณฑ์วิทยา
    • Research & Report
    • บทความวิชาการ
    • บล็อก
    • อินโฟกราฟฟิก
  • สื่อสิ่งพิมพ์
    • สื่อสิ่งพิมพ์
    • หนังสือ
    • จุลสาร
  • เทศกาล และข่าวสาร
    • เทศกาล และข่าวสาร
    • เทศกาล
    • ข่าวสาร
  • เกี่ยวกับโครงการ
    • เกี่ยวกับโครงการ
    • เกี่ยวกับโครงการ
    • ทีมงาน
    • ติดต่อเรา
    • สถิติพิพิธภัณฑ์
    • สถิติเว็บไซต์
  • กระบี่
  • กรุงเทพมหานคร
  • กาญจนบุรี
  • กาฬสินธุ์
  • กำแพงเพชร
  • ขอนแก่น
  • จันทบุรี
  • ฉะเชิงเทรา
  • ชลบุรี
  • ชัยนาท
  • ชัยภูมิ
  • ชุมพร
  • ตรัง
  • ตราด
  • ตาก
  • นครนายก
  • นครปฐม
  • นครพนม
  • นครราชสีมา
  • นครศรีธรรมราช
  • นครสวรรค์
  • นนทบุรี
  • นราธิวาส
  • น่าน
  • บึงกาฬ
  • บุรีรัมย์
  • ปทุมธานี
  • ประจวบคีรีขันธ์
  • ปราจีนบุรี
  • ปัตตานี
  • พระนครศรีอยุธยา
  • พะเยา
  • พังงา
  • พัทลุง
  • พิจิตร
  • พิษณุโลก
  • ภูเก็ต
  • มหาสารคาม
  • มุกดาหาร
  • ยะลา
  • ยโสธร
  • ระนอง
  • ระยอง
  • ราชบุรี
  • ร้อยเอ็ด
  • ลพบุรี
  • ลำปาง
  • ลำพูน
  • ศรีสะเกษ
  • สกลนคร
  • สงขลา
  • สตูล
  • สมุทรปราการ
  • สมุทรสงคราม
  • สมุทรสาคร
  • สระบุรี
  • สระแก้ว
  • สิงห์บุรี
  • สุพรรณบุรี
  • สุราษฎร์ธานี
  • สุรินทร์
  • สุโขทัย
  • หนองคาย
  • หนองบัวลำภู
  • อำนาจเจริญ
  • อุดรธานี
  • อุตรดิตถ์
  • อุทัยธานี
  • อุบลราชธานี
  • อ่างทอง
  • เชียงราย
  • เชียงใหม่
  • เพชรบุรี
  • เพชรบูรณ์
  • เลย
  • แพร่
  • แม่ฮ่องสอน
  • กฎหมายและราชทัณฑ์
  • การทหาร / สงคราม
  • การสื่อสาร / ไปรษณีย์
  • การแพทย์และสาธารณสุข
  • งานอนุรักษ์สถาปัตยกรรม
  • ชาติพันธ์ุ
  • ธรรมชาติวิทยา
  • บุคคลสำคัญ
  • บ้านประวัติศาสตร์
  • ประวัติศาสตร์
  • ผ้า / สิ่งทอ
  • พระป่า
  • วิถีชีวิตท้องถิ่นและภูมิปัญญา
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ศาสนา ความเชื่อ และพิธีกรรม
  • ศิลปะ / การแสดง
  • อื่น ๆ
  • เครื่องปั้นดินเผา
  • เงินตรา / การเงินธนาคาร
  • โบราณคดี

  • บทความวิชาการ

บทความวิชาการ:

ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ

  • เรียงตามข้อมูลนำเข้าล่าสุด
  • เรียงตามการอ่านมากที่สุด
บทความทั้งหมด 26 บทความ

เมื่องานละครก้าวสู่โลกพิพิธภัณฑ์

24 มิถุนายน 2557

การนำเอาวัตถุที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งของฉากละคร กลายเป็นวิถีทางหนึ่งที่สร้างชีวิตและคุณค่าของมรดก รวมทั้งเป็นการทลายพรมแดนระหว่างนาฏกรรม งานละคร อุปรากร งานศิลปะ วิทยาศาสตร์ และพิพิธภัณฑ์วิทยา เรื่องราวของคณะละคร อแลง แชร์แมง ตลอดระยะเวลา 30ปีของการทำงานในโลกพิพิธภัณฑ์ สามารถให้แนวคิดใหม่ๆ ของการสร้างสรรค์สื่อกลางทางวัฒนธรรมในการเผยแพร่ความรู้ ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการเข้าถึงกลุ่มผู้ชมใหม่ๆ ของพิพิธภัณฑสถาน         1.ภาพจากการแสดง ออสเตดราม (อแลง แฌร์แมง - นาตาลี บาร์บี - อานเดรียส์ จาคคิ) ที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาในปี 1972เมื่อข้าพเจ้าสร้างชุดการแสดงเรื่อง นาฎยในงานสวมหน้ากาก (Chore pour une Mascarade) โดยอาศัยงานดนตรีของ ฌอง-เรมี่ จูเลียง (Jean-Re Julien) สำหรับการแสดงหอศิลป์แห่งชาติ กรอง ปาเลส์ (les galleries nationales du grand palais) จากนั้น ข้าพเจ้าไม่เคยสงสัยอีกเลยว่า แต่นี้ไปงานสร้างสรรค์การแสดงจะปรากฏโฉม ในสถานที่อื่นนอกเหนือไปจากโรงละครทั่วไป2.ภาพจากการแสดง ผู้รู้กับการปฏิวัติ (อแลง แฌร์แมง ที่รายล้อมไปด้วย ขบวนสิ่งประดิษฐ์ ในการฉลอง 200 ปีการปฏิวัติฝรั่งเศส) ที่เมืองวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม ลาวิลเลท์ท ปารีส ข้าพเจ้ามีความพอใจยิ่งนักที่ได้มีโอกาสแสดง ในหอกระจกของพระเจ้านโปเลียนที่ 3แต่ข้าพเจ้ากลับหวังไกลไปกว่านั้น นั่นคือ การแสดงในระดับนานาชาติ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานละครและอุปรากร อย่างไรก็ดี การมองย้อนกลับอย่างวิพากษ์วิจารณ์ และเผยให้เห็นสิ่งไม่พึ่งประสงค์ที่เกิดขึ้น อาจทำให้เราต้องแปลกใจเพิ่มไปอีกก็ได้ การแสดงที่สร้างสรรค์ขึ้นในพิพิธภัณฑสถาน       การแสดงชุด รัตติกาลของยักษา (Minuit pour Geants) สร้างสรรค์โดยใช้ผลงานดนตรีของ โคลด บาลลิฟ (Claude Ballif) และผลงานประพันธ์ของ ทริสตอง ซารา (Tristan Tzara) ที่สรรค์สร้างไว้ ณ หอศิลปะและวัฒนธรรมของเครเตย (la maison des Arts et de la Culture de Creteil) และได้นำกลับมานำเสนออีกครั้งที่ศูนย์วัฒนธรรมปิแอร์ คาร์แดง (l’espace Pierre Cardin) ในปี 1977 อย่างไรก็ดี การแสดงดังกล่าวกลายเป็นที่รู้จักเมื่อมีชุดการแสดงที่จัดขึ้น ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ของเทศบาลเมืองปารีส (le Musee d’Art modern de la Ville de Paris) และที่พิพิธภัณฑ์แซงท์-ครัวซ์ ที่เมืองปัวติเยร์ (le Musee Sainte-Croix de Poitiers) การแสดงดังกล่าวเป็นการนำเสนอพร้อมผลงานศิลปะของเบอาทริส กาซาเดอส์ (Beatrice Casadeus) ที่สร้างสรรค์ประติมากรรมภายใต้แนวคิดการแสดงดังกล่าว       อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาดังกล่าว ข้าพเจ้ามีความปรารถนาเป็นอย่างยิ่ง ที่จะฉีกกรอบการแสดงที่ปรากฏบนเวทีทั่วไป หากแต่ว่ายังไม่มีโครงการใดที่ดึงดูดใจเพียงพอ กลับมีเพียงคลื่นลูกเล็กที่เริ่มต้นขึ้น อย่างผลงานแสดงเรื่อง จันทร์หัวกลับ (la lune a l’envers) ซึ่งสร้างขึ้นในปี 1978 สำหรับเทศกาลมาเรส์ (le festival du Marais) ที่คฤหาสน์โอมงท์ (l’hotel d’Aument) งานแสดงดังกล่าวย่อมเป็นเช่นประจักษ์พยานว่า อย่างน้อยงานละครเดินออกมาจากบริบทของโรงละคร แม้ว่าจะยังคงเป็นการแสดงในอาคารก็ตามที ความคิดในการก้าวออกจากโรงละครไม่ได้หยุด       เพียงเท่านี้ การแสดงกลางแจ้งในโบราณสถานได้เกิดขึ้น แม้ยังคงเป็นรูปแบบของการแสดงบนเวที หากว่าวิญญาณ บรรยากาศ ของงานละครย่อมแตกต่างกัน เวลาและสถานที่กลับช่างเป็นใจ คณะฯ สร้างผลงานที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในนิวยอร์ก งานแสดงมีขึ้น ณ หอสมุดอนุสรณ์โลว์ของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (le Low library memorial de Columbia University) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานแสดงที่พิพิธภัณฑ์ วิทนี (Whitney Museum) พื้นที่ในพิพิธภัณฑ์กลายเป็นเวทีที่เปิดโลกการสร้างสรรค์งานละครอย่างเป็นอิสระอย่างแท้จริง นี่เองเป็นที่มาของรูปแบบงานละครหนึ่งที่อวดโฉมในพิพิธภัณฑ์       ความคิดและความตั้งใจเหล่านี้กลายเป็นความจริงในที่สุด ในปี 1979การสร้างผลงานชุด ออสเตโอดราม (Osteodrame) เป็นงานละครที่ “เล่น” กับโครงกระดูกจากแหล่งโบราณคดีในห้องแสดงบรรพชีวินวิทยา (la galerie de paleontoligie) พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา งานแสดงในครั้งนั้นเป็นจุดเริ่มต้นการทำงานกับนักวิทยาศาสตร์ อย่าง ฟิลิปป์ ทาเกท์ (Philippe Taquet) และแฮร์แบรท์ โทมัส (Herbert Thomas) และด้วยการร่วมงานกับนักวิทยาศาสตร์ทั้งสอง ข้าพเจ้าต้องบอกเลยว่า รู้สึกสนุกมากเพียงใด และเราก็พูดภาษาเดียวกัน “วิวาห์” งานละครกับนิทรรศการ...       เมื่อ โมริส เฟลอเรท์ (Maurice Fleuret) มอบหมายให้ข้าพเจ้ารับผิดชอบงานปฐมทัศน์ห้องจัดแสดงใหม ของพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ของเทศบาลเมืองปารีส (le Musee d’Art moderne de la Ville de Paris) ในปี 1981 ข้าพเจ้าเกิดความคิดในการผสานการแสดงและนิทรรศการ ด้วยการประยุกต์ตัวบทภาษาเยอรมันในยุคกลางตอนต้น - มนตร์คาถาของเมร์ซบวร์ก (l’Incantation de Merseburg) โดยที่การนำเสนอไม่ใช่การแสดง (spectacle) หากเป็นการจัดแสดงนิทรรศการ (exposition) ผู้ชมจะได้เห็นภาพมีชีวิตที่เรียงเรื่อยไป และเดินชมเฉกเช่นการเข้าชมหอศิลป์ โดยที่บางครั้งเป็นการมองภาพผ่านหน้าต่าง รูร่อง เพื่อการเข้าไปสัมผัสฉากหลากหลาย การแสดงที่เชื่อมโยงเหมือนนิทรรศการเช่นนี้ทำลายเส้นแบ่งระหว่างฉากละครและห้องแสดงนิทรรศการ เรียกได้ว่าเป็นการปลดปล่อยพื้นที่พิพิธภัณฑสถานอย่างสมบูรณ์       รูปแบบความสัมพันธ์ของนิทรรศการและการแสดงข้างต้นนำไปสู่งานสร้างสรรค์ที่ต่อเนื่อง ในปี 1988 “บูฟฟงว่าด้วยสวน” (Buffon cote Jardin) ที่เป็นการนำงานประพันธ์ทางดนตรีของ อิชิโร โนดาอิรา มาใช้ (Ichiro Nodaira) ในวาระการครบรอบ 2 ศตวรรษในการเสียชีวิตของบูฟฟง งานแสดงดังกล่าวจัดขึ้นที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา และด้วยความร่วมมือและการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ เชอเนอเวียว์ เมอร์ก (Genevieve Meurgue) และ อีฟ เลสซูส (Yves Laissus) การแสดงใช้พื้นที่ส่วนในสุดของห้องจัดแสดง และกลายเป็นผลงานหลอมรวมละครและดนตรีที่น่าประทับใจ ในการสร้างคุณค่าให้กับการเรียนรู้เกี่ยวกับนักธรรมชาติวิทยาคนสำคัญของฝรั่งเศสผู้นี้ รวมทั้งรูปแบบความคิดแนวหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ในช่วงศตวรรษที่ 18 ตั้งแต่งานแสดงชุดดังกล่าว การสร้างสรรค์งานละครที่สัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดสาย ณ เมืองวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมลาวิเลตต์ (la cite des Sciences et de l’Industrie de la Villette) งานแสดงจัดขึ้นในช่วงวันที่ 19 เมษายน 1989 ถึงวันที่ 7มกราคม 1990ในชุด “ผู้รู้และการปฏิวัติ” (les savants et la Revolutuion) ด้วยการใช้ดนตรีประพันธ์ของ อิสซาเบล แอลบูเกร์ (Isabelle Albouker) เพื่อเป็นการรำลึกถึงการครบรอบ 2 ศตวรรษการปฏิวัติฝรั่งเศส งานแสดงดังกล่าวเป็นโอกาสให้ผู้คนสร้างประสบการณ์แห่งความสุขที่สืบเนื่องจากงานสร้างสรรค์ “บุฟฟงข้างสวน” ที่ริเริ่มโดยพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา เรียกได้ว่าเป็นการรวมงานละคร ดนตรี และการขับร้องเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของงานพิพิธภัณฑ์ แนวคิดของฉาก ประกอบด้วย 5 พื้นที่หลักคือ จากโรงละครเร่ (le theatre de treteaux) สู่โถง โซฟี เดอ กงดอร์เซท์ (le salon de Sophie du Condorcet) และจากโรงละครใหญ่ (le theatre de revue) ถึงชมรมวรรณศิลป์ (la societe philomatique) ท้ายที่สุด ประตูสู่ทะเลสาปอียิปต์ ฉากที่แตกต่างเหล่านี้เชื่อมโยงกับเพลงที่นิยมร้องกัน ทำให้นึกถึงสีสันของดนตรีและการเมืองในแต่ละช่วงสมัย เรียกได้ว่าเป็นการสร้างสีสันให้กับแต่ละจุดของนิทรรศการเป็นอย่างดี หากพูดถึงเรื่อง รากเหง้ามนุษย์ (les Origines de l’Homme) ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ผลงานจากงานดนตรีของ เฟเดริก ดูริเออร์ (Federic Durieux) ที่แสดง ณ พิพิธภัณฑ์พืช (le Musee en Herbe) ในห้อง แซงท์-ปิแอร์ (la halle Saint-Pierre) ที่ปารีส ระหว่างวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ถึง 31 ธันวาคม 1991การแสดงมีความเฉพาะตัว ด้วยงานสร้างสรรค์การแสดง 2 ชุด ภายใต้งานนิทรรศการเดียว การแสดงหนึ่งเป็นงานที่บรรจงสร้างโดย อิฟส์ โคเปนน์ (Yves Coppens) และอีกการแสดงหนึ่งเป็นงานแสดงแสงเสียงอย่างต่อเนื่อง นี่เองที่แสดงให้เห็นว่า การจัดแสดงพิพิธภัณฑ์กลายเป็นฉากงานละคร และฉากงานละครกลายเป็นการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ซึ่งกัน เมื่องานสะสมกลายเป็นของตกแต่ง        งานแสดง “Les Arts et Metiers en Spectacle” ( les Arts et Metiers เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ว่าด้วยเรื่องของสิ่งประดิษฐ์ - ผู้แปล) ซึ่งสร้างสรรค์ผลงานจากดนตรีประพันธ์ของ เอริค ตองกี (Eric Tanguy) เปิดการแสดงระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม ถึง 29 พฤศจิกายน ที่พิพิธภัณฑ์สิ่งประดิษฐ์ ในวาระการครบรอบ 2ศตวรรษ องค์กรสิ่งประดิษฐ์แห่งชาติ(CNAM - le Conservatoire national des Arts et Metiers ซึ่งตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1794 - ผู้แปล) ชุดการแสดงนำใช้งานสะสมเป็นสิ่งตกแต่ง เรื่องราวแบ่งเป็น 3 ระดับ จากชั้นล่างในส่วนที่เป็นโบสถ์เก่า ผู้ชมถูกกักเป็นตัวประกัน ไล่เรียงกันไปแต่ละกลุ่ม จากนั้น “ผู้คุม” จะนำผู้ชมขึ้นสู่พื้นที่ชั้นถัดๆ ไป เพื่อชมพิพิธภัณฑ์ด้วยการฉายไฟฉาย และเข้าสู่พื้นที่ลาวัวซิเยร์ (l’espace Lavoisier) อย่างไรก็ดี ในปี 1998 ด้วยการสนับสนุนจากมูลนิธิปารีสบาส์ (le fondation Parisbas) และความร่วมมือของ โดมินิก เฟริโอท์ (Dominique Ferriot) ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ ชุดการแสดงนำมาจัดแสดงในห้องแสดงงานศิลปะในตลาด แซงท์-ออนอเร่ (le marche Saint-Hinor?) ด้วยชื่อชุดว่า “Les Arts et M?tiers en costumes” (พิพิธภัณฑ์สิ่งประดิษฐ์ในร่างพัสตราภรณ์)3. ภาพจากการจัดแสดงในชุด “พิพิธภัณฑ์สิ่งประดิษฐ์ในร่างพัสตรากรณ์” ที่หอศิลป์ ตลาดแซงท์-ออโนเร่ ตัวอย่างงานสร้างสรรค์อีกเรื่องคือ “รอบโลกด้วย 80 ภาษา” (la Tour du Monde en 80 langues) ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ด้วยงานดนตรีของ อาดริอานน์ โคลสทร์ (Adrienne Clostre) จัดแสดง ณ โรงละคร รองด์-บวงท์-เรอโนด์ (le theatre du Rond-Point-Renaud) ในระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน ถึง 23 ธันวาคม 1994 งานแสดงในครั้งนี้มาจากความร่วมมือของหอวัฒนธรรมโลก (la maison des Cultures du Monde) และเป็นการฉลองครบรอบ 200ปี สถาบันภาษาและอารยธรรมตะวันออกแห่งชาติ (l’institut national des Langues et Civilisations orientales) ข้าพเจ้าหันกลับมาแสดงในโรงละคร เนื่องจากเนื้อหาชุดการแสดงไม่สอดคล้องกับพื้นที่พิพิธภัณฑ์ ทั้งนี้ การแสดงคงลักษณะที่เป็นการจัดแสดง ด้วยเหตุที่เนื้อหาอยู่บนการใช้ภาษาที่มีชีวิต คณะละครจึงเลือกที่จะกลับมา “เล่น” กับกิริยาและอาการ คือหันกลับมาในโลกงานละคร จากการจัดงานในครั้งนี้ คณะฯ พิมพ์หนังสือโดยสำนักพิมพ์เอซีอาเตก (Asiatheque) เพื่อเป็นประจักษ์พยานของกิจกรรม4.ภาพจากชุดแสดง “ชีวิตที่จัดการ” (ฟรองซัวส์ ปอล โดลิส์โซท์) ที่คฤหาสน์โรอาน หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ในการฉลองครบรอบ 250 ปีการตั้งโรงเรียนวิศกรรมโยธาแห่งชาติ งานสะสม สถาปัตยกรรม และการแสดง        ตัวอย่างงานที่น่าท้าทายอีกหนึ่งได้แก่ “ชีวิตที่จัดการ” (La vie amenage) ที่จะแสดง ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 25 เมษายน ถึง 31 กรกฎาคม 1997 สำหรับงานฉลองครบรอบ 250 ปี สถาบันวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ (l’ecole nationale des Ponts and Chausees) ผลงานของวิศวกรจากสถาบันจัดแสดงในคฤหาสน์โรอาน (l’hotel de Rohan) ซึ่งห้องต่างๆ ในอาคารแปลงโฉมเป็น “เขตแคว้น” ต่างๆ กัน ได้แก่ เขตแคว้นว่าอุทยานในศตวรรษที่18 เป็นที่ที่ผู้ชมจะก้าวไปบนแผนที่จากจินตนาการขนาดมหึมา เขตแคว้นเครื่องจักรกลของศตวรรษที่ 19 ที่เป็นการตกแต่งสิ่งต่างๆ ด้วยสีขาวและดำ เขตแคว้นผังและเขตแคว้นหน้าที่สำหรับศตวรรษที่ 20ด้วยใช้เทคนิคฮาโลแกรมในแต่ละห้อง ผู้แสดงที่มีการแต่งกายเฉพาะต้อนรับผู้ชม และอ่านบทความของนักเขียนตามอัธยาศัย ไม่ว่าจะเป็นนักปราชญ์ หรือนักวิทยาศาสตร์ในแต่ละสมัยที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันโถงใหญ่จัดแสดงประติมากรรมร่วมสมัยแนวนามธรรม หุ่นจำลองเครื่องกล และเครื่องจักรในงานโยธา งานสร้างสรรค์เชิงทดลองอื่นๆ        อย่างไรก็ดี แม้ศิลปะและวิทยาศาสตร์เป็นความชำนาญการ และเป็นความสนใจหลักของข้าพเจ้า ทั้งที่เป็นการแสดงในเวทีและในพิพิธภัณฑ์ แต่ประสบการณ์ที่น่าสนใจอื่นควรได้รับการบอกกล่าวเช่นกัน งานที่สร้างความสนใจอย่างมากต่อวงการคือ “อิฟิเชนีในกลุ่มดาวกระทิง” (Iphigenie en Tauride) ของกุลค์ (Gluck) ซึ่งข้าพเจ้ามีส่วนในการกำกับการสร้างฉากสมัยบารอค ในปี 1992 และกลับมาแสดงอีกครั้งในปี 1993 เป็นการแสดง ณ โรงอุปรากรของสวนโคเวนท์ (Covent Garden) ที่กรุงลอนดอน นับได้ว่าเป็นสถานที่ที่มีการตกแต่งและการประดับภาพเขียนที่ทำให้มุมต่างๆ มีความสวยงามแตกต่างกัน เทศกาลเอเธนส์นำการแสดงดังกล่าวกลับมาอีกครั้ง ณ โรงละครโอเดอง เดโรด์ อาทิคุส (theatre Odeon d’Herode Atticus) ซึ่งเป็นการแสดงบนเนินเขาในโรงละครโบราณ ที่เป็นทั้งโบราณสถานและพิพิธภัณฑ์ไปในตัว เรื่องราวที่สร้างความประหลาดใจอย่างมากคือ เรื่องเล่าที่เกี่ยวกับพระเจ้าทั่งที่ปรากฎในคัมภีร์และบันทึกงานดนตรี ผู้ชมได้ยลวิหารของเหล่าเทพนั้น ประวัติศาสตร์และเรื่องเล่าปรากฏต่อหน้า ความจริงและความเท็จผสมปนเป ศิลปะการแสดงที่เกิดขึ้นชั่วขณะทำหน้าที่ บันทึกความทรงจำของตัวตนไว้ในความทรงจำของสถาปัตยกรรม       การจัดแสดงชุด “อุปรากรว่าด้วยพัสตราภรณ์” (Opera cote Costume) ณ โรงละครอุปรากรแห่งชาติในกรุงปารีส ระหว่างวันที่ 5 เมษายน 1995 ถึง 5มกราคม 1996 รูปแบบการจัดแสดงมีความคลุมเครือเฉกเช่นการแสดงที่ เอโรด์ อาทิคุส โรงละครเปรียบเช่นพิพิธภัณฑ์ นอกจากนี้ ด้วยความร่วมมือจาก มาร์ติน กาฮาน (Martine Kahane) ข้าพเจ้ามีโอกาสจัดการแสดงที่ก้าวออกจากเวที ชุดแต่งกายกว่า 200 ชุดจัดแสดงในฐานะวัตถุพิพิธภัณฑ์ของโรงอุปรากร เครื่องแต่งกายที่เปรียบเช่นผลงานศิลปกรรมย่อมมีตัวตนอยู่ได้ และเปล่งพลังก็ด้วยการพินิจของผู้อื่น นิทรรศการเอื้อให้ความทรงจำฟื้นคืนจากความลบเลือน และปรากฏโฉมในพื้นที่อย่างสง่างามในพื้นที่สาธารณะ การแสดงในอาคารที่มีความงามที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ จึงส่งให้ภาพที่ปรากฏต่อสายตา เพื่อแสดง พินิจ และเพ้อฝัน       การแสดงในแนวทางเดียวกันเห็นได้จากนิทรรศการ แต่งองค์ทรงเครื่องเล่น แต่งองค์ทรงเครื่องฝัน (Costume a jouer, Costume a rever) ที่แสดง ณ วิลล่าเมดิซีส์ หรือ พิพิธภัณฑ์ แซงท์-มูร์ (la Villa de Medicis /musee de Saint-Maur) ระหว่างวันที่ 19 ธันวาคม 1998 - 14มีนาคม 1999 เป็นการจัดแสดงเสื้อผ้าในฉากและบรรยากาศเช่นเวทีละคร อุปรากร หรือระบำปลายเท้า เมื่อหันมาพิจารณาที่วัตถุแสดง ต้องยอมรับว่าชุดแสดงเป็นผลิตผลที่สร้างความตื่นตาตื่นใจ และสร้างความเป็นหนึ่ง ทำให้เราย้อนไปตั้งคำถามมากมาย ทำไมการแสดงเครื่องแต่งการจะต้องมีการสร้างฉาก ทำไมต้องประกอบการร่ายรำ ทำไมต้องมีการเดินแสดงแบบ ทำไมต้องสร้างความตรึงใจให้ปรากฏขึ้นด้วยแสงไปที่สาดส่อง       เพื่อให้งานแสดงชุดละครและโรงละคร/พิพิธภัณฑ์สอดประสานและกลมกลืน จนกระทั่งผู้ชมตกอยู่ในภวังค์ การวางแนวคิดจึงอยู่ที่การสร้างสรรค์ ของผู้ออกแบบในการวางกรอบ รูปแบบ และวิญญาณ สำหรับงานออกแบบที่เฉิดฉายเช่นงานการละคร รวมทั้งเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงอิทธิพลซึ่งกันและกันของโลก 2 ใบ จากนิทรรศการนี้ งานเครื่องแต่งกายและฉากละครหลอมรวมกัน ด้วยการสร้างฉากและการจัดแสดง       ข้าพเจ้าขอยกตัวอย่างสุดท้ายของงานสร้างสรรค์ ชัยชนะของศีลธรรม (Le Triomphe de la Vertu) ซึ่งจัดแสดงในเดือนมิถุนายน 1999 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ยุคกลาง (le musee national du Moyen Age) หรือที่มักเรียกกันว่า คลูนี่ (Cluny) โดยเป็นการสร้างสรรค์จากงานประพันธ์ดนตรีของ อาดรีอานน์ โคลส์ทร์ (Adrienne Clostre) และการสนับสนุนจากบริษัทโทรคมนาคม ฟรองซ์ เทเลคอม (France Telecom) กองทุนงานสร้างสรรค์กวีศิลป์ และความร่วมมือ จากสมาคมเพื่อการส่งเสริมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ยุคกลาง (ARMMA) เนื่องจากเนื้อหาการแสดงเชื่อมโยงกับเจ้าของบทประพันธ์ หรือศาสนิกชน โรท์สวิธา (la nonne Hrotsvitha) ผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงยุคกลาง และเป็นการฉลองร้อยปีครั้งที่ 10 ของประพันธกร นอกจากนี้ เนื้อหายังเกี่ยวข้องกับดุลซิติอุส (Dulcitius) เจ้าหน้าที่บ้านเมืองสมัยโรมัน ผู้มีชีวิตในศตวรรษที่ 3หลังจากการวายชนม์ของพระคริสต์ ด้วยเหตุนี้ ทั้งพิพิธภัณฑ์ สถาปัตยกรรมโรงอาบน้ำสมัยโรมัน และเรื่องราวที่บอกกล่าว ทำให้ชุดนาฏกรรมเป็นพิพิธภัณฑ์ และพิพิธภัณฑ์กลายเป็นชุดนาฏกรรม       จากความทรงจำ ข้าพเจ้าขอเอ่ยถึงการแสดงอีกชุดหนึ่ง สำรวจตรวจตรา (Inventaire) เป็นการแสดงที่ควบคู่ไปกับนิทรรศการว่าด้วยเรื่องของ ฌานีน ชาร์รา (Janine Charrat) ณ ศูนย์ศิลปะ จอร์จส์ ปอมปิดู (le centre Gorges Pompidou) หรือที่เรียกว่า โบบูร์ก (Beaubourg) และ ณ สถานที่แห่งนั้นเองที่ ฌานีน แสดงบทบาทของตัวเธอเอง พร้อมด้วย ฌอง บาบิเล (Jean Babilee) การแสดงเช่นนี้จึงผสานเรื่องราวของนาฏกรรมและชีวิตของเธอ… และยังเรื่อง ในเงามืดของช่วงปีที่เบิกบาน (A l’ombre des Annees en Fleur) ที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับปลายศตวรรษที่ผ่านมา ระหว่าง 1880 - 1900 การจัดแสดงเดินทางไปทั่วโลก จากโรงอุปรากรหลวงวาลโลนี (l’opera royal de Wallonie) สู่โบสถ์เก่าในพิพิธภัณฑ์สิ่งประดิษฐ์ (la chapelle du musee des Arts et Metiers)… และคงต้องไม่ลืมว่า ในระหว่างงานยังมี “happenings” และ “events” ที่เกิดขึ้นในหอศิลป์และห้องจัดแสดงนานาชาติ เรียกได้ว่าเป็นวาระที่ทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ในการจัดงานแสดง ในพื้นที่หลากหลายและตื่นใจเป็นยิ่งนักการเปิดประตูต้อนรับกลุ่มผู้ชมใหม่       คณะของเราจะครบรอบ 30 ปีของการก่อตั้ง และเตรียมพร้อมกับการฉลองดังกล่าวตั้งแต่การเริ่มต้นสหัสวรรษที่ 3 อย่างไรก็ดี ข้าพเจ้ารู้สึกว่ามีสิ่งที่จะต้องคิดต่ออีกมาก ในเรื่องของงานแสดงและงานพิพิธภัณฑ์ หากผู้อำนวยการหรือภัณฑารักษ์ยอมทำงานควบคู่และกล้าเสี่ยง พร้อมไปกับนักแสดง ศิลปินออกแบบฉาก และผู้กำกับ ในแต่ละโครงการ ข้าพเจ้าเชื่อว่า งานแสดงก็ปราศจากข้อจำกัด ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า มีผู้ให้การสนับสนุนไม่ว่าจะมาจากภาครัฐ หรือเอกชนที่เสริมให้การทดลองนี้เกิดขึ้นได้       ผู้ชมเป็นอีกสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เช่นกัน เพราะงานสร้างสรรค์ข้างต้นที่ยกเป็นตัวอย่างในบรรดาผลงานอื่นๆ อีกมากได้รับการต้อนรับ และทำหน้าที่ดึงดูดกลุ่มผู้ชมใหม่ๆ ในพิพิธภัณฑ์ งานแสดง ผู้รู้และการปฏิวัติ มีผู้ชมนับแสนคน และผู้ชมจำนวนใกล้เรือนล้านในงานนิทรรศการ อุปรากรว่าด้วยพัสตราภรณ์ และผู้ชมที่เพิ่มมากขึ้นร้อยละ 120จากงานชุด พิพิธภัณฑ์สิ่งประดิษฐ์ในงานแสดง และ ชัยชนะแห่งศีลธรรม จากที่กล่าวมานี้ เรื่องราวในงานแสดง ไม่ว่าจะเป็นงานสร้างสรรค์เพื่อการรำลึกถึงเหตุการณ์บางเหตุการณ์ หรือเป็นงานสร้างสรรค์ร่วมสมัย ในอีกทางหนึ่งคือ งานแสดง-การจัดแสดง หรือ การจัดแสดง-งานแสดง เหล่านี้ล้วนสะท้อนความเป็นจริงที่ว่างานสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้น เป็นการทำลายพรมแดนระหว่างระบำ ละคร อุปรากร ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ และงานพิพิธภัณฑ์ แปลและเรียบเรียงจากAlain Germain, “les mus?es en spectacle”, la lettre de l’OCIM No. 65, 1999, pp. 22 - 26.

พัฒนาการงานอนุรักษ์

30 มีนาคม 2558

การอนุรักษ์เริ่มต้นพัฒนาในศตวรรษที่ 19 โดยเป็นการให้ความสำคัญกับส่วนงานที่ในปัจจุบันเรียกว่า “การอนุรักษ์แบบซ่อมสงวน” (interventive conservation) การอนุรักษ์วัตถุเป็นการป้องกันสภาพความเสื่อมโทรม ด้วยการทำความสะอาด และการพยายามคงสภาพในปัจจุบันของวัตถุนั้น บ่อยครั้งที่ปฏิบัติการต่อวัตถุจำเป็นต้องสงวนวัตถุจากเงื่อนไขที่จะทำให้วัตถุเสื่อมลง เช่น การขึ้นสนิมบนวัสดุเหล็ก การตกผลึกเกลือ หรือการกัดกินของแมลง การอนุรักษ์แบบซ่อมสงวนขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าของวิชาการสาขาเคมี ทั้งในด้านการนิยามปัญหาและพัฒนาการแก้ปัญหา งานวิชาการที่เสมือนหลักหมายของการพัฒนาดังกล่าวได้แก่ งานเขียนของ Rathgen, Die Konservierung von Altertumsfunden (เขียนขึ้นในปี 1898 และแปลเป็นภาษาอังกฤษในปี 1905 โดย G. A. and H. A. Auden ในชื่อว่า Preservation of Antiquities : A Handook for Curators (การสงวนวัตถุโบราณ : คู่มือสำหรับภัณฑารักษ์) และงานเขียนของ Plenderleith และ Werner เรื่อง Conservation of Antiquities and Works of Art (ปี 1971 ในการพิมพ์ครั้งที่ 2) ในช่วงศตวรรษที่ 20 คือภายหลังจากงานตีพิมพ์ของ Garry Thompson เรื่อง The Museum Environment (สภาพแวดล้อมในพิพิธภัณฑสถาน) บทบาทของการสงวนรักษาวัตถุด้วยการควบคุมสภาพแวดล้อมและ การเน้นย้ำการดูแลรักษา กลายเป็นแนวทางในการทำงานอนุรักษ์ แนวทางการอนุรักษ์นี้เป็นที่สนใจอย่างสูงสุดในช่วงทศวรรษ 1990 และนิยามการทำงานดังกล่าวว่า “การอนุรักษ์แบบสงวนรักษา” (preventive conservation) สาขาวิชาพัฒนาไป พร้อมกับการจัดการด้านเทคนิคที่สามารถประยุกต์ใช้กับ งานสะสมพิพิธภัณฑ์ อาคาร และสภาพแวดล้อม รวมทั้งลักษณะความสัมพันธ์ระหว่าง บุคลากรและงานสะสมของพิพิธภัณฑ์ การอนุรักษ์แบบสงวนรักษาเกิดขึ้นจากบัญญัติเกี่ยวจรรยาบรรณสำหรับภัณฑารักษ์ที่พัฒนาขึ้น ในช่วงทศวรรษที่ 1980 และ 1990 (AIC 1994; UKIC 1996) งานวิชาการที่เป็นหลักสำคัญในช่วงเวลาดังกล่าวคือ สภาพแวดล้อมพิพิธภัณฑ์ (1978) แนวทางปฏิบัติ ทฤษฎี และการวิจัยเกี่ยวกับการอนุรักษ์แบบสงวนรักษา ซึ่งบรรณาธิการโดย A. Roy และ P. Smith เป็นเอกสารประกอบการประชุม IIC ที่เมืองออตตาวา และงานล่าสุดของ Suzanne Keene ใน การจัดการการอนุรักษ์ในพิพิธภัณฑ์ (ในปี 1996) กิจกรรมการอนุรักษ์เกือบทั้งหมดจัดแบ่งในลักษณะที่ไม่เป็นการอนุรักษ์แบบซ่อมสงวน ก็เป็นการอนุรักษ์แบบสงวนรักษา ในขณะเดียวกันงานการวิจัย การศึกษา และการอบรม กลับไม่มีการจัดแบ่งประเภท “ยุคข่าวสาร” ซึ่งเน้นการสื่อสาร ให้ความสำคัญกับความรู้และการถ่ายทอดความรู้ในทุกๆ กิจกรรมของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ การสร้างองค์ความรู้และการเผยแพร่กลายเป็นหัวใจที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับ การอนุรักษ์แบบซ่อมสงวนและสงวนรักษา สำหรับเป็นวิถีที่นำไปสู่อนาคตด้วยตัวมันเอง ข้าพเจ้าจึงเห็นว่า การสร้างองค์ความรู้และข้อมูล (งานวิจัย) การสื่อสารความรู้นั้นๆ (การศึกษา การอบรม และการเผยแพร่ข้อมูล) พร้อมไปกับความพยายามรักษาทรัพยากรเพื่อการอนุรักษ์ (การให้การสนับสนุน) เป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาการอนุรักษ์ในอนาคต และสิ่งนี้เองที่เรียกว่า “formative information” (การอนุรักษ์แบบงานข้อมูล)  นิยามและขอบเขต แนวทางการอนุรักษ์มีพื้นฐานหลักที่การพัฒนาและการสร้างสรรค์สำหรับอนาคตงานอนุรักษ์ การสร้างข้อมูล – หรืองานวิจัย – ดำเนินการในหลายระดับจากงานวิจัยพื้นฐานนำไปสู่การวิเคราะห์ และการทำงานที่ซับซ้อนของวัตถุบางประเภท เพื่อการอนุรักษ์วัตถุประเภทนั้นๆ (ประเภทของงานวิจัยดูได้ใน The Conservator – ภัณฑารักษ์) จากนั้นเป็นงานวิจัยในแง่วัสดุและเสื่อมถอย (ประเภทของงานวิจัยดูได้ใน Studies in Conservation – การศึกษาวิจัยในงานอนุรักษ์) และท้ายที่สุด งานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มรูปแบบที่มีนักวิจัยชำนาญเฉพาะ พร้อมด้วยงบประมาณและเครื่องมือเต็มรูปแบบ       การศึกษาเกี่ยวกับอนุรักษ์และการอบรมทุกรูปแบบ การอบรมสามารถดำเนินการได้ในระยะหลายปี ซึ่งนำไปสู่การสร้างคุณภาพในงานอนุรักษ์ หรือเป็นการอบรมในระยะสั้นที่ต่อเนื่อง และถือเป็นการพัฒนาการปฏิบัติการของภัณฑารักษ์งานวิชาการของ ICOM – CC Working Group on Training in Conservation and Restoration เป็นสิ่งที่แสดงการพัฒนา “งานอนุรักษ์แบบงานข้อมูล” ในการสร้างภัณฑารักษ์รุ่นต่อไปอย่างไรก็ดี ยังมีความคลุมเครือระหว่างการศึกษา ซึ่งหมายถึง “การได้มาซึ่งความรู้และความเข้าใจเป็นหลัก” และการอบรม อันหมายถึง “การพัฒนาความชำนาญการในการประยุกต์ความรู้และความเข้าใจเป็นหลัก” แม้ว่าทั้งสองกิจกรรมจะมีความทับซ้อนกันอยู่ แต่เราจะเห็นอย่างชัดเจนว่าวิชาเรียนมากมายในการอนุรักษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สอนในสถาบันการศึกษาชั้นสูง เน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ในทางกลับกัน การฝึกงานและวิชาปฏิบัติการอื่นๆ เน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอบรม การดำเนินงานทั้งสองประการเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาการตัดสินใจที่ดี (การให้น้ำหนักอย่างชาญฉลาดในการจัดการความรู้) ให้กับภัณฑารักษ์ การประชุมและงานวิชาการเสริมให้การพัฒนาวิชาชีพเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และสร้างหนทางในการเผยแพร่ผลการวิจัยและพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความคิดด้วยการดำเนินงานดังกล่าว จึงเป็นก่อร่างทิศทางงานอนุรักษ์ในอนาคต ตัวอย่างงานของ Michalski เกี่ยวกับค่า RH (relative humidity – ผู้ แปล) ที่ถูกต้องและผิดพลาด (Michalski 1993) เป็นจุดสำคัญในการทบทวนเกี่ยวกับการสร้างสภาพ ที่คงที่ของสภาพแวดล้อมในพิพิธภัณฑ์ ข้อมูลที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ สามารถเผยแพร่ผ่านแหล่งสื่อหลากหลาย ผลิตภัณฑ์ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ และอินเตอร์เนต เช่นเดียวกับหนังสือ จดหมายข่าว และสิ่งพิมพ์อื่นๆ การเข้าถึงและความถูกต้องของข้อมูลเป็นสิ่งที่ภัณฑารักษ์คำนึงถึงมากขึ้น อนาคตของงานอนุรักษ์จึงไม่ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ได้รับเพียงประการเดียว หากแต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพของข้อมูลเช่นกัน อนาคตของงานอนุรักษ์เชื่อมโยงอย่างมากกับทรัพยากรที่เอื้อต่องานอนุรักษ์ และการสนับสนุนจาก ผู้คนทั่วไปเพื่อกิจกรรมงานอนุรักษ์ อนึ่ง คำว่า “การสนับสนุน” สามารถใช้อธิบายกระบวนการ หลากหลายของความสนับสนุนและทรัพยากร ตั้งแต่อาศัยการพูดจากับกลุ่มคนเล็กๆ จนถึงการขอความช่วยเหลือด้านการเงินจากนักการเมือง เพื่อสร้างช่องทางประชาสัมพันธ์และการตอบข้อซักถามต่อสาธารณชนด้วยวิธีการเหล่านี้ เราจึงสามารถสร้างความสนใจให้กับคนทั่วไปในการตระหนักถึงความสำคัญและเป้าหมายของการอนุรักษ์ ด้วยการตระหนักถึงคุณค่าการสงวนรักษา จึงนำไปสู่การสร้างและปฏิบัติตามมาตรการในการอนุรักษ์แบบสงวนรักษา ที่แต่ละคนสามารถปฏิบัติต่อสิ่งที่ตน    ครอบครอง ทั้งที่เป็นของส่วนบุคคลและส่วนรวม เพื่อการคำนึงถึงมรดกทางวัฒนธรรมในฐานะเป็นสมบัติร่วม เพราะก่อนที่ปัจเจกบุคคลจะใฝ่หาการศึกษาหรือข้อมูลเกี่ยวกับการอนุรักษ์ พวกเขาต้องเห็นว่าสิ่งนั้นๆ มีความสำคัญ เราต้องเข้าไปถึงใจก่อนจะเข้าถึงความคิดของเขา การสนับสนุนจึงเป็นกระบวนการ “จับใจ” สร้างความต้องการอยากรู้อยากเห็น และนำผู้คนไปสู่ความปรารถนาในทางปฏิบัติ อนาคตของการอนุรักษ์มาจากกิจกรรมที่แตกต่างหลากหลายเช่นนี้ เมื่อระลึกถึงวัตถุประสงค์ร่วมในการสร้างอนาคตงานอนุรักษ์นำไปสู่ข้อสรุปนิยาม “การอนุรักษ์แบบข้อมูล” และคำอธิบายที่เกี่ยวเนื่อง ดังนี้ การอนุรักษ์แบบข้อมูล คือ ขบวนการสร้างความรู้และพัฒนาความสามารถในการประยุกต์ความรู้นั้นๆ ในการอนุรักษ์ชิ้นงานประวัติศาสตร์และศิลปกรรม ทั้งนี้ สามารถสรุปได้ดังนี้  ระยะห่าง หากจะกล่าวไปแล้ว ระดับของการปฏิบัติการอนุรักษ์มีลักษณะที่เพิ่มมากขึ้นตามลำดับคือ การอนุรักษ์ “แบบซ่อมสงวน” เป็นการดำเนินการต่อวัตถุชิ้นเดียว การอนุรักษ์ “สงวนรักษา” ปฏิบัติต่องานสะสมชิ้นต่างๆ ในขณะที่ การอนุรักษ์ “แบบงานข้อมูล” เป็นการสร้าง/พัฒนางานอนุรักษ์ในอนาคต เหตุที่งานอนุรักษ์ดำเนินไปในทิศทางดังกล่าว เนื่องมาจากการตระหนักถึงระยะห่างที่ทรงพลังระหว่างวัตถุและนักอนุรักษ์ ยิ่งการเผชิญหน้าต่อวัตถุมีระยะห่างเท่าใดยิ่งทำให้วัตถุได้รับการดูแลมากขึ้น ระยะห่างเช่นนี้ก่อให้เกิดการวิจัยหรือการศึกษาบางแง่มุม เรียกได้ว่าพลังการดำเนินการอนุรักษ์จะส่งผลต่อวัตถุในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น  ประโยชน์ที่ได้รับ       ขอบข่ายของงานอนุรักษ์ที่ดำเนินการไปพร้อมๆ กัน เช่น สิ่งพิมพ์เผยแพร่ การศึกษา การวิจัย และการสนับสนุนภายใต้คำเรียก “การอนุรักษ์แบบงานข้อมูล” นำไปสู่แง่มุมบางประการและทุกๆ ประการของงานอนุรักษ์ที่ได้รับการอธิบายภายใต้นิยาม “การซ่อมสงวน” “การสงวนรักษา” หรือ “งานข้อมูล” สาขาย่อยของงานอนุรักษ์นี้และโดยเฉพาะการสร้างนิยาม “การอนุรักษ์แบบงานข้อมูล” อาจจะปรากฏเป็นสิ่งที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง หรือเป็นเพียงแนวทางหนึ่งในจำนวนที่หลากหลายของ “การสร้างแบบสำเร็จและให้ชื่อ” สาขาวิชาของงานอนุรักษ์ ข้าพเจ้าจึงขอเสนอรูปแบบ “การอนุรักษ์แบบงานข้อมูล” ดังนี้       - อธิบายความเป็นจริงที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา - สร้างความตระหนักแก่ผู้ปฏิบัติการการวิจัย การศึกษา การอบรม และการสนับสนุนอื่น ๆ ในสิ่งที่พวก เขาดำเนินการ ว่าเป็นสิ่งที่สร้าง (ก่อร่าง) ความสามารถเพื่ออนุรักษ์และถ่ายทอด       - เน้นย้ำว่า ความรู้ที่สร้างขึ้นมาจากงานวิจัยมิได้มีวัตถุประสงค์เฉพาะ ประการเดียว หากแต่ว่าความรู้นั้น ๆ มีบทบาทที่มากกว่า ในฐานะ “การอนุรักษ์แบบงานข้อมูล” เรียกได้ว่า เป็นการพัฒนาศักยภาพของนักอนุรักษ์คนอื่นๆ เพื่อความเข้าใจและการอนุรักษ์วัตถุที่ดีมากขึ้น ความรู้โดยปราศจากการเผยแพร่เป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรม เช่นเดียวกับความมั่งคั่งและอำนาจที่ไม่ได้ใช้ไปในทางที่ถูกที่ควรของมุนษยชาติ       - เก็บบันทึกการยอมรับที่กว้างขวางในบทบาทการสนับสนุน และการตระหนักถึงบทบาท เพื่อปูทางสู่อนาคตของงานอนุรักษ์       - เอื้อให้กระบวนการของการศึกษาและอบรมที่มีความทับซ้อน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดำเนินการควบคู่กัน สามารถดำเนินเคียงคู่กันไปภายใต้นิยามที่มีวัตถุประสงค์และแง่มุมร่วมกันของ “การอนุรักษ์แบบงานข้อมูล” การสร้างกรอบของกระบวนการและ การดำเนินงานมากมายภายใต้นิยาม “การอนุรักษ์แบบสงวนรักษา” ทำให้ผู้คนทั่วไปเห็นความสำคัญและลักษณะ ที่แตกต่างของกิจกรรมเหล่านั้น เมื่อคนเห็นความสำคัญของกิจกรรมดังกล่าว ย่อมนำมาซึ่งเงินทุนสนับสนุน และกิจกรรมที่เป็นที่สนใจมากขึ้น งานวิชาการที่เกี่ยวข้องเผยแพร่อย่างแพร่หลาย สิ่งนี้ย่อมเป็นหนทางให้วิชาชีพกว้างออกไปอย่างมีนัยสำคัญ การจัดอบรมเฉพาะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้นักอนุรักษ์มากมายสนใจในแขนงงานอนุรักษ์ดังกล่าว จากที่แต่เดิมที่เห็นว่าการอนุรักษ์แบบสงวนรักษาเป็นสิ่งที่ “โง่เง้าและซ้ำซาก” การตระหนักในความสำคัญของแขนงวิชาเช่นนี้ นำไปสู่การสร้างมาตรฐานบางประการ ในสหราชอาณาจักร ปรากฏการจัดตั้งแนวมาตรฐานที่เป็นรูปธรรม โดยงานพิมพ์เผยแพร่ของคณะกรรมการ พิพิธภัณฑสถานและหอศิลป์เรื่อง “มาตรฐานในการดูแลงานสะสม” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานทะเบียนในพิพิธภัณฑ์ ในอนาคตการให้ความสำคัญกับกระบวนการ ด้วยการเสนอใช้นิยาม “การอนุรักษ์แบบงานข้อมูล” มีลักษณะที่เพิ่มสูงขึ้นต่อไป และจะเป็นการนำทางไปสู่อนาคตของงานอนุรักษ์  บทสรุป การเสนอบทความโดยสังเขปนี้ เป็นการเสนอแนวคิดเกี่ยวกับคำนิยาม “การอนุรักษ์แบบงานข้อมูล” เพื่ออธิบายกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์พื้นฐานในการพัฒนางานอนุรักษ์ในอนาคต จุดประสงค์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการสร้างข้อมูลและการเผยแพร่ผ่านทางการศึกษา การอบรม และฐานข้อมูลของนักอนุรักษ์ ท้ายที่สุด นำไปสู่การประยุกต์ใช้ข้อมูลเหล่านั้น เอกสาร/หนังสืออ้างอิงAIC (American Institute for Conservation). 1994. Code of ethics and guides for practice. AIC News, May 1994: 17 – 20.Keene S. 1996. Managing conservation in museums, London: Butterworth Heinemann.Michalski S. 1993. Relative humidity: A discussion of correct/incorrect values. In: ICOM-CC 10th Triennial Meeting, Washington, DC, USA. Paris: International Council of Museums: 624 – 629.Plenderleith H and Werner AEA. 1971. Conservation of antiquities and works of art. Oxford: Oxford University Press.Rathgen F. 1898. Die Konservierung von Altertumsfunden. Berlin: W. Spemann.หมายเหตุผู้แปลขอขอบคุณ Lawrence Chin ที่แนะนำบทความให้อ่านเพิ่มเติม หลังจากการร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์Chris Caple ผู้เขียนบทความเป็นอาจารย์ ณ Department of Archaeology, University of Durham, South Road, Durham DH1 3LE, UKภาพประกอบบทความมาจากสิ่งพิมพ์ประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการมรดกแห่งชาติ –ประเทศสิงคโปร์ โปรแกรมการศึกษาประจำปี 2003 “บรรจงสร้างมรดกเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทุกผู้คน” แปลและเรียบเรียงจากChris Caple, “Formative Conservation”, In book 12th triennial meeting, Lyon, 29 August - 3 September 1999: preprint (ICOM Committee for Conservation). James & James (Science Publishers) Ltd., Bridgland, Janet (Editor) (1999), pp. 135 - 138.

โศกนาฏกรรมกับความทรงจำที่บันทึกในพิพิธภัณฑสถาน - กรณี 11 กันยายน

30 มีนาคม 2558

Yahrzeit: September 11 ObservedMuseum of Jewish Heritage – A Living Memorial to the Holocaust, New York.August 29, 2002 – January 5, 2003A Shared Experience: 04.19.95 – 09.11.01National Memorial Center Museum, Oklahoma City.April 19,2002 – September 1, 2003A Day of Reflection and RemembranceUnited States Holocaust Memorial Museum, Washington, D.C.September 11, 2002           ในวันที่ 11 กันยายน 2002 รายการโทรทัศน์ “ช่องประวัติศาสตร์” (History Channel) ออกอากาศสารคดีเรื่อง “สิ่งหลงเหลือจากซาก-ธุลี” (Relics from the rubble) ซึ่งเป็นครั้งแรกในการนำเรื่องราวกราวด์ ซีโร (Ground Zero – กรณีการก่อการร้ายในวันที่ 11 กันยายน 2001 - ผู้แปล) เข้าไปบอกเล่าในบริบทพิพิธภัณฑ์ ภาพยนตร์สารคดีลำดับการทำงานของเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ในการสำรวจรถพยาบาลที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุ และเศษซากเครื่องเรือนที่มาจากการโจมตีตึกเวิร์ลเทรด เซ็นเตอร์ จากที่ภัณฑารักษ์และผู้จัดการงานสะสมบันทึกรายละเอียดต่างๆ พวกเขาพูดคุยกันว่า วัตถุเหล่านี้เหมาะสมกับการจัดนิทรรศการว่าด้วยเรื่องของอดีตในอนาคต สารคดี “สิ่งหลงเหลือจากซาก-ธุลี” ที่ใช้การบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับหน้าที่พลเมืองในความตื่นตระหนกต่อวิกฤตระดับชาติ ได้เปล่งเสียงแห่งความรำลึกถึงหนึ่งในเสียงที่เซ็งแซ่อยู่ทั่วสหรัฐอเมริกาตั้งแต่มีการโจมตีจากเครื่องบินพาณิชย์ที่ตึกเวิร์ลเทรดเซ็นเตอร์ นั่นคือ พิพิธภัณฑ์ร่วมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมด้วยการเก็บและจัดแสดงซากเหล่านั้น          ในความเรียงฉบับนี้ ข้าพเจ้าจะพิจารณาพื้นที่ของกิจกรรมการไว้อาลัยที่สนับสนุนโดยพิพิธภัณฑ์ตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2001 ข้าพเจ้ามิเพียงพิจารณาพิพิธภัณฑ์อย่างง่ายๆ ในฐานะที่เป็นสถานเก็บกักวัตถุแห่ง ความทรงจำ หากแต่เป็นกระบวนการทางวัฒนธรรม ที่ทำให้ข้อเท็จจริงทางสังคมเนื่องด้วยเหตุการณ์ 11 กันยายน สร้างความหมายสำคัญยิ่งขึ้น ดังที่ เจมส์ ยัง (James Young) ได้กล่าวไปแล้วว่า “การระลึกถึงอาจจะเป็นการกำหนดวันสำคัญการจัดประชุมหรือการจัดสรรพื้นที่ แต่ไม่จำเป็นต้องสร้างอนุสาวรีย์” ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงพิจารณากิจกรรมการรำลึกถึง 3 เหตุการณ์ ซึ่งจัดขึ้นในพิพิธภัณฑสถานในช่วงปีที่ผ่านมาตั้งแต่มีการโจมตี อันได้แก่ นิทรรศการร่วม รำลึก 2 แห่ง และพิธีกรรมความทรงจำ แต่ละที่แต่ละเหตุการณ์เชื่อมโยงกับการครบรอบ 1 ปีการโจมตีที่เกิดขึ้นในนิวยอร์ก เพนซิลเวเนีย และเวอร์จิเนีย กรณีศึกษาเหล่านี้นำไปสู่ประเด็นทางทฤษฎีและภาพกว้างในแง่ข้อมูลทั่วไป          เมื่อย้อนกลับไปมองหลักทฤษฎีภาษาของเอดเวิร์ด ซาเพีย (Edward Sapir) ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า การนำเสนอ ประเด็นเหตุการณ์ 11 กันยายนในพิพิธภัณฑ์แสดง “การบิดพลิ้วของการใช้” (tyranny of usage) (Sapir 1921: 98) การรำลึกถึงโศกนาฏกรรม เพราะเนื้อหาแสดงผ่านโครงสร้างและหลักการจากเหตุการณ์ความทรงจำ/การรำลึกถึงที่มีมาก่อนหน้านั้น (Halbwachs 1980; Zelier 1998) การวิพากษ์ต่อรูปแบบ (form) และเนื้อหา (content) ในนิทรรศการของพิพิธภัณฑสถานว่ามีความแตกต่าง อย่างไร และความเชื่อมโยงของการรำลึกอดีตกับแนวคิดของพิพิธภัณฑ์เป็นไปในลักษณะใด นักมานุษยวิทยาต้องวิจารณ์ตรรกะเศรษฐกิจของวัฒนธรรมอุตสาหกรรมในภาพกว้าง เพื่อปูทางการอภิปรายต่อภาพที่นำเสนอ          คลื่นแรกของการรำลึกถึงเหตุการณ์ 11 กันยายนในบริบทพิพิธภัณฑสถานมีรูปโฉมจากการหล่อมรวมระหว่างตรรกะ พิธีกรรม และหน้าที่ในการระลึกถึงที่มีอยู่ เข้ากับเศษส่วนเหตุการณ์โศกนาฏกรรมจำนวนมากมายจากความหายนะในครั้งใหม่ กิจกรรมเฉพาะกาลในพิพิธภัณฑ์ที่ข้าพเจ้าใช้พิจารณาเชื่อมต่อเหตุการณ์ 11 กันยายน เพื่อสร้างความหลากหลายที่อยู่บนชุดความคิดการรำลึกถึง หรือจะให้พูดอีกที กราวด์ ซีโร่ สร้างความหมายผ่านเหตุการณ์ ที่เป็นการฆ่าหมู่และการวางระเบิดที่โอกลาโฮมา ซิตี้ (Oklahoma City) ความหมายของเหตุการณ์ 11 กันยายน จึงไม่ใช่เพียงเหตุการณ์ที่ตรึงติดกับสถานที่ที่เกิดเหตุ หากแต่พัฒนาผ่านแนวคิดซึ่งมีโครงสร้างจากกิจกรรมที่ทำมาก่อนหน้าในแต่ละพิพิธภัณฑ์YAHRZEIT ณ พิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมยิว (the Museum of Jewish Heritage)           นิทรรศการ “Yahrzeit: September 11 Observed” หรือ “ครบรอบวันตาย: พินิจ 11กันยายน” เปิดฉากด้วยภาพถ่าย  2 ภาพ ภาพหนึ่งเป็นภาพขาวดำที่แสดงให้เห็นส่วนยอดของอาคารแฝด เวิร์ล เทรด เซ็นเตอร์ ปรากฏอยู่บนพื้นหลังของภาพรูปทรงลักษณะเดียวกับหลังคาพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมยิว และอีกภาพหนึ่ง ภาพเล็กแสดงเหตุการณ์การไว้อาลัยของผู้คนที่จุดเทียนในท้องถนน เพื่อรำลึกถึงเหยื่อของเหตุการณ์ 11กันยายน (ภาพที่ 1)ภาพที่ 1  ภาพโดย Jake Price          จริง ๆ แล้ว Yahrzeit คำภาษายิวหมายถึง “ช่วงปี” Yahrzeit เป็นคำสามัญที่ใช้ในกลุ่มยิวอาชกินาซี (Ashkenazi Jews) เพื่อบ่งถึงวาระครบรอบ 12 เดือนของการจากไป ตามประเพณีจะมีการสวดและการจุดเทียนซึ่งเรียกว่า “Yahrzeit Candle” (Heilman 2001:183) นอกเหนือจากการไว้อาลัย ประเด็นที่โดดเด่นของนิทรรศการ Yahrzeit คือ สถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมยิวที่ใกล้กับอาคารเวิร์ลเทรดเซ็นเตอร์ ภาพถ่าย ข้อความ และสิ่งจัดแสดงในนิทรรศการล้วนบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับอาคารและเจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ เนื้อหาสะท้อนให้เห็นภาพโดยรวมของประสบการณ์ที่ชาวพิพิธภัณฑ์ประสบทั้งการสูญเสีย การให้ความช่วยเหลือ และการฟื้นสภาพภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน           ด้วยการออกแบบของ เอมี่ ฟอร์แมน (Amy Forman) ซึ่งใช้ผนังดำเป็นพื้นของข้อความที่ปรากฏในนิทรรศการ และจัดแสดงคู่ไปกับภาพถ่ายและวัตถุจัดแสดงนิทรรศการ Yahrzeit ร่ำรายกลิ่นอายของห้องจัดแสดงเช่นเดียวกับ เทียนที่ส่องสว่าง เนื้อหาเล่าถ้อยความตามเหตุการณ์ลำดับเวลา นิทรรศการจึงเป็นดั่งการผจญภัยของเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์อย่างที่พวกเขาได้เห็นควันไฟและเศษวัตถุที่มาจากตึกแฝด ได้จ้องมองโศกนาฏกรรมที่มิอาจยับยั้งได้          ภาพร่างชาวนิวยอร์กที่ฉาบเคลือบด้วยเถ้าผง เรื่องราวจึงกลายเป็นจุดเชื่อมในนิทรรศการระหว่างพิพิธภัณฑ์กับความเจ็บปวดของนครแห่งนี้ ตัวอย่างฉากแสดง อีกชุดหนึ่ง เป็นการแสดงหน้ากากอนามัยของแพทย์ที่ผู้ช่วยของผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์คนหนึ่งใช้ในระหว่างให้ความช่วยเหลืออยู่ในฝุ่นผงและเศษซาก อีกฉากหนึ่งแสดงประสบการณ์เฉพาะบุคคล ของเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ในระหว่างเหตุการณ์ 11 กันยายน ภาพถ่ายหนึ่งบอกเล่าถึงคนครัวชาวอิสราเอล ผู้เดินทางมานิวยอร์กเพื่อปรุงอาหารให้คณะทำงานช่วยเหลือ และหมวกหน่วยกู้ภัยจัดแสดง ณ กลางตู้ พร้อมทั้งรายละเอียดส่วนบุคคลที่กล่าวถึงเรื่องราวของเจ้าหน้าที่กู้ภัยชาวยิวที่ตายระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ (ภาพที่ 2)ภาพที่ 2 นิทรรศการ Yahrzeit สมุดบันทึกและหมวกหน่วยกู้ภัยให้ยืมจาก Michael Weiss and Alissa Weiss บุตรและธิดาของนักผจญเพลิง David Weiss หนึ่งในบรรดานักผจญเพลิง 343 คน และ เสียชีวิตในวันที่ 11 กันยายน 2001 (ภาพโดย Jake Price)หากพิจารณาแนวคิดการวางแบบนิทรรศการ Yahrzeit นักมานุษยวิทยาหลายท่าน และภัณฑารักษ์รับเชิญ จิล เวกซ์เลอร์ (Jill Vexler) ได้บันทึกไว้ว่า          นิทรรศการไม่ใช่เพียงการนับย้อนเรื่องราวในฐานะประวัติศาสตร์สังคม ด้วยการจัดแสดงวัตถุต่างๆไม่ใช่เช่นนั้น… นิทรรศการ Yahrzeit กอปรด้วยแนวคิดรวบยอดและปรัชญา นอกจากนี้ ในบริบทของประวัติศาสตร์วัฒนธรรมยิว สิ่งที่บอกเล่าสัมพันธ์กับพื้นฐานของชีวิต การสูญเสีย การพินิจซ้ำ การตอบโต้ การกระทำ และการสร้างใหม่ (หรือตามรูปศัพท์ที่พิพิธภัณฑ์เรียกว่า “การฟื้นคืนชีวิต”) [2002:4-5]                  ฉะนั้น ตรรกะของความทรงจำจึงปรากฏในบริบทของการสอดประสานกับกุศโลบายของนิทรรศการถาวรในพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมยิว และเข้าไปเกี่ยวข้องกับการทำลายยิวในยุโรป แล้วนำมาสู่ความสนใจวัฒนธรรมยิวในสหรัฐอเมริกา สิ่งที่สะท้อนในนิทรรศการ Yahrzeit จึงวางแนวคิดเหตุการณ์ 11กันยายน ในฐานะที่มีเนื้อหาใกล้กับวาทกรรมการระลึกถึงของพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมยิวในสามระดับ ได้แก่ สิ่งปรากฏ ต่อสายตา ประสบการณ์ และ วิญญาณ                 แนวคิดการรำลึกถึงในนิทรรศการนำเสนอบางสิ่งที่พ้องกับทัศน์ส่วนน้อยหรือทัศน์ทางเลือกของโศกนาฏกรรม แต่มิได้หมายความว่านิทรรศการสร้างเหตุการณ์ 11 กันยายน “แบบยิว“ และไม่ใช่การนำไปเปรียบเทียบกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ซึ่งเป็นเนื้อหาหลักของพิพิธภัณฑ์ นิทรรศการไม่ได้นำเสนอเหตุการณ์ 11 กันยายน ภายใต้มุมมองของ ทอม สตอปปาร์ด (Tom Stoppard) ) ของเฮมเลตในเรื่อง Rosencrantz and Guidenstern Are Dead? เรื่องราวที่คุ้นเคยจากมุมมองของคนเล็กๆ นิทรรศการ “ประสบการณ์ร่วม” ณ อนุสรณ์สถานแห่งชาติโอกลาโฮมา (the Oklahoma National Memorial Center)          เช่นเดียวกับนิทรรศการ Yahrzeit นิทรรศการเคลื่อนที่เรื่อง “ประสบการณ์ร่วม จาก 04.19.95 ถึง 09.11.01” (A Shared Experience: 04.19.95 – 09.11.01) ใช้แนวคิดของความใกล้ชิดกับเหตุการณ์ 11 กันยายน แม้จะมีวิธีในการถ่ายทอดเนื้อหาแตกต่างออกไป นิทรรศการมุมมองร่วม (A Shared Perspective) เปิดในวาระครบ 7 ปีของการพังทลายของตึก อัลเฟรด พี. มูรราห์ (Alfred M. Murrah Building)  ในโอกลาโฮมา ซิตี้ นิทรรศการเริ่มต้นด้วยเงื่อนไขสภาพพื้นฐานที่เหมือนกันของวันแห่งความวินาศทั้ง 2 วัน แม้ว่าเหตุการณ์ทั้งสองมีความแตกต่างในเรื่องของเวลา ที่ตั้ง และเหตุผลทางการเมือง นิทรรศการนำไปสู่สิ่งที่เหมือนกัน ในการจัดแสดงระหว่างภาพและสิ่งของจากเหตุการณ์ เพื่อสร้างประสบการณ์ร่วมของโศกนาฏกรรมทั้ง 2 เหตุการณ์ และเป้าหมายในการรำลึกถึงที่มีอยู่ร่วมกัน แนวคิดหลักโดยกว้างที่มีจุดร่วมปรากฏใน 5 ลักษณะ  คือ การก่อการร้ายเช่นเดียวกัน ความกล้าหาญที่เหมือนกัน การตอบสนองในทิศทางเดียวกัน ประสบการณ์และบทเรียนร่วมกัน จากที่กล่าวมา นิทรรศการพยายามนิยามเหตุการณ์ 11 กันยายน ด้วยการใช้ภาษาและสัญลักษณ์ร่วมของความเจ็บปวดที่คนอเมริกันมีร่วมกัน ซึ่งเกิดจากการโจมตี บนแผ่นดินใหญ่ เฉกเช่นเรื่องราวของวีรบุรุษในการกู้ภัย และการฟื้นฟูภายหลังการโจมตี วัตถุเป็นกุญแจสำคัญในการค้นพบบทเรียนทางศีลธรรมและจิตวิญญาณในการฟื้นฟูชีวิตและจิตใจของประชาชนอเมริกัน          ด้วยจุดสำคัญของลักษณะร่วมระหว่างอาคารมูรราห์ (The Murrah Building) และตึกแฝด (the Twin Towers) นิทรรศการ “ประสบการณ์ร่วม” ดึงเหตุการณ์ 11 กันยายนสู่การฟื้นคืน เมื่ออาคารพังถล่มลงจากระเบิด ชุมชนหลายชุมชนรวมตัวขึ้น ดังนั้น การออกแบบนิทรรศการ “ประสบการณ์ร่วม” เน้นการเปลี่ยนผ่านที่ชัดเจนจากการพังทลายของ สถาปัตยกรรมไปสู่การฟื้นคืนของชุมชน ดังเช่นฉากเปิดของนิทรรศการแสดงภาพถ่ายจากสถานที่เกิดเหตุ 4 แห่ง และการกู้ภัยจากหน่วยงานต่างๆ ฉากและสิ่งจัดแสดงแสดงภาพซ้ำๆ ของกองซากใกล้กับภาพของนักดับเพลิงกู้ภัยจากที่เกิดเหตุในโอกลาโฮมา และนิวยอร์ก ซิตี้ จุดแสดงนี้ ปรากฏหมวกของหน่วยกู้ภัย อันเป็นสัญลักษณ์ของเจ้าหน้าที่กู้ภัยในลักษณะที่ใส่ระหว่างปฏิบัติงานจริง (ภาพที่ 3)ภาพที่ 3 นิทรรศการ “ประสบการณ์ร่วม : 04.19.95 - 09.11.01” ฉากเปิดของนิทรรศการและส่วนการจัดแสดงกลางห้องนิทรรศการที่จัดแสดงหมวกกู้ภัยจากเมืองต่างๆ และลงนามผู้ที่เข้าปฏิบัติหน้าที่ในเหตุการณ์ (G. Jill Evans)           จากนั้นมีฉากแสดงที่น่าหดหู่คือ พาหนะของหน่วยกู้ภัยที่บุบพัง ภาพถ่ายทางอากาศของพื้นที่ที่ถูกทำลายอยู่หน้าฉากผืนธงอเมริกันขนาดใหญ่ การไว้อาลัยขนาดใหญ่ ด้านหนึ่งเป็นฉากรับวีดิทัศน์กล่าวถึงการไว้อาลัยในโอกลาโฮมา ซิตี้ และนิวยอร์ก          ซึ่งจูงให้ผู้ชมเห็นความคล้ายคลึงของการแสดงออกหวน ให้ต่อเหตุการณ์ทั้งสองแห่งสื่อเพื่อการศึกษา “หนังสือพิมพ์เล็ก” แจกให้กับเยาวชนที่เข้ามาชมได้ตั้งคำถามต่อพวกเขา “อะไรคือความคล้ายคลึงที่เราพบเห็นได้อนุสรณ์ทั้งสองแห่งนี้… สิ่งเหล่านี้สัมพันธ์กับชีวิตเราอย่างไร” โศกนาฏกรรมนำไปสู่การกู้ภัยที่ไปสู่ร่วมบางประการ          ถ้าหากพูดอีกนัยหนึ่ง ข้าวของที่มาจากเหตุการณ์ 11 กันยายนมิได้มีความหมายเฉพาะในนิทรรศการ “ประสบการณ์ร่วม” ที่เชื่อมโยงกับสถานที่เกิดเหตุเท่านั้น แต่ความคล้ายคลึงยังเป็นคุณค่าเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ในโอกลาโอมา เหตุการณ์ 11  กันยายน มีความหมายในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของวาทกรรมการสร้างชุมชนร่วมชาติ ซึ่งไม่ได้ย้ำเน้นเฉพาะความเจ็บปวด แต่ยังย้ำกระบวรการสร้างอารมณ์ร่วมของความเจ็บปวดร่วม          เอดเวิร์ด ลิเนนธอล (Edward Linenthal) อธิบาย “กระบวนการตีคลุม” ในคำบรรยายของเขาเกี่ยวกับโอกลาโฮมา ซิตี้ (2001) การปลดปล่อยจากความเจ็บปวดของบุคคล ด้วยการสร้างอารมณ์ร่วมระหว่างเหยื่อและผู้รอดชีวิต ภายใต้ความสัมพันธ์กับสถาบันอนุสรณ์สถานและพิธีการ สาธารณะ ดังนั้น การสร้างนิทรรศการ “ประสบการณ์ร่วม” เกี่ยวกับสถานที่เกิดเหตุการณ์ 11 กันยายนทั้ง  3 แห่ง ที่เคลื่อนที่ไปตามสถานที่ต่าง ๆ พิพิธภัณฑ์นำสารัตถะ ของ ศูนย์อนุสรณ์สถาน โอกลาโฮมา และการระเบิดในโอกลาโฮมา ซิตี้ไปสู่โศกนาฏกรรมระดับชาติ จุดเชื่อมที่ร่วมกันด้วยการ นำเสนอเอกสารเหตุการณ์ 11 กันยายน กับ “4/19” (หรือ เป็นวันที่เกิดระเบิดในโอกลาโอมา วันที่ 19 เมษายน 1995) ที่เชื่อมต่อกันหนึ่งวันแห่งการทบทวนและหวนให้ (A Day of Reflection and remembrance) ณ พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ สหรัฐอเมริกา (The United States Holocaust Memorial Museum)          เริ่มต้นจากแนวคิดที่ใช้นิทรรศการเป็นการนำเสนอเหตุการณ์ 11 กันยายน พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สหรัฐอเมริกาลงเอย ด้วยการจัดทำรายนามเหยื่อจากเหตุการณ์ 11กันยายน  จำนวน  3,000 รายนาม และผู้ที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และสมาชิกของพิพิธภัณฑ์ได้อ่านด้วยการยืน หลังแท่น ประกาศไม้ใน “กำแพงแห่งพยาน” ของพิพิธภัณฑ์ ผู้คนจะเวียนมาเอ่ยนาม อายุ เมือง และสถานที่ของเหยื่อแต่ละคนอย่างเงียบเฉียบและต่อเนื่อง (ภาพที่ 4)ภาพที่ 4 พิธีกรรม “หนึ่งวันแห่งการทบทวนและหวนให้” ภาพแสดงพิธีเอ่ยนามผู้เสียชีวิตโดยผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และอาสาสมัคร Charlene Schiff (ภาพโดย Andy Hollinger)          หลังจากที่อ่านซักระยะหนึ่ง คนอ่านถัดไปจะเวียนกันขึ้นมาที่แท่นประกาศไม้และอ่านต่อไป กิจกรรมดำเนินไปตลอด 4 ชั่วโมงและดึงดูดผู้ชมที่หลากหลาย ผู้คนที่ยืนห่างจากแท่นประกาศในระยะไกลใกล้ต่างกัน หรืออยู่บนม้านั่งใน บริเวณใกล้เคียง          กิจกรรม “หนึ่งวันแห่งการทบทวนและหวนให้” ย้อนรำลึกถึงเหตุการณ์ 11 กันยายน ด้วยการใช้รูปแบบพิธีกรรม ของความทรงจำ ซึ่งรูปแบบดังกล่าวแพร่หลายอย่างมากในธรรมเนียมการรำลึกถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 พิธีกรรม “หนึ่งวันแห่งการทบทวนและการหวนให้” ต่างไปจากรูปแบบพิธีการอ่านรายนามเหยื่อจากเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทั่วไป เพราะการลำดับนามไม่ได้เป็นไปตามโครงสร้างแต่เป็นเนื้อหา นั่นคือ จากเหตุการณ์ 11 กันยายน ชื่อของเหยื่อจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ถูกแทนที่ด้วยเหยื่อจากนิยอร์ก เวอร์จิเนีย และเพนซิลเวเนีย หากปราศจากความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการไว้อาลัยเหตุการณ์ 11 กันยายนแล้ว คงเป็นการยากที่จะแยกวาระเฉพาะนี้จากพิธีการไว้อาลัยการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์           นวตกรรมสำคัญใน “หนึ่งวันแห่งการทบทวนและหวนให้” เป็นการตัดสินใจของพิพิธภัณฑ์ด้วยการเลือก ผู้รอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และไม่ใช่ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ 11 กันยายน กรอบความทรงจำของเหยื่อ 11 กันยายนสร้างผ่านแนวคิดหลัก 2 ประการคือ “ผู้รอดชีวิต” และ “ความทรงจำ” ที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างเหยื่อเหตุการณ์ 11 กันยายน ผู้ไม่สามารถบอกเล่าเรื่องราวของตนเองได้อีกต่อไป ส่วนผู้รอดชีวิตการการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ผู้ได้รับบทเรียนศีลธรรมที่มากกว่าเกี่ยวกับเหยื่อสภาพจากสถาบันต่างๆ เช่น พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สหรัฐอเมริกา         เลขาธิการสภาบริหารพิพิธภัณฑ์ เฟรด ไซด์แมน (Fred Zeidman) ให้ความเห็นต่อความสัมพันธ์ที่เคลื่อนไหวระหว่างเหยื่อและผู้เหลือรอดที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์          “ความยอกย้อนในการพินิจมองผู้รอดชีวิตจากโศกนาฏกรรมยิ่งใหญ่ของศตวรรษนี้ ด้วยการเอ่ยรายนามของพวกเขาเหล่านั้น ผู้ที่มิอาจรอดพ้นจากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้… ของศตวรรษที่กำลังมาถึง… ทำให้ข้าพเจ้าย้อนนึกถึงสิ่งที่พวกเราทำที่พิพิธภัณฑสถานแห่งนี้ เหตุใดพวกเราจึงรวมตัว ณ ที่นี้ และสิ่งใดเป็นภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของพวกเรา พวกเราทั้งหมดคือผู้ที่เหลือรอด และภารกิจหนึ่งที่พวกเราต้องปฏิบัติประจำ คือต้องพึงระลึกว่าสิ่งชั่วร้ายใดที่สามารถเกิดกับเราได้บ้างในทุกเมื่อเชื่อวัน [พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ 2002]”          ในกระบวนพิธี ผู้ที่รอดจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เป็นสิ่งที่สร้างความเข้าอกเข้าใจและความเป็นจริงต่อเหตุการณ์ 11 กันยายน นั่นคือการอาศัยเงื่อนไขสภาพ (habitus) ของการระลึกถึงเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ นอกจากนี้ การกล่าวถึงเหยื่อจากโศกนาฏกรรมที่เพิ่งเกิดขึ้น ทำให้เหตุการณ์ 11 กันยายนและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จัดอยู่ในโศกนาฏกรรมโลกประเภทเดียวกัน แม้จะเป็นสัญลักษณ์ต่างศตวรรษกัน          ขบวนการการสร้างความชอบธรรมของการระลึกถึงที่เกิดในพิธี “หนึ่งวันแห่งการทบทวนและหวนให้” ด้วยการเปล่งถ้อยนามของเหยื่อเหตุการณ์ 11 กันยายน ผู้รอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ผลักให้เหตุการณ์ 11 กันยายนเข้าอยู่ในกระบวนการจัดแบ่งประเภทการทำลายล้างชาวยิวในยุโรป ว่าเป็นโศกนาฏกรรมหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ผู้รอดชีวิตรายหนึ่งที่ร่วมในพิธี “วันแห่งการหวนให้” กล่าวว่า “ข้าพเจ้ามีความภูมิใจที่เป็นพลเมืองอเมริกา” พวกเราสามารถ มั่นใจได้ว่า ในอนาคตจะไม่มีการข่มเหงทรมานใดเกิดขึ้นในโลกและในประเทศที่สวยงามของเรา ขอพระเจ้าอำนวยพรให้อเมริกา” (พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ สหรัฐอเมริกา 2002) ความเป็นไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ 11 กันยายน ในงานวัฒนธรรม          ในเวลา 2 ปีจากเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน 2001 สภาพประสบการณ์เปลี่ยนจากสถานะแห่งความหายนะสู่สื่อโทรทัศน์ และส่งผลต่อเหตุการณ์การรำลึกถึงที่จัดในพิพิธภัณฑสถาน ปัจจุบันทิศทางในอนาคตของกิจกรรมการรำลึกถึงเหตุการณ์ 11 กันยายนในพิพิธภัณฑสถานเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน พิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมยิวไม่มีแผนงานสร้างนิทรรศการเช่น Yahrzeit แม้ว่าพิพิธภัณฑ์มองการจัดแสดงป้ายสลักพร้อมจุดเทียนเป็นกิจกรรมการรำลึกในแต่ละปี เมื่อพิจารณากรณีนิทรรศการเคลื่อนที่ “ประสบการณ์ร่วม” พิพิธภัณฑ์ไม่มีแนวโน้มที่จะจัดแสดงในศูนย์อนุสรณ์สถาน โอกลาโฮมา ซิตี้ อีกครั้ง นอกจากว่าพิพิธภัณฑ์ใดสนใจสามารถยืมนิทรรศการดังกล่าวไปจัดแสดง เช่นเดียวกับการ จัดกิจกรรม “หนึ่งวันแห่งการทบทวนและหวนให้” ก็ไม่ได้มีแผนอย่างเป็นทางการที่จะกำหนดเหตุการณ์ 11 กันยายน บนปฏิทินการรำลึกของพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สหรัฐอเมริกา          อย่างที่ได้เห็นกันในกรณีโศกนาฏกรรมอื่นและจุดเปลี่ยนในความเป็นไปในสหรัฐอเมริกา เหตุการณ์ 11 กันยายน ยังถูกทำให้เป็นสินค้าในตลาดในฐานะของชิ้นงานมรดกและสินค้าวัฒนธรรม (Kirshenblatt-Gimblett 1998:177) มานุษยวิทยาในฐานะที่เป็นการวิพากษ์วัฒนธรรมสามารถปรับใช้มุมมองทั้งวิชาการทางทฤษฎีและเชิงประจักษ์ตอบต่อ ความพยายามทั้งหลายเหล่านี้ในการปรับเปลี่ยนโศกนาฏกรรมสู่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมือง (Marcus and Fisher 1986) แม้ว่านักมานุษยวิทยามุ่งประเด็นไปที่เศรษฐศาสตร์การเมืองที่เกี่ยวเนื่องกับโศกนาฏกรรม 11 กันยายน แต่ควรให้ความสนใจวิพากษ์เชิงชาติพันธุ์วรรณาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทางสังคมของเหตุการณ์ 11 กันยายนในลักษณะที่เกิดขึ้นมาเช่นกัน มานุษยวิทยาของเหตุการณ์ 11 กันยายนจะเป็นชาติพันธุ์วรรณนาของพิพิธภัณฑ์ ด้วยระยะเวลาที่ห่างจากการเกิดขึ้นของเหตุการณ์มากขึ้น ชั้นการวิเคราะห์ของทฤษฎีเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ประเด็นการวิพากษ์เริ่มต้นจากความกดดันระหว่างตรรกะเศรษฐกิจและภาพลักษณ์ของเหตุการณ์  11 กันยายน เช่นที่เกิดในภาพยนตร์สารคดี “สิ่งหลงเหลือจากซาก-ธุลี” และขยายออกสู่ตรรกะของการจัดแสดง ซึ่งพินิจความทรงจำเป็นเช่นละครสังคมที่เกิดขึ้นในบริบทของสถาบันและวัฒนธรรม อย่างที่ข้าพเจ้ายกตัวอย่างงานวัฒนธรรมมาทั้งหมดกับสิ่งที่เกิดขึ้นหนึ่งปีให้หลังจากเหตุการณ์ 11 กันยายน งานสะสมและการอนุรักษ์สร้างชุดความทรงจำด้วยความบังเอิญและแนวคิดที่ก่อร่างจากเรื่องราวที่อาศัยความใกล้ชิด การเอ่ยนาม และการช่วยชีวิต          สิ่งที่ตรงข้ามกับการนำเสนอที่ตีตราของทฤษฎีวิจารณ์ ซึ่ง “อดีตในฐานะที่ก่อร่างพิพิธภัณฑสถาน… ย่อมเป็นผลิตผลของปัจจุบันที่สร้างสิ่งนั้นขึ้นมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้” (Bennett 1995:129) ชาติพันธุ์วรรณนาของเหตุการณ์ 11 กันยายนแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่คลุมเครือระหว่างอดีต ปัจจุบัน และภาพแทนของอดีต ในกรณี Yahrzeit การปฏิบัติการทางประวัติศาสตร์และทางการสร้างประวัติศาสตร์ของการสร้างความหมายแสงเทียนในพิธีกรรมชาวยิว ที่เชื่อมโยงกับความทรงจำของเหตุการณ์ 11 กันยายน อันถือเป็นการนำเสนอภาพของกราวด์ ซีโร่ เสมือนเป็นการจัดที่ทางของพิธีกรรมชาวยิวในวัฒนธรรมอเมริกาหันมาพิจารณานิทรรศการ “ประสบการณ์ร่วม” เป็นไปในลักษณะเดียวกัน ทั้งภาพและเศษซากจากเหตุการณ์ 11 กันยายนย้ำเน้นบทเรียนหัวใจของการช่วยเหลือและการสร้างความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกันทางสังคมอีกครั้งในโอกลาโฮมา และอีกเช่นกันในกิจกรรม “หนึ่งวันแห่งการ ทบทวนและหวนให้” ที่เป็นการเอ่ยนามผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 11 กันยายนเป็นพิธีการที่แสดงออกด้วยผู้รอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่ละกรณีมีสิ่งที่ร่วมกันคือ การไม่สามารถแบ่งแยกการรำลึกถึงโศกนาฏกรรมหนึ่งจากการอ้างอิงถึงอีกเหตุการณ์หนึ่ง และการใช้ความชอบธรรมชุดภาพแทนหนึ่งส่งอิทธิพลต่ออีกชุดหนึ่ง (the hegemony of one set of representational practices over another)          สิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณาคือ กิจกรรมในพิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ 11 กันยายน ไม่ใช่เพียงการรำลึกถึง โศกนาฏกรรม หากเป็นการจัดตั้งชุด “กฎ” การรำลึกถึงอย่างเป็นพื้นฐานและอย่างเป็นหลักใหญ่ (Bourdieu 1972:22) ความหลากหลายของแนวทางการรำลึกถึงเหตุการณ์ 11 กันยายนยังเป็นเพียงลักษณะชาติพันธุ์วรรณนาขั้นต้น ของเหตุการณ์ 11 กันยายนในฐานะที่เป็นข้อเท็จจริงทางสังคม นอกจากนี้ ขณะที่เหตุการณ์ 11 กันยายนสร้างพันธะหน้าที่การรำลึกทั้งเก่าและใหม่ แต่ทำให้เกิดการสั่นคลอนของภูมิทัศน์ความทรงจำ กิจกรรมการระลึกทั้งหมดในขณะนี้เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ 11 กันยายน และพลวัตทั้งหมดนี้เริ่มสร้างความหมาย ความหลากหลายในการรำลึกถึงที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงเป็นไปในลักษณะใดและอยู่ภายใต้เงื่อนไขใด นี่เองที่เป็นคำถามของงานชาติพันธุ์วิทยาในอนาคต ในขณะที่พิพิธภัณฑ์ในฐานะสิ่งสำคัญที่สร้างความเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ 11 กันยายน ยังคงมีบทบาทจัดกิจกรรมการรำลึกถึงในบริบททางสังคม และเป็นพื้นที่ที่เป็นกุญแจสำคัญสำหรับทฤษฎีทางมานุษยวิทยาบันทึก                 กิตติกรรมประกาศ – ผู้เขียนขอขอบคุณพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมยิว อนุสรณ์สถานเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สหรัฐอเมริกา และศูนย์อนุสรณ์สถานแห่งชาติ โอกลาโฮมา ซิตี้ สำหรับความร่วมมือในการวิจัย และการเขียนบทความ ข้าพเจ้าขอขอบคุณบุคคลต่างๆ ที่ให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือ Ivy Barsky, Andy Hollingger, Julie Joseph, Debora Hoehne, Joanne Riley, Abby Spilka, Jeremy Thorn และ Jill Vexler ข้าพเจ้าขอขอบคุณ Richard Handler สำหรับคำแนะนำเกี่ยวกับทฤษฎี Sapir และการทบทวนร่างบทความ ท้ายนี้ ข้าพเจ้าขออ้างถึงนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในการสัมมนาของข้าพเจ้า “มรดกและความทรงจำในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์” (New York University, fall 2002) ที่วิเคราะห์มองสัมพันธภาพระหว่างพิพิธภัณฑ์และเหตุการณ์ 11 กันยายนที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ใน การเขียนบทความชิ้นนี้เอกสาร/หนังสืออ้างอิงBennett, Tony1995 The Birth of the Museum: History, Theory, Politics. London: Routledge.Bourdieu, Pierre1977 Outline of a Theory of Practice. Cambridge: Cambridge University Press.Halbwachs, Maurice1980 The Collective Memory. New York: Harper and Row.Heilman, Samuel C.2001 When a Jew Dies. Berkeley: University of California Press.Kirshenblatt-Gimblett, Barbara1998 Destination Culture: Tourism, Museums and Heritage. Berkeley: University of California Press.Linenthal, Edward T.2001 The Unfinished Bombing: Oklahoma City in America Memory. New York: Oxford University Press.Relic from the Rubble2002 Narrated by Josh Binswanger. This Week in History. 50 min. The History Channel, September 3 (video recording).United States Holocaust Memorial Museum2002 Holocaust Survivors Read the Names of Those Who Died in the Terrorist Attacks on September 11, 2001. Electronic document, http:/www.ushmm.gov/museum/exhibit/focus/911_02, accessed May 1, 2003.Marcus, George E. and Michael M. J. Fisher1986 Anthropology as Cultural Critique: an Experimental Moment in the Human Sciences. Chicago: University of Chicago Press.Sapir, Edward1921 Language: An Introduction to the Study of Speech. San Diego: Harcourt Brace and Company.Vexler, Jill2002 Guest Curator’s Essay. 18 First Place: Museum of Jewish Heritage Quarterly Magazine. Fall: 4 – 5.Young, James E.1993 The Texture of Memory. New Haven, CT: Yale University Press.Zelier, Barbie1998 Remembering to Forget: Holocaust Memory through the Camera’s Eye. Chicago: University of Chicago Press. แปลและเรียบเรียงจากFeldman, Jeffrey D. (New York University), “One tragedy in Reference to Another: September 11 and the Obligations of Museum Commemoration”, American Anthropologist 105 (4): 839 - 843.

พิพิธภัณฑสถานเช่นใด เพื่อสังคมที่หลากหลายในคริสต์ศตวรรษที่ 21

25 มีนาคม 2559

พิพิธภัณฑสถานเป็นสิ่งสะท้อนโลกทัศน์ คุณค่า และบรรทัดฐานที่เรามีต่อสังคมและวัฒนธรรม ในวันพรุ่งจะเป็นเช่นไรในยามที่ผู้คนปะปนผสมผสาน และยามที่วัฒนธรรมคลุกเคล้าไปมา กลุ่มสังคมใดที่เรากำลังพูดถึง และทำงานวัฒนธรรมเพื่อใคร รวมทั้งความหมายเช่นไรที่เราจะให้ต่อกิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินการ

เฮ้! นั่นนะของฉัน แนวคิดพหุลักษณ์และพิพิธภัณฑ์ในสหรัฐอเมริกา

29 มีนาคม 2559

เนื่องด้วยข้อคิดสำคัญเกี่ยวกับประสบการณ์งานพิพิธภัณฑ์ในสหรัฐอเมริกา ผู้เขียนในหนังสือ พิพิธภัณฑ์สำหรับศตวรรษใหม่ (Museums for a New Century) เขียนไว้ว่า “แรงผลักดันสำคัญของการเปลี่ยนแปลงที่เราต้องนำมาประยุกต์ในงานพิพิธภัณฑ์คือ พหุลักษณ์ที่วิวัฒน์ในสังคม” ทัศนะการทำงานเช่นนี้มาจากการสังเกตการณ์ 2 ประการที่สำคัญ

การต้อนรับในพิพิธภัณฑสถาน

30 มีนาคม 2559

การต้อนรับนั้นถ้าจะพูดถึงนัยยะแรกๆ ของคำแล้ว ดูจะเกี่ยวข้องเฉพาะพื้นที่และตัวบุคคลที่ทำหน้าที่ในการต้อนรับกลุ่มผู้ชม เมื่อพวกเขาได้มาถึง ณ พิพิธภัณฑสถาน ข้าพเจ้าเองชอบที่จะขยายความหมายข้างต้นนี้ไปทุกๆ ประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับความปรารถนาที่จะทำการต้อนรับอย่างแข็งขัน ในระยะเวลาของการเยี่ยมชมหรือจะพูดได้เลยว่าทั้งตลอดช่วงเวลาทั้งก่อนและหลังการเข้ามาสู่พื้นที่ของพิพิธภัณฑสถาน

  • «
  • 1
  • 2
  • 3
  • »
20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170
ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงวัฒนธรรม
2021 © ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
www.sac.or.th

วันจันทร์-ศุกร์ : 08.00-17.00 น.

TELEPHONE
0-2880-9429
E-MAIL
webmaster@sac.or.th
FAX
0-2880-9332

Content Manager

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล
นักวิชาการ

ช่องทางการรับฟังความคิดเห็น
Application : Smart SAC
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  • รายชื่อพิพิธภัณฑ์
  • Online Exhibits
  • Research & learning
  • สื่อสิ่งพิมพ์
  • เทศกาล และข่าวสาร
  • ศมส.
  • เพิ่มพิพิธภัณฑ์ใหม่
เกี่ยวกับเว็บไซต์
  • เกี่ยวกับโครงการ
  • ทีมงาน
  • ติดต่อเรา
  • สถิติพิพิธภัณฑ์
  • สถิติเว็บไซต์
ช่วยเหลือ
  • กฎ กติกา และมารยาท
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แนะนำและแจ้งปัญหา
เกี่ยวกับโครงการ
  • เกี่ยวกับโครงการ
  • ทีมงาน
  • ติดต่อเรา
  • สถิติพิพิธภัณฑ์
  • สถิติเว็บไซต์