โลโก้ของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรLogo
logo
  • รายชื่อพิพิธภัณฑ์
    • รายชื่อพิพิธภัณฑ์
    • List view
    • Map view
  • Online Exhibits
    • Online Exhibits
    • มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคใต้
    • มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง
    • มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคเหนือ
  • Research & learning
    • Research & learning
    • พิพิธภัณฑ์วิทยา
    • Research & Report
    • บทความวิชาการ
    • บล็อก
    • อินโฟกราฟฟิก
  • สื่อสิ่งพิมพ์
    • สื่อสิ่งพิมพ์
    • หนังสือ
    • จุลสาร
  • เทศกาล และข่าวสาร
    • เทศกาล และข่าวสาร
    • เทศกาล
    • ข่าวสาร
  • เกี่ยวกับโครงการ
    • เกี่ยวกับโครงการ
    • เกี่ยวกับโครงการ
    • ทีมงาน
    • ติดต่อเรา
    • สถิติพิพิธภัณฑ์
    • สถิติเว็บไซต์
  • กระบี่
  • กรุงเทพมหานคร
  • กาญจนบุรี
  • กาฬสินธุ์
  • กำแพงเพชร
  • ขอนแก่น
  • จันทบุรี
  • ฉะเชิงเทรา
  • ชลบุรี
  • ชัยนาท
  • ชัยภูมิ
  • ชุมพร
  • ตรัง
  • ตราด
  • ตาก
  • นครนายก
  • นครปฐม
  • นครพนม
  • นครราชสีมา
  • นครศรีธรรมราช
  • นครสวรรค์
  • นนทบุรี
  • นราธิวาส
  • น่าน
  • บึงกาฬ
  • บุรีรัมย์
  • ปทุมธานี
  • ประจวบคีรีขันธ์
  • ปราจีนบุรี
  • ปัตตานี
  • พระนครศรีอยุธยา
  • พะเยา
  • พังงา
  • พัทลุง
  • พิจิตร
  • พิษณุโลก
  • ภูเก็ต
  • มหาสารคาม
  • มุกดาหาร
  • ยะลา
  • ยโสธร
  • ระนอง
  • ระยอง
  • ราชบุรี
  • ร้อยเอ็ด
  • ลพบุรี
  • ลำปาง
  • ลำพูน
  • ศรีสะเกษ
  • สกลนคร
  • สงขลา
  • สตูล
  • สมุทรปราการ
  • สมุทรสงคราม
  • สมุทรสาคร
  • สระบุรี
  • สระแก้ว
  • สิงห์บุรี
  • สุพรรณบุรี
  • สุราษฎร์ธานี
  • สุรินทร์
  • สุโขทัย
  • หนองคาย
  • หนองบัวลำภู
  • อำนาจเจริญ
  • อุดรธานี
  • อุตรดิตถ์
  • อุทัยธานี
  • อุบลราชธานี
  • อ่างทอง
  • เชียงราย
  • เชียงใหม่
  • เพชรบุรี
  • เพชรบูรณ์
  • เลย
  • แพร่
  • แม่ฮ่องสอน
  • กฎหมายและราชทัณฑ์
  • การทหาร / สงคราม
  • การสื่อสาร / ไปรษณีย์
  • การแพทย์และสาธารณสุข
  • งานอนุรักษ์สถาปัตยกรรม
  • ชาติพันธ์ุ
  • ธรรมชาติวิทยา
  • บุคคลสำคัญ
  • บ้านประวัติศาสตร์
  • ประวัติศาสตร์
  • ผ้า / สิ่งทอ
  • พระป่า
  • วิถีชีวิตท้องถิ่นและภูมิปัญญา
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ศาสนา ความเชื่อ และพิธีกรรม
  • ศิลปะ / การแสดง
  • อื่น ๆ
  • เครื่องปั้นดินเผา
  • เงินตรา / การเงินธนาคาร
  • โบราณคดี

  • บทความวิชาการ

บทความวิชาการ:

ยาไพร สาธุธรรม

  • เรียงตามข้อมูลนำเข้าล่าสุด
  • เรียงตามการอ่านมากที่สุด
บทความทั้งหมด 1 บทความ

“ผู้หญิง” ในห้วงเวลาแห่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (WOMEN DURING THE HOLOCAUST)

10 เมษายน 2558

ชาวยิวทั้งหญิงและชายล้วนแล้วแต่เป็นเป้าหมายในการทำลายล้างของระบอบลัทธินาซี แต่กลุ่มเป้าหมายไม่ได้มีเพียงผู้หญิงชาวยิวเท่านั้น หากยังรวมไปถึงกลุ่มผู้หญิงยิปซี หญิงชาวโปแลนด์ และกลุ่มผู้หญิงที่มีความพิการที่อาศัยอยู่ในสถาบันการศึกษาต่างๆ ในค่ายกักกันบางแห่งและในบางพื้นที่ของค่ายนั้นถูกกำหนดให้เป็นเขตเฉพาะสำหรับนักโทษหญิง ในเดือนพฤษภาคมปี 1939 หน่วย SS (Schutzstaffel) หรือหน่วยทหารเอสเอส ซึ่งเป็นหน่วยทหารที่มีความจงรักภักดีอย่างสูงต่ออดอล์ฟ ฮิตเลอร์ หรือผู้นำรัฐบาลนาซีในขณะนั้น ได้เปิดค่ายกักกันที่เมือง Ravensbrück ซึ่งถือเป็นค่ายกักกันสำหรับผู้หญิงที่ใหญ่ที่สุด และในช่วงเวลาแห่งการปลดปล่อยชาวยิวในปี 1945 พบว่ามีผู้หญิงนับแสนคนได้ถูกคุมขังในสถานกักกันแห่งนี้ในปี 1942 เจ้าหน้าที่ของหน่วยเอสเอสได้รวบรวมชาวยิวจากค่ายต่างๆ มายังค่าย Auschwitz-Birkenau หรือที่รู้จักในชื่อ Auschwitz IIเพื่อกักขังนักโทษหญิง ในบรรดานักโทษกลุ่มแรกนั้นเป็นกลุ่มที่ย้ายมาจากค่ายกักกันที่ Ravensbrückและค่ายกักกันที่ Bergen-Belsen ผู้คุมค่ายได้สร้างค่ายเพื่อกักขังนักโทษหญิงขึ้นอีกครั้งในปี 1944 ซึ่งหน่วยเอสเอสได้ย้ายนักโทษหญิงชาวยิวจาก Ravensbrückและ Auschwitz ไปยังค่ายกักกันที่ Belsen-Belsen ในช่วงปีสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง อาคารที่พักของผู้หญิงในค่าย Auschwitz-Birkenau ปี 1944ภาพจาก National Museum of Auschwitz-Birkenau ในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งประวัติศาสตร์นี้ กลุ่มนาซีและกลุ่มผู้สนับสนุนได้ยกระดับการทำลายล้างอย่างสมบูรณ์ด้วยการฆ่าโดยไม่คำนึงถึงอายุหรือเพศ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือแม้กระทั่งเด็ก ไม่ว่าจะเป็นชาวยิวหรือไม่ใช่ยิว โดยหน่วยเอสเอสและเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการตามนโยบายภายใต้ชื่อ “Final Solution” ซึ่งเป็นการปลิดชีวิตชาวยิวทั้งหญิงและชายด้วยการยิงปืนในหลายพื้นที่ทั่วอาณาจักรโซเวียต ทั้งนี้ ในระหว่างปฏิบัติการเคลื่อนย้ายนักโทษชาวยิว กลุ่มหญิงมีครรภ์และกลุ่มผู้หญิงที่มีเด็กเล็กจะถูกจัดให้เป็นพวก “ไม่สามารถทำงานได้” โดยคนเหล่านี้จะถูกส่งไปยังศูนย์ปฏิบัติการสังหารชาวยิวซึ่งเจ้าหน้าที่นาซีมักจัดให้ผู้หญิงเหล่านี้อยู่ในกลุ่มแรกที่ถูกส่งไปยังห้องรมแก๊สพิษผู้หญิงชาวยิวนิกายออร์โธดอกซ์ที่มีลูกเล็กๆติดสอยห้อยตามมาด้วยก็มักเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะถูกค้นพบหรือทรมานจากกลุ่มนาซีเนื่องจากการแต่งกายนั้นคงรูปแบบของชาวยิวในยุคดั้งเดิม อีกทั้งครอบครัวชาวยิวนิกายออร์โธดอกซ์มักมีบุตรจำนวนมาก ทำให้ผู้หญิงในครอบครัวตกเป็นเป้าของพวกนาซีได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีผู้หญิงกลุ่มอื่นๆที่ตกเป็นเหยื่อในเหตุการณ์ครั้งนี้ เช่นกลุ่มผู้หญิงยิปซีที่ถูกฆาตกรรมหมู่โดยรัฐบาลนาซีในค่ายกักกันที่ Auschwitz นอกจากนี้ หญิงที่มีความพิการทางกายและทางจิตใจก็ถูกเข่นฆ่าไปเป็นจำนวนมากในระหว่างการปฏิบัติการ T-4 ของพวกนาซี (โครงการการุณยฆาตแก่ผู้ที่บกพร่องทางจิตและกายอย่างร้ายแรง) และในปฏิบัติการการุณยฆาตอื่น ๆในระหว่างปี 1943-1944 รัฐบาลนาซียังฆ่าหญิงและชายชาวโซเวียตตามหมู่บ้านต่างๆ ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่นาซีถือว่าเป็น“Partisans” หรือเป็นกลุ่มผู้เข้าข้างหรือเป็นพรรคพวกกับชาวยิว อีกทั้งเจ้าหน้าที่นาซียังบังคับให้นักโทษหญิงใช้แรงงานอย่างหนักในสลัมและค่ายกักกันซึ่งมักจะลงเอยด้วยการเสียชีวิตของผู้หญิงเหล่านี้ ยิ่งไปกว่านั้นแพทย์และนักวิจัยทางการแพทย์ชาวเยอรมันยังนำผู้หญิงชาวยิวและยิปซีมาเป็นหนูทดลองในการศึกษาการฆ่าเชื้อและในการทดลองทางการแพทย์อื่นๆที่ปราศจากศีลธรรม Emmi G.สาวน้อยวัย 16 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยจิตเภทเธอได้ถูกทำการฆ่าเชื้อและส่งไปยังศูนย์การุณยฆาต Meseritz-Obrawaldeเพื่อฆ่าเธอด้วยการให้ยาระงับประสาทในปริมาณเกินขนาด ในวันที่ 7 ธันวาคม ปี 1942 วันและปีที่บันทึกภาพไม่ปรากฏ  (ภาพจาก Karl-Bonhoeffer-NervenklinikFachkrankenhausfuerNeurologie)ในค่ายกักกันและสลัม กลุ่มผู้หญิงมักจะมีความเสี่ยงที่จะถูกทุบตีและข่มขืนมากเป็นพิเศษ หญิงชาวยิวที่มีครรภ์มักพยายามที่จะปกปิดว่าตนเองนั้นกำลังตั้งครรภ์ หรือหากถูกจับได้มักจะถูกส่งไปทำแท้ง ดังเช่นกลุ่มนักโทษหญิงที่ถูกพวกนาซีเคลื่อนย้ายออกจากโปแลนด์และสหภาพโซเวียตมายังอาณาจักรเยอรมนีเพื่อใช้แรงงานมักถูกทุบตี ข่มขืน หรือถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ด้วยเพื่อแลกกับอาหารหรือสิ่งจำเป็นในการยังชีพอื่นๆ การตั้งครรภ์ของหญิงชาวโปแลนด์และโซเวียตที่เป็นผลมาจากการถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ชายนาซีก็เช่นกัน กลุ่มคนที่นาซีเรียกว่า "Race experts" หรือ “ผู้เชี่ยวชาญด้านเชื้อชาติ” กำหนดว่าเด็กที่เกิดมานั้นจะไม่นับว่าเป็นคนเยอรมัน ดังนั้นผู้หญิงเหล่านี้จึงถูกบังคับให้ทำแท้งหรือถูกส่งไปคลอดที่สถานรับเลี้ยงเด็กชั่วคราวซึ่งมักจบลงด้วยความตายของเด็กทารก บางครั้งหญิงผู้เคราะห์ร้ายเหล่านี้ได้ถูกส่งกลับไปยังถิ่นที่เคยอยู่อาศัยโดยปราศจากอาหารและการรักษาพยาบาลระหว่างการเดินทาง นอกจากนี้พวกนาซียังสร้างซ่องขึ้นในค่ายกักกัน ค่ายทหาร และพื้นที่ใช้แรงงานบางแห่ง ซึ่งกลุ่มนักโทษหญิงถูกบังคับให้ทำงานในซ่องเหล่านี้ นักโทษหญิงหลายคนในสถานกักกันได้สร้างกลุ่มในการ “ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน” ขึ้นแบบลับๆ ด้วยการแบ่งปันข้อมูล อาหาร และเสื้อผ้าแก่กัน บ่อยครั้งที่สมาชิกของกลุ่มดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกันทางครอบครัวหรือสายเลือดหรือมาจากเมืองหรือจังหวัดเดียวกันทำให้มีระดับการศึกษาและรูปแบบการศึกษาที่ใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ ผู้หญิงอีกบางส่วนสามารถอยู่รอดในสถานกักกันได้เนื่องจากเจ้าหน้าที่ค่ายได้แยกให้ไปทำงานในส่วนงานซ่อมแซมเสื้อผ้า ทำอาหาร ซักรีด หรืองานทำความสะอาดทั่วไปหญิงชาวยิวที่ถูกกักขังเพื่อเป็นแรงงานในการแยกประเภทเสื้อผ้าที่ริบมาจากเชลยชาวยิวภาพถูกบันทึก ณ สลัมเมือง Lodz โปแลนด์วันเวลาถ่ายไม่ปรากฏ (ภาพจาก Beit LohameiHaghettaot หรือ Ghetto Fighters' House Museum)นอกจากนี้ ผู้หญิงยังเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการต่อต้านนาซีในหลายเหตุการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้หญิงที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มสังคมนิยมคอมมิวนิสต์หรือขบวนการเยาวชนไซออนนิสต์ ในโปแลนด์ ผู้หญิงหลายคนทำหน้าที่เป็นผู้ส่งข้อมูลไปยังสลัมที่กักกันเขตที่อยู่ชาวยิว ผู้หญิงหลายคนที่หนีไปอยู่ในบริเวณป่าทางตะวันออกของโปแลนด์และสหภาพโซเวียตได้ทำหน้าที่ในหน่วยพลเรือนติดอาวุธที่สนับสนุนชาวยิว ผู้หญิงในฝรั่งเศสยังมีบทบาทสำคัญในขบวนการต่อต้านนาซี นอกจากนี้ โซฟีชอลนักศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยมิวนิคผู้เป็นสมาชิกของกลุ่มกุหลาบสีขาวได้ถูกจับกุมและฆ่าในเดือนกุมภาพันธ์ปี 1943 โทษฐานที่แจกใบปลิวต่อต้านกลุ่มนาซีในสลัมที่ชาวยิวถูกกักกันเขตให้อาศัยอยู่นั้น มีผู้หญิงบางคนเป็นผู้นำหรือเป็นสมาชิกของขบวนการต่อต้านนาซี ในเมืองเบียลีสต็อก (Bialystok)  HaikaGrosman เป็นหนึ่งในผู้นำหญิงในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนี้ ยังมีผู้หญิงหลายคนที่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการต่อต้านนาซีภายในค่ายกักกัน เช่นในค่ายกักกันที่ Auschwitz ผู้หญิงชาวยิวจำนวนห้าคนถูกสั่งแยกให้ไปทำงานใน Vistula-Union-Metal Works detachmentซึ่งทั้งห้าท่านนั้นประกอบไปด้วย Ala Gertner, Regina Safirsztajn (aka Safir), EsterWajcblum, RozaRobota และหญิงนิรนามอีกคนหนึ่ง (สันนิษฐานกันว่าหญิงผู้นั้นคือ Fejga Segal) ผู้หญิงทั้งห้าคนนี้เป็นผู้ลักลอบนำดินปืนส่งให้แก่สมาชิกของ Jewish Sonderkommando (Special Detachment) เพื่อใช้ในขบวนการต่อต้านนาซี ซึ่งดินปืนนี้ถูกนำมาใช้ในการระเบิดห้องรมแก๊สและโรงเผาศพที่ 4 ที่ค่าย Auschwitz-Birkenau ในช่วงการจลาจลเดือนตุลาคมปี 1944 และการระเบิดครั้งนี้ยังส่งผลให้ทหารในหน่วยเอสเอสเสียชีวิตไปหลายรายอีกด้วย Haika Grosman หนึ่งในผู้ร่วมปฏิบัติการปฏิวัติสลัมในเมือง Bialystok ภาพถูกบันทึกเมื่อปี 1945 ประเทศโปแลนด์ (ภาพจาก Moreshet Mordechai Anilevich Memorial)  ภาพของ Ala Gartner ที่ถ่ายไว้ก่อนเกิดสงคราม ผู้ซึ่งถูกกักขังในค่ายกักกันที่ Auschwitz เธอได้ร่วมขบวนการต่อต้านนาซีภายในค่ายดังกล่าว และภายหลังถูกแขวนคอเนื่องจากลักลอบนำดินปืนที่ถูกนำมาใช้ในการระเบิดโรงเผาศพที่ 4หรือ Crematorium 4 แห่งค่ายกักกัน Auschwitzภาพถูกบันทึกราวปี 1930 ณ เมือง Bedzin ประเทศโปแลนด์(ภาพจาก US Holocaust Memorial Museum) นอกจากนี้ยังมีผู้หญิงอีกเป็นจำนวนมากที่มีส่วนช่วยในปฏิบัติการของชาวยิวในพื้นที่ต่างๆที่อยู่ใต้อิทธิพลของนาซีในขณะนั้น หนึ่งในนั้นคือ Hannah Szenes นักโดดร่มชาวยิว และ Gisi Fleischmann  นักเคลื่อนไหวในขบวนการไซออนนิสต์  ซึ่งในปี 1944 Szènes ได้โดดร่มลงไปในเขตพื้นที่ของฮังการีเพื่อช่วยในปฏิบัติการการหยุดการเคลื่อนย้ายชาวยิวออกจากสโลวาเกีย โดยมี Fleischmann เป็นหัวหน้าคณะทำงาน (PracovnaSkupina) ซึ่งดำเนินการภายใต้กรอบของสภาชาวยิวในเมืองบราติสลาวา (Bratislava) Hannah Szenes นักโดดร่มชาวยิวและพี่ชายของเธอภาพถูกบันทึก ณ กรุงปาเลสไตน์ ในเดือนเมษายนปี 1944ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติการช่วยเหลือชาวยิวในฮังการี(ภาพจาก Beit Hannah Szenes) ถึงแม้ว่าในระหว่างการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งประวัติศาสตร์นี้จะมีผู้หญิงถูกทำร้ายและสังหารเป็นจำนวนหลายล้านคน แต่ในท้ายที่สุดแล้ว การคร่าชีวิตผู้หญิงครั้งนี้ไม่ได้มีสาเหตุมาจากเพศสภาพของพวกเธอแต่อย่างใด หากแต่เป็นเพราะแนวคิดและจุดยืนในเรื่องของเชื้อชาติ ศาสนา และการเมืองของพวกนาซีต่างหากยาไพร สาธุธรรม / แปลและเรียบเรียงอ้างอิงUnited States Holocaust Memorial Museum.“Women during the Holocaust.” Holocaust Encyclopedia. http://www.ushmm.org/wlc/en/article.php?ModuleId=10005176. Accessed on March 20, 2015.*ภาพถ่ายในบทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของ United States Holocaust Memorial Museum, Washington, DC

20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170
ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงวัฒนธรรม
2021 © ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
www.sac.or.th

วันจันทร์-ศุกร์ : 08.00-17.00 น.

TELEPHONE
0-2880-9429
E-MAIL
webmaster@sac.or.th
FAX
0-2880-9332

Content Manager

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล
นักวิชาการ

ช่องทางการรับฟังความคิดเห็น
Application : Smart SAC
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  • รายชื่อพิพิธภัณฑ์
  • Online Exhibits
  • Research & learning
  • สื่อสิ่งพิมพ์
  • เทศกาล และข่าวสาร
  • ศมส.
  • เพิ่มพิพิธภัณฑ์ใหม่
เกี่ยวกับเว็บไซต์
  • เกี่ยวกับโครงการ
  • ทีมงาน
  • ติดต่อเรา
  • สถิติพิพิธภัณฑ์
  • สถิติเว็บไซต์
ช่วยเหลือ
  • กฎ กติกา และมารยาท
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แนะนำและแจ้งปัญหา
เกี่ยวกับโครงการ
  • เกี่ยวกับโครงการ
  • ทีมงาน
  • ติดต่อเรา
  • สถิติพิพิธภัณฑ์
  • สถิติเว็บไซต์