Total : 59 pages , Total amount : 1,870 Records , Total amount : 2 Resources.
Advance Search
ตำนานพระธาตุพนม หรือตำนานอุรังคธาตุ
ตำนาน พระธาตุพนม เมืองนครพนม
กล่าวถึงตำนานพระพุทธบาท เป็นการเดินทางมาประทับรอยพระพุทธบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
RBR_003_327 อยู่ใน “เลขที่ ๑๔๒ ตำนานตะโก้ง อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ, ล่องชาด ๗ ผูก” หน้าต้น ระบุ “๏ หนังสือธาตุตะโคงเกสา ๘ เส้นแลนา ฯ ข้าผู้เขียนชื่อว่า สีวีสุทโธ๛” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ธาตุตะกุ้ง / เกศา ๘ เส้น ผูกเดียว” หน้ารอง หน้าต้น เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “หนังสือหัวนี้ดี เจือเตอะนาตุ๊ปี้ตุ๊น้อง / หนังสือหัวนี้ดีมาถ้าใครอ่านให้จำให้แม่นนะคุณ / ıı วัดแคทรายโพธิศัทธาราม ıı” ท้ายลาน ระบุ “สํวณฺณนา นิฏฺฐิตา กริยาอันกล่าวยังนิทานตำนานพระเกสาธาตุเจ้าตระโคง ก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๛ ข้าขอนิพพานเป็นยอด เขาะขอด ฯ เสี้ยงกิเลสตัณหาแลนา ฯ ฯ ฯ ๛” / หน้าปลาย เขียนอักษรธรรมล้านนา ด้วยดินสอ “ลานคุณเฟือ ลานคุณเฟือ”
RBR_003_326 อยู่ใน “เลขที่ ๑๔๒ ตำนานตะโก้ง อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ, ล่องชาด ๗ ผูก” หน้าต้น เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ตำนานมหาธาตุ” และดินสอ “...พระคัมภีร์นี้ ประจำอยู่วัดทัพ...เป็น...” (... หมายถึง ไม่ชัด) ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวยังตำนานมหาธาตุเจ้าทะโคง ยังดอยสิงคุตตร คือว่า ดอยจักเข็บ แล อันว่าจักขร่าวเม็งวะ ขอตามไทยแปลว่า ปู ก็มีแล อันชื่อว่า ดอยสิงคุตตรนั้น ıı นั้นก็สมเร็จแล้วบรมวลควรแก่กาล ธรรมเทศนาก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ฯ ฯ พระหมายผู้ลงลายมือ และขอสุก ๓ ประการด้วยเทอญ พึ่งหัดใหม่ ขอส่วนบุญกุศลอันนี้ ขอไปรอดบิดามารดาพีน้อง เอื้อย อ้าย ผู้ข้าด้วยเทอญ ขอนิพพานต์ด้วยเทอญ ıı นะ ปัจจะโย โหตุ ” (ตัวเอียง จารเป็นอักษรไทย)
ตำนานมูลศาสนา หรือ มูลศาสนาวงศ์ เป็นวรรณกรรมพุทธศาสนาล้านนา แต่งโดยพระพุทธกามและพระพุทธญาณ ในช่วงรัชสมัยพระเจ้าติโลกราชถึงพญาแก้ว ต้นฉบับในใบลาน ใช้ชื่อว่า มูลสาสนาวังสะ (มูลศาสนาวงศ์) และมาใช้ชื่อ ตำนานมูลศาสนา เมื่อกรมศิลปากรปริวรรต ฉบับภาษาไทยกลาง พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2480
อารามวัดสะปุงหลวงชัยแก้วกว้าง แฅว่นสะปุงป่าซาง พระบาทตากผ้า ดอยช้าง ผาด่านกว้างม่อนจอมธัมม์ ในเมืองหริภุญชัยนพพปุรีสุขาวดีวันนั้นแล ฯ
หน้าต้นเป็นตำรากษัย เขียนด้วยหมึกแดง กล่าวถึงกำเนิดกษัยทั้ง 18 ประการ และตำรับยาในการรักษาโรค หน้าปลายเป็นแผนเส้น เขียนด้วยหมึกดำและดินสอ
ตำรากล่าวถึง กัมมจอรผู้หญิง, เป็นฝีตามเดือน, ยาจอด ฯลฯ นอกจากนี้ยังพบว่าเอกสารโบราณฉบับนี้อังกามีหลายแบบ คาดว่านำใบลานจากหลายผูกมารวมกัน ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/15 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ตอนต้นเป็นเรื่องการกำเนิดโรคซาง และตำรายาสมุนไพรแก้โรคซาง ด้านท้ายเป็นเรื่องยันต์ต่างๆ เช่น ยันต์ผูกแขนเด็ก ยันต์ลงตะกรุดโทน เป็นต้น
ตำรายากล่าวถึงสมุนไพรสำหรับรักษาโรค เช่น ยานัตถุ์ ยาแก้ปวดหัว ยาแก้ไอ ยาลงเลือด ยาลงเลือดทางทวาร ยาลงเลือดทางปาก ยาแก้ปวดบิด ยาลมอกร้อน ยาลมคัดอก ยาบำรุงเลือดสำหรับหญิงหลังคลอดลูก เป็นต้น สูตรยารักษาโรค อาทิ “ผิว่า ไอ ให้เอาหญ้าควยงูมาใส่เพื่อสน้อยแช่น้ำกินหายแล ภาค ๑ ให้เอาหัวถั่วพู รากตำลึง แช่กินดีแล ภาค ๑ เอาแส้ม้าฮ่อ แช่กินดีแล ผิว่า รากเลือด ก็ออกดังนั้นเอาหญ้าหางหมาต้มกินดีแล ผิว่า ลงทวาร ให้เอารากกล้วยตีบ ๑ อ้อยดำ ๑ หอมแกว ๑ หัวหญ้าแห้วหมู ๑ เอาท่อกันเคี่ยวกันดีแล“ หน้ารองสุดท้ายระบุชื่อเจ้าของใบลานเป็น อักษรไทย ภาษาไทย ว่า “พ่อทองนาค อุ่นใจ” ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/28 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ตำราเขียนยันต์พร้อมด้วยคาถาต่างๆ เช่น ยันต์เสกน้ำมันเมี่ยง เสกหมาก เสกขี้ผึ้งสีปาก ยันต์ปิดประตูกันขโมย ยันต์เลี้ยงลูกง่าย เป็นต้น