พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ในสปป.ลาว

เมื่อเกือบ 4 ปีที่แล้ว ผู้เขียนมีโอกาสทำความรู้จักและเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ในลาวหลายแห่ง ในหลายวาระ  ด้วยความสนับสนุนของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ช่วงที่ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ   ผศ.สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์  อดีตผู้อำนวยการ ที่สละเวลาร่วมเดินทาง  ให้ข้อแนะนำ อาจารย์ศิริพร ศรีสินธุ์อุไร ที่ช่วยอ่านงานและให้ข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์มาก  จนทำให้ข้อเขียนเชิงวิชาการเรื่อง “อ่านภาพแทนกลุ่มชาติพันธุ์ในพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ สปป.ลาว”   เสร็จลุล่วงลงจนได้  และขอขอบคุณรศ.ดร.ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์  ที่กรุณาให้ข้อคิดเห็นและตีพิมพ์ลงใน “วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง” ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2557




สมัยที่ผู้เขียนยังเป็นนักเรียนด้านภูมิภาคศึกษา ผู้เขียนสนใจประเทศลาวเป็นพิเศษ  ตอนนั้นรู้สึกว่าวัฒนธรรมลาวกับไทยคล้ายๆ กัน โดยเฉพาะภาษา ศาสนา ความเชื่อ  คงจะทำความเข้าใจอะไรๆ ได้ไม่ยากนัก  แต่เอาเข้าจริงเมื่อได้เดินทาง  สัมผัสชีวิตวัฒนธรรมแง่มุมต่างๆ ของคนลาวมากขึ้น  ทั้งตอนเรียนหนังสือและช่วงที่ทำงาน  จึงได้เห็นโลกและมุมมองใหม่ที่ต่างไปจากความคิดเดิม 

บทความชิ้นดังกล่าว ผู้เขียนตั้งใจพูดถึงพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ในลาวประเทศลาว 3 แห่ง  คือ หอพิพิธภัณฑ์บรรดาเผ่า แขวงพงสาลี  หอพิพิธภัณฑ์ชนเผ่าเมืองสิง แขวงหลวงน้ำทา และศูนย์ศิลปะและชนเผ่าวิทยา หลวงพระบาง   ข้อสงสัยและคำถามที่ตั้งไว้และคำตอบ(เท่า)ที่ได้ ทั้งหมดอยู่ในข้อเขียนชิ้นนั้นแล้ว (คลิกอ่านบทความฉบับเต็มได้ตามลิงค์นี้ค่ะ)



    
สำคัญกว่านั้นสำหรับผู้เขียน มันเป็นประสบการณ์ ความทรงจำ และความรู้สึกหลากหลายที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน การลงสำรวจภาคสนามและการเขียนงาน  ทั้งความสนุก  ความน่าเบื่อ  ความแปลกใหม่  ความเหลือทน  ความเอื้อเฟื้อ  ความยึดมั่นถือมั่น  ความไม่แน่นอนที่แน่นอน  ที่ล้วนผ่านพ้นไปแล้วด้วยความระลึกถึง

อ้างอิง :

-

ชื่อผู้แต่ง : ปณิตา สระวาสี