หอศิลป์ไตยวน


ฉลอง พินิจสุวรรณ เป็นคนจังหวัดเชียงรายตั้งแต่กำเนิด ศิลปินอิสระผู้สร้างผลงานศิลปะอย่างมากมาย ซึ่งอดีตเป็นอาจารย์สอนในสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงในจังหวัดเชียงราย ปัจจุบันเป็นเจ้าของหอศิลป์เล็กๆ ที่แฝงไปด้วยเสน่ห์ของล้านนาชื่อว่า”หอศิลป์ไตยวน” อันหมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย อาจารย์ฉลองตั้งชื่อนี้ก็เพื่อไม่ให้ลืมเลือนชาติพันธุ์ของตนเอง วัตถุประสงค์ของหอศิลป์ที่ตั้งไว้คือ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในด้านศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งในอดีต ปัจจุบัน และแบบร่วมสมัยให้กับคนในท้องถิ่นได้ศึกษาเรียนรู้และหาประสบการณ์ นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมกิจกรรมทางด้านศิลปะให้กับเยาวชน รวมถึงเป็นการพบปะแลกเปลี่ยนทัศนะความคิดเห็นต่างๆทางด้านศิลปกรรมและวรรณกรรมระหว่างคนทำงานด้านศิลปะกับผู้ที่เสพงานศิลปะ แม้จะไม่ใหญ่โต แต่ก็เอื้อประโยชน์ให้กับสังคมได้อย่างมากมาย 

ที่อยู่:
250 หมู่ 15 ถ.ราชโยธา ซอย 3 ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย 57000
โทรศัพท์:
0-5371-2137, 0-9631-9438
วันและเวลาทำการ:
เปิดพุธ-อาทิตย์ เวลา 10.00 - 17.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
ของเด่น:
ผลงานศิลปะของอาจารย์ฉลอง พินิจสุวรรณ
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

หอศิลป์ไตยวนความพากเพียรจากปากกาลูกลื่น

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 28 กันยายน 2552

ที่มา: ผู้จัดการ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


รีวิวของหอศิลป์ไตยวน

ฉลอง พินิจสุวรรณ เป็นคนจังหวัดเชียงรายตั้งแต่กำเนิด ศิลปินอิสระผู้สร้างผลงานศิลปะอย่างมากมาย ซึ่งอดีตเป็นอาจารย์สอนในสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงในจังหวัดเชียงรายหลายที่ อายุราชการ รวมถึง 28 ปี  ศิลปินผู้นี้เป็นที่รู้จักอย่างดีในแวดวงงานศิลปกรรม ปัจจุบันเป็นเจ้าของหอศิลป์เล็กๆที่แฝงไปด้วยเสน่ห์ของล้านนาชื่อว่า”หอศิลป์ไตยวน” อันหมายถึงชนเผ่าหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง หรือที่คนปัจจุบันเรียกกันว่า “คนเมือง” คำว่า คนไตยวน ได้ค่อยๆ เลือนหายไป คนรุ่นใหม่คิดกันเพียงแค่ว่า คนไตยวน เชียงแสนนั้นได้ถูกกวาดต้อนไปหมดแล้ว ไปอยู่ตามที่ต่างๆ เช่น เชียงใหม่ ลำปาง น่าน เวียงจันทน์ สระบุรี เมื่อปี พ.ศ.2347 แต่หารู้ไม่ว่าคนไตยวนที่ถูกอพยพไปเมื่อครั้งกระนั้น ได้ย้อนกลับมายังบ้านเกิดเมืองนอนของตนอีกครั้งหนึ่ง โดยอาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ  อาจารย์ฉลอง การที่ได้ตั้งชื่อหอศิลป์แห่งนี้ว่า “หอศิลป์ไตยวน” ก็เพื่อไม่ให้ลืมเลือนชาติพันธุ์ของตนเอง สำหรับสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่นำเอามาเป็น รูปสัญลักษณ์นั้น ก็ได้มาจากสุภาษิตไทยที่ว่า “รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา”      
                                                                  
ประโยชน์ของหอศิลป์ดังกล่าวก็เพื่อเป็น แหล่งเรียนรู้ในด้านศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งในอดีต ปัจจุบัน และแบบร่วมสมัยให้กับคนในท้องถิ่นได้ศึกษาเรียนรู้และหาประสบการณ์ นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมกิจกรรมทางด้านศิลปะให้กับเยาวชน รวมถึงเป็นการพบปะแลกเปลี่ยนทัศนะความคิดเห็นต่างๆทางด้านศิลปกรรมและวรรณกรรมระหว่างคนทำงานด้านศิลปะกับผู้ที่เสพงานศิลปะ แม้จะไม่ใหญ่โต แต่ก็เอื้อประโยชน์ให้กับสังคมได้อย่างมากมาย 
 
ข้อมูลจาก
แผ่นพับประชาสัมพันธ์หอศิลป์ไตยวน
http://www.winbookclub.com/viewanswer.php?qid=6354[accessed 20070214]
http://www.tourismchiangrai.com/tour_cr/49Artists_Lanna/Chalong.html[accessed 20070214]
ชื่อผู้แต่ง:
-

รีวิวของหอศิลป์ไตยวน

"หอศิลป์ไตยวน" แห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2548 จากแนวคิดของ ฉลอง พินิจสุวรรณ ที่ต้องการจะสร้างสมบัติชิ้นสุดท้ายไว้เป็นอนุสรณ์ อาคารหอศิลป์มีลักษณะเป็นบ้านไทย 2 ชั้น ชั้นล่างจัดแสดงผลงานของอาจารย์ฉลองและเพื่อนศิลปิน มีทั้งภาพคน ภาพวิถีชีวิต ภาพเกี่ยวกับศาสนา รวมถึงภาพที่ให้แง่คิดต่างๆ อาทิ ภาพใบหน้าพระ ซึ่งสื่อให้เห็นถึงความสว่างของพระในสังคมที่กำลังวุ่นวาย เป็นต้น
ชื่อผู้แต่ง:
-