Total : 57 pages , Total amount : 1,815 Records , Total amount : 2 Resources.
Advance Search
สองพระ หรือฉลองพระ เป็นวรรณกรรมอานิสงส์
ต้นฉบับเขียนว่า “ศุรามศุ 1166 มุสิกะสังวัจฉะระมาฆะมาศ” เลขทะเบียนเดิม 33 กฏหมาย
ว่าด้วยเรื่องความเป็นมาของกฎหมายลักษณะผัวเมีย เมื่อ “ศุภมัสดุ 1904 ศก ชวดนักษัตร เดือน 11 ขึ้น 5 ค่ำ จันทวาร” สมเด็จพระมาราธิบดีษรีจักรพรรดิราช (ชื่อที่ปรากฏในเอกสารโบราณ) มีพระราชโองการให้ตราขึ้น ระบุถึงลักษณะโทษและกำหนดบทลงโทษของชายหรือหญิงใดที่กระทำผิด เช่น ถ้าชายใดทำชู้ด้วยเมียกลางทาษี ให้ไม่ได้พระราชกฤษฏีทำ 5 ส่วน ยักเสีย 3 ส่วน 2 หญิงอันร้ายให้เอาเฉลวแปะหน้า ทัดดอกชบาแดงทั้งสองหู ร้อยดอกชบาเป็นมาลัยใส่ศีรษะใส่คอ ให้นายฉํวงตีฆ้องนำประจาน 3 วัน เป็นต้น
กล่าวถึงพระวินัยบัญญัติเทียบกับกฎหมายบ้านเมือง
สมุดไทยบันทึกพระธรรมคดีเกี่ยวกับกรรมฐาน และตำราพยากรณ์ ทำนายต่าง ๆ เช่น พระกรรมฐาน, บทพิจารณาสังขาร, ตำราห่วง, ตำราอัคนิโรธ, ตำราฤกษ์ใหญ่, ตำรายาตรา, ตำราดูโชค, กาพย์พระมาลัย
ประกอบด้วยนิทานพื้นบ้าน จำนวน ๑๘ เรื่อง
กัปปิยะ หมายถึง สมควร ควรแก่สมณะบริโภค ของที่สมควรแก่ภิกษุบริโภคใช้สอย คือพระพุทธเจ้าอนุญาตให้ภิกษุให้หรือฉันได้ เช่น ข้าวสุก จีวร ร่ม ยาแดง เป็นกัปปิยะ กัปปิยะการก หมายถึง ผู้ที่ทำของสมควรแก่สมณะ ผู้ที่ทำหน้าจัดของที่สมควรแก่ภิกษุบริโภค ขุททสิกขา จัดอยู่ในคัมภีร์อนุฎีกา คือปกรณ์ที่พระอนุฎีกาจารย์ทั้งหลายแต่งแก้หรืออธิบายคัมภีร์ฎีกาให้เข้าใจมากขึ้น ซึ่งอนุฎีกานี้เป็นหลักฐานชั้น 4 รองจาก พระไตรปิฎก อรรถกา และฎีกา ศักราช จ.ศ. 1241 (พ.ศ. 2422) เดือน 5 แรม 5 ค่ำ วันเสาร์ สภาพของเอกสาร มีผ้าห่อ ไม้ประกับมีจารึก ขอบลานมีลวดลายตัดแต่ง ฉบับลานดิบ มีการร้อยใบลานหลายใบติดกันให้หนาขึ้นเพื่อทำเป็นตัวแบ่งบท มีรอยปลวกกิน รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 6 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้
ในคัมภีร์ทางพระอภิธรรมบรรยายเกี่ยวกับกรรมฐานไว้ว่า การงานที่เป็นเหตุแห่งการบรรลุธรรม และแบ่งกรรมฐานเป็นสองอย่าง คือ สมถะ เป็นอุบาย การยังกิเลส นิวรณ์ทั้งหลายให้สงบ ระงับ และวิปัสสนา เป็นปัญญา เห็นโดยอาการต่างๆ มีความไม่เที่ยง เป็นต้น (ข้อมูลจากhttps://th.wikipedia.org/wiki/กรรมฐาน)
หน้าต้น ระบุ “ หน้าทับเค้า กาเผือก โทนแล มีอยู่ผูกเดียว มีอยู่ ๑๗ ใบหน้า ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวแก้ไขยัง เสตปญฺจอิสิรคนปุตฺตา อันสังวรรรณยังมูลสักขีประทีสตีนกา จาด้วยอันกดหมายชื่อแห่งสัพพัญญูพระพุทธเจ้า ก็บริบูรณ์บรมวลควรเท่านี้ก่อนแล ฯฯ๛”
หน้าแรก หัวลาน ระบุ “พระกายละคร” ท้ายลาน ระบุ “ลังสือไกรภูมิของหลวงตากา สร้างไว้ในพระศาสนา ขอให้ได้ดังความปรารถนา ขอให้ กุสล กุศลอันนี้ ผู้ข้าได้สร้างพระไตรภูมินี้ จงไปเถิงลูกเมียญาติกาทั้งทั้งหลาย ขอให้ได้เข้าสู่นิพพานพร้อมกันทุกตนทุกตน ก็ข้าเทอญ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ ıı กับทั้งข้าพเจ้าผู้ริจนาด้วยกัน ๔ คน ท่านมีใหญ่ องค์ ๑ ท่านมีน้อย องค์ ๑ ขอให้เป็นญาติติดกันทุกชาติ ๆ ทั้งชาตินี้แลชาติหน้า ตราบเท่าเข้าสู่นิพพาน ขอให้ได้พบพระศรีอาริยเมตไตยเจ้า องค์จักมาโปรดสัตว์นำเข้าสู่พระมหานครนิรพาน นิพฺพาน ปจฺจโย โห โห แล้วแล เจ้าข้าเอย ıı๛”
RBR_003_332 อยู่ใน “เลขที่ ๑๔๑ ตำนานพญาอินทร์, พระแก้วดอนเต้า, พญาจิตราช อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ, ล่องชาด, ลานดิบ ๙ ผูก” หน้าต้น ระบุ “๏ฯฯ หน้าทับเค้า กายพระนคร แแล ฯ ๛ ๏ รัสสภิกขุชม พร้อมกับด้วยโยมอยู่ โยมมาก สร้างไว้ในพระศาสนาแแล” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “พระยาจิตตราช” ลานแรก หัวลาน เขียนอักษรไทย ด้วยดินสอ “วัดหน้า” และเขียนอักษรธรรมล้านนา “หน้า” ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวยังธรรมเทศนาอันชื่อว่า กายนคร ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแแล ฯ ๛ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม ธุวํ ธุวํ แก่ข้าเแด่เทอะ จบแล้วยามเมื่อบ่าย ๔ โมงค่ำ รัสสภิกขุชม สร้างไว้ปางเมื่อบวชเป็นภิกขุอยู่วัดดอนแจง ข้าขอกุศลนาบุญอันนี้ไปรอดพ่อแม่ พี่น้องชู่ผู้ชู่คนแด่เทอะ เพราะว่า อยากได้บุญเต็มที่เขียนบ่ดีสักน้อย ลางตัวก็ใหญ่ ลางตัวก็หน้อย ทุพี่องค์ใดได้เล่าผิดก็ใส่หื้อจิ่มเทอะ ฯะ๛”
เอกสารโบราณฉบับนี้ลายมือสวยอ่านง่าย แต่ไม่ครบฉบับเนื้อหาขาดตอนต้นและตอนปลาย มีหน้าที่อักษรเลือนลางประมาณ 17 หน้า และหน้าสมุดไทยที่เขียนกลับหัว 5 หน้า
หน้าต้น เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “กายนคร” หน้ารอง หน้าต้น ระบุ “ หน้าทับเค้า หนังสือกายนครโทน ผูกเดียว ฯ ข้าผู้สร้างชื่อว่า ฯ สีวิสุทโธ อยู่บ้านปู่ฟ้า ข้าขอหื้อได้เป็นอรหั[น]ตสาวก ต จะ ตัดกิเลสวัตถุกามหื้อขาด ฯ” ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวยังธรรมเทศนาอันชื่อว่า กายนคร ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๚ ๚ บริบูรณ์ เสด็จแล้วยามตาวันบ่าย ๕ โมงค่ำแล วันเสาร์ เดือนยี่ ปีมะแม ข้าเขียนหนังสือผูกนี้ ขอส่วนกุศลนาบุญไปรอดไปเถิงปิตามาดาญาติทั้งหลายทั้งผู้สร้างแล ผู้เขียนจิ่มเทอะ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เขียนหื้อทุอาสม ฯฯ๛” หน้าปลาย ระบุ “หน้าทับปลาย กายนคร ผูกเดียว ม่วนอาละแลเนยหาย เป็นตาดีอายเด ทุอาวสมเหย เขียนบ่ได้ดีหลายแล ฯฯ๛”
ใบลานมี 2 ขนาด สันนิษฐานว่าน่าจะคละจากผูกอื่นปนกัน ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/37 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
บุพกิจ คือ กิจอันจะพึงทำก่อน, กิจเบื้องต้น เช่น บุพกิจในการทำอุโบสถ ได้แก่ ก่อนสวดปาฏิโมกข์ต้องนำปาริสุทธิของภิกษุอาพาธมาแจ้งให้สงฆ์ทราบ นำฉันทะของภิกษุอาพาธมา บอกฤดูนับภิกษุ ให้โอวาทนางภิกษุณี เป็นต้น (อ้างอิงจาก https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BA%D8%BE%A1%D4%A8) ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/73 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/4 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา