Logo
ปิดเมนู
รายชื่อพิพิธภัณฑ์
ย้อนกลับ
รายชื่อพิพิธภัณฑ์
List view
Map view
ปิดเมนู
Online Exhibits
ย้อนกลับ
Online Exhibits
มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคใต้
มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง
มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคเหนือ
ปิดเมนู
Research & learning
ย้อนกลับ
Research & learning
พิพิธภัณฑ์วิทยา
Research & Report
บทความวิชาการ
บล็อก
อินโฟกราฟฟิก
ปิดเมนู
สื่อสิ่งพิมพ์
ย้อนกลับ
สื่อสิ่งพิมพ์
หนังสือ
จุลสาร
ปิดเมนู
เทศกาล และข่าวสาร
ย้อนกลับ
เทศกาล และข่าวสาร
เทศกาล
ข่าวสาร
ปิดเมนู
เกี่ยวกับโครงการ
ย้อนกลับ
เกี่ยวกับโครงการ
เกี่ยวกับโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
สถิติพิพิธภัณฑ์
สถิติเว็บไซต์
ปิดเมนู
ไทย
เปลี่ยนภาษา
ไทย
English
จังหวัด
กระบี่
กรุงเทพมหานคร
กาญจนบุรี
กาฬสินธุ์
กำแพงเพชร
ขอนแก่น
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ชัยภูมิ
ชุมพร
ตรัง
ตราด
ตาก
นครนายก
นครปฐม
นครพนม
นครราชสีมา
นครศรีธรรมราช
นครสวรรค์
นนทบุรี
นราธิวาส
น่าน
บึงกาฬ
บุรีรัมย์
ปทุมธานี
ประจวบคีรีขันธ์
ปราจีนบุรี
ปัตตานี
พระนครศรีอยุธยา
พะเยา
พังงา
พัทลุง
พิจิตร
พิษณุโลก
ภูเก็ต
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยะลา
ยโสธร
ระนอง
ระยอง
ราชบุรี
ร้อยเอ็ด
ลพบุรี
ลำปาง
ลำพูน
ศรีสะเกษ
สกลนคร
สงขลา
สตูล
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระบุรี
สระแก้ว
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
สุราษฎร์ธานี
สุรินทร์
สุโขทัย
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อำนาจเจริญ
อุดรธานี
อุตรดิตถ์
อุทัยธานี
อุบลราชธานี
อ่างทอง
เชียงราย
เชียงใหม่
เพชรบุรี
เพชรบูรณ์
เลย
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ประเภทการจัดแสดง
กฎหมายและราชทัณฑ์
การทหาร / สงคราม
การสื่อสาร / ไปรษณีย์
การแพทย์และสาธารณสุข
งานอนุรักษ์สถาปัตยกรรม
ชาติพันธ์ุ
ธรรมชาติวิทยา
บุคคลสำคัญ
บ้านประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์
ผ้า / สิ่งทอ
พระป่า
วิถีชีวิตท้องถิ่นและภูมิปัญญา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศาสนา ความเชื่อ และพิธีกรรม
ศิลปะ / การแสดง
อื่น ๆ
เครื่องปั้นดินเผา
เงินตรา / การเงินธนาคาร
โบราณคดี
ค้นหาแบบละเอียด
ข่าวสาร
ค้นคลังความรู้ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น
ค้นคลังความรู้ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น
ต่อเนื่องมาสำหรับเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จัดเผยแพร่เพื่อแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของความรู้ในสังคมไทยโดยครั้งที่ 3 “ภูมิรู้สู้วิกฤติ” เตรียมมีขึ้นในวันที่ 23-27 พฤศจิกายน 2555 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
เทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นครั้งนี้นอกเหนือจากแสดงสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นภูมิความรู้ใช้แก้ปัญหาของแต่ละท้องถิ่นแล้ว ตัวแทนจากพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น 69 แห่ง ยังร่วมกันถ่ายทอดประสบการณ์บอกเล่าสิ่งที่เกิดขึ้น การดูแลรักษามรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเอง โดยแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 5 พื้นที่ ได้แก่ ภูมิรู้สู้โรคภัย ภูมิรู้สู้ภัยธรรมชาติ ภูมิรู้สู้ภัยสงคราม-การเมือง ภูมิรู้สู้เศรษฐกิจ และภูมิรู้สู้การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม พร้อมให้นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนผู้ที่สนใจเข้าร่วมในกิจกรรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ส่วนหนึ่งของภูมิปัญญาท้องถิ่นองค์ความรู้ที่เตรียมเผยแพร่ ปณิตา สระวาสี นักวิชาการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) บอกเล่าว่า เทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่ผ่านมาได้จัดขึ้นปีเว้นปีโดยเริ่มมานับแต่ปี 2551 ต่อเนื่องมาถึงครั้งนี้โดยมีแนวคิดแตกต่างกันไป
ภูมิรู้สู้วิกฤติ แนวคิดครั้งนี้ส่วนหนึ่งได้แรงบันดาลใจจากเหตุการณ์น้ำท่วมปีที่ผ่านมาซึ่งหลายพื้นที่มีวิธีการต่อสู้การฝ่าฟันอุปสรรคที่น่าศึกษาสนใจ แต่อย่างไรก็ตามไม่ใช่เฉพาะเรื่องน้ำท่วมด้านเดียว ยังมีอีกหลายด้านที่เป็นภูมิความรู้ทรงคุณค่าของแต่ละพิพิธ ภัณฑ์ท้องถิ่น ซึ่งครั้งนี้ได้รวบรวมนำมาเสนอไว้พร้อมให้ศึกษาเรียนรู้ร่วมกัน
ด้วยรูปแบบของการจัดแสดงซึ่งมีทั้ง นิทรรศการ การเสวนา การแสดงทางวัฒนธรรม อีกทั้งมีการสาธิตการทำอาหาร ซึ่งแต่ละท้องถิ่นมีวัฒนธรรมทางด้านอาหารที่น่าศึกษาสนใจในความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ภูมิรู้สู้การเปลี่ยนแปลง ส่วนนี้ถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นที่กลับมาเป็นพลังสร้างความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง เกิดการรื้อฟื้นอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม อย่างในเรื่องของ ภาษา ประเทศเรามีภาษาถิ่นอยู่มาก
ชอง เป็นภาษาหนึ่งที่เป็นภาษาถิ่นซึ่งก่อนจะสูญไปชาวชุมชนร่วมกันรื้อฟื้น เช่นเดียวกับการแสดงหนังใหญ่วัดขนอน ถ่ายทอดแสดงให้เห็นถึงความร่วมแรงร่วมใจกันทั้งวัดและชุมชนช่วยกันดูแลรักษาศิลปวัฒนธรรมการแสดง โดยนอกจากแนะนำให้เด็ก ๆ คนรุ่นใหม่ ได้เรียนรู้จักหนังใหญ่ ยังมีการเรียนการสอนในโรงเรียนให้เกิดการสืบทอดต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังมีสิ่งประดิษฐ์ถ่ายทอดแนวคิดการสู้กับวิกฤติการณ์ ต่าง ๆ อย่าง น้ำท่วม พิพิธภัณฑ์เรือไทยได้นำ เรือผ้าขาวม้า จัดแสดง โดยเรือลำดังกล่าวไม่เพียงใช้งานได้จริงยังทำขึ้นจากวัสดุเรียบง่ายและสามารถประดิษฐ์ขึ้นใช้ได้ด้วยตนเอง
เทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นครั้ง นี้ยังจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ที่อาจไม่เคยได้สัมผัสกัน อย่าง ระฆังลูกระเบิด เตาเผาหลบภัย ของเล่นพื้นบ้าน ลวดลายผ้าโบราณ หนังตะลุงน็อกดาวน์ ฯลฯ อีกทั้งยังมีการแสดง เสวนา ในประเด็นต่าง ๆ จากผู้รู้ในท้องถิ่นเกี่ยวกับการใช้ภูมิรู้สู้วิกฤติต่าง ๆ รวมถึงการประดิษฐ์ ฯลฯ ซึ่งมีความหมายต่อการสืบรักษาองค์ความรู้ สร้างความยั่งยืนต่อเนื่องไป.
เดลินิวส์ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2555
เผยแพร่เมื่อ:
19 พฤศจิกายน 2555
แชร์ข้อมูล