Logo
ปิดเมนู
รายชื่อพิพิธภัณฑ์
ย้อนกลับ
รายชื่อพิพิธภัณฑ์
List view
Map view
ปิดเมนู
Online Exhibits
ย้อนกลับ
Online Exhibits
10 คนทำพิพิธภัณฑ์
มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคใต้
มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง
มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคเหนือ
ปิดเมนู
Research & learning
ย้อนกลับ
Research & learning
พิพิธภัณฑ์วิทยา
Research & Report
บทความวิชาการ
บล็อก
อินโฟกราฟฟิก
ปิดเมนู
สื่อสิ่งพิมพ์
ย้อนกลับ
สื่อสิ่งพิมพ์
หนังสือ
จุลสาร
ปิดเมนู
เทศกาล และข่าวสาร
ย้อนกลับ
เทศกาล และข่าวสาร
เทศกาล
ข่าวสาร
ปิดเมนู
เกี่ยวกับโครงการ
ย้อนกลับ
เกี่ยวกับโครงการ
เกี่ยวกับโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
สถิติพิพิธภัณฑ์
สถิติเว็บไซต์
ปิดเมนู
ไทย
เปลี่ยนภาษา
ไทย
English
จังหวัด
กระบี่
กรุงเทพมหานคร
กาญจนบุรี
กาฬสินธุ์
กำแพงเพชร
ขอนแก่น
จันทบุรี
ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
ชัยนาท
ชัยภูมิ
ชุมพร
ตรัง
ตราด
ตาก
นครนายก
นครปฐม
นครพนม
นครราชสีมา
นครศรีธรรมราช
นครสวรรค์
นนทบุรี
นราธิวาส
น่าน
บึงกาฬ
บุรีรัมย์
ปทุมธานี
ประจวบคีรีขันธ์
ปราจีนบุรี
ปัตตานี
พระนครศรีอยุธยา
พะเยา
พังงา
พัทลุง
พิจิตร
พิษณุโลก
ภูเก็ต
มหาสารคาม
มุกดาหาร
ยะลา
ยโสธร
ระนอง
ระยอง
ราชบุรี
ร้อยเอ็ด
ลพบุรี
ลำปาง
ลำพูน
ศรีสะเกษ
สกลนคร
สงขลา
สตูล
สมุทรปราการ
สมุทรสงคราม
สมุทรสาคร
สระบุรี
สระแก้ว
สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี
สุราษฎร์ธานี
สุรินทร์
สุโขทัย
หนองคาย
หนองบัวลำภู
อำนาจเจริญ
อุดรธานี
อุตรดิตถ์
อุทัยธานี
อุบลราชธานี
อ่างทอง
เชียงราย
เชียงใหม่
เพชรบุรี
เพชรบูรณ์
เลย
แพร่
แม่ฮ่องสอน
ประเภทการจัดแสดง
กฎหมายและราชทัณฑ์
การทหาร / สงคราม
การสื่อสาร / ไปรษณีย์
การแพทย์และสาธารณสุข
งานอนุรักษ์สถาปัตยกรรม
ชาติพันธ์ุ
ธรรมชาติวิทยา
บุคคลสำคัญ
บ้านประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์
ผ้า / สิ่งทอ
พระป่า
วิถีชีวิตท้องถิ่นและภูมิปัญญา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศาสนา ความเชื่อ และพิธีกรรม
ศิลปะ / การแสดง
อื่น ๆ
เครื่องปั้นดินเผา
เงินตรา / การเงินธนาคาร
โบราณคดี
ค้นหาแบบละเอียด
บล็อก
ธุรกิจพิพิธภัณฑ์ในกัมพูชาของเกาหลีเหนือ
ธุรกิจพิพิธภัณฑ์ในกัมพูชาของเกาหลีเหนือ
ไม่นานนี้มีข่าวเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์จากประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชาที่น่าสนใจ และน่าแปลกใจ คือเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2558 ที่เมืองเสียมเรียบ มีการเปิดตัวพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ที่ชื่อว่า “the Angkor Panorama Museum” นำเสนอประวัติศาสตร์ความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรเขมรระหว่างศตวรรษที่ 9 -15 ผ่านรูปจำลองและภาพวาดขนาดใหญ่ แต่ที่กลายเป็นประเด็นเพราะเงินลงทุน แนวคิด การออกแบบ และศิลปินสร้างสรรค์ทั้งหมดไม่ได้มาจากคนกัมพูชาแต่มาจากเกาหลีเหนือ จากสตูดิโอที่ชื่อว่า “มันซูแด” (Mansudae)
เอาเข้าจริงคนส่วนใหญ่เวลาพูดถึงเกาหลีเหนือมักนึกถึง #สังคมนิยม #คิมอิลซุง #คิมจองอิล #อาวุธนิวเคลียร์ แต่เรามักไม่ค่อยรู้เกี่ยวกับศิลปะ งานออกแบบ พิพิธภัณฑ์มากนัก เว็บไซต์นิวยอร์กไทม์เล่ารายละเอียดที่มาที่ไปของเรื่องนี้ และผู้เขียนเห็นว่าน่าสนใจดี นำมาเล่าสู่กันฟัง หากใครสนใจอ่านต้นฉบับคลิกตามนี้เลยค่ะ “
An Art Powerhouse From North Korea
” อย่าลืมว่าที่สื่อต่างประเทศหลายสำนักให้ความสนใจเพราะว่ามันเป็นเรื่อง “เกาหลีเหนือ”
สตูดิโอมันซูแดไม่ได้ทำงานเฉพาะแต่ในเกาหลีเหนือ แต่รับงานทั่วโลกค่ะ เมื่อไม่กี่ปีนี้ศิลปินของมันซูแดรับงานสร้างอนุสาวรีย์และประติมากรรมในหลายประเทศทั้งในแอฟริกา ตะวันออกกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเยอรมนี
การจัดแสดงภายใน
พิพิธภัณฑ์ Angkor Panorama Museum
(ภาพจาก http://www.angkorpanoramamuseum.com)
โปรเจ็คพิพิธภัณฑ์ Angkor Panorama Museum ถือเป็นงานชิ้นโบว์แดงในต่างประเทศของสตูดิโอเลยทีเดียว ใช้ผู้รังสรรค์งานศิลปะกว่า 63 ชีวิต ที่บินตรงจากเกาหลีเหนือมานั่งวาดภาพบนฉาก cyclorama กว่า 4 เดือน โดยมีสถาบันอัปสรา (Apsara) ภายใต้รัฐบาลกัมพูชาเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ
สตูดิโอมันซูแดก่อตั้งในปี ค.ศ. 1959 ตั้งอยู่ในกรุงเปียงยาง เมืองหลวงของเกาหลีเหนือ เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในสตูดิโอที่ผลิตงานศิลปะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีพนักงานราว 4,000 คน มีตัวแทนติดต่อการค้าทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ผลิตงานศิลปะหลากหลายที่เป็นโฆษณาชวนเชื่อให้กับรัฐบาลเกาหลีเหนือ ในทศวรรษที่ 1990 มันซูแดเริ่มรับงานนอกประเทศ เช่น อนุสาวรีย์แอฟริกันเรเนอซองส์(African Renaissance) ที่เมืองดาร์การ์ ประเทศเซเนกัล น้ำพุเทพนิยาย(Fairy Tale Fountain) ที่เมืองแฟรงเฟิร์ต เยอรมนี รวมถึงหอศิลป์ที่มหานครปักกิ่ง เป็นต้น
ความมโหฬารของอนุสาวรีย์แอฟริกันเรเนอซองส์ ประเทศเซเนกัล
(ภาพจาก Sbreitinger, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=30798938)
น้ำพุเทพนิยาย(Fairy Tale Fountain) เมืองแฟรงเฟิร์ต เยอรมนี ฝีมือสตูดิโอมันซูแด
(ภาพจาก Epizentrum, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=24994483)
ส่วนที่มาของดีลที่กัมพูชาเกิดจากการติดต่อผ่านสภาการพัฒนาของกัมพูชาซึ่งเป็นคณะกรรมการการส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาล ด้วยข้อเสนอในการสร้างพิพิธภัณฑ์ในจังหวัดเสียมเรียบ แต่อย่างไรก็ดีกัมพูชาและเกาหลีเหนือมีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นตั้งแต่สมัยเจ้านโรดมสีหนุ เมื่อทศวรรษที่ 1970 พระองค์ท่านลี้ภัยการเมืองและคิมอิลซุงได้เสนอที่ลี้ภัย เสด็จประทับที่เกาหลีเหนือในครั้งนั้นนานหลายปี และกลับไปเยือนทุกปี จนถึงกับเขียนบทและกำกับภาพยนตร์ที่มีดารานำเป็นนักแสดงเกาหลีเหนือ แถมยังมีวลีจากพระองค์ที่ตรัสถึงคิมอิลซุงว่า “เป็นยิ่งกว่าเพื่อน มากกว่าพี่ชาย”
ทุกวันนี้ผู้ประกอบการเกาหลีเหนือต่างมาลงทุนทำธุรกิจร้านอาหารหลายแห่งในกัมพูชา นักวิเคราะห์บางคนบอกว่านี่คือแหล่งที่มาของรายได้ที่ส่งกลับไปจุนเจือสถานะทางการเงินของรัฐบาลเผด็จการที่เปียงยาง อย่างไรก็ดีสำหรับมันซูแด พิพิธภัณฑ์ Angkor Panorama Museum แตกต่างจากโปรเจ็คอื่นๆ ที่ผ่านมาตรงที่เป็นธุรกิจแรกของมันซูแดที่ใช้เงินลงทุนมหาศาล นักวิชาการต่างประเทศบางคนตั้งข้อสังเกตว่า ดีลนี้จะมีเบื้องหน้าเบื้องหลังทางการเมืองอะไรหรือเปล่า เพราะดูเหมือนพิพิธภัณฑ์ก็ไม่ใช่เป็นธุรกิจที่จะทำกำไรได้มากมาย
โปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองส่วนใหญ่เป็นผลงานจากสตูดิโอมันซูแด
(ภาพจาก http://www.koreanposters.com)
การบริหารจัดการของพิพิธภัณฑ์แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะแรกรายได้ทั้งหมดเป็นของมันซูแด หลังจากนั้น 10 ปี (หรือน้อยกว่านั้น หากบริษัทคืนทุนก่อน) ทั้งสองฝ่ายจะแบ่งรายได้กัน และระยะที่สามพิพิธภัณฑ์จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันอัปสรา
ฝ่ายอัปสรารายงานว่า พิพิธภัณฑ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนระยะยาวที่จะสร้างแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมนครวัด ในปีที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวต่างประเทศมาเยี่ยมชมนครวัดถึง 2.5 ล้านคน เพิ่มจากจากปี ค.ศ. 2000 ที่มีเพียง 4 แสนคน คาดว่านักท่องเที่ยวจำนวนมากจะแวะเที่ยวพิพิธภัณฑ์นี้ด้วย โดยเก็บค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์คนละ 15 เหรียญสหรัฐฯ แต่ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์เผยว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าชม พิพิธภัณฑ์ ณ ขณะนี้มีราว 20 คนต่อวัน!
หากไม่นับนครวัด ปราสาท และโบราณสถานจำนวนมากที่เป็นไซต์มิวเซียมขนาดใหญ่แล้ว กัมพูชายังมีพิพิธภัณฑ์ไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นพิพิธภัณฑ์ของรัฐภายใต้การดูแลของสถาบันอัปสราและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ตั้งอยู่ในเมืองใหญ่อย่างพนมเปญและเสียมเรียบ ที่โดดเด่นคงจะเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงประวัติศาสตร์ เรื่องราวที่หดหู่น่าเศร้า และด้านมืดของมนุษย์ในสงครามกลางเมืองของกัมพูชา โดยเฉพาะในยุคที่เขมรแดงปกครอง อาทิ พิพิธภัณฑ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์แห่งโตลสเลง พิพิธภัณฑ์กับระเบิด พิพิธภัณฑ์สงครามกัมพูชา นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์ที่นำเสนอมรดกวัฒนธรรมของกัมพูชา อาทิ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติกัมพูชา พิพิธภัณฑ์แห่งชาตินครวัด พิพิธภัณฑ์ผ้าพื้นเมืองอาเซียน
อ้างอิง :
http://www.nytimes.com/2016/01/26/arts/design/cambodias-new-angkor-museum-created-by-a-north-korean-art-factory.html?_r=0 (เข้าถึง 23 มีนาคม 2559)
http://www.angkorpanoramamuseum.com/ (เข้าถึง 24 มีนาคม 2559)
http://www.mansudaeartstudio.com(เข้าถึง 24 มีนาคม 2559)
คำสำคัญ:
กัมพูชา
นครวัด
เกาหลีเหนือ
มันซูแด
ชื่อผู้แต่ง :
ปณิตา สระวาสี
แชร์ข้อมูล