เอกสารโบราณในประเทศไทย

Manuscripts of Thailand

Total : 57 pages , Total amount : 1,815 Records , Total amount : 2 Resources.

ตำนานพระแก้วดอนเต้า
วัดใหม่นครบาล ตำนานพระแก้วดอนเต้า
RBR003-323ตำนานพระแก้วดอนเต้า
ธรรมคดี

หน้าต้น ระบุ “หน้าต้น ตำนานวัดพระแก้วดอนเต้า ๛ ๚ หน้าตำนานวัดพระแก้วดอนเต้า ฯะ๛ ๚ พระแก้วบาวร ” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากาเมจิกสีน้ำเงิน “วัดแคทราย ต.คูบัว อ.เมือง ราชบุรี” และปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “พระแก้วดอนเต้ามีผูกเดียว” ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวยัง ตำนานนิทานวัดพระแก้วดอนเต้าเวียงดินที่เมืองกุกกุฏนคร ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล แลจบแล้วเวลาเพลพอดีแลนายเหย จบแล้วว่าได้วัน ๒ ข้าเขียนหนังสือผูกนี้ ข้าขอกุศลนาบุญไปรอดไปเถิงปิตามาดาข้าจิ่ม ขอหื้อข้าทันได้หันหน้าพระอริยะเมตไตรยจิ่มเทอะ หนังสือผูกนี้ ข้าสร้างไปหาพระมารดา ข้าชื่อว่า สมณะอ้น บ้านหนองบัว”

ตำนานพระธาตุช่อแพร
วัดสูงเม่น ต.สูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่ ตำนานพระธาตุช่อแพร
CMRU-PR-01-A-0001ตำนานพระธาตุช่อแพร
ตำนานปูชนียสถาน - ปูชนียวัตถุ

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาถึงเมืองพล (เมืองแพร่) ได้ประทับ ณ ดอยโกสัยธชัคคะบรรพต และได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้หัวหน้าชาวลัวะนามว่า ขุนลัวะอ้ายก้อม เห็นในขณะที่เขาได้มากราบไหว้พระองค์ที่บนดอยนี้ เนื่องจาสถานที่นี้เป็นที่ร่มรื่น เหมาะสมที่จะตั้งไว้เป็นสถานที่สำคัญในพระพุทธศาสนาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทานพระบรมสารีริกธาตุที่ระลึก โดยเอาเส้นพระเกศาเส้นหนึ่งให้แก่ขุนลัวะอ้ายก้อมไว้ มีรับสั่งให้เอาเส้นพระเกศานี้ไปไว้ในถ้ำที่อยู่ใกล้ ๆ พร้อมทั้งมีรับสั่งอีกว่า เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ให้เอาพระบรมสารีริกธาตุพระศอกข้างซ้ายมาบรรจุไว้ ณ สถานที่นี้ด้วย ทรงทำนายว่า ต่อไปภายหน้าจะได้ชื่อว่าเมืองแพร่ จะเป็นเมืองใหญ่ซึ่งพระองค์เคยเสด็จประทับนั่ง ณ ใต้ต้นหมากนี้เมื่อทรงทำนายแล้วก็เสด็จจาริกไปยังเมืองต่าง ๆ ที่ทรงเห็นว่าควรจะเป็นที่ตั้งพระธาตุได้ จากนั้นจึงเสด็จกลับไปยังพระเชตวันอาราม หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว 218 ปี (ตรงกับสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช) พระเจ้าอโศกมหาราชและ พระอรหันต์ทั้งปวงได้ร่วมกันอธิษฐานว่าเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่นั้น เคยเสด็จไปยังถิ่นฐานบ้านเมืองหลายแห่ง แล้วทรงหมายสถานที่ที่ควรจะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ จึงขออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่ได้บรรจุในโกศที่เตรียมไว้นั้นไปสถิตอยู่ใน สถานที่ซึ่งพระองค์ได้ทรงหมายไว้นั้นเถิด หลังจากการอธิษฐานพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายก็เสด็จออกจากโกศโดยทางอากาศ ไปตั้งอยู่ที่แห่งนั้นๆ ทุกแห่ง ส่วนพระบรม สารีริกธาตุที่เหลืออยู่ พระอรหันต์ทั้งปวงก็อัญเชิญไปบรรจุในพระเจดีย์ 84,000 องค์ แล้วประกาศแก่เทวดาทั้งหลายให้พิทักษ์รักษาตลอดไป จนกว่าจะหมดอายุแห่งพระพุทธศาสนา 5,000 พระวัสสา (ข้อมูลจาก http://thaiculturebuu.wordpress.com/2010/08/20/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%AE-%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%88/)

ตำนานมหาธาตุทะโคง
วัดใหม่นครบาล ตำนานมหาธาตุทะโคง
RBR003-327ตำนานมหาธาตุทะโคง
ธรรมคดี

RBR_003_327 อยู่ใน “เลขที่ ๑๔๒ ตำนานตะโก้ง อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ, ล่องชาด ๗ ผูก” หน้าต้น ระบุ “๏ หนังสือธาตุตะโคงเกสา ๘ เส้นแลนา ฯ ข้าผู้เขียนชื่อว่า สีวีสุทโธ๛” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ธาตุตะกุ้ง / เกศา ๘ เส้น ผูกเดียว” หน้ารอง หน้าต้น เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “หนังสือหัวนี้ดี เจือเตอะนาตุ๊ปี้ตุ๊น้อง / หนังสือหัวนี้ดีมาถ้าใครอ่านให้จำให้แม่นนะคุณ / ıı วัดแคทรายโพธิศัทธาราม ıı” ท้ายลาน ระบุ “สํวณฺณนา นิฏฺฐิตา กริยาอันกล่าวยังนิทานตำนานพระเกสาธาตุเจ้าตระโคง ก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๛ ข้าขอนิพพานเป็นยอด เขาะขอด ฯ เสี้ยงกิเลสตัณหาแลนา ฯ ฯ ฯ ๛” / หน้าปลาย เขียนอักษรธรรมล้านนา ด้วยดินสอ “ลานคุณเฟือ ลานคุณเฟือ”

ตำนานมหาธาตุทะโคง
วัดใหม่นครบาล ตำนานมหาธาตุทะโคง
RBR003-326ตำนานมหาธาตุทะโคง
ธรรมคดี

RBR_003_326 อยู่ใน “เลขที่ ๑๔๒ ตำนานตะโก้ง อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ, ล่องชาด ๗ ผูก” หน้าต้น เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ตำนานมหาธาตุ” และดินสอ “...พระคัมภีร์นี้ ประจำอยู่วัดทัพ...เป็น...” (... หมายถึง ไม่ชัด) ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวยังตำนานมหาธาตุเจ้าทะโคง ยังดอยสิงคุตตร คือว่า ดอยจักเข็บ แล อันว่าจักขร่าวเม็งวะ ขอตามไทยแปลว่า ปู ก็มีแล อันชื่อว่า ดอยสิงคุตตรนั้น ıı นั้นก็สมเร็จแล้วบรมวลควรแก่กาล ธรรมเทศนาก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ฯ ฯ พระหมายผู้ลงลายมือ และขอสุก ๓ ประการด้วยเทอญ พึ่งหัดใหม่ ขอส่วนบุญกุศลอันนี้ ขอไปรอดบิดามารดาพีน้อง เอื้อย อ้าย ผู้ข้าด้วยเทอญ ขอนิพพานต์ด้วยเทอญ ıı นะ ปัจจะโย โหตุ ” (ตัวเอียง จารเป็นอักษรไทย)