จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เลขทะเบียน 315/2523

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เลขทะเบียน 315/2523 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2564 17:03:54

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เลขทะเบียน 315/2523

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นน. 32, 315/2523, จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย 315/2523

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2409

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 8 บรรทัด

ผู้อ่าน

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2530)

ผู้แปล

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2530)

ผู้ตรวจ

กรมศิลปากร (พ.ศ. 2530)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : จุลศักราช 1228 ตรงกับ พ.ศ. 2409 ในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งขณะนั้นมีเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ ครองเมืองน่าน (ระหว่าง พ.ศ. 2395-2434)
2. เทิม มีเต็ม : “ปีรวายยี” คือ ปีขาล อัฏฐศก
3. เทิม มีเต็ม : “ปลากแรม” น่าจะใช้ในความหมายว่า “ข้างแรม” (ปลาก หมายถึง ริม, สุด, ขอบ-แปลโดย ทอง ไชยชาติ)
4. เทิม มีเต็ม : “เพ็ง” คือ วันขึ้น 15 ค่ำ แต่ในจารึกนี้ใช้ “ปลากแรมเพ็ง” น่าจะหมายถึงวันแรม 15 ค่ำ
5. เทิม มีเต็ม : “เม็ง” หมายถึง มอญ
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : คำจารึกที่ตีพิมพ์ในหนังสือ “เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ” เป็น “อุปปาสกก” แต่หลักการปริวรรตของโครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย จะถ่ายถอดตามรูปอักษรในที่นี้จึงใช้เป็น “อุบฺบาสกฺก” ตามที่ปรากฏในจารึก
7. เทิม มีเต็ม : “ปฐมมูลศรัทธา” หมายถึง ผู้ริเริ่มชักชวนผู้อื่นให้ร่วมกระทำการกุศล
8. เทิม มีเต็ม : “อุบาสก” หมายถึง ผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย ได้แก่ ฆราวาสที่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ถ้าเป็นหญิงเรียกว่า อุบาสิกา
9. เทิม มีเต็ม : “หนาน” เป็นคำนำหน้าชื่อผู้ที่เคยบวชเป็นภิกษุแล้วลาสิกขาออกมา
10. เทิม มีเต็ม : “สัมพันธวงศา” หมายถึง ญาติและมิตรสหาย
11. เทิม มีเต็ม : “ชู่ผู้ชู่คน” หมายถึง ทุกผู้ทุกคน
12. เทิม มีเต็ม : “ปัจจัย” หมายถึง เหตุ, หนทาง, เหตุอันให้ผลเป็นไป
13. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : บางส่วนของคำจารึกในบรรทัดที่ 8 ไม่สามารถใส่สัญลักษณ์ต่างๆ เช่น จุดใต้พยัญชนะหรือสระได้ เนื่องจากภาพจารึกในส่วนดังกล่าวไม่ชัดเจน
14. เทิม มีเต็ม : “มรรคผล” ได้แก่ โลกุตรธรรม อย่างที่เรียกย่อๆ ว่า มรรค 4 ผล 4
15. เทิม มีเต็ม : “ดีหลี” หมายถึง ดีแท้, ดีจริงๆ