เอกสารโบราณในประเทศไทย

Manuscripts of Thailand

Total : 58 pages , Total amount : 1,845 Records , Total amount : 2 Resources.

จักกัณวุติปาปสูตร
วัดใหม่นครบาล จักกัณวุติปาปสูตร
RBR003-368จักกัณวุติปาปสูตร
ธรรมคดี

หน้าต้น จารเป็นอักษรไทย ระบุ “หนังสีือจักกัณวุตติปาปะสูตรว่าเรื่องรักษาศีล” ลานแรก หัวลาน ระบุ “จักกัณ[วุ]ตติปาปสูต ผูกโทน” ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวยัง จกฺกณวุตฺติปาปสุตฺตํ นิฏฺฐิตํ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแแล ฯฯ๛ บริบูรณ์แล้ว ı3ı จุลศักราชได้ ๑๒๖๑ ปีกุน เอกศก เดือน ๖ เหนือ เดือน ๔ ใต้ วันจันทร์แล”, “ผู้ข้าได้สร้างหนังสือจักกณวุตติปาปสูตร นี้ไว้ในศาสนาพระโคตมเจ้า ผู้ข้าขอกุศลส่วนบุญอันเกิดด้วยอันข้าได้สร้างเขียนธรรม จุ่งผู้ข้าชื่อหนานวัฒนะ บิตตามาดาญาติกากับลูกเมียข้า หื้อได้เถิง ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอดแด่ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ นิจฺจํ ธุวํ ๆ” เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “สร้างพ.ศ. ๒๔๔๒ ปีกุน สมัย ร.๕”

จันทคาด เล่ม 3
วัดบางช้างเหนือ จันทคาด เล่ม 3
NPT006-004จันทคาด เล่ม 3
วรรณคดี

จันทคาดเป็นวรรณกรรมชาดกที่ได้รับความนิยมเพราะเป็นเรื่องแพร่หลายอยู่ในทุกภาคของประเทศไทยประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากวิทยานิพนธ์ ระดับมหาบัณฑิตเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่องจันทฆาต ฉบับภาคกลาง ฉบับล้านนา ฉบับภาคอีสาน และฉบับภาคใต้” ซึ่งเป็นการนำเรื่อง จันทฆาต ทั้งสี่ภาค สี่สำนวนมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งแต่ละภาคต่างมีลักษณะเฉพาะในความเป็นท้องถิ่นของตัวเอง หน้าต้นเขียนไว้ว่า “ณ วัน 6 แรม 1 ค่ำ เดือน 1 ปีระกา หนเบญจศก หน้าปลายเขียนไว้ว่า คุณแดงมีสัทาอุษาหะทรางนังสือใวยพระสาศนา”

จันทฆาต ผูก 2
วัดใหม่นครบาล จันทฆาต ผูก 2
RBR003-196จันทฆาต ผูก 2
วรรณคดี

RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_195-197 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “จันทฆาต ผูกถ้วน ๒ แล” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวแก้ไขยังนางพรหมจารีบ่นั่งแท่นแก้วก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ※ บริบูรณ์เสด็จแล้วปีชวด ขึ้น ๗ ค่ำ วัน ๕ บ่าย ๓ โมง แล ๚ ยังมีศรัทธาอาวชายธอง ก็พร้อมกับด้วยภริยาผู้ชื่อว่า นางธิดา กับลูกเต้าพี่น้องชู่ผู้ชู่คนแล เจ้ายังอุบายหาได้ยังโปตฏกํยังใบลานมาหื้อตนตัวผู้ข้าชื่อว่า รัสสภิกขุธรรมสอนแล ผู้สร้างกับผู้เขียน ข้าขอหื้อได้บุญเท่ากันแด่เทอะ เขียนบ่ดีสักน้อย รางตัวก็เท่านิ้วก้อย รางตัวก็เท่าแม่มือ พี่ทุองค์ใดก็ดี พี่พระองค์ใดก็ดี หรือครหัสถ์แลนักบวชได้เล่าได้เรียนได้อ่าน อดส่าห์ผ่อหื้อถี่ถี่ คันว่าผ่อบ่ถี่ ก็บ่รู้แล เพราะว่าตัวบ่ดี เจ็บแอวเต็มที นั่งเขียนบ่ได้ นั่งเขียนพร่อง นอนเขียนพร่องแล หน้าทับเค้า เจ้าจันทฆาต ผูกถ้วน ๒ หน้าทับปลาย จันทฆาต มีกับกัน ๔ ผูก ทั้งมวลแล ทุอาวเหย กา ก้า กล้า ขา ข้า ขล้า มา ม้า มล้า อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ก ข ค ฅ ง จ ส ช ซ ญ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ต ถ ท ธ น ป ผ พ ภ ม ย ล ร ว สฺส ห ฬ อํ อฺย ป ฝ ฟ หฺม หฺน หฺย หฺว หฺง หฺล ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๒๐๒ ๑๐๗ ๕๐๐๐ ๓๐๐๐๐๐” (อักษรตัวเอียงสะกดด้วยอักขรวิธีพิเศษ)

จันทฆาต ผูก 2
วัดใหม่นครบาล จันทฆาต ผูก 2
RBR003-198จันทฆาต ผูก 2
ธรรมคดี

RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_198-199 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “จันทคาดผูก ๒” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “จันทฆาต ผูกถ้วน ๒” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวแก้ไขยังนางพรหมจารีบ่นั่งแท่นแก้วก็แล้วเท่านี้ก่อนแลท่านเหย || บริบูรณ์เสด็จแล้ววัน ๑ เดือน ๘ แรม ๑๐ ค่ำ ปีชวด โทศก ร้อยสิบ ๙ แล้วข้าก็ยังมีศรัทธาพร้อมกับด้วยปิตตามาดาพี่น้องญาติกาวงศาชู่ผู้ชู่คน ขอหื้อสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอด ข้าขอเอาอายุใบลานเป็นที่เพิ่งแด่เทอะ รัสสภิกขุธรรมสอน เขียนปางเมื่อ(อยู่-เขียนด้วยดินสอดำ)วัดนาหนองแล หนังสือเจ้าจันทฆาต มี ๔ ผูกกับกันแล” และหน้าทับปลาย(เศษลานทำมาใช้เป็นหน้าทับ) ระบุ “แต่ไกลดังอั้นเจ้าก็หนีเข้าไปสู่ป่าหาการตนหั้นแล คันว่านางมารอดเรือนแล้วดังอั้นย่าบริสุทธิ์ก็จิ่งกล่าวเซิ่งนางผ้าขาวว่า ตาต ดูรา เจ้าลูกรักแก่แม่ อันว่า ชายผู้มาจอดเรือนรานี้” และ เขียนอักษรไทยและอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “ภิขุธรรมะเสนาอยู่วัดนาหนองฯ”, “ธมฺมเสนาฯ” และ “กล่าวจันทฆาต ผูกสอง ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล”(ตัวเอียง-อักษรธรรมล้านนา)

จันทฆาต ผูก 3
วัดใหม่นครบาล จันทฆาต ผูก 3
RBR003-197จันทฆาต ผูก 3
ธรรมคดี

RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_195-197 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากลูกลื่นสีแดง “จันทะคาดผูกที่ ๒” หน้ารองหน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาสีน้ำเงิน “จันทคาดผูก ๓” และเขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “จันทฆาตผูกถ้วน ๓” ด้านหลังเขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “ผูก ๒” ลานแรกด้านซ้ายมือ ระบุ “จันทฆาต ผูกถ้วน ๓” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวยังจันทฆาต ผูกถ้วน ๓ ก็เสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๚ ๛ บริบูรณ์เสด็จแล้วแลนายเหย ๚ ปีชวด โทศก ตกอยู่ในคิมหันต์ฤดู เดือน ๙ ขึ้น ๙ ค่ำ พร่ำว่าได้วัน ๗ ยามบ่ายแลนายเหย || ยังมีศรัทธาอาวชายธองกับทั้งภรรยา ชื่อว่า นางธิดา ก็พร้อมกันกับลูกเต้าชายหญิง ขอหื้อ[เ]พิ่น ได้สุข ๓ ประการมีนิพพานเป็นยอดแด่เทอะ || ตนตัวผู้สร้างอยู่บ้านดอนกอก ก็ว่าหื้อท่าน หร เขียนบ่แพ้ ก็เอาแภแห้วมาหื้อคุณสุวัณระซรX เขียนปางเมื่ออยู่วัดหนองนาหนองมองทองแก้วกว้าง ตนผู้บ้านกอกดอนมีนามกร ชื่อว่า ธอง แดงดา เหย ๑ ผู้ข้าน้อยหน้อยเป็นผู้เขียน ข้าขอสุข ๓ ประการผญาปัญญาเสลียวสลาดเสมอกันแด่เทอะ อกข้าตายเป็นดีอาย เจ้าของพื้นแท้หนอน้อยนอนายน้องเหย รางตัวเท่าช้าง รางตัวเท่าแมว แอวก็เจ็บ ที่ตกก็ตก ที่ผิดก็ผิด ทุพี่พระพี่ก็ดี ได้เล่าได้เรียนตกที่ใด นิมนต์ใส่หื้อจิ่มเนอ อย่าไปด้าข้อยเนอ โหตุเม นิจฺจํ ธุวํ ธุวํ แก่ข้าเทอะ เป็นดีอายพื้นแท้หนอ เป็นดังไก่เขี่ยหญ้า ปูหน้อยยาดคันนา อย่าบ่เขียนก็เขียน ทุคือ โห่ บ่ได้เป็นดี ใคร่ไห้แท้เด อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ แด่เทอะนาย” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำและปากกาเมจิกสีน้ำเงิน

จันทฆาต ผูก 4
วัดใหม่นครบาล จันทฆาต ผูก 4
RBR003-200จันทฆาต ผูก 4
ธรรมคดี

RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๐ จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” หน้าทับต้น ระบุ “๏ต้นจันทฆาต ผูก ๔ แลนายเอย”, เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “จันทคาต ผูก ๔” และเขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “จันทคาด” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “จันทฆาต ผูกปลาย ถ้วน ๔” ท้ายลาน ระบุ “จันทฆาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอัน[กล่าว/แก้ไข/เทศนา]ยังจันทฆาตชาดก ผูกถ้วน ๔ ก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้ว บอระมวลควรกาลเท่านี้ก่อนแล /// เสด็จแล้ว จันทร์ แลนายเอย รัสสภิกขุเภด(เพชร) เขียนไว้ค้ำชูพระศาสนา เขียนแล้วยามเมื่อฉันจังหัน ข้าสร้างหนังสือกับ ข้าขอส่วนบุญไปรอดไปเถิงพ่อแม่พี่น้องเขาคุคนแด่เทอะ ข้าเกิดมาชาติหน้า ขอหื้อได้สุข ๓ ประการ นิพพานเป็นยอดแลนายเอย // ข้าเขียนบ่งามสักหน้อย ใจบ่ดีเพราะนางมัทรีอยานิผากข้างเพราะรักมันเต็มทีแลนาย // ใจบ่ดีเพราะได้หันตัวแม่เพราแพรมันใคร่สิกข์เต็มทีแลนายเหย เขียนบ่ดีสักหน้อย ลางตัวเท่าแมวลางตัวเท่าช้าง๛ ”

จันทฆาต ผูกต้น
วัดใหม่นครบาล จันทฆาต ผูกต้น
RBR003-195จันทฆาต ผูกต้น
ธรรมคดี

RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_195-197 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “จันทคาดผูกที่ ๑” หน้าหลังเขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “ผูกต้น” / ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “จันทฆาต ผูกต้น มีกับกัน ๔ ผูก แลเจ้า” ท้ายลาน ระบุ “มังคละวิวาห กิริยาอันกล่าวจาเถิงยังจันทฆาต ผูกต้น ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ※ ข้าเขียนหนังสือผูกนี้บ่ดีบ่งาม ใหม่แลท่านเจ้าองค์ใดได้เล่าได้เรียนได้เทศนา นิมนต์ผ่อหื้อถี่ถี่ คันผ่อบ่ถี่ก็บ่รู้จักตัวแล เหมือนไก่เขี่ยหัวมองนั้นแลเจ้าเหย ขออย่าไปด่าข้าแด่เทอะ บริบูรณ์เสด็จแล้วปีชวด เดือน ๗ ออก ๔ ค่ำ วัน ๖ ยามแล้งงัวความต้อมตีนบ้านแลเจ้าเหยนายเหย ตนตัวข้าขอสุข ๓ มีนิพพานเป็นยอดแด่เทอะ ขอหื้อสติผญาปัญญาเหลี้ยมแซวเสลียวสลาดอาจชู่บทแท้ดีหลีแล” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาสีน้ำเงิน

จันทฆาต ผูกปลาย(ผูก 4)
วัดใหม่นครบาล จันทฆาต ผูกปลาย(ผูก 4)
RBR003-199จันทฆาต ผูกปลาย(ผูก 4)
ธรรมคดี

RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_198-199 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น “จันทคาตผูกที่ ๔ ผูกปลาย มีกับกัน ๔ ผูก” ด้านหลังหน้าทับต้น เขียนคำอาราธนาศีลอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ปานา อะทินนากรรม มุสา สุรา อิมานิ ปันจะ สิกขา ปทานิ สีเรนะ สุคคะติง ยันติ สีเรนะ โพคะสัมปทา สีเลนนิพุตึ ยันติ ตสัมา ลีลํ วิโสธะเย” ลานแรกด้านซ้ายมือ ระบุ “จันทฆาต ผูก ๔ ทั้งมวลมี ๔ ผูกแลเจ้าเหย” ท้ายลาน ระบุ “จันทฆาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันกล่าวยังอันกล่าวยังจันทฆาตชาดก ผูกถ้วน ๔ ก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วบอระมวลควรกาล ธรรมเทศนาเท่านี้ก่อนแล ฯฯ๛ บริบูรณ์แล้วยามเพลแล้วพอดีแลเจ้าเหย || เดือน ๘ ศีลแล ปีชวดแล ๛ ยังมีศรัทธาทุพี่หลวงกับปิตตามารดาพี่น้องชู่ผู้ชู่คน ก็หาโปฏกํยังใบลานมาหื้อตนตัวผู้ข้าชื่อว่า รัสสภิกขุธรรมสอน บวชอยู่วัดหนองนา หาตัวแม่บ่ได้ หาทางใดก็บ่มีแลเจ้าเหย นายเหย ๛ ทุพี่หลวง[เ]พิ่นก็ยังมีผู้ดีปูนตีตูนแท้แล ผู้สร้างกับผู้เขียนขอหื้อได้บุญถึงกันแด่เทอะ||” หน้าทับปลาย เขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “กล่าวจันทฆาต ผูกสี่ ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล” และเขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “พระภิกษุได้ พระภิกษุได้เทศน์ที ๑ แล้วXXXXX” / เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “ผูก ๔” และปากกาน้ำเงิน “ผูก ๔” มีรอยแก้ไขด้วยปากาสีน้ำเงิน

จุฬวา อัฏฐะกะถา ปาฬิ
คอลเลกชั่นพิเศษของ ดร. อนาโตล เป็ลติเยร์ จุฬวา อัฏฐะกะถา ปาฬิ
SAC001-019จุฬวา อัฏฐะกะถา ปาฬิ
ธรรมคดี

คัมภีร์ปริวาร คือคัมภีร์ประกอบหรือคู่มือ บรรจุคำถามคำตอบสำหรับซ้อมความรู้พระวินัย อยู่ในพระวินัยปิฎก แบ่งอีกแบบหนึ่ง เป็น 5 คัมภีร์เหมือนกัน คือ 1. มหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล 227 ข้อ) ฝ่ายภิกษุสงฆ์ 2. ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล 311 ข้อ) ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ 3. มหาวรรค 4. จุลวรรค 5. ปริวาร ศักราช จ.ศ. 1242 (พ.ศ. 2423) เดือน 4 แรม 9 ค่ำ วันอังคาร สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับลานดิบ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 20 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้

จูฬวา ปาฬิ นิสสยะ และอภิธาน ปาฬิ นิสสยะ
คอลเลกชั่นพิเศษของ ดร. อนาโตล เป็ลติเยร์ จูฬวา ปาฬิ นิสสยะ และอภิธาน ปาฬิ นิสสยะ
SAC001-007จูฬวา ปาฬิ นิสสยะ และอภิธาน ปาฬิ นิสสยะ
ธรรมคดี

- คัมภีร์อภิธานหรือคัมภีร์พจนานุกรม เป็นคัมภีร์ว่าด้วยศัพท์ที่เป็นนามบัญญัติของเนื้อความที่มีปรากฏอยู่ในโลก มนุษย์ บนสวรรค์ ใต้บาดาล และอบายภูมิ ได้แก่ คัมภีร์นิฆัณฏุ คัมภีร์อมรโกสะ คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา เป็นต้น - คัมภีร์อภิธานที่รวบรวมคำศัพท์ที่จารึกอยู่ในคัมภีร์ไตรเวทและคัมภีร์เวทางค์ เป็นภาษาสันสกฤต เช่น คัมภีร์นิฆัณฏุ คัมภีร์อมรโกสะ ต่อมา มีการรจนาคัมภีร์อภิธานเป็นภาษาบาลีขึ้น คือ คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา รวบรวมคำศัพท์ในพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกา ไว้อย่างสมบูรณ์ และมีคัมภีร์อธิบายอีกหลายคัมภีร์ เช่น คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาฎีกา คัมภีร์อภิธานสูจิ คัมภีร์อภิธานนิสสยะ เป็นต้น ศักราช จ.ศ.1268 (พ.ศ.2449) เดือน 2 แรม 7 ค่ำ วันศุกร์ สภาพเอกสาร มีผ้าห่อ ไม้ประกับ มีรอยการตัดขอบลานด้านยาว ร่องรอยว่าเป็นฉบับทองทึบ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 8 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์ มอบให้

ฉกษัตริย์
วัดเจ็ดริ้ว ฉกษัตริย์
SKN001-171ฉกษัตริย์
วรรณคดี

กัณฑ์ฉกษัตริย์ เป็น กัณฑ์ที่ทั้งหกกษัตริย์ถึงวิสัญญี ภาพสลบลงเมื่อได้พบหน้า ณ อาศรมดาบสที่เขาวงกตพระ เจ้ากรุงสญชัยใช้เวลา 1 เดือน กับ 23 วันจึงเดินทางถึงเขาวงกต เสียงโห่ร้องของทหารทั้ง ๔ เหล่า พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมารบนครสีพี จึงชวนพระนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขา พระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดาจึงได้ตรัสทูลพระเวสสันดรและเมื่อหก กษัตริย์ได้พบหน้ากันทรงกันแสงสุดประมาณ รวมทั้งทหารเหล่าทัพ ทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืนท้าวสักกะเทวราชจึงได้ทรงบันดาลให้ฝนตกประพรมหก กษัตริย์และทวยหาญได้หายเศร้าโศก ----------- เวสสันดรชาดก. จาก https://www.watbuddha.org/th/maha-vessantara-jataka/

ฉกษัตริย์
วัดเจ็ดริ้ว ฉกษัตริย์
SKN001-170ฉกษัตริย์
วรรณคดี

กัณฑ์ฉกษัตริย์ เป็น กัณฑ์ที่ทั้งหกกษัตริย์ถึงวิสัญญี ภาพสลบลงเมื่อได้พบหน้า ณ อาศรมดาบสที่เขาวงกตพระ เจ้ากรุงสญชัยใช้เวลา 1 เดือน กับ 23 วันจึงเดินทางถึงเขาวงกต เสียงโห่ร้องของทหารทั้ง ๔ เหล่า พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมารบนครสีพี จึงชวนพระนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขา พระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดาจึงได้ตรัสทูลพระเวสสันดรและเมื่อหก กษัตริย์ได้พบหน้ากันทรงกันแสงสุดประมาณ รวมทั้งทหารเหล่าทัพ ทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืนท้าวสักกะเทวราชจึงได้ทรงบันดาลให้ฝนตกประพรมหก กษัตริย์และทวยหาญได้หายเศร้าโศก ----------- เวสสันดรชาดก. จาก https://www.watbuddha.org/th/maha-vessantara-jataka/