จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images
  • images
  • images

ชุดคำค้น 24 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 1536, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 16, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร-พระเจ้าชัยวรมันที่ 5, วัตถุ-จารึกบนหิน, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ที่อยู่ปัจจุบัน-พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ปทุมธานี, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, เรื่อง-การสรรเสริญเทพเจ้า, เรื่อง-การสรรเสริญเทพเจ้า-พระศิวะ, เรื่อง-การสรรเสริญเทพเจ้า-พระวิษณุ, เรื่อง-การสรรเสริญเทพเจ้า-พระพรหม, เรื่อง-การสรรเสริญเทพเจ้า-พระอุมา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายอาศรม, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายสิ่งของ, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-กัลปนา, เรื่อง-พิธีกรรมตามความเชื่อ, เรื่อง-พิธีกรรมตามความเชื่อ-สาปแช่ง, เรื่อง-ความเชื่อทางศาสนา-นรก-สวรรค์, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร-พระเจ้าชัยวรมันที่ 5,

จารึกอุบมุง

จารึก

จารึกอุบมุง

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 22:52:45 )

ชื่อจารึก

จารึกอุบมุง

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Inscription de Vat Pa Saen (Ubon) (K. 1085), อบ. 10, K. 1085

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1536

ภาษา

สันสกฤต, เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 144 บรรทัด ด้านที่ 1 และ 2 มี 39 บรรทัด ด้านที่ 3 มี 35 บรรทัด ด้านที่ 4 มี 31 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 34 ซม. สูง 74 ซม. หนา 9.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อบ. 10” เลขที่เดิมใช้ “ฐ.จ. 18”
2) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 กำหนดเป็น “จารึกอุบมุง”
3) ในหนังสือ Nouvelles Inscriptions du Cambodge II กำหนดเป็น “Inscription de Vat Pa Saen (Ubon) (K. 1085)”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

บ้านอุบมุง ตำบลโคกสว่าง อำเภอสำโรง (ข้อมูลเดิมว่า อำเภอวารินชำราบ) จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล พฤษภาคม 2565)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 19 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2519) : 116-122.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 130-143.
3) Nouvelles Inscriptions du Cambodge II (Paris : École Française d’Extrême-Orient, 1996), 119-124.

ประวัติ

ศิลาจารึกหลักนี้เมื่อนำลงพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ศิลปากร ใช้ชื่อเรื่องว่า “คำอ่านจารึก ฐ.จ. ที่ 18” และเนื่องจากศิลาจารึกนี้ชำรุด เส้นอักษรลบเลือนเป็นบางตอน การอ่าน-แปลในครั้งแรกจึงมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง แต่ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ได้มีการอ่าน-แปลและตีความในจารึกใหม่ ทำให้ได้ความละเอียดชัดเจนขึ้น พร้อมทั้งจัดลำดับด้านของจารึกเสียใหม่ให้เรียงตามเนื้อเรื่อง และกำหนดใช้ชื่อจารึกตามชื่อสถานที่ซึ่งพบหลักจารึกนั้นว่า “จารึกอุบมุง”

เนื้อหาโดยสังเขป

จารึกเริ่มต้นด้วยการกล่าวนมัสการพระศิวะ พระวิษณุ พระพรหม และพระอุมา จากนั้นก็กล่าวถึงพระราชดำรัสของพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (มหาศักราช 968-1001) ให้ถวายอาศรมและที่ดินแก่พระผู้เป็นเจ้า และให้ร่วมกันปฏิบัติดูแลพระผู้เป็นเจ้า (เทวรูป) และหากผู้ใดไม่ทำตามก็แช่งให้ตกนรก จากนั้นก็เป็นรายนามทาส และจำนวนสิ่งของที่ถวาย

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

จารึกด้านที่ 3 บรรทัดที่ 25 บอกมหาศักราช 915 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1536

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) Saveros Pou, “Inscription de Vat Pa Saen (Ubon) (K. 1085),” in Nouvelles Inscriptions du Cambodge II (Paris : École Française d’Extrême-Orient, 1996), 119-134.
2) อำไพ คำโท, “คำอ่านจารึกที่ ฐ.จ. ที่ 18 อักษรขอม ภาษาสันสกฤต และภาษาขอมโบราณ,” ศิลปากร 19, 5 (มกราคม 2519): 116-122.
3) อำไพ คำโท, “จารึกอุบมุง,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 15-16 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 130-143.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-16, ไฟล์; OB_011f1, OB_011f2, OB_011f3 และ OB_011f4)