889 |
อรฆยบาทยะ (1)
|
อรฺฆฺยปาทฺย |
น. |
ขันสำหรับใส่น้ำล้างเท้า |
ข. |
890 |
จรา (2)
|
จรา |
น. |
ภาชนะใส่เครื่องหอม, กำยาน |
ข. |
891 |
จังวาด (2)
|
จงฺวาตฺ |
น. |
จังหวัด, เขตแดน, การล้อมรอบ, วง, ขอบเขต |
ข. |
892 |
มหิษ (2)
|
มหิษ |
น. |
กระบือ, ควาย |
ส. |
893 |
ทาสี (2)
|
ทาสี |
น. |
ทาสหญิง |
ส. |
894 |
ทาสา (1)
|
ทาสา |
น. |
ทาสชาย |
ส. |
895 |
คือ (19)
|
คิ, คี |
สัน. |
คือ; ได้แก่, เท่ากับ |
ข. |
896 |
938 ศก (1)
|
938 ศก |
น. |
ศักราช 938 เป็นมหาศักราช บวกด้วย 621 เป็นพุทธศักราช 1559 |
ท. |
897 |
กำมรเตงกำตวนอัญ ศรีสูรยวรมเทวะ (1)
|
กํมฺรเตงฺ กํตฺวนฺ อญฺ ศฺรีสูรฺยฺยวรฺมฺมเทว |
น. |
“พระบาทกำมรเตงกำตวนอัญ ศรีสูรยวรมเทวะ” คือพระเจ้าศรีสุริยวรมันที่ 2 หรือที่เรียกกันว่า พระปทุมสุริยวงศ์ (พ.ศ. 1559 – 1592)
อนึ่งคำว่า “กำมรเตง” ในภาษาเขมรโบราณ หมายถึง เจ้าหรือพระผู้ใหญ่ ส่วนคำว่า “กำตวน” ในภาษามลายูโบราณ หมายถึง เจ้านาย เหมือนกัน และคำว่า “อัญ” แปลว่า “กู” ฉะนั้น คำว่า “กำมรเตงอัญ” ก็ดี “กำตวนอัญ” ก็ดี “กำมรเตงกำตวนอัญก็ดี” จึงหมายถึงเจ้านาย เจ้าของกู เจ้ากู หรือตวนกู ตามภาษามลายู |
ข. |
898 |
มรตาญโขลญ (6)
|
มฺรตาญฺโขลญฺ |
น. |
คำนำหน้าชื่อ หรือตำแหน่งข้าราชการ |
ข. |
899 |
โฆ (9)
|
โฆ |
น. |
คำนำหน้าชื่อทาสชายของขอมสมัยโบราณ (สูงกว่าสิ) |
ข. |
900 |
ไต (21)
|
ใต |
น. |
คำนำหน้าชื่อทาสหญิงของขอมสมัยโบราณ |
ข. |
901 |
กวน (15)
|
กฺวนฺ, กฺวนฺนฺ |
น. |
ลูก |
ข. |
902 |
โผง (24)
|
โผงฺ, โผงฺงฺ |
ว. |
ด้วย, ทั้งหมด, ทั้งปวง |
ข. |
903 |
978 ศก (1)
|
978 ศก |
น. |
มหาศักราช 978 = พุทธศักราช 1599 |
ท. |
904 |
ลำวาง (3)
|
ลำวางฺ |
น. |
ตำบล, อำเภอ, มณฑล |
ข. |
905 |
พระลำพาง (2)
|
วฺระ ลํวางฺ |
น. |
หัวหน้าตำบล อำเภอ หรือมณฑล, ในที่นี้แปลว่า ผู้ปกครองมณฑล |
ข. |
906 |
กัมเสตง (2)
|
กํเสฺตงฺ |
น. |
คำนำหน้าชื่อ หรือตำแหน่งข้าราชการ |
ข. |
907 |
ปาณฑิห (1)
|
ปาณฺฑิห |
น. |
คำว่า “ปาณฺฑิห” ความหมายของจารึกน่าจะเป็น “ปณฑิต” แปลว่า บัณฑิต หรือ ผู้เป็นบัณฑิต แต่อักษร “ห” ชัดเจน จึงอ่านเป็น “ปาณฺฑิห” ตามรูปอักษรจารึก แต่แปลว่า ผู้เป็นบัณฑิต เป็นวิเศษณะของกัมเสตงมะอาง ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดพิธีฉลองศาลประจำเมือง |
ข. |
908 |
โฉลง (3)
|
โฉฺลงฺ |
ก. |
ฉลอง, การทำพิธีเปิด, ปลุกเสกให้ขลัง |
ข. |
909 |
ศาล (1)
|
ศาล |
น. |
ห้อง ห้องโถง ห้องประชุม ที่พักอาศัย ที่พักชั่วคราว |
ส. |
910 |
วิสัย (11)
|
วิษย, วิไศ |
น. |
ดินแดน, อาณาเขต, จังหวัด, ถิ่น, แว่นแคว้น |
ส. |
911 |
โฉลง ศาล กรุง วิสัย (1)
|
โฉฺลงฺ ศาล กฺรุงฺ วิษย |
น. |
คำว่า “ศาล” ในประโยคว่า “โฉฺลงฺ ศาล กฺรุงฺ วิษย” ยังเป็นที่แคลงใจว่าหมายถึงอะไรแน่ เพราะเมื่อแยกแปลแต่ละศัพท์ จะได้ดังนี้ “โฉฺลงฺ” แปลว่า ฉลอง การทำพิธีเปิด ปลุกเสกให้ขลัง, คำว่า “ศาล” แปลว่า ห้อง ห้องโถง ห้องประชุม ที่พักอาศัย ที่พักชั่วคราว, คำว่า “กฺรุงฺ” แปลว่า หัวหน้า สำคัญ กษัตริย์ ปกครอง เมืองหลวง, คำว่า “วิษย” แปลว่า ดินแดน อาณาเขต จังหวัด จึงรวมแปลเป็นกลางว่า ศาลประจำเมือง อาจหมายถึงศาลอันเป็นสถานที่ประชุมของราชการ หรืออาจหมายถึงศาลอันเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ ตามลัทธิทางศาสนา |
ข. |
912 |
เตงตวน (4)
|
เตงฺตฺวนฺ |
น. |
คำนำหน้าเรียกขุนนางผู้ใหญ่ในสมัยพระเจ้าศรีสูรยวรมันที่ 1 พระองค์ทรงนับถือพุทธศาสนา ฉะนั้น คำว่า “เตงตวน” ในที่นี้ อาจจะหมายถึงขุนนางผู้ใหญ่ในสมัยของพระองค์ หรือ หมายถึงพระเจ้าศรีสูรยวรมันที่ 1 เอง ที่เป็นผู้สร้างศาลประจำเมือง เพื่อถวายพระกัมรเตงชคัต |
ข. |